ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

29 ธันวาคม 2553

ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้     สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ท่านสามารถเปิดดูงานวิจัยบทที่ 1-5 และก๊อปได้ โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Reader การโหลดและการติดตั้งโปรแกรม Adobe Acrobat Reader



การพัฒนาบทเรียนสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนวัดม่วง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2 (The development of slide electronics lesson title : the tradition and culture of Wat Muang Community for Mattayomsuksa 3 Students Ratchaburi Education Office Area 2) ระดับ ปริญญาโท





การศึกษารูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนแบบเพื่อนนิเทศเพื่อนในการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับ ปริญญาโท






การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง อริยสัจ 4 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน (A comparative study of learning achievement by computer assisted instruction in the social, religious and cultural strand on the four noble truths for difference achievement 8th grade students) ระดับ ปริญญาโท





การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยเทคนิคแผนผังกราฟฟิกเรื่องการเมืองการปกครองของนักเรียนทหารชั้นปีที่ 1 (The development of learning ability with instruction by using graphic organizer techniques on politics and government for first-year class pre-cadets) ระดับ ปริญญาโท





การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (The development of learning package toward thecommunity law for ninth grade student) ระดับ ปริญญาโท





การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (The development of learning package toward thecommunity law for ninth grade student) ระดับ ปริญญาโท





การพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาเรื่องสรรพสิ่งในธรรมชาติด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระดับ ปริญญาโท





การพัฒนาบทเรียนสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนวัดม่วง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2 (The development of slide electronics lesson title : the tradition and culture of Wat Muang Community for Mattayomsuksa 3 Students Ratchaburi Education Office Area 2) ระดับ ปริญญาโท






การพัฒนาบทเรียนสไลด์อิเล็กทรอนิกส์เรื่องสภาพสังคมเศรษฐกิจการเมืองการปกครองและศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยากลุ่มสาระสังคมศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม (The development of electronics slides lesson of social subject on social state, economics politics administration and cultural arts in Ayuttaya period for Mattayomsuksa 2 students Huaykrajaopittayakom school) ระดับ ปริญญาโท






การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้วยการค้นพบเรื่องความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา (The development of learning outcomes and discovery learning process (DKP) on the simple knowledge of economics of mathayomsuksa one students taught by trisikka principle) ระดับ ปริญญาโท





การพัฒนาสื่อการสอนวิชาสังคมศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ภูมิศาสตร์กายภาพภาคตะวันตก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (The development of social studies instructional media through microsoft powerpoint program on physical geography of the western region for the eleventh graders) ระดับ ปริญญาโท






การศึกษารูปแบบการนิเทศการเรียนการสอนแบบเพื่อนนิเทศเพื่อนในการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับ ปริญญาโท





การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องแหล่งเรียนรู้ในเขตเทศบาลตำบลหนองขาว (A supplementary book construction on learning resources in tambon Nong Khao municipality) ระดับ ปริญญาโท





การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Jigsaw) เรื่อง การเมืองการปกครองสมัยอยุธยากลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
การจัดกิจกรรมการเรียนโดยใช้กรณีศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวันชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปประกอบเทคนิค STADกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเรื่อง บทบาทหน้าที่ของเงิน และสถาบันการเงินในระบบเศรษฐกิจ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปประกอบเทคนิค STADกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง ท้องถิ่นของเรา(จังหวัดนครราชสีมา) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนสุรนารีวิทยา 2

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยใช้กิจกรรมหมวกหกใบ
 การเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยวิธีสอนแบบคิดแก้ปัญหาและวิธีสอนแบบปกติ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1



 การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด
 การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1เรื่อง คุณธรรมจริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และโดยใช้สถานการณ์จำลอง
 การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการสอนบนเว็บที่เน้นการคิดวิเคราะห์กับการสอนปกติ
 การเปรียบเทียบผลการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการสอนบนเว็บแบบจำลองสถานการณ์กับการสอนปกติ







การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดอย่างมีเหตุผลและความมั่นใจในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง ชุมชนของเรา ระหว่างการใช้บทเรียนการ์ตูนประกอบการจัดกิจกรรมแบบ 4 MATการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STADและการจัดกิจกรรมแบบปกติ
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาท้องถิ่นของเรา 4MAT  ม.1

 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หน้าที่ประชาชนไทยการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา กับการจัดการเรียนรู้แบบ Jigsaw
 การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงาน กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
 
http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full121/natthawan11928/titlepage.pdf
 การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนแบบหมวกหกใบเรื่อง หน้าที่พลเมือง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
 การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องระบอบการปกครอง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
 การพัฒนากิจกรรมการเรียนแบบโครงงาน เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การพัฒนากิจกรรมการเรียนแบบโครงงาน เรื่องสมัยธนบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การพัฒนากิจกรรมการเรียนแบบจิ๊กซอว์ เรื่อง ประเพณีบุญเบิกฟ้ามหาสารคามกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมโอวาท 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2โดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพ








การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสาระพระพุทธศาสนา เรื่อง ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนาธรรม เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีสอนแบบอริยสัจสี่
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง จังหวัดขอนแก่นโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิกซอว์
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง จังหวัดอุดรธานีกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเรื่องวิถีประชาธิปไตย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนแบบโครงงาน เรื่อง มรรยาทชาวพุทธที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพระเจ้าสิบชาติชาดก ด้วยหนังสือนิทานชาดกประกอบรูปภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงานเรื่อง สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมมือแบบ Co-op Co-op เรื่อง สภาพแวดล้อมรอบตัวเรา กลุ่มสังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full105/suthamma10150/titlepage.pdf
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยโครงงาน เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TGTเรื่องกฎหมายน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง พลเมืองดีกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MATเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความสามัคคีกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา
การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบเบญจขันธ์ เรื่อง ความกตัญญูกตเวที กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
 การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การพัฒนาแผนการเรียนรู้ เรื่องวันสำคัญของไทย กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยบทเรียนสำเร็จรูปhttp://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full127/vatcharee12538/titlepage.pdf
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง พุทธประวัติในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมมือ Co-op Co-op
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องพลเมืองดี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โดยการสอนแบบบูรณาการสอดแทรก
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โดยใช้ภาพการ์ตูนประกอบการเรียนแบบอริยสัจ 4http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full138/naphachari131815/titlepage.pdf
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องทวีปเอเชีย และโอเชียเนียกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบซิปปา
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงาน เรื่อง สิ่งแวดล้อมในชุมชนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเป็นสื่อประกอบการสอนเรื่อง กาฬสินธุ์ท้องถิ่นของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง จังหวัดกาฬสินธุ์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผลการจัดกิจกรรมกิจการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา สาระเศรษฐศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ เรื่อง พัฒนาการของไทยสมัยอยุธยา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความเป็นมาของชาติไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้สถานการณ์จริงและบทบาทสมมุติ
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสาระประวัติศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมโดยโครงงาน เรื่อง ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผลการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพการ์ตูน เรื่อง ความกตัญญูกตเวที กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โดยใช้กิจกรรมการสอนแบบ 4 MAT
ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่อง หลักเศรษฐศาสตร์กับชีวิตประจำวันชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง วันสำคัญทางพุทธศาสนาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT)
ผลการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ เรื่องไตรสิกขา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผลการเรียนรู้เรื่องเบญจศีลและเบญจธรรม โดยใช้หนังสือนิทานประกอบภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full120/suwanna11833/titlepage.pdf








เรียบเรียงโดย  ::   ประภัสรา  โคตะขุน  ;   http://prapasara.blogspot.com
 การคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งของงานวิจัย  อย่าลืมอ้างอิงที่มาด้วยนะคะ 


















.






25 ธันวาคม 2553

วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)

     วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ  (Role Playing)

                    การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจได้ด้วยตนเอง โดยเน้นกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ เป็นอีกวิธีสอนหนึ่งที่จะให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ให้ผู้เรียนได้แสดงออก ทั้งทางด้านความคิดและท่าทางการแสดง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้เกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลิน
                    ระวีวรรณ วุฒิประสิทธิ์ (2530  : 74) กล่าวถึงการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ ว่าเป็นการสอนที่กำหนดให้ผู้เรียนแสดงบทบทตามที่สมมติขึ้นเทียบเคียงกับสภาพที่เป็นจริง ตามลักษณะที่ผู้แสดงบทบาทเข้าใจ  เพื่อให้ผู้ดูเกิดความรู้  ความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น หลักสำคัญของการสอนแบบนี้คือ ผู้สอนจะสร้างปัญหาให้ผู้เรียนได้คิดและให้ผู้เรียนแก้ปัญหานั้นๆ  ให้ได้ด้วยตนเอง ด้วยการแสดงที่ทำให้ได้ด้วยตัวเอง ด้วยการแสดงที่ทำให้ผู้ดูเห็นจริง วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติจึงนับว่าเป็นวิธีการฝึกการแก้ปัญหาและการตัดสินใจวิธีหนึ่ง  เพราะในสถานการณ์ที่สมมติขึ้นมาและบทบาทที่สมมติขึ้นมาให้คล้ายคลึงกับสิ่งที่เป็นจริงนั้น  มักจะมีปัญหาและข้อขัดแย้งต่าง ๆ  แฝงมาด้วย  การที่ให้ผู้เรียนได้เลือกที่จะแสดงบทบาทต่าง ๆ  โดยไม่ต้องใดหรือเตรียมตัวมาก่อนนั้น  ผู้แสดงจะต้องแสดงไปตามธรรมชาติโดยที่ไม่รู้ว่าผู้แสดงคนอื่นจะมีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างไรนั้น  นับว่าเป็นการช่วยฝึกให้ผู้แสดงได้เรียนรู้ที่จะปรับพฤติกรรมและหาทางแก้ปัญหาตัดสินใจอย่างธรรมชาติ 
                    ในบทนี้กล่าวถึง ความหมายของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ  จุดมุ่งหมาย   องค์ประกอบ  ลักษณะสำคัญของการสอน  ขั้นตอนการสอน บทบาทของผู้สอน  เทคนิคข้อเสนอแนะที่ใช้ในการสอน และข้อดีและข้อจำกัดของการสอน พร้อมด้วยการสรุปท้ายบท กิจกรรมและคำถามท้ายบทด้วย

ความหมาย
                    ทิศนา  แขมมณี (2550 : 358) กล่าวถึงวิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ  คือ  กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  โดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง  และแสดงออกมาตามความรู้สึกนึกคิดของตน  และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง  ทั้งทางด้านความรู้  ความคิด  ความรู้สึกและพฤติกรรมที่สังเกตพบว่าเป็นข้อมูลใน  การอภิปราย  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ 
                    สุพิน  บุญชูวงศ์ (2544 : 67) กล่าวว่าวิธีสอนที่ใช้บทบาทที่สมมติขึ้นจากความเป็นจริงมาเป็นเครื่องมือในการสอนโดยที่ครูสร้างสถานการณ์สมมติและบทบาทขึ้นมาให้นักเรียนได้แสดงออกตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น  มีการนำการแสดงออกทั้งทางด้านความรู้ความคิด  และพฤติกรรมของผู้แสดงมาใช้เป็นพื้นฐานในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้แก่นักเรียนในเรื่องความรู้สึกและพฤติกรรม  และปัญหาต่าง ๆ  ได้อย่างเหมาะสม 
                    อาภรณ์  ใจเที่ยง (2550 : 160) อธิบายถึง  วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมติ  หมายถึง  วิธีสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติขึ้นจากความเป็นจริง  มาให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามที่ผู้เรียนคิดว่าควรจะเป็น  ผู้สอนจะใช้การแสดงออกทั้งทางด้านความรู้ความคิด  และพฤติกรรมของผู้แสดงมาเป็นพื้นฐานในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ผู้เรียน  อันจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาสาระของบทเรียนอย่างลึกซึ้ง  และรู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
                    บุญชม  ศรีสะอาด (2541 : 161) กล่าวถึงการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ (Role  Playing)  คือ  เทคนิคการสอนที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่สมมติขึ้น  นั่นคือ  แสดงบทบาทที่กำหนดให้ 
                    อินทิรา  บุณยาทร (2542 : 98)  อธิบายการสอนด้วยบทบาทสมมติ  หมายถึง  วิธีสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น  โดยแสดงออกทั้งทางด้านความรู้  ความคิด  และพฤติกรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ 
                    สรุปได้ว่า วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ หมายถึง การสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติขึ้นมาที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงบทบาทสมมตินั้นๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนได้กำหนดไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกทางด้านความรู้ ความคิด ที่คิดว่าตนควรจะเป็น

จุดมุ่งหมายของการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ
                    ทิศนา  แขมมณี (2550 : 358) กล่าวว่าวิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา  เกิดความเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้อื่นหรือเกิดความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ  เกี่ยวกับบทบาทสมมติที่ตนแสดง 
                    สุพิน  บุญชูวงศ์ (2544 : 67) อธิบายถึงความมุ่งหมายของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ ดังนี้
                    1. เพื่อฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกัน
                    2. เพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกซึ่งความรู้สึก
                    3. เพื่อฝึกการแก้ปัญหา
                    สิริวรรณ ศรีพหล และ พันทิพา อุทัยสุข (2540  : 106) กล่าวถึงเป้าหมายการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติว่า การแสดงบทบาทสมมติเป็นการนำเอาตัวอย่างพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในสังคมมาให้ผู้เรียนได้ศึกษา  ซึ่งผลที่จะได้รับจากการศึกษาโดยวิธีการดังกล่าวจะทำให้
                    1. ผู้เรียนได้มีโอกาสสำรวจความรู้สึกของบุคคลอื่น ๆ  และเมื่อสำรวจแล้วก็จะสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้นในเชิงเจตคติ
                    2. ผู้เรียนได้มีโอกาสในการศึกษาความสัมพันธ์และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่ม
                    3. ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่ม  ในบุคคล  หรือระหว่างบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    4. ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาค่านิยมในเรื่องความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น
                    5. ผู้เรียนสามารถสำรวจเจตคติของตนเอง  รวมทั้งแก้ไขข้อบกพร่องโดยการเรียนรู้จากเจตคติของผู้อื่นที่มีต่อตนเอง
                    อาภรณ์  ใจเที่ยง (2550 : 160) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการแสดงบทบาทสมมติไว้ว่า
                    1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อื่น
                    2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม
                    3. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้ความคิดในการแก้ปัญหา  และการตัดสินใจ
                    4. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงออก  ได้เรียนด้วยความเพลิดเพลิน
                    5. เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น
                    อินทิรา  บุณยาทร (2542 : 98-99) อธิบายถึงความมุ่งหมายของการสอน ดังนี้
                    1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อื่น
                    2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้  ความคิด  ความสามารถในการแก้ปัญหาและ      การตัดสินใจ
                    3. เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด
                    4. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนมีความกล้าที่จะแสดงออก
                   และ ระวีวรรณ วุฒิประสิทธิ์ (2530 : 74-75)  อธิบายถึงจุดมุ่งหมายในการใช้บทบาทสมมติ ไว้ดังนี้ 
                    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเจตคติ  และความคิดต่าง ๆ  ได้กว้างขวางขึ้น
                    2. เพื่อให้ผู้สอนทราบถึงเจตคติและความคิดของผู้เรียน
                    3. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ  ของสังคมได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
                    4. เพื่อเตรียมผู้เรียนในการปฏิบัติเทคนิคบางอย่างในสถานการณ์จริง
                    5. เพื่อช่วยในการทดสอบสมมติฐานสำหรับการแก้ปัญหา
                    6. เพื่อฝึกความเป็นผู้นำและทักษะอื่น ๆ  ทางสังคมให้แก่ผู้เรียน

                    สรุปได้ว่า การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ มุ่งฝึกการทำงานร่วมกัน กล้าคิด กล้าแสดงออกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อมากยิ่งขึ้น ลดความตึงเครียด เพราะเป็นการสอนที่ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด
ลักษณะสำคัญของการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ
                    ลักษณะของบทบาทสมมติ  (อาภรณ์   ใจเที่ยง, 2550 : 160-161) บทบาทสมมติที่ผู้เรียนแสดงออกแบ่งได้เป็น 2  ลักษณะ  คือ
                    1. การแสดงบทบาทสมมติแบบละคร  เป็นการแสดงบทบาทตามเรื่องราวที่มีอยู่แล้ว     ผู้แสดงจะได้ทราบเรื่องราวทั้งหมด  แต่จะไม่ได้รับบทที่กำหนดให้แสดงตามอย่างละเอียด  ผู้แสดงจะต้องแสดงออกตามความคิดของตน  และดำเนินเรื่องไปตามท้องเรื่องที่กำหนดไว้แล้วซึ่งมีลักษณะเหมือนละคร
                    2. การแสดงบทบาทสมมติแบบแก้ปัญหา  เป็นการแสดงบทบาทสมมติที่ผู้เรียนได้รับทราบสถานการณ์หรือเรื่องราวแต่เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น  ซึ่งมักเป็นสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือมีความขัดแย้งแฝงอยู่  ผู้แสดงบทบาทจะใช้ความคิดของตนในการแสดงออกและแก้ปัญหาต่าง ๆ  อย่างเสรี
                    บุญชม  ศรีสะอาด (2541 : 161) กล่าวถึง การแสดงบทบาทสมมติว่า แตกต่างจากเกมจำลองสถานการณ์ตรงที่ไม่มีกฎเกณฑ์และการแข่งขัน  กล่าวคือ  เป็นการสอนที่หยิบยกเอาเหตุการณ์  ประเด็นหรือปัญหาขึ้นมาให้ผู้เรียนศึกษา  โดยวิธีการให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น  เข้าใจถึงปัญหาในเหตุการณ์นั้น ๆ  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น  เข้าใจถึงปัญหาในเหตุการณ์นั้น ๆ  ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยนั้น 
                    สิริวรรณ ศรีพหล และ พันทิพา อุทัยสุข ( (2540 : 105) ได้กล่าวว่าการแสดงบทบาทสมมติจะส่งเสริมผู้เรียนให้แสดงพฤติกรรมหรือบทบาทต่าง ๆ กันไปตามบทบาทที่กำหนดไว้ในเหตุการณ์  พฤติกรรมที่ผู้เรียนซึ่งเป็นผู้แสดงบทบาทแสดงออกมานั้นจะสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึก  อารมณ์  เจตคติของผู้แสดงที่มีต่อบทบาทหรือพฤติกรรมที่ผู้แสดงสวมบทบาทนั้นอยู่  รวมทั้งเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้อื่นที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือปัญหานั้นด้วย 
                    การที่จะให้ผู้เรียนเข้าใจว่าสิ่งนั้นดีสิ่งนั้นไม่ดี  หรือบุคคลนั้นมีพฤติกรรมอย่างนั้น  ทำไมไม่มีพฤติกรรมอย่างนี้ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  บางครั้งจะสอนโดยตรงไม่ได้  ผู้เรียนจะไม่เข้าใจ  แต่ถ้าใช้การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ  จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจพฤติกรรมของบุคคลที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์หรือปัญหานั้นได้ดีและกระจ่างยิ่งขึ้น 
                    นอกจากนี้  เสริมศรี  ลักษณศิริ (2540 : 260-261) กล่าวว่าการใช้บทบาทสมมติในการเรียนการสอน  บทบาทสมมติเป็นเครื่องมือและวิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้ในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องที่เรียน  โดยที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติขึ้น  ให้ผู้เรียนได้แสดงออกมาตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น  และถือเอาการแสดงออกทั้งทางความรู้และพฤติกรรมของผู้แสดงมาเป็นข้ออภิปรายเพื่อการเรียนรู้ 
                    การแสดงบทบาทสมติเป็นการฝึกให้ผู้แสดงได้ประสบการณ์จริงในสภาพของการสมมติขึ้นมา  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองและเรียนรู้ที่จะปรับพฤติกรรมของตนอย่างมีประสิทธิภาพในสภาวะต่างๆ ได้
ประเภทของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ 
                    อินทิรา  บุณยาทร (2542 : 98) กล่าวว่าการสอนแบบบทบาทสมมติ แบ่งออกเป็น 2  ประเภท  คือ
                    1.ผู้แสดงจะต้องแสดงบทบาทของคนอื่นตามที่ถูกกำหนด  โดยละทิ้งแบบแผนพฤติกรรมของตนเอง  เช่น  แสดงบทบาทของผู้มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์  หรือบุคคลอื่น ๆ  ที่ลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองเป็นบุคคลสมมติ  เช่น  สมมติว่าเป็นชาวนา  เป็นครู  เป็นนายอำเภอ  เป็นพ่อค้า  ฯลฯ  ผู้แสดงจะต้องพูด  คิด  ประพฤติ  มีความรู้สึกเหมือนกับบุคคลที่สวมบทบาทนั้น ๆ
                    2.ผู้แสดงจะยังคงรักษาบทบาทและแบบแผนพฤติกรรมของตนเอง  แต่กำหนดสถานการณ์ที่อาจพบในอนาคต  เช่น  การสมัครงาน  การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง  การเป็น               ผู้แนะแนวให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน  ฯลฯ  บทบาทสมมติประเภทนี้เป็นประโยชน์ต่อการฝึกฝนทักษะเฉพาะอย่าง  เช่น  การแนะแนว  การสัมภาษณ์  การสอน  การจูงใจ
                    บุญชม  ศรีสะอาด (2541 : 161) กล่าวถึง การแสดงบทบาทสมมติมี  2  ประเภท 
                    ประเภทแรก  ผู้แสดงบทบาทสมมติจะต้องแสดงบทบาทของคนอื่นโดยละทิ้งแบบแผนพฤติกรรมของตนเอง  บทบาทของบุคคลอื่นอาจเป็นบุคคลจริง  เช่น  คนที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์  เพื่อนร่วมห้อง  หรือการเปลี่ยนบทบาทซึ่งกันและกันกับเพื่อน  หรือเป็นบุคคลสมมติ  เช่น  สมมติว่าเป็นครูใหญ่  สมมติว่าเป็นชาวนา  เป็นต้น  ผู้แสดงบทบาทสมมติจะพูด  คิด  ประพฤติหรือมีความรู้สึกเหมือนกับบุคคลที่ตนสวมบทบาท 
                    ประเภทที่สอง  ผู้แสดงบทบาทจะยังคงรักษาบทบาทและแบบแผน  พฤติกรรมของตนเอง  แต่ปฏิบัติอยู่ในสถานการณ์ที่อาจพบในอนาคต  เช่น  การสมัครงาน  สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง  ผู้แนะแนวให้คำปรึกษาแก่นักเรียน  บทบาทสมมติประเภทนี้เป็นประโยชน์ต่อการฝึกฝนทักษะเฉพาะ เช่น การแนะแนว การสัมภาษณ์ การจูงใจ  การควบคุมความขัดแย้ง  เป็นต้น
                    สิริวรรณ ศรีพหล และ พันทิพา อุทัยสุข (2540 : 105-106) กล่าวว่าการแสดงบทบาทสมตินั้น  เป็นวิธีการสอนที่ครูใช้สอนกันมากในปัจจุบัน  เพราะขั้นตอนของการสอนไม่ยากหรือซับซ้อนมากเท่าใดนัก  โดยทั่วไปการแสดงบทบาทสมมติเพื่อนำมาปฏิบัติในห้องเรียนนั้นอาจแยกได้เป็น  2  ประเภท  คือ
                    1. การแสดงบทบาทสมมติที่มีการเตรียมมาล่วงหน้า  ผู้สอนจะผูกเรื่องหรือประเด็นเสียก่อน  แล้วนำมาเล่าให้ผู้เรียนฟัง  พร้อมกันนั้นก็จะกำหนดตัวผู้แสดงและบทละครอย่างคร่าว ๆ  โดยอาจเพิ่มเติมรายละเอียดตามความเหมาะสมและตามความเห็นของผู้แสดงเอง
                    2. การแสดงบทบาทที่ไม่มีการเตรียมมาก่อน  วิธีการนี้อาจใช้ระหว่างบทเรียนหรือเริ่มต้นบทเรียนเพื่อเร้าความสนใจของผู้เรียนเป็นต้นว่า  ระหว่างผู้ที่สอนกำลังสอนเรื่องหน้าที่พลเมืองของบุคคลในอาชีพต่าง ๆ  และความสำคัญของหน้าที่ที่มีต่อสังคม  ผู้สอนอาจเรียกผู้เรียน  4-5  คน  ออกไปแสดงบทบาทของบุคคลในอาชีพต่าง ๆ  กัน  หลังจากนั้นก็จะให้ผู้เรียนในชั้นวิจารณ์บทบาทที่แสดงไปแล้ว  วิธีการสอนเช่นนี้ก็นับว่าเป็นวิธีการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติเช่นกัน
                    การใช้บทบาทสมมติในการเรียนการสอนมี  2  วิธีใหญ่ ๆ  คือ (เสริมศรี ลักษณศิริ, 2540 : 262)
                    1. การใช้บทบาทสมมติแบบเตรียมไว้พร้อม
                    หมายความถึง  การใช้บทบาทสมมติเข้าช่วยในการสอนโดยที่ผู้สอนได้เตรียมบทมาล่วงหน้าหวังจะให้ผู้เรียนได้เรียนไปตามแบบแผนและขั้นตอนที่เตรียมไว้  เช่น  ครูเตรียมว่าจะใช้บทบาทสมมติช่วยในการสอนให้ผู้เรียนได้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา  ครูจะต้องเตรียมสถานการณ์สมมติมาล่วงหน้าและเตรียมบทบาทมาอย่างเรียบร้อย  เมื่อเข้าสอนครูจะสอนและใช้บทบาทสมมติตามขั้นตอนที่เตรียมมา
                    2. การใช้บทบาทสมมติแบบไม่มีบทเตรียมไว้
                   หมายความถึง  การใช้บทบาทสมมติเป็นเครื่องมือช่วยในการสอนตามวาระและโอกาสที่อำนวย  ครูไม่ได้เตรียมบทบาทมาให้ผู้เรียนล่วงหน้า
                    นอกจากนี้ จำเริญ  ชูช่วยสุวรรณ (2544 : 50-51) กล่าวถึงวิธีแสดงบทบาทสมมติทำได้  3  วิธีคือ 
                    1. การแสดงแบบละคร การแสดงแบบนี้ผู้แสดงจะต้องฝึกซ้อมก่อน  เช่น  อาจจะซ้อมท่าทาง  ฝึกซ้อมบทพูด  ตามบทบาทของตัวละครในเรื่องที่แสดง  ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องบทเรียน  วรรณคดี  หรือบทเรียนประวัติศาสตร์ก็ได้
                    2. การแสดงทันทีทันใจ  การแสดงแบบนี้  ผู้แสดงไม่ต้องเตรียมตัวฝึกซ้อม  แต่เมื่อเรียนถึงเรื่องใดก็ให้นักเรียนแสดงได้ทันที  เช่น  แสดงเป็นตำรวจ  แสดงเป็นบุรุษไปรษณีย์  แสดงเป็นพ่อ  เป็นลูก  ฯลฯ  โดยให้นักเรียนแสดงไปตามความนึกคิดของนักเรียนเองให้เหมาะสมกับบทบาทที่รับมา
                    3. การแสดงโดยครูหรือนักเรียนช่วยกันกำหนดเรื่องให้การแสดงแบบนี้ผู้แสดงจะต้องแสดงไปตามเรื่องที่กำหนดแต่อาจจะแต่งเติมบทของตนเองเข้าไปบ้างก็ได้ตามความเหมาะสม
                    จากประเภทของการสอนโดยใช้การแสดงละครที่กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ว่า นักวิชาการได้แบ่งประเภทของการสอนไว้แตกต่างกัน ซึ่งพอจะสรุปได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ผู้แสดงเป็นจะต้องเป็นผู้แสดงบทบาทตามที่ถูกกำหนดไว้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับความรู้
ความรู้สึกส่วนตัว
2. ผู้แสดงจะต้องแสดบทบาทตามแบบแผนพฤติกรรมของตนเอง
3. การแสดงบทบาทที่ผู้แสดงจะต้องเตรียมตัวก่อนการแสดงละคร
4. การแสดงบทบาทที่ผู้แสดงต้องแสดงบทบาทโดยทันที ไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า
                   
องค์ประกอบของการสอนแบบบทบาทสมมติ

                    ทิศนา  แขมมณี (2550 : 358) กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญ  (ที่ขาดไม่ได้)  ของวิธีสอนแบบบทบาทสมมติ ไว้ดังนี้ 
                    1. มีผู้สอนและผู้เรียน
                    2. มีสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ
                    3. มีการแสดงบทบาทสมติ
                    4. มีการอภิปรายเกี่ยวกับความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และพฤติกรรมที่แสดงออกของ    ผู้แสดง  และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
                    5. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
                    สิริวรรณ ศรีพหล และ พันทิพา อุทัยสุข (2540  : 106) กล่าวถึงองค์ประกอบของการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ มีดังนี้ 
                    1. ผู้แสดงและผู้สังเกตการณ์
                    การแสดงบทบาทสมติ  เมื่อนำมาปฏิบัติในห้องเรียนแล้วจะแยกกลุ่มผู้เรียนออกเป็น  2  กลุ่ม  คือ  กลุ่มผู้แสดงเป็นกลุ่มที่ได้รับมอบหมายบทบาทจากครูผู้สอนแล้ว  จากการวางแผน  การเรียนการสอนของผู้เรียนทั้งชั้นให้แสดงบทบาทต่าง ๆ  กัน  กับกลุ่มผู้ชมซึ่งจะเป็นกลุ่มสังเกตการณ์  โดยจะนำผลจากการสังเกตไปอภิปรายภายหลัง
                    2. เหตุการณ์  ประเด็น  หรือปัญหา  ซึ่งอาจจะหยิบยกจากในแบบเรียน  หรือผู้สอนสร้างขึ้นใหม่เองตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ว่าจะให้ผู้เรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์นั้น  โดยทั่วไป  ผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดเหตุการณ์เอง  และนำเหตุการณ์นั้น ๆ  มาเสนอแก่ผู้เรียนเพื่อการแสดงต่อไป
                    3. ฉากและสื่อการสอน  ฉากมีเพียงที่จำเป็นเท่านั้น  หรืออาจไม่ใช้เลยก็ได้  ส่วนสื่อ   การสอนก็เช่นกัน  จำเป็นไม่มากนัก  ทั้งนี้เพราะความสำคัญของการเรียนการสอนด้วยการแสดงบทบาทสมมติขึ้นอยู่กับบทบาทของผู้แสดงมากกว่าสิ่งใด

ขั้นตอนของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ
                    ทิศนา  แขมมณี  (2550 : 358-359) อธิบายขั้นตอนสำคัญของการสอนไว้ดังนี้ 
                    1. ผู้สอน / ผู้เรียน  นำเสนอสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ
                    2. ผู้สอน / ผู้เรียนเลือกผู้แสดงบทบาท
                    3. ผู้สอนเตรียมผู้สังเกตการณ์
                    4. ผู้เรียนแสดงบทบาท  และสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก
                    5. ผู้สอนและผู้เรียน  อภิปรายเกี่ยวกับความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง
                    6. ผู้สอนและผู้เรียนสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
                    7. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

                    สุพิน  บุญชูวงศ์ (2544 : 67) กล่าวถึงขั้นตอนในการสอนแบบบทบาทสมมติ ไว้ดังนี้ 
                    1. เลือกปัญหาที่นักเรียนส่วนมากในชั้นเรียนพบบ่อย ๆ  หรือเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก    จดจำยาก  สับสน  กล่าวตามสภาพจริง  หรือได้ก็ไม่เหมาะสม
                    2. กำหนดตัวบุคคลให้เหมาะสมกับบทบาทนั้น ๆ  เท่าที่ลักษณะของบุคคลเอื้ออำนวยให้กับสภาพความเป็นจริง
                    อาภรณ์  ใจเที่ยง (2550 : 161-163) อ้างใน กรมวิชาการ (2527 : 37 40) ได้เสนอขั้นตอนที่สำคัญของการสอนโดยใช้บทบาทสมมติมี  5  ขั้นตอน  ในแต่ละขั้นตอนมีวิธีการสอน  ดังนี้ 
                    1.  ขั้นเตรียมการสอน  เป็นการเตรียมใน  2  หัวข้อใหญ่ ได้แก่
                           1.1  เตรียมจุดประสงค์ของการแสดงบทบาทสมมติให้แน่ชัดและเฉพาะเจาะจงว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจอะไรบ้างจากการแสดง
                           1.2  เตรียมสถานการณ์สมมติ  เพื่อให้ผู้เรียนฟังโดยให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้  การเตรียมสถานการณ์และบทบาทสมมตินี้อาจเตรียมเขียนไว้อย่างละเอียดเพื่อมอบให้แก่ผู้เรียน  หรือเตรียมเฉพาะสถานการณ์เพื่อเล่าให้ผู้เรียนฟัง  ส่วนรายละเอียดผู้เรียนต้องคิดเอง
                    2. ขั้นดำเนินการสอน  จัดแบ่งย่อยได้  7   ขั้นตอน  ดังนี้
                           2.1  ขั้นนำเข้าสู่การแสดงบทบาทสมมติ  เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรม  โดยผู้สอนอาจใช้วิธีโยงประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียน          เล่าเรื่องราว  หรือสถานการณ์สมมติ  ชี้แจงประโยชน์ของการแสดงบทบาทสมมติ  และการร่วมกันช่วยกันแก้ปัญหา
                           2.2  เลือกผู้แสดง เมื่อผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมแล้วผู้สอนจะจัดตัวผู้แสดงในบทบาทต่าง ๆ  ในการเลือกตัวผู้แสดงนั้นอาจใช้วิธีดังนี้
                                1) เลือกอย่างเจาะจง  เช่น  เลือกผู้ที่มีปัญหาออกมาแสดง  เขาได้รู้สึกในปัญหาและเห็นวิธีแก้ปัญหา
                                2) เลือกผู้ที่มีบุคลิกลักษณะคุณสมบัติ  มีความสามารถเหมาะสมกับบทบาทที่กำหนดให้
                                3) เลือกผู้แสดงโดยให้อาสาสมัคร เพื่อให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียน  การตัดสินใจ
                           2.3  การเตรียมความพร้อมของผู้แสดง  เมื่อเลือกผู้แสดงได้แล้ว  ผู้สอนควรให้เวลา  ผู้แสดงได้เตรียมตัวและตกลงกันก่อนการแสดง  ผู้สอนควรช่วยให้กำลังใจ  ช่วยขจัดความตื่นเต้นประหม่า และความวิตกกังวลต่าง ๆ  เพื่อผู้แสดงได้แสดงอย่างเป็นธรรมชาติ
                           2.4  การจัดฉากการแสดง  การจัดฉากการแสดงอาจจะจัดแบบง่าย ๆ  คำนึงถึงความประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร  เช่น  อาจสมมติโดยการเลื่อนโต๊ะเพียงตัวเดียว  เพราะการจัดฉากนี้เป็นเพียงส่วนประกอบย่อยของการแสดง 
                           2.5  การเตรียมผู้สังเกตการณ์  ในขณะที่ผู้แสดงเตรียมตัว  ผู้สอนควรได้ใช้เวลานั้นเตรียมผู้ชมด้วย  โดยควรทำความเข้าใจกับผู้ชมว่าควรสังเกตอะไรจึงจะเป็นประโยชน์ต่อ            การวิเคราะห์และอภิปรายในภายหลัง  ผู้สอนอาจเตรียมหัวข้อการสังเกต  หรือจัดทำแบบสังเกตการณ์เตรียมไว้ให้พร้อม  แล้วเลือกผู้สังเกตการณ์ช่วยกันดู    และบันทึกพฤติกรรมและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อย ๆ  ไป
                           2.6  การแสดง  เมื่อทุกฝ่ายพร้อมแล้วจึงเริ่มแสดง  การแสดงนี้ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ  ผู้สอนและผู้ชมไม่ควรเข้าขัดกลางคัน  นอกจากในกรณีที่ผู้แสดงต้องการ          ความช่วยเหลือ  ในขณะที่แสดงผู้สอนควรสังเกตพฤติกรรมของผู้แสดงและผู้ชมอย่างใกล้ชิด
                           2.7  การตัดบท  ผู้สอนหรือผู้กำกับควรตัดบทหรือหยุดการแสดงเมื่อการแสดงผ่านไปเป็นเวลาพอสมควร  ไม่ควรปล่อยให้การแสดงเยิ่นเย้อเกินไปจะทำให้เสียเวลาและผู้ชมเกิด ความเบื่อหน่าย  การตัดบทควรจะทำเมื่อ
                                1) การแสดงได้ให้ข้อมูลแก่กลุ่มเพียงพอที่จะนำมาวิเคราะห์และอภิปรายได้
                                2) ผู้ชมและผู้แสดงพอจะเล่าได้ว่า  เรื่องราวจะเป็นอย่างไรถ้ามีการแสดงต่อไป
                                3) ผู้แสดงไม่สามารถแสดงต่อไปได้  เพราะเกิดความเข้าใจผิดบางประการหรือเกิดอารมณ์สะเทือนใจมากเกินไป
                                4) การแสดงยืดเยื้อไม่ยอมจบหรือจบไม่ลง  และผู้ชมหมดความสนใจที่จะชมการแสดงจนจบเรื่อง
                    3. ขั้นวิเคราะห์และอภิปรายผลการแสดง  (ขั้นประเมินผล)  ขั้นนี้ถือเป็นขั้นที่สำคัญยิ่งในการสอน  เพราะเป็นขั้นที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ  ที่ได้สังเกตเห็นและนำมาวิเคราะห์อภิปรายจนเกิดเป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับตนเอง  ในขั้นนี้ครูควรจะเตรียมคำถามต่าง ๆ  ไว้เป็นแนวทางสำหรับตนเอง  ที่จะใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และอภิปรายร่วมกัน  โดยทั่ว ๆ  ไปวิธีการที่ใช้ในการดำเนินการในขั้นนี้  มีดังนี้
                           3.1  ชี้แจงให้ทั้งผู้แสดงและผู้ชมเข้าใจว่า  การอภิปรายจะเน้นที่เหตุผลและพฤติกรรมที่ผู้แสดงได้แสดงออกมาไม่ใช่เน้นที่ใครแสดงดีไม่ดีอย่างไร
                           3.2  สัมภาษณ์ความรู้สึกและความคิดผู้แสดง
                           3.3  สัมภาษณ์ความรู้สึกและความคิดของผู้สังเกตการณ์หรือผู้ชม
                           3.4  ให้กลุ่มผู้แสดงและผู้ชมวิเคราะห์เหตุการณ์  เสนอความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน  โดยครูอาจใช้คำถามต่าง ๆ  กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด
                    ข้อสำคัญข้อหนึ่งที่ครูพึงระวังในการดำเนินการอภิปรายก็คือ  ครูควรแสดงความเป็นประชาธิปไตย  ให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนอย่างเต็มที่ในการคิด  ตัดสินใจ  ไม่ประเมินค่าตัดสิน        ความคิดเห็นของผู้เรียน  อันอาจทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย  ไม่กล้าเปิดเผยความรู้สึก    ที่แท้จริง
                    4. ขั้นแสดงเพิ่มเติม   หลังจากการวิเคราะห์และอภิปรายผลการแสดงแล้ว  กลุ่มอาจจะเสนอแนวทางใหม่ ๆ  ในการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจ  ครูอาจจะให้มีการแสดงเพิ่มเติมก็ได้  แต่ถ้าการแสดงเพิ่มเติมนี้ไม่จำเป็น  ครูสามารถข้ามขั้นไปถึงขั้นที่  5  เลยก็ได้
                    5. ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุป  หลังจากอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงแล้วครูควรกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีส่วนสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ได้ศึกษา     แก่กันและกัน  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์นี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวความคิดกว้างขวางขึ้น  และส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นว่าสิ่งที่เรียนนั้นเกี่ยวข้องกับความจริง  จะทำให้ผู้เรียนสามารถที่จะหาข้อสรุป  หรือได้แนวความคิดรวบยอดที่ตนสามารถเข้าใจได้อย่างดี

                    จุไรรัตน์ นิพัทธ์สัจก์ (2529 : 139146)  อ้างใน  เสริมศรี  ลักษณศิริ (2540 : 263-266) กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นการใช้บทบาทสมมติแบบมีบทเตรียมไว้  หรือแบบไม่มีบทเตรียมไว้  มีขั้นตอนดังไปนี้
                    1. ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ แบ่งออกเป็น  2  ตอน  คือ
                           1.1  การแจกแจงและกำหนดขอบเขตของปัญหา  ในขั้นนี้ครูจะต้องวิเคราะห์แยกแยะสถานการณ์ออกมาให้ได้ว่า  อะไรคือปัญหา หรือจุดที่ต้องการชี้ให้ผู้เรียนเป็นและเรียนเพื่อความเข้าใจ    และกำหนดขอบเขตของปัญหาที่จะสอน
                           1.2  การกำหนดสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ  เมื่อได้ปัญหาที่ชัดเจนแล้วครูจะต้องกำหนดสถานการณ์สมมติที่ง่ายและชัดเจนขึ้น  พร้อมทั้งเขียนบทบาทสมมติที่จะให้ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมติที่เขียนขึ้นนี้  ควรจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้ประสบปัญหาและข้อขัดแย้งเพื่อฝึกฝนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
                    2. ขั้นที่  2  ขั้นแสดง  แบ่งออกเป็น  7  ตอน  คือ
                           2.1  การอ่านเรื่อง  หมายถึง  การนำผู้เรียนให้ไปสู่เรื่องที่จะศึกษาหรือปูพื้นให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันในเรื่องที่จะเรียน  ในขั้นนี้ครูอาจจะเล่าเรื่องราวหรือสถานการณ์สมมติให้ผู้เรียนฟัง  การเล่าเรื่องอุ่นเครื่องนี้จะเป็นไปมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและสถานการณ์ที่ตั้งไว้
                           2.2  การเลือกตัวผู้แสดง  การเลือกตัวผู้แสดงอาจเป็นไปได้ใน  2  ลักษณะ  คือ  อาจจะเลือกตัวผู้แสดงที่มีลักษณะใกล้เคียงกับลักษณะตรงกันข้ามกับลักษณะของบทบาทที่มอบหมายให้ก็ได้  ในกรณีแรกการแสดงจะช่วยให้กลุ่มเข้าใจปัญหาได้ดี  เพราะการแสดงจะช่วยให้ผู้แสดงและผู้ชมได้เข้าใจถึงบทบาทของผู้ที่มีลักษณะแตกต่างออกไป  ดังนั้นการเลือกตัวผู้แสดงจึงขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการแสดงและการสอน  เป็นต้น
                           2.3  การจัดฉากแสดง  การจัดฉากนั้นก็เป็นการจัดฉากแบบสมมติขึ้นมา  เพื่อให้   การแสดงนั้นดูใกล้เคียงกับความเป็นจริงนั้น  การจัดฉากอาจจะเป็นไปในลักษณะแบบง่าย ๆ  โดยการเลื่อนโต๊ะเพียงตัวเดียวไปจนถึงการจัดฉากแบบหรูหรา
                           2.4  การเตรียมผู้สังเกตการณ์  การใช้บทบาทสมมติในการเรียนนั้นช่วยให้การเรียนสนุกสนานมีชีวิตชีวาก็จริง  แต่ครูจะต้องไม่ลืมว่าการเรียนนี้ไม่ใช่การเรียนเพื่อสนุกอย่างเดียว   ครูควรช่วยให้นักเรียนหัดสังเกตและวิเคราะห์เหตุการณ์  ดังนั้น  การเตรียมผู้ชมหรือผู้สังเกตการณ์จึงเป็นสิ่งจำเป็น  ไม่เช่นนั้นการอภิปรายและวิเคราะห์หลังการแสดงจะไม้ได้ผลเท่าที่ควร
                           2.5  การเตรียมความพร้อมก่อนแสดง  การที่ผู้เรียนจะแสดงบทบาทสมมติให้เป็นไปอย่างธรรมชาติ  ดังนั้นครูจำเป็นต้องช่วยขจัดความตื่นเต้นประหม่าและความวิตกกังวลของผู้แสดงออกไปด้วยวิธีการต่าง ๆ
                           2.6  การแสดง  เมื่อผู้แสดงและผู้ชมพร้อมแล้ว  ผู้แสดงก็เริ่มแสดงได้  การแสดงนี้ควรให้เป็นไปตามธรรมชาติ  ไม่มีการตัดกลางคัน  นอกจากในกรณีที่ผู้แสดงต้องการความช่วยเหลือ  ครูหรือผู้กำกับการแสดงอาจเข้าไปช่วยได้ตามโอกาส
                           2.7  การตัดบท  เมื่อผู้แสดงได้แสดงเป็นไปเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว  ครูหรือผู้กำกับการแสดงควรตัดบทหรือหยุดการแสดง  ไม่ควรปล่อยให้การแสดงเยิ่นเย้อไปจะทำให้เสียเวลาและผู้ชมเกิดความเบื่อหน่าย  การตัดจะทำได้ในกรณีต่อไปนี้
                                2.7.1  เมื่อการแสดงนั้นได้ให้ข้อมูลเพียงพอแก่กลุ่มที่จะนำมาวิเคราะห์และอภิปรายได้
                                2.7.2  กลุ่มพอจะเดาได้ว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไรถ้าจะมีการแสดงต่อไป
                                2.7.3  ผู้แสดงไม่สามารถแสดงต่อไปได้เพราะเกิดความเข้าใจผิดบางประการ
                                2.7.4  การแสดงจบเรื่อง
                    3.  ขั้นที่ 3  ขั้นวิเคราะห์และอภิปรายผลการแสดง
                    การวิเคราะห์การแสดงมักจะเป็นไปในรูปการอภิปรายร่วมกันระหว่างผู้แสดงผู้ชมหรือผู้สังเกตการณ์  การอภิปรายจะเป็นไปในรูปใดนั้นมักขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการเรียน บางครั้งอาจจะมีการให้ผู้แสดงได้เปิดเผยความรู้สึกและเสนอความเห็นก่อนแล้ว  จึงให้ผู้ชมหรือ ผู้สังเกตการณ์เสนอความคิดเห็นการอภิปรายนี้จะต้องเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา  และเน้นที่เหตุผลของการแสดงออกและพฤติกรรมที่บทแสดงออกมา  โดยปกติการอภิปรายจะไม่มุ่งถึงว่าใครแสดงดีไม่ดีอย่างไร  นอกจากวัตถุประสงค์ของการแสดง  คือ  การฝึกทักษะการแสดง  การเรียนรู้ทั้งหลายจะอยู่ตรงขั้นนี้เป็นสำคัญ  ครูจะต้องช่วยกระตุ้นให้คิดและหาคำตอบโดยอาจใช้วิธีการตั้งคำถามช่วย


                    4. ขั้นที่  4  ขั้นแสดงเพิ่ม
                    หลังจากการวิเคราะห์และอภิปรายผลการแสดงแล้ว  กลุ่มอาจจะเสนอแนะแนวความคิดใหม่ ๆ  ในการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจ  หรือถ้าหากการแสดงครั้งแรกยังได้ผลไม่เป็นที่พอใจ  ครูอาจจะให้มีการแสดงซ้ำ  หรือเพิ่มเติมก็ได้  เมื่อดูผลอีกครั้ง  หากการแสดงใหม่นี้ไม่จำเป็นครูจะสามารถข้ามไปขั้นที่  5  ได้เลย
                    5. ขั้นที่  5  ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุป
                    หลังจากการอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงแล้ว  ครูควรจะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้อภิปราย       ทั่ว ๆ  ไป  ซึ่งโดยมากจะเป็นการเล่าประสบการณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวข้องให้กันและกันฟัง      การแลกเปลี่ยนประสบการณ์นี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวความคิดกว้างขวางขึ้นและส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นว่าสิ่งที่เรียนนั้นเกี่ยวข้องกับความเป็นจริงจะทำให้ผู้เรียนสามารถที่จะหาข้อสรุป  หรือได้แนวความคิดรวบยอดที่ตนสามารถเข้าใจได้อย่างดี 
                    ระวีวรรณ วุฒิประสิทธิ์ (2530 : 75) อธิบายขั้นตอนการใช้บทบาทสมมติ ไว้ดังนี้
                    1. ขั้นเตรียมการ  มีดังนี้
                           1.1  กำหนดขอบเขตของปัญหาว่า  จะใช้บทเรียนตอนใดให้ผู้เรียนเรียนโดยใช้บทบาทสมมติ  อะไรคือ  ปัญหาที่ต้องการเน้น  ความคิดรวบยอดที่ต้องการคืออะไร  บ่งออกมาให้ชัดเจน
                           1.2  กำหนดสถานการณ์และบทบาทที่จะแสดง  สถานการณ์สมมติต้องให้ง่ายและชัดเจน  โดยครูและผู้เรียนจะร่วมมือกันในการคัดเลือกตัวผู้แสดง  ผู้กำกับการแสดง  การจัดฉาก  ตอลดจนการเขียนบทบาทสมมติขึ้น
                    2. ขั้นแสดง
                   ผู้แสดงจะต้องรู้บทบาทของตัวเอง  แสดงให้เป็นไปตามธรรมชาติ  คอรบคลุมเนื้อหาของบทเรียนเพียงพอแก่การนำมาวิเคราะห์และอภิปราย สรุป
                    3.  ขั้นวิเคราะห์และอภิปราย
                   ครูและผู้เรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้แสดงว่า  ได้แสดงท่าทางได้ถูกต้องใกล้เคียงความจริงเพียงใด  ได้เนื้อหาถูกต้องหรือไม่  และการแสดงนั้นมีข้อบกพร่องหรือปัญหาอะไรบ้าง  และควรจะแก้ปัญหานั้น ๆ  อย่างไร
                    4. ขั้นสรุป
                    เป็นขั้นที่ผู้เรียนสรุปแนวความคิดที่ได้ภายหลังจากการแสดงบทบาทสมมติทุกครั้ง  ขั้นนี้จึงเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนมีแนวคิดที่กว้างขวางขึ้น
                    ไสว ฟักขาว (2544  : 124) กล่าวว่าวิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมติเป็นวิธีจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนจากเรื่องราวที่ครูสมมติขึ้นซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกคิด  และแสดงความรู้สึกในสถานการณ์ที่ตนเองสวมบทบาทอยู่มีขั้นตอนการสอน  ประกอบด้วย

                    ขั้นที่  1  ขั้นอุ่นเครื่อง
                    ครูจะบอกวัตถุประสงค์  และความคาดหวังจากการเรียนรู้จากบทบาทสมมติที่สร้างขึ้น
                    ขั้นที่  2  ขั้นคัดเลือกผู้แสดง
                    ครูคัดเลือกผู้แสดงที่เต็มใจและมีความกล้าแสดงออกและมีแววเป็นนักแสดงที่ดีแล้วให้ทำการฝึกซ้อม
                    ขั้นที่  3  ขั้นจัดฉาก
                    ครูจะให้ผู้เรียนช่วยกันออกแบบฉากให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
                    ขั้นที่  4  ขั้นเตรียมผู้สังเกตการณ์
                    ครูจะบอกบทบาทของผู้ชมว่าควรสังเกตอะไรบ้าง  เช่น  การแสดงบทบาทของผู้แสดง  ข้อคิด  และข้อเสนอที่ได้จากการชม
                    ขั้นที่  5  ขั้นแสดงและการตัดการแสดง
                   ครูให้ผู้แสดง  แสดงบทบาทสมมติเป็นนักศึกษาที่ฝึกสอนและนักเรียนตามเรื่องที่กำหนด  และเมื่อเวลาผ่านไปพอสมควรเมื่อเห็นว่าผู้ชมได้ข้อมูลเพียงพอแล้วจึงสั่งให้ยุติการแสดง
                    ขั้นที่  6  ขั้นอภิปรายและประเมินผล
                    ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายอย่างเสนีจากเรื่องที่ได้ชมการแสดงทั้งเห็นด้วยและไม่เป็นด้วยในพฤติกรรมของผู้แสดง
                    ขั้นที่  7  ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุป
                    ครูให้ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละคนในชีวิตจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีแนวคิดที่กว้างขวางมากขึ้นและช่วยกันสรุปเป็นข้อความรู้ที่ได้จากการเรียน
                    ขั้นที่  8  ขั้นสรุปอ้างอิง
                    ครูมอบหมายให้ผู้เรียนคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทของแต่ละคนในสถานการณ์ใหม่ที่ใกล้เคียงกับเรื่องที่ได้เรียนไปแล้วเพื่อจะนำไปสู่การตัดสินใจที่จะปรับปรุงพฤติกรรมที่เหมาะสมในการปฏิบัติตน
                    อินทิรา  บุณยาทร (2542 : 99-100) อธิบายถึงขั้นตอนการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ ดังนี้ 
                    1. ขั้นเตรียมการ
                           1.1  กำหนดจุดประสงค์ให้แน่ชัดว่า  ต้องการให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจอะไรจากการแสดง
                           1.2  เตรียมสถานการณ์ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์  โดยเขียนแล้วมอบให้ผู้เรียนหรือเล่าให้ผู้เรียนฟัง  ส่วนรายละเอียดให้ผู้เรียนคิดเอง
                    2. ขั้นดำเนินการสอน
                           2.1  นำเข้าสู่การแสดงบทบาทสมมติโดยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ  เช่น   โยงประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียนเข้ามาในบทเรียน  เล่าเรื่องราว  กำหนดสถานการณ์สมมติ  ฯลฯ  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการแสดง  และร่วมกันหาทางแก้ปัญหา
                           2.2  เลือกผู้แสดง
                                   -  เลือกแบบเจาะจง  เช่น  เลือกผู้ที่มีปัญหาออกมาแสดง  เพราะรู้ดีถึงปัญหาและวิธีแก้ไข
                                   -  เลือกผู้ที่มีบุคลิกลักษณะ  คุณสมบัติเหมาะสม  มีความสามารถตามบทบาทที่ต้องการ
                                   -  เลือกอาสาสมัครเพื่อให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนและการตัดสินใจ
                           2.3  เตรียมความพร้อมของผู้แสดง  เมื่อเลือกผู้แสดงได้แล้ว  ผู้สอนต้องให้เวลา         ผู้แสดงได้เตรียมตัว  โดยให้กำลังใจ  ขจัดความตื่นเต้นประหม่า  ฯลฯ
                           2.4  เตรียมจัดฉากการแสดงซึ่งต้องเป็นไปอย่างง่าย ๆ  ประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร
                           2.5  เตรียมผู้ชม  โดยทำความเข้าใจกับผู้ชมว่า  ควรจะสังเกตอะไรบ้างจึงจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน  กำหนดเป็นหัวข้อหรือจัดทำแบบสังเกตการณ์เตรียมไว้ให้พร้อมเพื่อให้ผู้ชมบันทึกพฤติกรรมและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อง ๆ  ไป
                           2.6  เมื่อทุกฝ่ายพร้อมก็ให้เริ่มแสดง  การแสดงจะต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ  ไม่ขัดกลางคัน
                           2.7 การตัดบท  ผู้สอนจะต้องตัดบทหรือหยุดการแสดงเมื่อการแสดงผ่านไปพอสมควร  ไม่ปล่อยให้เยิ่นเย้อ  วิธีการตัดบทควรทำเมื่อ
                                   -  การแสดงให้ข้อมูลแก้ผู้ชมเพียงพอที่จะนำมาวิเคราะห์และอภิปรายได้
                                   -  สามารถเดาเหตุการณ์ต่อไปได้ถูกต้อง
                                   -  ผู้แสดงไม่สามารถแสดงต่อไปได้  เพราะความเข้าใจผิดในบทบาทและอื่น ๆ
                                   -  การแสดงยืดเยื้อ  ผู้ชมหมดความสนใจ
                    3.  ขั้นวิเคราะห์และอภิปรายผลการแสดง
                    ขั้นนี้เป็นขั้นที่สำคัญยิ่งในการสอน  เพราะจะช่วยรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ  ให้กับผู้เรียนตามที่ได้สังเกตเห็นเพื่อนำมาอภิปรายจนเกิดเป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับตนเอง  ขั้นนี้ผู้สอนจะต้องเตรียมคำถามไว้เป็นแนวทางสำหรับตนเองในการที่จะกระตุ้นผู้เรียนให้คิดและอภิปรายร่วมกัน  โดยมีขั้นตอนดังนี้
                           3.1  ชี้แจงทั้งผู้แสดงและผู้ชมว่า  การอภิปรายจะเน้นที่เหตุผลและพฤติกรรมที่แสดงออกมาไม่ใช่เน้นที่ใครแสดงดีไม่ดีอย่างไร
                           3.2  สัมภาษณ์ความรู้สึกและความคิดของผู้แสดง
                           3.3  สัมภาษณ์ความรู้สึกและความคิดของผู้ชมการแสดง
                           3.4  ให้กลุ่มผู้แสดงและกลุ่มผู้ชมวิเคราะห์เหตุการณ์  เสนอความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน

                    4.  ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุป
                    เมื่อจบการอภิปรายผู้สอนจะต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีส่วนสัมพันธ์  หรือเกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังเรียน  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จะช่วยทำให้ผู้เรียนได้แนวความคิดกว้างขวางขึ้นและเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปนั้นเป็นเรื่องจริง  ก่อให้เกิดแนวความคิดรวบยอดที่สามารถเข้าใจบทเรียนดียิ่งขึ้น
                    นอกจากนี้ สิริวรรณ ศรีพหล และ พันทิพา อุทัยสุข (2540 : 107-109) ได้เสนอขั้นตอนการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ แบ่งออกเป็น  9  ขั้นตอน  ดังนี้
                    ขั้นที่  1  กำหนดปัญหาหรือประเด็นที่จะนำมาสู่การแสดง  การกำหนดเหตุการณ์หรือปัญหานั้นควรเลือกปัญหาที่ไม่ซับซ้อนมากนัก  และควรเกี่ยวข้องเฉพาะประเด็นหรือวัตถุประสงค์เดียวเท่านั้น  การกำหนดเหตุการณ์ที่ซับซ้อนและการมีวัตถุประสงค์หลาย ๆ  ข้อนั้นไม่เกิดประโยชน์อะไร
                    การกำหนดปัญหาหรือประเด็นนั้น  ครูเป็นผู้กำหนดส่วนใหญ่  ครูจึงควรเข้าใจเหตุการณ์ที่จะนำมาแสดงอย่างชัดเจนพอสมควร  ส่วนข้อสรุปนั้นอาจไม่จำเป็น  เพราะข้อสรุปหรือตอนจบของเรื่องเป็นเรื่องของผู้แสดงว่าจะแสดงออกอย่างไร
                    เมื่อได้ปัญหาแล้ว  ครูก็จะนำปัญหานั้นมาเสนอให้แก่ผู้เรียน  อาจวิธีเล่าเหตุการณ์หรือปัญหานั้น ๆ  ด้วยตนเอง  หรืออาจฉายภาพยนตร์  หรือการแสดงรูปภาพประกอบการเล่าเรื่องราวนั้น  หน้าที่ของครูในชั้นนี้จะต้องทำให้ประเด็นที่เสนอมานั้นกระจ่างชัดเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและต้องเป็นความเข้าใจที่รวมกันทั้งกลุ่มด้วย
                    เมื่อเข้าใจเหตุการณ์และปัญหาที่จะศึกษาตรงกันแล้ว  ครูและนักเรียนจะช่วยกันตีความในเรื่องราวนั้น ๆ  คือ  เพิ่มรายละเอียดในเหตุการณ์นั้น ๆ  นั่นเอง  รวมทั้งสำรวจว่าอะไรคือปัญหาของเรื่อง
                    จากนั้นจะช่วยกันทำนายว่าเหตุการณ์นั้น ๆ  น่าจะสิ้นสุดลงอย่างไร  เช่น  ปัญหาของนางสาวเรวดีในเหตุการณ์นี้คืออะไรและเรวดีควรทำอย่างไร การถามคำถามเหล่านี้จะเป็น          การท้าทายให้ผู้เรียนสนใจติดตามเหตุการณ์ว่าจะลงเอยในรูปใด  ซึ่งก็เป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้สนใจต่อบทเรียนนั้นเอง
                    ขั้นที่  2  เลือกผู้แสดง  เมื่อเข้าใจเหตุการณ์และบุคคลที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ๆ ตลอด  จนบทบาทของบุคคลในเหตุการณ์นั้น  ก็จะมาถึงขั้นตอนการเลือกผู้แสดง  ครูและนักเรียนอาจร่วมกันเลือกผู้แสดงว่าใครควรเล่นบทบาทใด  อาจให้นักเรียนผู้อาสาสมัครเองก็ได้  หรือบางครั้งครูอาจมีเงื่อนไขในการเลือกผู้แสดงเพื่อความเหมาะสมทั้งนี้ต้องแล้วแต่ครูจะวินิจฉัยเองว่าอะไรควรหรือไม่ควร
                    ขั้นที่  3 จัดฉากและกำหนดขอบเขตของบทบาท  การแสดงบทบาทสมมติต้องการฉากเพียงเล็กน้อย  ส่วนบทนั้นจะไม่มีการเตรียมบทสนทนาอย่างเป็นทางการ  บทบาทนั้นถือว่าเป็นความอิสระของผู้แสดงที่จะแสดงอะไรก็ได้ตามที่เขาคิดว่าบุคคลในเหตุการณ์นั้น ๆ  ควรแสดง
                    ขั้นที่  4  เตรียมผู้สังเกตการณ์  ดังได้กล่าวแล้วว่า  การแสดงบทบาทสมมตินั้น ผู้เรียนจะถูกแบ่งเป็นสองฝ่าย  คือ  ฝ่ายที่เป็นผู้แสดงและฝ่ายที่เป็นผู้ชม  การเตรียมผู้สังเกตการณ์ของผู้ชมนั้น  ครูจะต้องมอบหมายกิจกรรมระหว่างการชมบทบาทสมมติแก่ผู้สังเกตการณ์ด้วย  เพื่อให้การชมบทบาทสมมติมีเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้มิได้ชมไปเฉย ๆ
                    ขั้นที่ 5 แสดง  เมื่อเตรียมการพร้อมแล้ว  ผู้แสดงทุกคนแสดงตามบทที่ได้รับมอบหมายโดยการแสดงอารมณ์ความรู้สึกของตนออกมาอย่างเต็มที่เหมือนเช่นตนเองอยู่ในเหตุการณ์นั้น   จริง ๆ  หรือสวมวิญญาณของบุคคลนั้นอยู่  การแสดงอารมณ์  ทัศนคติ  การตัดสินใจ  และอื่น ๆ  อย่างจริงจังของผู้แสดงจะทำให้การเรียนได้ผลดี  เพราะทั้งผู้แสดงและผู้ชมจะเข้าใจเหตุการณ์และการแสดงออกของบุคคลในเหตุการณ์มากขึ้น
                    ขั้นที่ 6 อภิปรายและการประเมินผล  ถ้าปัญหาหรือเหตุการณ์ที่หยิบยกขึ้นมาแสดงเป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจ  ตลอดจนผู้แสดงและผู้ชมก็เป็นกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถและมีอารมณ์ร่วมในเหตุการณ์แล้วนั้น  การอภิปรายจะได้ผลมาก  โดยที่การอภิปรายนั้นส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย  โดยอาจแบ่งกลุ่มโดยให้ผู้แสดงทั้งหมดอยู่กลุ่มเดียวกันและผู้สังเกตการณ์อาจมีอีก  1 -3  กลุ่ม  หรืออาจแบ่งโดยให้ทุกกลุ่มมีทั้งผู้แสดงและผู้สังเกตการณ์แต่จะมีทั้งหมดกี่กลุ่มแล้วแต่ความเหมาะสม  และแสดงความคิดต่อบทบาทที่ผู้แสดงแสดงจบไปแล้ว  อาจมีทั้งเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยทั้งนี้แล้วแต่เหตุผลของผู้อภิปราย ผู้แสดงก็มีโอกาสที่จะแสดงเหตุผล  ทัศนคติของตนก็ได้ว่าทำไมจึงแสดงบทบาทหรือมีความรู้สึกเช่นนั้น  การอภิปรายจะช่วยให้เกิดความคิดกว้างไกลขึ้น
                    ขั้นที่  7  แสดงเพิ่มเติม  ควรจะมีการแสดงเพิ่มเติมเพื่อให้เหตุการณ์นั้นมีทางออกนอกเหนือจากที่แสดงไปแล้ว  เช่น  บางครั้งเมื่ออภิปรายจบลง  กลุ่มอภิปรายเห็นทางออกของเหตุการณ์นั้น  หรือมีวิธีการแก้ปัญหาในแนวใหม่  อาจแสดงเพิ่มเติม  เพื่อดูผลว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเป็นทางออกใหม่
                    ขั้นที่  8  อภิปรายและประเมินผลอีกครั้ง  เมื่อการแสดงเพิ่มเติมจบลง  กลุ่มจะอภิปรายและประเมินผลอีกครั้งเกี่ยวกับการแสดงนั้น  อาจมีการเปรียบเทียบผลที่ได้จากการแสดงครั้งแรกและครั้งหลังว่าต่างกันอย่างไร  พร้อมกันนั้นก็จะหาข้อสรุป  ซึ่งข้อสรุปดังกล่าวย่อมเป็นข้อสรุปที่ทุกฝ่ายยอมรับ
                    ขั้นที่  9  แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุปเป็นหลักการ  ในขั้นนี้จะเป็นการสรุปเรื่องราวที่ได้ศึกษาไป  โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อาจให้ผู้แทนแต่ละกลุ่มออกมาสรุปผลการอภิปรายของกลุ่มตนว่าเป็นอย่างไร  ทั้งนี้จะทำให้ผู้เรียนกลุ่มอื่น ๆ  มีความคิดกว้างขึ้น  จากนั้นจะนำความคิดและข้อสรุปจากการศึกษาไปสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เป็นจริงอยู่ในสังคม  อาจได้เป็นหลักการออกมา  ซึ่งเป็นหลักการที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคลในสังคมนั่นเอง
                  
  
เทคนิคและข้อเสนอแนะต่าง ๆ  ในการใช้วิธีสอนโดยการใช้การแสดงบทบาทสมมติ
ให้มีประสิทธิภาพ   
                    ทิศนา  แขมมณี (2550 : 359-360) กล่าวถึงการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติว่ามีเทคนิคและข้อเสนอแนะ ดังนี้
                    1. การเตรียมการ  ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะให้ชัดเจน  และสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติที่จะช่วยสนองวัตถุประสงค์นั้น  สถานการณ์และบทบาทสมมติที่กำหนดขึ้นควรมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง  ส่วนจะมีรายละเอียดมากน้อยเพียงใดขึ้นกับวัตถุประสงค์  ผู้สอนอาจใช้บทบาทสมมติแบบละคร  ซึ่งจะกำหนดเรื่องราวให้แสดงแต่ไม่มีบทให้  ผู้สวมบทบาทจะต้องคิดแสดงเอง  หรืออาจใช้บทบาทสมมติแก้ปัญหา  ซึ่งจะกำหนดสถานการณ์ที่มีปัญหาหรือความขัดแย้งและอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมมากบ้าง  น้อยบ้าง  ซึ่งผู้สวมบทบาทจะใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการแสดงออกและแก้ปัญหาตามความคิดของตน
                    2. การเริ่มบทเรียน  ผู้สอนสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้หลายวิธี  เช่น  โยงประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียน  หรือประสบการณ์ที่ผู้เรียนไดรับจากการเรียนครั้งก่อน ๆ  เข้าสู่เรื่องที่จะศึกษา  หรืออาจใช้วิธีเล่าเรื่องราวหรือสถานการณ์สมมติที่เตรียมมาแล้วทิ้งท้ายด้วยปัญหา  เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากคิด  อยากติดตาม  หรืออาจใช้วิธีชี้แจงให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์จาก   การเข้าร่วมแสดง  และช่วยกันคิดแก้ปัญหา
                    3. การเลือกผู้แสดง  ควรเลือกให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการแสดง  เช่น  เลือก         ผู้แสดงที่มีลักษณะเหมาะสมกับบทบาท  เพื่อช่วยให้การแสดงเป็นไปอย่างราบรื่นตามวัตถุประสงค์ได้อย่างรวดเร็ว  หรือเลือกผู้แสดงที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับบทบาทที่กำหนดให้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนคนนั้นได้รับประสบการณ์ใหม่  ได้ทดลองแสดงพฤติกรรมใหม่ ๆ  และเกิดความเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้ที่มีลักษณะต่างไปจากตน  หรืออาจให้ผู้เรียนอาสาสมัคร  หรือเจาะจงเลือกคนใดคนหนึ่ง  ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการช่วยให้บุคคลนั้นเกิดการเรียนรู้  เมื่อได้        ผู้แสดงแล้ว  ควรให้เวลาผู้แสดงเตรียมการแสดง  โดยอาจให้ฝึกซ้อมบ้างตามความจำเป็น
                    4. การเตรียมผู้สังเกตการณ์  หรือผู้ชม  ผู้สอนควรเตรียมผู้ชม  และทำความเข้าใจกับผู้ชมว่า  การแสดงบทบาทสมมตินี้  จัดขึ้นมิใช่มุ่งที่ความสนุก  แต่มุ่งที่จะให้เกิดการเรียนรู้เป็นสำคัญ  ดังนั้นจึงควรชมด้วยความสังเกต  ผู้สอนควรให้คำแนะนำว่าควรสังเกตอะไรและควรบันทึกข้อมูลอย่างไร  และผู้สอนอาจจัดทำแบบสังเกตการณ์ให้ผู้ชมใช้ในการสังเกตด้วยก็ได้
                    5. การแสดง  ก่อนการแสดงอาจมีการจัดฉากการแสดงให้ดูสมจริง  ฉากการแสดงอาจเป็นฉากง่าย ๆ  หรืออาจจะจัดให้ดูสวยงาม  แต่ไม่ควรจะใช้เวลามาก  และควรคำนึงถึงความประหยัดด้วย  เมื่อทุกฝ่ายพร้อมแล้ว  ผู้สอนให้เริ่มการแสดง  และสังเกตการแสดงอย่างใกล้ชิด    ไม่ควรมีการขัดการแสดงกลางคัน  นอกจากกรณีที่มีปัญหาเมื่อการแสดงออกนอกทาง  ผู้สอนอาจจำเป็นต้องให้คำแนะนำบ้าง  เมื่อการแสดงดำเนินไปพอสมควรแล้ว  ผู้สอนควรตัดบท  ยุติ         การแสดง  ไม่ควรให้การแสดงยืดยาว  เยิ่นเย้อจะทำให้ผู้ชมเกิดความเบื่อหน่ายการตัดบทควรทำเมื่อเห็นว่าการแสดงได้ให้ข้อมูลแก่กลุ่มเพียงพอที่จะนำมาวิเคราะห์และอภิปรายเพื่อให้เกิด        การเรียนรู้ตรงตามวัตถุประสงค์  หรือตัดบทเมื่อการแสดงเริ่มยืดเยื้อ  หรือเมื่อผู้ชมพอจะเดาได้ว่า  เรื่องราวจะดำเนินต่อไปอย่างไร  หรือในกรณีที่ผู้แสดงเกิดอารมณ์สะเทือนใจมากเกินไปจนแสดงต่อไปไม่ได้  ควรตัดบททันที
                    6. การวิเคราะห์อภิปรายผลการแสดง  ขั้นนี้เป็นขั้นสำคัญมาก  เพราะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ชัดเจนตามวัตถุประสงค์  เทคนิคที่จำเป็นสำหรับการอภิปรายในช่วงนี้มีหลายประการ ที่สำคัญ  คือ  การสัมภาษณ์ความรู้สึกและความคิดของผู้แสดงและจดบันทึกไว้บนกระดานต่อจากนั้นจึงสัมภาษณ์ผู้ชมหรือผู้สังเกตการณ์ถึงข้อมูลที่สังเกตได้ผู้สอนควรจดบันทึกข้อมูลเหล่านี้บนกระดาน  เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเห็นประเด็นในการอภิปรายและสรุป  ต่อจากนั้น  จึงให้ทุกฝ่ายร่วมกันอภิปราย  แสดงความคิดเห็น  และสรุปประเด็นการเรียนรู้  สิ่งสำคัญมากที่ผู้สอนพึงคำนึงในการอภิปรายก็คือ  การให้ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมติเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะใช้บทบาทเป็นเครื่องมือในการดึงความรู้สึกนึกคิด  การรับรู้  เจตคติ  หรืออคติต่าง ๆ  ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของผู้แสดงออกมาเพื่อเป็นข้อมูลในการเรียนรู้  ดังนั้นการอภิปรายจึงต้องมุ่งเน้นและอภิปรายในเรื่องของพฤติกรรมที่ผู้สวมบทบาทแสดงออก  และความรู้สึกที่เป็นเหตุผลักดันให้เกิดการแสดงพฤติกรรมนั้นออกมา  การซักถาม  จึงควรมุ่งประเด็นไปที่ว่าผู้แสดงได้แสดงพฤติกรรมอะไรบ้าง  ทำไมจึงแสดงพฤติกรรมเช่นนั้น  และพฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดผลอะไรตามมา  การอภิปรายไม่ควรมุ่งประเด็นไปที่การแสดงของผู้สมบทบาทว่า  แสดงได้ดี ไม่ดี  เพียงใด  เพราะนอกจากจะเป็นการอภิปรายที่ผิดกับวัตถุประสงค์แล้ว  ยังอาจทำให้ผู้แสดงเสียความรู้สึกได้
                    ในกรณีที่การอภิปรายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  และผู้เรียนเสนอแนะแนวคิดและแนวทางอื่น ๆ  เพิ่มเติมแตกต่างไปจากที่ผู้สวมบทบาทแสดง  ผู้สอนอาจให้มีการแสดงและ        การอภิปรายเพิ่มเติม  และสรุปบทเรียนอีกครั้งหนึ่ง
                    นอกจากนี้ บุญชม  ศรีสะอาด (2541: 62) ยังได้กล่าวถึงข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ ไว้ดังนี้
                   1. ผู้สอนควรชี้แจงจุดประสงค์ของการแสดงบทบาทสมมติ  และสิ่งที่ต้องการให้ผู้สังเกตการศึกษาจากการแสดงบทบาทสมมตินั้น
                    2. ผู้สอนต้องเตรียมสถานการณ์  และมีคำอธิบายสถานการณ์ให้ชัดเจนสำหรับผู้ที่        จะแสดงบทบาทแต่ละคน  ซึ่งจะต้องจดจำสถานการณ์ที่ตนจะต้องแสดงบทบาทไว้ให้แม่นยำ        มีความเข้าใจในบทบาทของตนอย่างรู้แจ้งสถานการณ์และบทบาทที่กำหนดมักพิมพ์ลงในแผ่นกระดาษเพื่อมอบให้ผู้แสดงบทบาทได้ศึกษา
                    3. ควรให้เวลาในช่วงสั้น ๆ  สำหรับผู้ที่จะแสดงบทบาทสมมติได้ประมวลความคิดซักซ้อมและเตรียมการ
                    4. ในการแสดงบทบาทสมมติจะต้องมีบรรยากาศที่เสรีและความรู้สึกปลอดภัย
                    5. อาจมีการปรับปรุงและแสดงกิจกรรมบางตอนใหม่
                    6.หลังจากการแสดงบทบาทสมมติควรมีการอภิปรายถึงพฤติกรรมที่แสดง  และประเมินผลการปฏิบัติของผู้เรียน  โดยใช้คำถามต่อไปนี้
                           6.1 แต่ละคนแสดงบทบาทได้สมจริงเพียงใด
                           6.2 มีความแตกต่างของบทบาทที่แสดงในทางใด
                           6.3 การแสดงบทบาทเปลี่ยนแปลงความคิดของท่านเกี่ยวกับตัวละครที่แสดงอย่างไร
                           6.4 อะไรคือจุดประสงค์ของการแสดงบทบาทสำหรับบทเรียนนี้


ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมติ
                    นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวว่าการสอนโดยใช้บทบาทสมมติเป็นวิธีสอนที่มีทั้งข้อดีและข้อจำกัดหลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวไว้ดังนี้
                    บุญชม  ศรีสะอาด (2541 : 61-62) กล่าวว่า การสอนโดยใช้บทบาทสมมติมีข้อดีและจำกัด ดังนี้
                    ข้อดี
                    1. ช่วยให้เกิดความเข้าใจว่าคนอื่นอาจคิด  รู้สึก  และปฏิบัติอย่างไร  เห็นอกเห็นใจคนอื่น
                    2. ใช้ช่วยในการเปลี่ยนแปลงเจตคติ
                    3. ผู้เรียนได้รับการเตรียมสำหรับสถานการณ์จริงที่จะเผชิญ
                    4. กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
                    5. สามารถใช้พัฒนาทักษะทางสังคม
                    6. ใช้ในการสอนหรือประเมินผลการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย  หรือทั้งสองประการ
                    7. ผู้แสดงบทบาทเรียนรู้การจัดระบบความคิด  และการตอบสนองโดยฉับพลัน
                    8. ฝึกการใช้ระบบสื่อสารจากการปฏิบัติมากกว่าจากการใช้ถ้อยคำ
                    ข้อจำกัดหรือจุดด้อย 
                    1. ใช้เวลามาก
                    2. นักเรียนเก่งมักผูกขาดสถานการณ์
                    3. ผู้ที่ขาดทักษะที่จำเป็น  เช่น  เป็นคนขี้อาย  พูดติดอ่าง  จะรู้สึกไม่สบายใจและเป็นปัญหามาก
                    4. ผู้เรียนบางคนไม่สามารถแสดงบทบาทตามกำหนดได้
                    5. ถ้าไม่สามารถเชื่อมโยงการแสดงบทบาทสมมติกับบทเรียนให้กับผู้เรียนได้ก็จะทำกิจกรรมทั้งหมดนี้ด้อยคุณค่า
                    สามารถ คงสะอาด (2535 : 52) กล่าวถึงข้อดีและข้อจำกัดของการสอนแบบบทบาทสมมติ ไว้ดังนี้
                    ข้อดี
                    1. ฝึกให้นักเรียนได้แสดงออกในทางที่เหมาะสม
                    2. ช่วยให้นักเรียนมีทักษะมีไหวพริบ  และกล้าที่จะตัดสินใจ
                    3. ช่วยให้นักเรียนมีใจกว้าง  ยอมรับฟังความคิดเห็นคนอื่น
                    4. ทำให้บทเรียนสนุกสนาน  มีชีวิตชีวา
                    5. เป็นการเรียนที่นักเรียนได้มีส่วนร่วม


                    ข้อจำกัด 
                    1. เนื่องจากการสอนแบบบทบาทสมมติจะต้องใช้ผู้แสดงนั้น  ถ้าครูกำหนดนักเรียนไม่เหมาะกับบท  ก็จะได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร  หรือบางครั้งอาจจะเสียเวลามากเกินความจำเป็น  เช่น  ในกรณีที่เด็กขี้อายไม่กล้าแสดงนั้นครูจะต้องพิจารณาผู้แสดงด้วย
                    2. การวิจารณ์หลังการแสดง  ถ้าครูไปวิจารณ์ตัวบุคคล  จะทำให้นักเรียนเกิดความน้อยใจ  และจะไม่กล้าแสดงในคราวต่อไป
                    อาภรณ์  ใจเที่ยง (2550 : 163) อธิบายถึงข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมติ คือ
                    ข้อดี
                    1. ส่งเสริมให้บทเรียนน่าสนใจ  และผ่อนคลายความเครียด
                    2. สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึก  อารมณ์  และเจตคติของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
                    3. สร้างเสริมความสามัคคี  และช่วยให้เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้ดีขึ้น
                    4. ช่วยฝึกฝนแก้ปัญหาและการตัดสินใจของผู้เรียน
                    5. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียนได้ลึกซึ้งขึ้น
                    6. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการปรับหรือเปลี่ยนเจตคติและพฤติกรรม  รวมทั้งปฏิบัติตนในสังคมได้เหมาะสม
                    ข้อจำกัด 
                    1. วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมติต้องใช้เวลามาก  โดยเฉพาะในขั้นอภิปราย  ผู้สอนจึงควรวางแผนและเตรียมการให้รัดกุม
                    2. วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมติอาจพบปัญหาในเรื่องการควบคุมชั้น  ห้องเรียนมักจะเกิดความวุ่นวายสับสนอันเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการแสดง  ผู้สอนต้องวางแผนให้รัดกุม  และพยายามฝึกระเบียบวินัยให้ผู้เรียนตั้งแต่ในระยะแรก
                   อินทิรา บุณยาทร (2542 : 100-101) กล่าวว่าข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนแบบบทบาทสมมติ  มีดังนี้
                    ข้อดี
                    1. ส่งเสริมบทเรียนให้สนุกสนานเพลิดเพลิน
                    2. ทำให้เข้าใจเรื่องราวรายละเอียดในเนื้อเรื่องได้ดี
                    3. ช่วยในการเปลี่ยนแปลงเจตคติ  เกิดความคิดสร้างสรรค์
                    4. ช่วยฝึกฝนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
                    ข้อจำกัด
                    1. ใช้เวลามาก
                    2. ผู้เรียนบางคนไม่สามารถแสดงบทบาทตามที่กำหนดไว้
                    3. มีปัญหาในเรื่องคุมชั้นเรียน  ผู้เรียนจะสับสนวุ่นวายในการจัดเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ  ทำให้ผู้สอนมีภาระเพิ่มขึ้น
                    ทิศนา  แขมมณี (2550 : 361) อธิบายถึงข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมติ  ไว้ดังนี้
                    ข้อดี
                     1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้อื่น  ได้เรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา  เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง
                    2. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ  และเกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติและพฤติกรรมของตน
                    3. เป็นวิธีสอนที่ช่วยพัฒนาทักษะในการเผชิญสถานการณ์  ตัดสินใจและแก้ปัญหา
                    4. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง
                    5. เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมาก  ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน  และการเรียนรู้มีความหมายสำหรับผู้เรียน  เพราะข้อมูลมาจากผู้เรียนโดยตรง
                    ข้อจำกัด
                    1. เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามากพอสมควร
                    2. เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการและการจัดการอย่างรัดกุม  หากจัดการไม่พอดี  อาจเกิดความยุ่งยากสับสนขึ้นได้
                    3. เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยความไวในการรับรู้  (sensitivity)  ของผู้สอน  หากผู้สอนขาดคุณสมบัตินี้ไม่รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนบางคน  และไม่ได้แก้ปัญหาแต่ต้น  อาจเกิดเป็นปัญหาต่อเนื่องไปได้
                    4. เป็นการสอนที่ต้องอาศัยความสามารถของครูในการแก้ปัญหา  เนื่องจากการแสดงของผู้เรียนอาจไม่เป็นไปตามความคาดหมายของผู้สอน  ผู้สอนจะต้องสามารถแก้ปัญหาหรือปรับสถานการณ์และประเด็นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
                   นอกจากนี้ สุพิน  บุญชูวงศ์ (2544 :67) ยังได้กล่าวถึงข้อดีของการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ ไว้คือ 
                   ข้อดี
                    1. ส่งเสริมบทเรียนให้สนุกสนานเพลิดเพลิน
                    2. ทำให้เข้าใจเรื่องราวรายละเอียดในเนื้อเรื่องได้ดี
                    3. ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์  สังคม  มีความรับผิดชอบร่วมกัน

                   สิริวรรณ ศรีพหล และ พันทิพา อุทัยสุข (2540 : 111) กล่าวไว้เฉพาะข้อจำกัดของการสอนโดยใช้บทบาทสมมติว่าการแสดงบทบาทบางครั้งใช้เวลามาก  และครูต้องมีภาระเพิ่มขึ้น  บางครั้งต้องมีการฝึกซ้อมเรียนแสดง ผู้เรียนย่อมเข้าใจความต้องการ  อารมณ์  ความรู้สึก  ผลประโยชน์ตลอดจนความขัดแย้งของกลุ่มบุคคลที่เขาสวมบทบาทนั้น ๆ  อยู่
                    ปัญหาทางประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ปัจจุบัน  เหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นในอดีตหรือในปัจจุบันก็ตาม  ซึ่งถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญ ๆ  ถ้าผู้เรียนได้รับการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติแล้วผู้เรียนจะเข้าใจว่าผู้วางนโยบาย  นักการเมือง  ข้าราชการ  ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้อง   คิดอย่างไร  ตัดสินใจอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้น 
                    นอกจากเหตุการณ์หรือปัญหาที่ยกมากล่าวบ้างแล้ว  ยังมีเหตุการณ์หรือปัญหาอีกมากที่น่าสนใจแต่ทั้งนี้ผู้สอนต้องประเมินว่าเหตุการณ์นั้น ๆ  จะส่งเสริมหรือพัฒนาเจตคติของผู้เรียนได้มากน้อยเพียงใด 

บทบาทของผู้สอนในการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ
                    สิริวรรณ ศรีพหล และ พันทิพา อุทัยสุข (2540 : 111) กล่าวถึงบทบาทของผู้สอนไว้ว่า  ความสำเร็จของการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติประการหนึ่งขึ้นอยู่กับผู้สอน  ในฐานะที่ผู้สอนเป็นผู้จัดการ  ในการวางแผนการเรียนการสอน  บทบาทและหน้าที่ของผู้สอนในการทำให้การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติมีประสิทธิภาพ  คือ 
                   1. กำหนดเหตุการณ์หรือปัญหา  ซึ่งโดยทั่วไปเป็นหน้าที่ของผู้สอน  เมื่อกำหนดปัญหาแล้วจะนำไปเสนอแก่ผู้เรียนรวมทั้งเลือกตัวผู้แสดงด้วย  สำหรับกรณีนี้เป็นการแสดงบทบาทสมมติที่ต้องเตรียมตัวมาก่อน
                   2. เป็นผู้สรุปบทเรียน  ภายหลังจากการอภิปรายสิ้นสุดลง
                   3. เป็นผู้คอยช่วยเหลือในระหว่างปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอน
                   4. ผู้สอนจะต้องยอมรับพฤติกรรมหรือบทบาทที่ผู้เรียนแสดงออกไม่มีการประเมินกิริยาหรือบทบาทต่างๆ ซึ่งถือเป็นเสรีภาพของผู้แสดง
                   5. ช่วยผู้เรียนหาข้อสรุปและเลือกทางออก
                   6. ช่วยส่งเสริมและให้กำลังใจแก่ผู้เรียนในการหาทางออกหรือการแสดงบทบาทสมมติ
                   7. ช่วยชี้ประเด็นที่สำคัญ ๆ  ในการเรียน
                   8. เสนอแนวทางการนำความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องที่เรียนไปแล้วกับเหตุการณ์ที่เกิดจริงในสังคม
                    การเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ  วิชาที่เหมาะสมสำหรับการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ  ได้แก่  วิชาสังคมศึกษา  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  หรือวิชาที่ต้องการพัฒนาเจตคติให้แก่ผู้เรียน  แต่อาจเลือกสอนเพียงบางบทเรียนที่เหมาะสมกับการใช้วิธีการนี้ 

ประโยชน์ของการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ
                    เสริมศรี  ลักษณศิริ (2540 : 261-262) อธิบายถึงประโยชน์ของการใช้บทบาทสมมติในการเรียนการสอนว่าบทบาทสมมตินับว่าเป็นเครื่องมือและวิธีการอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสอนได้มาก โดยเฉพาะในด้านการสอนสังคมศึกษา  และการอบรมระเบียบวินัย  คุณธรรม  ครูสามารถนำบทบาทสมมติไปช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ  หลายด้าน  ดังนี้
                    1. ช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจว่าพฤติกรรมมีสาเหตุ  การที่ให้ผู้เรียนได้แสดงบทบาทต่าง ๆ  ที่ถูกจำกัดอยู่ในสภาพการณ์ต่าง ๆ  จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงสาเหตุต่าง ๆ  ที่ผลักดันให้ต้องแสดงพฤติกรรมใด ๆ  ออกไป  ความเข้าใจนี้จะช่วยให้ผู้เรียนไม่ด่วนตัดสินใจอะไรง่าย ๆ  ก่อนที่จะพิจารณาถึงสาเหตุ  นอกจากนั้นยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวทางในการแก้ปัญหาให้ตรงจุดอีกด้วย
                    2. ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น การที่ให้ผู้เรียนได้สวมบทบาทของผู้อื่นจะช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ว่า ผู้อื่นมีความคิดและความรู้สึกอย่างไรความเข้าใจนี้จะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
                    3. ช่วยลดความรู้สึกตึงเครียดของผู้เรียน  ในบางครั้งผู้เรียนอาจจะมีความรู้สึกรุนแรง    ในใจหลายประการที่ไม่สามารถแสดงออกมาได้  ครูอาจใช้บทบาทสมมติเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ผู้เรียนได้ระบายความรู้สึกนั้น ๆ  ออกมาเป็นการช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของผู้เรียนลง    ได้บ้าง
                    4. ช่วยให้ครูได้เรียนรู้ถึงความต้องการของผู้เรียน  ในกรณีที่ผู้เรียนไม่สามารถจะบอกความต้องการของตนออกมาได้  ครูอาจจัดบทบาทสมมติให้ผู้เรียนได้แสดง  ซึ่งผู้เรียนอาจจะเปิดเผยความต้องการของตนออกมาโดยไม่รู้ตัว
                    5. ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองในทางที่ดี  การให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสำรวจตนเองและเรียนรู้เกี่ยวกับผู้อื่น  โดยใช้บทบาทสมมติเป็นเครื่องมือจะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตนเองมากขึ้น  และพัฒนาความรู้สึกที่ดีกับตนเอง  สิ่งนี้นับว่าเป็นพื้นฐานของ        ความเจริญงอกงามทางจิตใจอันจะช่วยให้บุคคลนั้นดำรงชีพอยู่อย่างปกติสุข  และสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                    6. ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสำรวจค่านิยมของตน  และหาหลักยึดเหนี่ยวใน   การดำรงชีวิตของตน  ในขณะที่ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมติอยู่นั้น  ผู้เรียนจะมีพฤติกรรม             การตัดสินใจที่แสดงให้เห็นถึงค่านิยมของตน  การที่มีโอกาสได้แสดง  อภิปราย  และวิเคราะห์ถึงค่านิยมเหล่านั้นจะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในตนเองมากขึ้น
                    7. ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามัคคีในกลุ่มให้ดีขึ้นในการทำงานร่วมกัน  สมาชิกในกลุ่มมักจะมีปัญหาขัดแย้งกันอยู่บ้าง  ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันและเกิดความแตกแยกกันในหมู่คณะ  วิธีการบทบาทสมมตินี้สามารถนำมาใช้ทำให้คนในกลุ่มเกิดความเข้าใจกันและมีความสามัคคีปรองดองกัน
                    8. ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในสังคม  มนุษย์เป็นสัตว์สังคม  ดังนั้นการเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตนให้เหมาะสมในสังคมจึงเป็นสิ่งจำเป็น  บทบาทสมมติจะช่วยให้การเรียนรู้นี้เป็นจริงและสนุกสนานยิ่งขึ้น
                    9. ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ  บทบาทสมมติแทบทุกบทบาทมักจะมีสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งแฝงอยู่  ผู้แสดงจะต้องใช้วิจารณญาณและไหวพริบใน          การแก้ปัญหา  จึงนับว่าวิธีการนี้ช่วยฝึกเรื่องการแก้ปัญหาและการตัดสินใจได้อย่างดี
การนำการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติไปใช้ 
                    สิริวรรณ ศรีพหล และ พันทิพา อุทัยสุข (2540 : 110)  กล่าวถึงการนำการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องคำนึงถึง  สิ่งต่อไปนี้
                    1. วัตถุประสงค์  การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติจะมีประสิทธิภาพและได้ผลดีต่อผู้เรียน ถ้าผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนได้พัฒนาในด้านเจตคติ  เช่น  เป็นบุคคลที่มีความเห็นใจผู้อื่น  มีความเมตากรุณา  ฯลฯ  บทเรียนที่เหมาะสมกับการสอนดังกล่าวจะเป็นบทเรียนที่เกี่ยวกับปัญหาสังคม  พฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม  ฯลฯ  ดังนั้น  การวิเคราะห์วัตถุประสงค์  และเนื้อหาที่จะสอนในตอนแรกของผู้สอนจึงเป็นสิ่งจำเป็น  เพราะถ้าวัตถุประสงค์และเนื้อหาเอื้อต่อธรรมชาติของการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติแล้ว  การเรียนการสอนในบทเรียนจะมีความหมายต่อผู้เรียนมาก
                    2. การเลือกเหตุการณ์หรือปัญหา  ความสำเร็จของวิธีการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติขึ้นอยู่กับการเลือกเหตุการณ์หรือปัญหาที่จะนำมาศึกษา  การเลือกเหตุการณ์หรือปัญหานั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ  เป็นต้นว่า
                            -  อายุของผู้เรียน  ผู้เรียนอายุต่าง ๆ  กันย่อมมีระดับความเข้าใจและวิธีการแสดงบทบาทต่าง ๆ  กันด้วย  เช่น  กลุ่มผู้เรียน  อายุ  8 10  ปี  ย่อมมีความเข้าใจไม่มากนักในบทบาทหรือพฤติกรรมของบุคคลประเภทที่เขาไม่มีประสบการณ์มาก่อน
                            -  วัฒนธรรมและความเคยชิน  เหตุการณ์ที่เลือกมาศึกษาควรเป็นเหตุการณ์ที่ผู้เรียนจะเข้าใจดีและมีความคุ้นเคย  เช่น  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองหลวง  หรือพฤติกรรมของกลุ่มคนในเมืองหลวงย่อมเป็นที่เข้าใจยากของผู้เรียนที่อยู่ในชนบท  ความเหมาะสมข้อนี้อยู่ที่วิจารณญาณของผู้สอน
                            -  ความยากง่ายของเหตุการณ์  ทั้งนี้พิจารณาความเหมาะสมของวัยและประสบการณ์ของผู้เรียน
                            -  คุณค่าเชิงเจตคติ  เหตุการณ์ที่เลือกมาศึกษานั้นต้องเป็นเหตุการณ์ที่ให้ข้อคิดหรือพัฒนาเจตคติของผู้เรียนมากพอสมควร  ถ้าเหตุการณ์ที่เสนอไปอย่างไม่มีคุณค่าในด้านเจตคติเลย  การเรียนการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติย่อมไม่มีประโยชน์ต่อผู้เรียน
                            -  ประสบการณ์ของผู้เรียนเกี่ยวกับวิธีการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ  ถ้าเป็นกลุ่มผู้เรียนที่ไม่เคยได้รับการสอนแบบนี้มาก่อน  ก็ควรเลือกเหตุการณ์ที่ไม่ซับซ้อนหรือเข้าใจยากมาศึกษาก่อน  เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น  เหตุการณ์ที่นำมาเสนออาจเพิ่มความยากหรือท้าทายให้คิดมากกว่าเดิมได้
                    ปัจจัยดังกล่าวจะเป็นแนวทางในการเลือกเหตุการณ์หรือปัญหาที่นำมาศึกษาได้อย่างเหมาะสม
                    สำหรับเหตุการณ์ที่นำมาศึกษานั้น  ดังได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคม  พฤติกรรมของบุคคลในสังคม  นอกจากนั้นยังมีเหตุการณ์หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อไปนี้ที่ควรนำมาพิจารณาเพื่อจะสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติอีกด้วย  กล่าวคือ
                    1. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล  การแสดงบทบาทสมมติจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้เกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล  เข้าใจถึงพฤติกรรมของบุคคลนั้น  เข้าใจถึงผลประโยชน์ที่บุคคลพิทักษ์และหวงแหนจนเกิดความขัดแย้งขึ้น  และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคของการขจัดความขัดแย้งนั้น ๆ  ด้วย
                    2. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม  เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างชนกลุ่มน้อยกับชนกลุ่มใหญ่  กลุ่มชาติพันธุ์นานา  ที่ปรากฏในประเทศ  ความสัมพันธ์ของกลุ่มชนอาจมีทั้งทางบวกและทางลบ  การสอนให้ผู้เรียนเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มต่าง ๆ  ในสังคมโดยวิธีการแสดงบทบาทสมมติจะเป็นวิธีการสอนที่เหมาะสมที่สุด
                    อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550 : 164-165) กล่าวถึงการนำวิธีสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติไปใช้  ผู้สอนควรคำนึงถึงข้อต่อไปนี้
                    1. จุดประสงค์การสอนเป็นการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนในด้านเจตคติ  เช่น  การเห็นใจผู้อื่น  การมีความเมตตากรุณา  ฯลฯ  บทเรียนที่เหมาะสมเป็นบทเรียนที่เกี่ยวกับพัฒนาสังคม  พฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม  ดังนั้น  ผู้สอนจึงต้องวิเคราะห์จุดประสงค์และเนื้อหา  ถ้าเข้าเกณฑ์นี้  การสอนโดยให้แสดงบทบาทสมมติจะมีความหมายต่อผู้เรียนมาก
                    2. ผู้สอน  ผู้สอนต้องทำความเข้าใจให้กระจ่างกับขั้นตอนการสอน  เพื่อให้การสอนมีคุณค่าต่อผู้เรียน  เช่น  การเลือกปัญหาหรือเหตุการณ์มาศึกษา  การเตรียมสถานการณ์  การเขียนบทบาทสมมติ  และการวิเคราะห์อภิปราย  ถ้าผู้สอนขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง  การสอนจะไม่บรรลุผลดังประสงค์
                    3. เวลา  การสอนแบบนี้ต้องใช้เวลามาก  ผู้สอนต้องวางแผนโดยอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหามาก่อนจากบ้าน  จะช่วยลดเวลาได้บ้าง
                    4. วิชา  วิชาที่เหมาะสมกับการสอนแบบนี้  ได้แก่  กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยในระดับประถมศึกษา  วิชาภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  สังคมศึกษา  หรือวิชาที่ต้องการพัฒนาเจตคติให้แก่ผู้เรียน  โดยผู้สอนอาจเลือกเพียงบางบทเรียนที่เหมาะสมกับการใช้วิธีการนี้
                    5. วิธีสอนแบบนี้ใช้ได้กับผู้เรียนทุกระดับชั้น

สรุปท้ายบท
                   วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ หมายถึง การสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติขึ้นมาที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงบทบาทสมมตินั้นๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนได้กำหนดไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกทางด้านความรู้ ความคิด ที่คิดว่าตนควรจะแสดงออก  ซึ่งการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ มุ่งฝึกการทำงานร่วมกัน กล้าคิด กล้าแสดงออกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อมากยิ่งขึ้น ลดความตึงเครียด เพราะเป็นการสอนที่ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด
                    ลักษณะสำคัญของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติจะเป็นการสอนแบบที่กำหนดให้ผู้เรียนแสดงบทบาทตามที่สมมติขึ้นเทียบเคียงกับสภาพที่เป็นจริง  ตามลักษณะที่ผู้แสดงบทบาทเข้าใจ  เพื่อให้ผู้ดูเกิดความรู้  ความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น  หลักสำคัญของการสอนแบบนี้  คือ  ผู้สอนจะสร้างปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนได้คิด  และให้ผู้เรียนแก้ปัญหานั้น ๆ  ให้ได้ด้วยตัวเอง  ด้วยการแสดงที่ทำให้ผู้ดูเห็นจริง  และเมื่อยุติการแสดงแล้วก็จะมีการอภิปรายโดยผู้สอนและผู้เรียนว่า  การแก้ปัญหานั้นเหมาะสมหรือไม่  ถ้ายังไม่ดีไม่เหมาะสม  ก็อาจหาผู้แสดงชุดใหม่เพื่อหาวิธีใหม่  และให้ได้คำตอบที่ถูกต้องและชัดเจนยิ่งขึ้น   โดยบทบาทสมมติที่ผู้เรียนต้องแสดงออกนั้นมี 2 ลักษณะ คือ การแสดงบทบาทสมมติแบบละคร เป็นการแสดงบทบาทตามเรื่องราวที่มีอยู่แล้ว  ผู้แสดงจะทราบเรื่องราวทั้งหมด และการแสดงบทบาทสมมติแบบแก้ปัญหา  เป็นการแสดงบทบาทสมมติที่ผู้เรียนได้รับทราบสถานการณ์หรือเรื่องราวแต่เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น 
                    การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติแบ่งประเภทออกเป็นหลายลักษณะ นักวิชาการบางท่านกล่าวว่าแบ่งจากความพร้อม บางท่านกล่าวว่าบ่างตามบทบาทการแสดง ซึ่งพอจะสรุปได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
                    1. ผู้แสดงเป็นจะต้องเป็นผู้แสดงบทบาทตามที่ถูกกำหนดไว้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกส่วนตัว
                    2. ผู้แสดงจะต้องแสดงบทบาทตามแบบแผนพฤติกรรมของตนเอง
                    3. การแสดงบทบาทที่ผู้แสดงจะต้องเตรียมตัวก่อนการแสดงละคร
                    4. การแสดงบทบาทที่ผู้แสดงต้องแสดงบทบาทโดยทันที ไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า
                    องค์ประกอบสำคัญของวิธีสอนแบบบทบาทสมมติ  จะประกอบไปด้วย ผู้สอนและผู้เรียน  สถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ  การแสดงบทบาทสมติ  มีการอภิปรายเกี่ยวกับความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และพฤติกรรมที่แสดงออกของ    ผู้แสดง  และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ และมีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน  โดยขั้นตอนของการเรียนการสอนประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
                    1. ขั้นเตรียม  ผู้สอนเตรียมจุดประสงค์และสถานการณ์ในการแสดงบทบาทสมมติ
2. ขั้นดำเนินการสอน  โดยผู้สอนจะต้องนำเข้าสู่บทเรียนโดยการกระตุ้นผู้เรียนเกิดความสนใจ ต่อจากนั้นต้องเลือกผู้แสดงบทบาท เตรียมผู้สังเกตการณ์การแสดงบทบาทสมมติ แล้วเตรียมความพร้อมในการจัดฉากและเตรียมการแสดงให้พร้อม
                    1. ขั้นวิเคราะห์และการอภิปรายผล ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลแล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์
และอภิปรายผล เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย
                    2. ขั้นแสดงเพิ่มเติม  หลังการอภิปรายสรุปผลการแสดงบทบาทสมมติแล้ว หากมี
ข้อบกพร่องหรือความไม่เข้าใจในเรื่องของการแสดงบทบาทสมมติ  ผู้สอนอาจมีการแสดงเพิ่มเติมได้
                    3. ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุปผล หลังจากอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงแล้วครู
ควรกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีส่วนสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ได้ศึกษา     แก่กันและกัน  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์นี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวความคิดกว้างขวางขึ้น  และส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นว่าสิ่งที่เรียนนั้นเกี่ยวข้องกับความจริง  จะทำให้ผู้เรียนสามารถที่จะหาข้อสรุป  หรือได้แนวความคิดรวบยอดที่ตนสามารถเข้าใจได้อย่างดี
                        จึงเห็นได้ว่า การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมตินี้ ผู้สอนจะต้องมีบทบาทในการ
เตรียมความพร้อมพอสมควร ตั้งแต่การกำหนดปัญหา เตรียมความพร้อมด้านผู้แสดง ผู้สังเกตการณ์ ต้องคอยช่วยเหลือผู้เรียนในขณะปฏิบัติ ยอมรับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นของผู้เรียน และช่วยสรุปบทเรียนและเลือกทางออกเพื่อเสริมกำลังใจในการเรียน  การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติจึงมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ซึ่งในส่วนของข้อดี คือ ส่งเสริมให้บทเรียนมีความน่าสนใจ สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกอารมณ์ และเจตคติของผู้เรียน ช่วยฝึกฝนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินในการเรียน และผู้เรียนยังได้เข้าใจรายละเอียดเนื้อเรื่องได้ดียิ่งขึ้น  ส่วนของข้อจำกัดของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ คือ เป็นวิธีการสอนที่ใช้เวลามากพอสมควร ตั้งแต่การเตรียมการสอน การใช้เวลาแสดงบทบาทสมมติ และการวิเคราะห์สรุปอภิปรายผล ซึ่งจะทำให้มีปัญหาในการควบคุมชั้นเรียน อาจจะเกิดการสับสนวุ่นวาย และผู้สอนมีภาระเพิ่มขึ้น


ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสอนแบบบทบาทสมมติ  (Role Playing)





การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความรับผิดชอบต่อตนเองด้วยกิจกรรมบทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2






การลดพฤติกรรมก่อกวน โดยใช้บทบาทสมมติ ชั้น ม.1




การสอนโดยใช้บทบาทสมมติ ประกอบการบรรยาย วิชาสังคม








การสอนโดยใช้บทบาทสมมติ วิชาภาษาอังกฤษ ม.ต้น





ผลการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านออกเสียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โดยใช้นิทานพื้นบ้านประกอบการจัดกิจกรรมด้วยบทบาทสมมติ




การสอนโดยใช้บทบาทสมมติ การเล่านิทาน  ของเด็กปฐมวัย