ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

27 พฤศจิกายน 2553

การวิจัยในชั้นเรียน

                  การวิจัยในชั้นเรียน
   (Classroom Action Research :CAR)
 
 
 
การวิจัยในชั้นเรียน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Classroom Research คือกระบวนการหาความรู้หรือวิธีการใหม่ ๆ    รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนของตนเอง หรือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ผลการวิจัยใช้ได้เฉพาะกลุ่มที่ทำการศึกษา บางทีเราเรียกว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) หรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

Kemmis, S.กล่าวว่า Kurt Lewin เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า"action reseach" โดยมีขอบเขตอยู่ที่การ แก้ปัญหา และพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และให้สามารถศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งสอดคล้อง กับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔ (๕) ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มาตรา ๖๗ รัฐจ้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีครูเป็นผู้ปฏิบัติการวิจัย เรียกว่า ครูนักวิจัย (teacher as Research)ซึ่งจะต้องมีพันธกิจ (Mission) ที่จะต้องค้นหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาต่อไป
ในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ถ้าหากครูต้องเขียนรายงานการวิจัยทั้ง ๕ บท จะต้องใช้เวลายาวนานหลายคนจึงไม่สามารถเขียนรายงานการวิจัยแบบยาวๆ ได้ จึงนำเสนอวิธีการเขียนรายงานการวิจัยแบบง่ายๆ สั้นๆ ซึ่งสามารถทำวิจัย ได้ทั้งครู และนักเรียน ตามแนวของกรมวิชาการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
จุดประสงค์ทั่วไปของการทำวิจัย

๑. เพื่อแก้ปัญหานักเรียนในชั้นที่ตนเองสอน
- สอนไปแล้วมีปัญหา หรือนำปัญหาจากผลการสอนปีที่ผ่านมาหรือคิดหาวิธีการสอนใหม่ๆ มาช่วยให้การสอน สนุกสนานยิ่งขึ้นแล้วทำการวิจัยโดยไม่จำเป็นต้องเขียนเค้าโครงการวิจัยก็ได้ และไม่จำเป็นต้องบันทึกขออนุญาตผู้บริหาร หรือเสนอหัวหน้าฝ่ายต่างๆให้ความเห็นชอบ
- เขียนรายงานการวิจัยสั้นๆ หน้าเดียวหรือ ๒ - ๑๐ หน้า
- บันทึกรายงานเสนอผู้บริหารสถานศึกษาทราบ
- ถ่ายเอกสารเผยแพร่ให้ครูในโรงเรียน หรือโรงเรียนอื่นๆ เพื่อสะสมเป็นผลงานของเรา

๒. เพื่อประกอบการเสนอเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ ๓
- แก้ปัญหานักเรียนในชั้นที่ตนเองสอน
- เมื่อแก้ปัญหาแล้ว เขียนรายงาน สรุป เสนอประกอบการเลื่อนตำแหน่ง
- รายงานการวิจัยควรมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ โดยทั่วไปจะมี ๕ บท ขั้นตอนในการวิจัย

1. เลือกหัวข้อปัญหา เป็นการตอบคำถามที่ว่าเราจะทำวิจัยเรื่องอะไร ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วยความมั่นใจและเขียนชื่อเรื่องที่จะ วิจัยออกมา
2. การกำหนดขอบเขตของปัญหา เมื่อได้ปัญหาที่จะทำการวิจัยแน่นอนแล้วควรจะกำหนดขอบเขตของ ปัญหาให้ชัดแจ้ง เนื่องจากการกำหนดปัญหาที่แน่นอนช่วยผู้วิจัยได้ดังนี้
2.1. วางแผนรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม
2.2. รู้ถึงเทคนิคต่างๆ ที่เหมาะสมในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจน การแปลผลการวิจัย
2.3. มองเห็นภาพอย่างแจ่มชัดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง
3. การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาสาระความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นในตำรา หนังสือ วารสาร รายงานการวิจัยและเอกสาร อื่น ๆ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อผู้วิจัยในข้อต่อไปนี้
3.1. ช่วยให้ไม่เกิดการซ้ำซ้อนในการวิจัย
3.2. ช่วยให้กำหนดขอบเขตของการทำวิจัยได้ถูกต้องชัดเจน (กรอบแนวคิด)
3.3. ได้แนวทางในการกำหนดสมมุติฐาน (กรณีที่มีสมมุติฐาน)
3.4. ได้แนวทางในการสร้างเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูล
3.5. ได้แนวทางในการสุ่มตัวอย่าง
3.6. ได้แนวทางในการใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
3.7. ได้แนวทางการแปลผลการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัย
4. การกำหนดสมมุติฐาน หมายถึง การเขียนข้อความที่เป็นข้อคาดหวังเกี่ยวกับความ แตกต่างที่อาจเป็นไปได้ ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป
5. การเขียนเค้าโครงการวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่ง เนื่องจากเค้าโครงการวิจัยนั้นจะเป็นแบบแผนในการดำเนินงานวิจัย อย่างมี ระบบ ควร จะ ประกอบด้วย
5.1. ชื่องานวิจัย
5.2. ภูมิหลังหรือที่มาของปัญหา
5.3. วัตถุประสงค์
5.4. ขอบเขตของการวิจัย
5.5. ตัวแปรต่าง ๆ ที่วิจัย
5.6. คำนิยามศัพท์เฉพาะ (ในกรณีที่จำเป็น)
5.7. สมมุติฐาน (ถ้ามี)
5.8. วิธีดำเนินการวิจัย
5.8.1. รูปแบบของงานวิจัย
5.8.2 การสุ่มตัวอย่าง
5.8.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
5.8.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
5.9. แผนการทำงาน
5.10. งบประมาณ
6. การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ก่อนที่จะดำเนินการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องทราบว่า จะใช้เครื่องมืออะไรในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือนั้นมีหรือยัง ถ้ายังไม่มีต้องดำเนินการสร้างและนำเครื่องมือนั้นไป ทดลองใช้ เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเองเสมอไป กรณีที่ทราบว่ามีเครื่องมือที่สร้างขึ้นอย่างเป็นมาตรฐานเหมาะสมกับการที่จะนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ก็อาจยืมเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ได้ถ้าสงสัยในเรื่องคุณภาพของเครื่องมือ เนื่องจากสร้างไว้นานแล้วก็อาจนำมาทดลองใช้และวิเคราะห์หาคุณภาพใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อพบว่ามีคุณภาพเข้าเกณฑฺ์ก็นำมาใช้เก็บรวบ รวมข้อมูลได้ (การวิจัยบางเรื่องอาจไม่ใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่เป็นแบบแผนก็จะตัดขั้นตอนนี้ออกไป)
7. ขั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยจะต้องทราบว่าในการทำการวิจัยนั้นสามารถจะรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ประชากรทั้งหมด หรือ สุ่มตัวอย่าง ซึ่งในการสุ่มตัวอย่างนั้นก็ต้องทราบว่าจะต้องสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการใดที่จะให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของ กลุ่มประชากร ข้อมูลที่ผู้วิจัยจะทำการรวบรวมนั้นมาจากไหน ปฐมภูมิ (Primary Source) หรือทุติยภูมิ (Secondary Source)
วิธีการรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ในการวิจัยทางการศึกษา ได้แก่
7.1. การใช้แบบทดสอบ
7.2. การใช้แบบวัดเจตคติ
7.3. การส่งแบบสอบถาม
7.4. การสัมภาษณ์
7.5. การสังเกต
7.6. การใช้เทคนิคสังคมมิติ
7.7. การทดลอง
8. การจัดกระทำข้อมูล (Data Processing) การจัดกระทำข้อมูลเป็นวิธีการดำเนินการอย่างมีระบบตามลำดับขั้น กับข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย การจัดกระทำข้อมูลประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
8.1. Input เป็นการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ เช่น การบันทึกรอยคะแนน การลงรหัสข้อมูล การถ่ายข้อมูล ลงคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
8.2. Processing เป็นขั้นตอนของ การจัดแบ่งประเภทของข้อมูล สำหรับการวิจัย เชิงคุณภาพและเป็นขั้นตอนการคำนวณ สำหรับการวิจัย เชิงปริมาณ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจจะคำนวณด้วยมือ ใช้เครื่องคิดเลข หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูลและปัจจัยเอื้ออำนวย
8.3. Output เป็นขั้นตอนที่นำผลจากการขั้นตอนที่ได้จากขั้น Processing มาเขียนเป็นรายงาน หรือเสนอใน รูปแบบของตาราง หรือ แผนภูมิต่าง ๆ แล้วแปลความหมายของผลที่ได้

9. การสรุปผลการวิจัยและเขียนรายงาน
ขั้นนี้จะเป็นขั้นสุดท้ายของการวิจัย โดยการสรุปผลการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งโดยทั่วไปในรายงานการวิจัย จะประกอบ ด้วย
9.1. บทนำ ซึ่งประกอบด้วยความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ในการวิจัย สมมติฐานในการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น ความไม่สมบูรณ์ของการวิจัยและคำนิยามศัพท์เฉพาะ
9.2. การตรวจสอบเอกสาร
9.3. วิธีการดำเนินการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่ม ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล และขั้นตอนการดำเนินการรวบรวมข้อมูล ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
9.4. ผลการวิจัย
9.5. สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
  • ลำดับขั้นของการวิจัยอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งลำดับขั้นในการวิจัยที่สำคัญ ๆ (Major step) นั้น มีดังต่อไปนี้

    1. เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย (Selecting a topic of research) เพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตหรือขอบข่ายของงาน

    2. ศึกษาค้นคว้ารวบรวมความรู้พื้นฐาน และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย (Review literature and related research) เพื่อให้ผู้วิจัยมองเห็นวิวัฒนาการของความรู้หรือทฤษฎีนั้น ๆ ว่ามีพัฒนาการมาอย่างไร ใครเป็นคนต้นคิด มีใครตรวจสอบวิจัยมาบ้างแล้ว มีตัวแปรใดบ้างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แบบแผนการวิจัยทั่ว ๆ ไปเป็นเช่นใด ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นปัญหาแจ่มชัดขึ้น

    3. ให้คำจำกัดความหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย (Formulating research problem) ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องเขียนบรรยายถึงความเป็นมาของปัญหาที่จะวิจัย ทฤษฎีพื้นฐาน ความมุ่งหมายของการวิจัย ความสำคัญของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น คำนิยามศัพท์เฉพาะ วิธีดำเนินการ กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    4. สร้างสมมติฐาน (Formulating research hypothesis) การสร้างสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาที่จะทำการวิจัยว่า ควรจะเป็นไปในลักษณะใด โดยอาศัยหลักของเหตุผลซึ่งอาจได้มาจากประสบการณ์หรือเอกสารงานวิจัยที่ค้นคว้ามาอนุมาน (Deductive) ว่าปัญหานั้นควรจะตอบได้เช่นไร คำตอบที่ได้จากการเดาหรือคาดคะเนนี้เรียกว่า สมมติฐาน ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องพิจารณาด้วยว่าปัญหาและสมมติฐานในการวิจัยมีความสอดคล้องกัน และสมเหตุสมผลพอที่จะตรวจสอบได้หรือไม่ด้วย

    5. พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล (Source of data) คือผู้วิจัยจะต้องระลึกอยู่เสมอว่ากำลังทำวิจัยเรื่องอะไร ข้อมูลที่จะทำการวิจัยคืออะไร อยู่ที่ไหน กลุ่มตัวอย่างเป็นใคร จะได้มาอย่างไร และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใด เป็นต้น

    6. สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย (Formulating research instrument) คือการเตรียมอุปกรณ์ในการที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลให้พร้อมก่อนที่จะทำการวิจัย โดยพิจารณาจากรูปแบบของการวิจัยและความต้องการประเภทของข้อมูลเป็นสำคัญ เพื่อที่ผู้วิจัยจะได้กำหนดและเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงานวิจัยได้มากที่สุด งานในขั้นนี้ผู้วิจัยควรจะได้มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือว่ามีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้หรือไม่ ซึ่งเราเรียกลักษณะการทำงานอย่างนี้ว่า Pilot study คือทดลองใช้กับกลุ่มย่อย ๆ เพื่อหาข้อบกพร่องและฝึกการแก้ปัญหาร และเป็นการประเมินงานวิจัยเบื้องต้นว่าจะมีคุณค่า คุ้มกับเวลา ค่าใช้จ่าย กำลังกายและกำลังสมองที่จะทำต่อไปหรือไม่

    7. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting data) คือการนำเอาเครื่องมือไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริง ๆ ในการวิจัย ถ้าเป็นการวิจัยแบบทดลองก็เริ่มลงมือทดลองนั่นเอง

    8. การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล (Scrutinizing data and Analysis of data) เป็นการเลือกสรรข้อมูล จัดประเภทข้อมูลหรือจัดหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อให้สะดวกต่อการที่จะนำไปวิเคราะห์ในอันที่จะนำไปตรวจสอบสมมติฐานตลอดจนพิจารณาเลือกใช้สถิติที่จะวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูล เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วก็คิดหาวิธีการนำเสนอค่าสถิติที่ได้ว่าควรจัดเสนอแบบใดจึงจะเหมาะสม และมีความหมายมากที่สุด เพื่อประโยชน์ในการเขียนรายงานการวิจัย

    9. ตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุป (Interpretation of data) ในทางปฏิบัติมีวิธีตีความหรือให้ความหมายข้อมูลอยู่ 2 วิธี ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้มีผู้นิยมใช้พอ ๆ กัน คือวิธีหนึ่งจะอธิบายเฉพาะผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเท่านั้น ไม่นำข้อคิดเห็นส่วนตัวหรือทฤษฎีหรือผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบข้อสรุป กล่าวคือให้ตัวเลขหรือผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้นเป็นสิ่งแสดงข้อเท็จจริง ผู้อ่านจะเป็นผู้วินิจฉัยเอง ส่วนอีกวิธีหนึ่งจะอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสอดแทรกความคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่อ้างอิงมาจากทฤษฎีและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบเข้ากับผลของการวิเคราะห์ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ โดยเชื่อว่าจะช่วยให้การตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

    10. การเขียนรายงานการวิจัยและการจัดพิมพ์ (Research report and publishing) เป็นการรายงานข้อเท็จจริงที่ค้นพบเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ผู้วิจัยจะต้องเขียนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และรัดกุม แล้วตรวจดูความถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะจัดพิมพ์ต่อไป 


  • ขั้นตอนในการวิจัย
    1. เลือกหัวข้อปัญหา เป็นการตอบคำถามที่ว่าเราจะทำวิจัยเรื่องอะไร ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วยความมั่นใจและเขียนชื่อเรื่องที่จะ วิจัยออกมา
    2. การกำหนดขอบเขตของปัญหา เมื่อได้ปัญหาที่จะทำการวิจัยแน่นอนแล้วควรจะกำหนดขอบเขตของ ปัญหาให้ชัดแจ้ง เนื่องจากการกำหนดปัญหาที่แน่นอนช่วยผู้วิจัยได้ดังนี้
    2.1. วางแผนรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม
    2.2. รู้ถึงเทคนิคต่างๆ ที่เหมาะสมในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจน การแปลผลการวิจัย
    2.3. มองเห็นภาพอย่างแจ่มชัดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง

    3. การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาสาระความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นในตำรา หนังสือ วารสาร รายงานการวิจัยและเอกสาร อื่น ๆ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อผู้วิจัยในข้อต่อไปนี้
    3.1. ช่วยให้ไม่เกิดการซ้ำซ้อนในการวิจัย
    3.2. ช่วยให้กำหนดขอบเขตของการทำวิจัยได้ถูกต้องชัดเจน (กรอบแนวคิด)
    3.3. ได้แนวทางในการกำหนดสมมุติฐาน (กรณีที่มีสมมุติฐาน)
    3.4. ได้แนวทางในการสร้างเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูล
    3.5. ได้แนวทางในการสุ่มตัวอย่าง
    3.6. ได้แนวทางในการใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
    3.7. ได้แนวทางการแปลผลการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัย

    4. การกำหนดสมมุติฐาน หมายถึง การเขียนข้อความที่เป็นข้อคาดหวังเกี่ยวกับความ แตกต่างที่อาจเป็นไปได้ ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป
    5. การเขียนเค้าโครงการวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่ง เนื่องจากเค้าโครงการวิจัยนั้นจะเป็นแบบแผนในการดำเนินงานวิจัย อย่างมี ระบบ ควร จะ ประกอบด้วย
    1. ชื่องานวิจัย
    2. ภูมิหลังหรือที่มาของปัญหา
    3. วัตถุประสงค์
    4. ขอบเขตของการวิจัย
    5. ตัวแปรต่าง ๆ ที่วิจัย
    6. คำนิยามศัพท์เฉพาะ (ในกรณีที่จำเป็น)
    7. สมมุติฐาน (ถ้ามี)
    8. วิธีดำเนินการวิจัย
    1.1 รูปแบบของงานวิจัย
    1.2 การสุ่มตัวอย่าง
    1.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
    1.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
    9. แผนการทำงาน
    10. งบประมาณ

    6. การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ก่อนที่จะดำเนินการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องทราบว่า จะใช้เครื่องมืออะไรในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือนั้นมีหรือยัง ถ้ายังไม่มีต้องดำเนินการสร้างและนำเครื่องมือนั้นไป ทดลองใช้ เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเองเสมอไป กรณีที่ทราบว่ามีเครื่องมือที่สร้างขึ้นอย่างเป็นมาตรฐานเหมาะสมกับการที่จะนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ก็อาจยืมเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ได้ถ้าสงสัยในเรื่องคุณภาพของเครื่องมือ เนื่องจากสร้างไว้นานแล้วก็อาจนำมาทดลองใช้และวิเคราะห์หาคุณภาพใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อพบว่ามีคุณภาพเข้าเกณฑ ์ก็นำมาใ ้เก็บรวบ รวมข้อมูลได้ (การวิจัยบางเรื่องอาจไม่ใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่เป็นแบบแผนก็จะตัดขั้นตอนนี้ออกไป)
    7. ขั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยจะต้องทราบว่าในการทำการวิจัยนั้นสามารถจะรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ประชากรทั้งหมด หรือ สุ่มตัวอย่าง ซึ่งในการสุ่มตัวอย่างนั้นก็ต้องทราบว่าจะต้องสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการใดที่จะให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของ กลุ่มประชากร ข้อมูลที่ผู้วิจัยจะทำการรวบรวมนั้นมาจากไหน ปฐมภูมิ (Primary Source) หรือทุติยภูมิ (Secondary Source)
    วิธีการรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ในการวิจัยทางการศึกษา ได้แก่
    7.1. การใช้แบบทดสอบ
    7.2. การใช้แบบวัดเจตคติ
    7.3. การส่งแบบสอบถาม
    7.4. การสัมภาษณ์
    7.5. การสังเกต
    7.6. การใช้เทคนิคสังคมมิติ
    7.7. การทดลอง

    8. การจัดกระทำข้อมูล (Data Processing) การจัดกระทำข้อมูลเป็นวิธีการดำเนินการอย่างมีระบบตามลำดับขั้น กับข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย การจัดกระทำข้อมูลประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
    8.1. Input เป็นการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ เช่น การบันทึกรอยคะแนน การลงรหัสข้อมูล การถ่ายข้อมูล ลงคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
    8.2. Processing เป็นขั้นตอนของ การจัดแบ่งประเภทของข้อมูล สำหรับการวิจัย เชิงคุณภาพและเป็นขั้นตอนการคำนวณ สำหรับการวิจัย เชิงปริมาณ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจจะคำนวณด้วยมือ ใช้เครื่องคิดเลข หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูลและปัจจัยเอื้ออำนวย
    8.3. Output เป็นขั้นตอนที่นำผลจากการขั้นตอนที่ได้จากขั้น Processing มาเขียนเป็นรายงาน หรือเสนอใน รูปแบบของตาราง หรือ แผนภูมิต่าง ๆ แล้วแปลความหมายของผลที่ได้

    9. การสรุปผลการวิจัยและเขียนรายงาน
    ขั้นนี้จะเป็นขั้นสุดท้ายของการวิจัย โดยการสรุปผลการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งโดยทั่วไปในรายงานการวิจัย จะประกอบ ด้วย
    9.1. บทนำ ซึ่งประกอบด้วยความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ในการวิจัย สมมติฐานในการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น ความไม่สมบูรณ์ของการวิจัยและคำนิยามศัพท์เฉพาะ
    9.2. การตรวจสอบเอกสาร
    9.3. วิธีการดำเนินการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่ม ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล และขั้นตอนการดำเนินการรวบรวมข้อมูล ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
    9.4. ผลการวิจัย
    9.5. สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
     


  • จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซี่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และมีผลต่อระบบการศึกษาของประเทศอย่างยิ่ง โดยที่มีข้อกำหนดไว้ในมาตรา 81 ที่กำหนดให้มีการพัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งถือว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูง เมื่อพิจารณาคำว่า “วิชาชีพ” ซึ่งน่าจะหมายถึง การประกอบอาชีพใด ๆ ที่จำเป็นต้องอาศัยผู้มีความรู้ความสามารถได้รับการศึกษาเล่าเรียนมาโดยเฉพาะ และมีการพัฒนาอาชีพของตนให้เกิดความก้าวหน้า บรรลุผลสำเร็จของงานอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งจะต่างจากคำว่า “อาชีพ” ที่เป็นการประกอบอาชีพที่อาจจะไม่ต้องศึกษาเล่าเรียนมาโดยเฉพาะ แต่มีความสามารถที่จะทำงานในอาชีพนั้น ๆ ได้ และสามารถทำงานนั้นไปได้เรื่อย ๆ โดยไม่ต้องมีการพัฒนางานหรือเปลี่ยนแปลงไปสู่คุณภาพของการทำงานหรือผลงานก็ได้ ส่วนคำว่า “วิชาชีพครู” จะหมายถึง อาชีพครูของผู้ที่ได้รับการศึกษามาในสาขา การศึกษาหรือวิชาชีพครูโดยเฉพาะในระดับปริญญา มีการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความก้าวหน้าอยู่เสมอ รวมทั้งพัฒนาปัจจัย กระบวนการ และผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนอยู่ตลอดเวลา และคำว่า “วิชาชีพชั้นสูง” น่าจะหมายถึง เป็นวิชาชีพที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากวิชาชีพอื่น ๆ อาจจะเป็นเพราะ ผู้ประกอบวิชาชีพนี้ จะต้องเกี่ยวข้องกับบุคลากรของชาติ ต้องอาศัยความเป็นผู้มีคุณธรรมสูงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์และบุคคลทั่วไปและยังต้องมีความรู้ความสามารถก้าวทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวิทยาการ เทคโนโลยี อยู่ตลอดเวลา

    สำหรับการที่จะทำให้ผู้มีอาชีพครูเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูและเป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้น ครูจะต้องมีกระบวนการพัฒนาอาชีพตนเอง อย่างมีระบบ รอบคอบ รัดกุม ละเอียดถี่ถ้วน อาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วน อาศัยหลักวิชาในการพัฒนาและศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวางรอบด้าน ให้ได้ความรู้ใหม่ในการบรรยายสภาพการณ์ต่าง ๆ หรือได้นวัตกรรมใหม่ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนางานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล นั่นคือ คุณภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และคุณภาพของผู้เรียน นั่นเอง ซึ่งกระบวนการนี้เราจะเรียกว่า “การวิจัย” และเป็นการวิจัยที่มุ่งพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรหรือสังคมคาดหวัง ซึ่งอาจจะดำเนินการโดยครูหรือคณะครู หรือดำเนินการร่วมกับผู้เรียนก็ได้ การวิจัยนี้เราจะเรียกว่า “การวิจัยในชั้นเรียน”

    นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังกำหนดให้มีการตรากฎหมายการศึกษาของชาติขึ้น ส่งผลให้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ขึ้น และเพื่ออนุวัติให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญ เพื่อยกมาตรฐานวิทยฐานะและจรรยาวิชาชีพครู พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดให้ครูใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ (มตารา 24 (5)) ให้ครูทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา (มาตรา 30) ให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (มาตรา 67) และยังกำหนดให้ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ต้องใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู อีกด้วย

    ด้วยเหตุผลทางกฎหมายและสภาพการณ์ของสังคม เศรษฐกิจ วิทยาการและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญการจะทำให้ครูเป็นผู้ที่ได้ชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูและเป็นวิชาชีพชั้นสูง ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอย่างภาคภูมิ จึงไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการใช้การวิจัยโดยเฉพาะการวิจัยในชั้นเรียน เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่การเป็นผู้ได้ประกอบวิชาชีพครู


  • ประเภทของการวิจัยในชั้นเรียน

    ในการวิจัยโดยทั่วไปสามารถจำแนกประเภทตามเกณฑ์ของการจำแนก หลายเกณฑ์ ขอยกตัวอย่างบางเกณฑ์ดังนี้

    1. จำแนกตามประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย ได้ 2 ประเภท คือ การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ และการวิจัยประยุกต์

    2. จำแนกตามระเบียบวิธีการวิจัย ได้ 2 ประเภท คือ การวิจัยเชิงพรรณนาหรือบรรยาย การวิจัยเชิงทดลอง และการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

    3. จำแนกตามสาขาวิชา ได้ 3 ประเภท คือ การวิจัยทางสังคมศาสตร์ การวิจัยทางมนุษยศาสตร์ และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

    4. จำแนกตามข้อมูลที่ใช้ ได้ 2 ประเทภ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ

    อย่างไรก็ตาม ในการวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ อาจจะไม่สามารถแยกประเภทได้อย่างเด็ดขาดอาจจะจัดอยู่ได้ในบางประเภทหรือหลายประเภทในขณะเดียวกัน เช่น ในการวิจัยเรื่องหนึ่งอาจจะเป็นการวิจัยเพื่อพรรณนาหรือบรรยาย ปัญหา และแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหาและทดลองนวัตกรรมการแก้ปัญหา การวิจัยนี้จึงเป็นทั้งการวิจัยเชิงพรรณนาหรือบรรยายและการวิจัยเชิงทดลอง หรือการวิจัยบางเรื่องอาจจะต้องใช้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ หรือการวิจัยบางเรื่องอาจจะเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาหลายสาขาหรือเรียกว่า “สหวิทยาการ” (Interdisciplinary) เป็นต้น

    เช่นเดียวกัน ในการวิจัยในชั้นเรียนก็อาจยึดเกณฑ์การจำแนกเช่นเดียวกันกับการวิจัยทั่วไป ก็ได้ อย่างไรก็ตาม การวิจัยในชั้นเรียนมีลักษณะเฉพาะอาจจะจำแนกตามเกณฑ์เฉพาะเพิ่มขึ้นได้ดังนี้

    1. จำแนกตามลักษณะความเข้มของกระบวนการวิจัย ได้ 3 ประเภท คือ

    1.1 การวิจัยหน้าเดียว ซึ่งเป็นการวิจัยที่สามารถเขียนรายงานเพียงหน้าเดียวหรือหลายหน้าแต่ไม่มากนัก และการเขียนจะเขียนเพียงบอกปัญหาและวิธีแก้ปัญหาและผลการแก้ปัญหาอย่างย่อพอเข้าใจคล้ายกับบทคัดย่อของการวิจัยอื่น

    1.2 การวิจัยอย่างง่าย เป็นการวิจัยที่ค่อนข้างมีกระบวนการที่ครบถ้วนแต่การเขียนรายงานการวิจัยบางหัวข้ออาจขาดความสมบูรณ์บ้างเช่น เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    1.3 การวิจัยที่สมบูรณ์ เป็นการวิจัยที่อยู่ในระดับมาตรฐานสากล ดำเนินการตามกระบวนการที่ครบถ้วน เขียนรายงานการวิจัยอย่างสมบูรณ์

    2. จำแนกตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของการวิจัย ได้ 2 ประภท คือ

    2.1 การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา เช่น การวิจัยเพื่อวิเคราะห์ผู้เรียนหรือวินิจฉัยผู้เรียน การวิจัยเพื่อประเมินคุณภาพการศึกษา การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการเรียนรู้ เป็นต้น

    2.2 การวิจัยเพื่อประยุกต์ทฤษฎีในการแก้ปัญหาและพัฒนา เช่น การวิจัยเพื่อสร้างสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ การวิจัยเพื่อสร้างเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ การวิจัยเพื่อปรับแก้พฤติกรรมบางอย่างของผู้เรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะหรือพฤติกรรมของผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศ เป็นต้น

    จากที่ทราบประเภทของการวิจัยดังกล่าวแล้ว การวิจัยที่นิยมหรือควรส่งเสริมให้ครูทำการวิจัยในชั้นเรียน ควรจะเป็นการวิจัยที่มุ่งที่จะศึกษาผู้เรียนโดยเฉพาะปัญหาการเรียนรู้ และนำไปสู่การแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหา ทดลองแก้ปัญหาและศึกษาผลการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นงานในหน้าที่ของครู และเป็นการวิจัยที่มีความสมบูรณ์ถูกต้องตามหลักวิชา ในบทความนี้ จึงจะนำเสนอกระบวนและขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียนที่เป็นการวิจัยเชิงทดลองและเป็นการวิจัยที่สมบูรณ์


    กระบวนและขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียน

    การวิจัยโดยทั่วไปประยุกต์จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน คือ สังเกตปัญหา

    ตั้งสมมติฐาน เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล เช่นเดียวกัน การวิจัยในชั้นเรียน ที่เป็นการวิจัยเชิงทดลองและเป็นการวิจัยที่สมบูรณ์ก็ได้ประยุกต์จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นี้เช่นกัน และมีขั้นตอน ดังนี้ คือ

    1. กำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย

    2. แสวงหาหรือกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา และตั้งสมมติฐาน

    3. วางแผนการทดลองแก้ปัญหาและเก็บรวบรวมข้อมูล

    3.1 ออกแบบการวิจัย

    3.2 กำหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง

    3.3 สร้างเครื่องมือในการวิจัย

    4. วิเคราะห์ข้อมูล แปรผลการวิเคราะห์ข้อมูล

    5. สรุปผล


  • ขั้นตอนที่ 1 กำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย เป็นขั้นตอนที่ครูผู้วิจัยจะต้องกำหนดสิ่งต่อไปนี้

    1.1 กำหนดขอบเขตที่จะศึกษาพัฒนาหรือแก้ปัญหา โดยที่ครูจะต้องกำหนดขอบเขตให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของตน เช่น กำหนดวิชา กำหนดเนื้อหาวิชา บทเรียนหรือหน่วยเรียน ระดับชั้น ที่ตนเองรับผิดชอบในการเรียนการสอน หากครูได้รับผิดชอบทุกวิชา (โดยเฉพาะระดับประถมศึกษา) ก็ต้องกำหนดว่าจะพัฒนาวิชาอะไร ควรเป็นวิชาที่มีปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุดหรือเป็นวิชาที่สอดคล้องกับความถนัดหรือชำนาญของผู้วิจัยและตรงกับวิชาเอกที่ครูผู้วิจัยสำเร็จมา

    1.2 กำหนดจุดพัฒนาหรือแก้ปัญหา ในขั้นนี้ครูผู้วิจัยจะพิจารณา ว่าการทำหน้าที่ของตนเองนั้นมีปัญหาหรือไม่จุดใด เพื่อกำหนดว่าจะทำการแก้ปัญหาวิชานี้ตลอดปีหรือตลอดภาคเรียน หรือเป็นบางบทเรียนหรือบางหน่วยเรียน หรือจะเลือกพัฒนาเป็นรายทักษะหรือสมรรถภาพ เช่น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการแก้โจทย์ปัญหา ทักษะการพูดและฟังภาษาอังกฤษ หรือค่านิยมบางประการ เป็นต้น

    ครูผู้วิจัยจะต้องทำการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งสามารถทำได้โดยง่ายคือ เปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่คาดหวัง หรือพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำในเนื้อหาใด บทใดหรือทักษะใด ครูผู้วิจัยอาจนำเอาผลการประเมินรายจุดประสงค์ การเรียนรู้มาวิเคราะห์ว่าจุดประสงค์ใดที่ผู้เรียนได้คะแนนเฉลี่ยต่ำ หรือครูผู้วิจัยจะใช้เครื่องมือประเมินผลประเภทแบบทดสอบวินิจฉัย โดยเฉพาะก็ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถหาจุดพัฒนาโดยการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนของครูผู้วิจัยเอง ถ้าพบว่า พฤติกรรมของผู้เรียนยังขาดคุณลักษณะที่ดีด้านใด ก็สามารถกำหนดจุดพัฒนาได้

    เราอาจจะเริ่มพิจารณาที่ผลผลิตและผลกระทบก่อน จากสภาพที่เป็นจริงของคุณภาพผู้เรียนแตกต่างจากสภาพที่คาดหวังหรือไม่ หากแตกต่างจึงพิจารณาว่ากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และปัจจัยในการเรียนรู้ตามสภาพที่เป็นจริงอยู่นั้นเป็นไปตามที่คาดหวังหรือยัง หากยังแตกต่างกัน การแก้ปัญหาก็คือ จัดให้มีปัจจัยหรือกระบวนการที่เป็นที่คาดหวัง เพราะเหตุว่า หากมีแก้ปัญหาที่ปัจจัย ก็จะส่งผลมายังกระบวนการ และส่งผลต่อผลผลิตและผลกระทบในที่สุด ในขั้นตอนนี้จะทำให้ทราบว่าสาเหตุของปัญหาของผลผลิตหรือผลกระทบ นั่นเอง ดังแผนภูมิที่แสดงข้างล่าง นี้







    สภาพที่เป็นจริง (ปัจจุบัน) ............สภาพที่คาดหวัง (เป้าหมายที่กำหนด)




    ปัจจัยการเรียนรู้.................................... ปัจจัยการเรียนรู้





    กระบวนการเรียนรู้............................กระบวนการเรียนรู้





    ผลผลิต(คุณภาพผู้เรียน)..........................ผลผลิต(คุณภาพผู้เรียน)





    ผลกระทบ..........................................ผลกระทบ





    ปัญหา



    แผนภูมิ แสดงการวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ



    ขั้นตอนที่ 2 แสวงหาหรือกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา และตั้งสมมติฐาน

    จากขั้นตอนที่ 1 ทำให้ทราบว่ามีปัญหาอยู่ที่จุดใด ในขั้นนี้เป็นขั้นตอนที่ครูผู้วิจัยจะต้องแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหา และตั้งสมมติฐานว่า แนวทางการแก้ปัญหานี้จะทำให้ปัญหาหมดไป เช่น นักเรียนที่เรียนตามแนวทางที่ครูผู้วิจัยสร้างขึ้นจะมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นหรือสูงกว่าการเรียนรู้โดยวิธีปกติ เป็นต้น สำหรับการแสวงหาแนวทางครูผู้วิจัยจะต้องทำการศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งตีพิมพ์เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ดังนี้

    1) ตำรา เช่น ตำราเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีหรือหลักการต่าง ๆ ตำราเกี่ยวกับหลักการสอน จิตวิทยาการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้จิตวิทยาในการเรียนการสอน พฤติกรรมการสอนวิชานั้น ๆ การประเมินผลการเรียนทั่วไป หรือการประเมินผลในรายวิชานั้น ๆ การใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น

    2) เอกสารเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั่วไป เช่น บทความ หรือคอลัมน์ในนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์หรือสิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ ที่นำเสนอแนวคิด ทฤษฎี หลักการหรือวิธีปฏิบัติที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำวิจัย

    3) รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือบทคัดย่อการวิจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ

    เมื่อศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว จะทำให้ครูผู้วิจัยเข้าใจแนวคิด ทฤษฎีหรือหลักการ เห็นแบบอย่างการแก้ปัญหาและสามารถเลือกแนวทางการแก้ปัญหา หรือกำหนดนวัตกรรมที่จะใช้แก้ปัญหา ในการดำเนินการในขั้นตอนนี้ครูผู้วิจัยจะต้องทำการรวบรวม แล้วนำมาเรียบเรียงและสรุปจากการศึกษาค้นคว้าในรายงานการวิจัยด้วย

    สำหรับนวัตกรรมที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับผู้เรียนในการแก้ปัญหา การเรียนรู้ ที่ครูผู้วิจัยสามารถเลือกใช้ มี 2 ประเภท คือ

    1) ประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์ แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ

    1.1) สิ่งพิมพ์ ได้แก่ เอกสาร บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน แบบฝึก เกม/นิทาน/การ์ตูน เป็นต้น

    1.2) โสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ ภาพยนตร์ สไลด์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เทปเพลง เทปเสียงเนื้อหา วีดีทัศน์ เป็นต้น

    2) ประเภทรูปแบบ/เทคนิค ได้แก่ แผนการสอน การเรียนแบบศูนย์การเรียน การสอนโดยใช้โครงงาน การสอนแบบบูรณาการ การสอนแบบการแก้ปัญหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนสำคัญที่สุด (child center) รูปแบบการสอนอื่น ๆ ที่ผู้วิจัยคิดขึ้นเอง เป็นต้น

    ขั้นตอนที่ 3 วางแผนการทดลองแก้ปัญหาและเก็บรวบรวมข้อมูล

    เมื่อกำหนดแนวทางหรือนวัตกรรมการแก้ปัญหาแล้ว ครูผู้วิจัยจะดำเนินการ ดังต่อไปนี้

    3.1 ออกแบบการวิจัย เป็นขั้นตอนในการกำหนดวิธีการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่านวัตกรรมที่กำหนดขึ้นนั้น ใช้ได้ผลหรือไม่ หรือแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ ครูผู้วิจัยสามารถเลือกแบบการวิจัยอย่างง่าย จากตัวอย่างแบบการวิจัยต่อไปนี้ จากรายละเอียดและแผนภูมิการวิจัยแต่ละแบบ โดยมีสัญลักษณ์ในแบบการวิจัย ดังนี้

    E แทน กลุ่มทดลอง

    C แทน กลุ่มควบคุม

    O1 แทน การประเมินก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้

    O2 แทน การประเมินก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้

    X แทน การทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้

    ~X แทน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีอื่นที่ไม่ใช้นวัตกรรม


    แบบการวิจัยที่ 1 แบบ One shot case study


    E....... X.................O1



    แบบนี้จะเป็นแบบทดลองใช้นวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แล้วประเมินหลังเรียน แล้วนำผลไปเทียบกับเกณฑ์ที่วางไว้ ซึ่งผู้วิจัยสามารถกำหนดเกณฑ์ขึ้นมาเองได้ แบบนี้เหมาะสำหรับการดำเนินการวิจัยที่มีนักเรียนเพียงกลุ่มเดียว และเนื้อหาที่ใช้เป็นจุดพัฒนาหรือแก้ปัญหา เป็นเรื่องใหม่สำหรับนักเรียนจึงไม่จำเป็นต้องประเมินก่อนเรียนรู้


    แบบการวิจัยที่ 2 แบบ One group pretest-posttest


    E........O1...............X................O2



    เป็นแบบประเมินผลก่อนแล้วจึงทดลองใช้นวัตกรรมสอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และประเมินผลหลังเรียนอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เครื่องมือในการประเมินเดิมหรือคู่ขนานกัน (เครื่องมือที่วัดคุณลักษณะเดียวกัน ระดับความยากง่ายเท่ากัน แต่แตกต่างกันบ้าง) ก็ได้ แล้วทำการเปรียบเทียบคะแนนการประเมินผลก่อนและหลังการทดลองใช้นวัตกรรม แบบนี้จะมีความเหมาะสมกับวิจัยที่ใช้เนื้อหาการเรียนรู้ที่นักเรียนอาจเรียนรู้มาแล้ว และจะเหมาะสมอย่างยิ่งในการทดลองสอนซ่อมเสริม

    แบบการวิจัยที่ 3 แบบ Static-group comparison หรือ control group posttest only


    E..........X...............O2

    C.........~X...............O2



    เป็นแบบการวิจัยที่มีนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีอื่นหรือวิธีปกติ และมีนักเรียนกลุ่มทดลองใช้นวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และทำการประเมินผลหลังจากเรียนทั้งสองกลุ่ม นำผลการประเมินมาเปรียบเทียบกัน แบบนี้จะมีความเหมาะสมเมื่อครูผู้วิจัยสามารถจัดการเรียนรู้ได้มากกว่าหนึ่งกลุ่ม โดยที่จะต้องทำหรือเชื่อว่านักเรียนทั้งสองกลุ่มมีระดับสติปัญหาหรือทักษะเท่ากัน เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบและเกิดความเชื่อถือได้ในคำตอบของการวิจัยมากยิ่งขึ้น และเป็นเนื้อหาใหม่หรือเรื่องใหม่ที่นักเรียนไม่เคยเรียนรู้มาก่อนจึงไม่จำเป็นต้องประเมินก่อน

    แบบการวิจัยที่ 4 แบบ control group pretest-posttest


    E...............O1............ X...............O2

    C...............O1............ X...............O2



    เป็นแบบการวิจัยที่มีนักเรียนกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเช่นเดียวกับแบบที่ 3 แต่ต่างกันตรงที่แบบนี้จะมีการประเมินก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมีการเปรียบเทียบผลการประเมินก่อนของทั้งสองกลุ่ม มีการเปรียบเทียบผลการประเมินก่อนและหลังเรียนในแต่ละกลุ่ม และเปรียบเทียบผลการประเมินหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของทั้งสองกลุ่มด้วย แบบนี้จะมีความเหมาะสมเมื่อครูผู้วิจัยสามารถจัดการเรียนรู้ได้มากกว่าหนึ่งกลุ่ม โดยที่จะต้องทำหรือเชื่อว่านักเรียนทั้งสองกลุ่มมีระดับสติปัญหาหรือทักษะพื้นฐานเท่ากัน เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบและเกิดความเชื่อถือได้ใน คำตอบของการวิจัยมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกับแบบที่ 3 แต่เป็นเนื้อหาเดิมหรือเรื่องเดิมหรือเรื่องที่ นักเรียนอาจมีการเรียนรู้มาเองแล้ว จึงต้องประเมินผลก่อน และยังเป็นการเปรียบเทียบเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าพื้นฐานของนักเรียนทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันก่อนการทดลอง อีกด้วย


  • 3.2 กำหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง

    ในการดำเนินการวิจัย ครูผู้วิจัยจะต้องกำหนดว่าจะต้องใช้นักเรียนกี่คนในการทดลอง ซึ่งครูผู้วิจัยสามารถกำหนดเองได้จากสภาพห้องเรียนที่เป็นจริง เช่น 5 – 50 คน จากสภาพการจัดและแบบของการวิจัยที่กำหนด โดยเฉพาะถ้ารับผิดชอบจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพียงห้องเดียว ในการดำเนินการวิจัยครูผู้วิจัยสามารถใช้ประชากร(หมายถึงนักเรียนทั้งหมดเท่าที่มี)ได้เลย ซึ่งลักษณะนี้จะเรียกว่า ได้ทำการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) แต่ถ้าหากครูผู้วิจัยรับผิดชอบการเรียนการสอนมากกว่า 1 ห้อง สามารถศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเท่ากับขนาดของห้องเรียนปกติ จำนวนประมาณ 30 คนก็ได้ โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ครูผู้วิจัยอาจเลือกกลุ่มตัวอย่างตามกรณีตัวอย่าง ดังนี้

    กรณีที่ 1 ครูผู้วิจัยรับผิดชอบการเรียนการสอนนักเรียน 1 ห้อง จำนวนประมาณ 30 คน และเลือกแบบการวิจัยเป็นแบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 สามารถใช้นักเรียนทุกคนในการดำเนินการทดลองใช้นวัตกรรม ถ้าอย่างนี้เรียกว่าดำเนินการวิจัยโดยศึกษาจากประชากร แต่อาจจะเรียกว่ากลุ่มตัวอย่างก็ได้ หากผู้วิจัยต้องการสรุปผลการวิจัยอ้างอิงไปสู่นักเรียนที่อื่นด้วยหรือเรียกว่ามีความเที่ยงตรงภายนอก (External validity) ด้วย

    กรณีที่ 2 ครูผู้วิจัยรับผิดชอบการเรียนการสอนนักเรียน 3 ห้อง ห้องละประมาณ 30 คน และเลือกใช้นักเรียนห้องใดห้องหนึ่งหรือสุ่มนักเรียนมาเป็นกลุ่มทดลองจากทั้ง 3 ห้อง จำนวน 30 คนในการวิจัยแบบที่ 1 และแบบที่ 2 อย่างนี้เรียกว่า ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 30 คน จากประชากรทั้ง 90 คน

    กรณีที่ 3 ครูผู้วิจัยรับผิดชอบการเรียนการสอนนักเรียน 2 ห้อง ห้องละประมาณ 30 คน และเลือกแบบการวิจัยเป็นแบบที่ 3 หรือแบบที่ 4 สามารถใช้นักเรียนห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมและอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองหรือสุ่มตัวอย่างมาเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลอง 30 คน จาก นักเรียนทั้ง 2 ห้อง ถ้าอย่างนี้เรียกว่าดำเนินการวิจัยโดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 60 คน จากประชากร 60 คน

    กรณีที่ 4 ครูผู้วิจัยรับผิดชอบการเรียนการสอนนักเรียน 3 ห้อง ห้องละประมาณ 30 คน

    สามารถสุ่มใช้นักเรียนห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน และอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน ถ้าอย่างนี้เรียกว่าดำเนินการวิจัยโดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 60 คน จากประชากร 90 คน






    3.3 สร้างเครื่องมือในการวิจัย

    เครื่องมือในการวิจัยในชั้นเรียน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลองหรือเป็นนวัตกรรม และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังมีรายละเอียด ดังนี้

    1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลองหรือเป็นนวัตกรรม เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนสำเร็จรูป หนังสืออ่านประกอบ ชุดการเรียนรู้สื่อประสม เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้อาจมีส่วนประกอบอื่นอีก เช่น แผนการสอน ใบงาน แบบฝึก ใบความรู้ สื่อหรืออุปกรณ์อื่น ๆ เป็นต้น การสร้างเครื่องมือประเภทนี้จะมีขั้นตอนเพื่อให้เกิดคุณภาพของเครื่องมือ ดัง ตัวอย่างขั้นตอนการสร้างนวัตกรรม ชุดการสอน ต่อไปนี้

    ตัวอย่างขั้นตอนการสร้างนวัตกรรม

    ขั้นตอนการสร้างชุดการสอน

    1. ขั้นตอนการสร้างชุดการสอน

    1.1 ศึกษาหลักสูตร คู่มือครู เอกสารหลักสูตรอื่น ๆ

    1.2 ศึกษาทฤษฎี หลักการ เทคนิคและวิธีสร้างชุดการสอน จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    1.3 วิเคราะห์หลักสูตร จุดประสงค์การเรียน แบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยหรือคาบเรียน

    1.4 เขียนแผนการสอน หรือออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

    1.5 สร้างชุดการสอน โดยให้มีส่วนประกอบครบถ้วนตามความเหมาะสม

    2. ขั้นพัฒนาชุดการสอน

    2.1 ทดลองใช้

    2.1.1 นำชุดการเรียนการสอนไปทดลองสอน 1:1 (ครู:นักเรียน) ใช้แบบบันทึกการทดลองใช้นวัตกรรม โดยจะบันทึกพฤติกรรมการเรียนการสอนต่าง ๆ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข

    2.1.2 นำชุดการเรียนการสอนไปทดลองสอน 1:10 (กลุ่มเล็ก) ใช้แบบบันทึกการ

    ทดลองใช้นวัตกรรม โดยจะบันทึกพฤติกรรมการเรียนการสอนต่าง ๆ แล้วนำมาปรับปรุง แก้ไข

    2.1.3 นำชุดการเรียนการสอนไปทดลองสอน 1:100 (ภาคสนาม) จะใช้แบบบันทึก

    คะแนนจากการทดลองใช้นวัตกรรม โดยจะบันทึกคะแนนจากการประเมินระหว่างเรียนและหลังเรียน เพื่อนำมาหาค่า E1/E2

    2.2 นำชุดการสอน ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญประมาณ 3-5 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านเนื้อหา หลักสูตร การสอน เทคโนโลยีการศึกษา จิตวิทยาการศึกษา การวิจัย วัดผลและประเมินผล พิจารณา โดยอาจใช้แบบประเมิน แล้วจึงปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของ ผู้เชี่ยวชาญ

    2.3 นำชุดการสอน ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบบทดลอง

    2.4 เปรียบเทียบผลการเรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อการเรียน เป็นต้น


    2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบวัดเจตคติ เป็นต้น

    โดยที่เครื่องมือเหล่านี้ต้องอาศัยการสร้างตามหลักวิชา มีขั้นตอนสร้างให้เกิดคุณภาพ ของเครื่องมือ ก่อนนำไปใช้ดังนี้

    ตัวอย่างการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล


    ตัวอย่างการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

    ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบ

    1. ศึกษาวิธีสร้างแบบทดสอบที่ดี และวิธีวิเคราะห์หลักสูตร

    2. ศึกษาหลักสูตร คู่มือครู เอกสารหลักสูตรอื่น ๆ

    3. สร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร แล้วนำตารางวิเคราะห์ให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์พิจารณา

    4. สร้างแบบทดสอบ มากกว่าต้องการจริงประมาณ ร้อยละ 20-50 เช่น ต้องการ 100 ข้อ จะสร้างประมาณ 120-150 ข้อ

    5. นำแบบทดสอบไปให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ตรวจสอบความตรง เชิงเนื้อหาและโครงสร้าง (Content and Construct Validity) โดยที่ผู้เชี่ยวชาญประมาณ 3-5 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านเนื้อหา หลักสูตร การสอน การวิจัย วัดผลและประเมินผล ในขั้นตอนนี้จะใช้แบบประเมินความสอดคล้องของข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ด้วย

    6. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อแนะนำของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์

    7. นำไปแบบทดสอบไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง และได้เรียนเนื้อหาในแบบทดสอบนี้แล้ว

    8. นำกระดาษคำตอบมาวิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพ ด้านความเที่ยง (Reliability) ความยากและอำนาจจำแนก (อาจทำไปทดลองสอบซ้ำอีก 2-3 ครั้ง และวิเคราะห์ซ้ำอีกก็ได้)

    9. คัดเลือกข้อสอบที่เข้าเกณฑ์ คือ ความยาก .20 ถึง .80 ค่าอำนาจจำแนก .20 ถึง 1.00 และให้ได้ข้อสอบครบถ้วนตามต้องการ และคุณภาพด้านความเที่ยง มีค่าตั้งแต่ .70 ขึ้นไปถือว่าใช้ได้

    10. พิมพ์ข้อสอบฉบับจริง










    ขั้นตอนที่ 4 และขั้นตอนที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล แปลผล และสรุปผลการวิจัย

    ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัยและสรุปผลการวิจัย ตามแบบการวิจัยที่กล่าวข้างต้นเท่านั้น ตามสูตรและใช้สัญลักษณ์ในสูตร ดังนี้

    แทน ค่าสถิติทดสอบจากการกระจายแบบที

    X แทน ค่าเฉลี่ยของคะแนนของนักเรียน

    S แทน ค่าส่วนเบี่ยวเบนมาตรฐาน

    D แทน ค่าความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน

    n แทน จำนวนนักเรียน

    df แทน ค่าชั้นแห่งความอิสระ

    แบบการวิจัยที่ 1 เราจะสรุปผลว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ครูผู้วิจัยสร้างขึ้นทำให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์ เกณฑ์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ เราสามารถนำเอาค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้มาทดสอบกับเกณฑ์หรือเป้าหมาย โดยใช้สูตรการทดสอบทีแบบ t-test one sample group ดังนี้



    โดยที่

    เมื่อคำนวณได้ค่า t ตามสูตรข้างบนนี้แล้ว ให้นำไปเปรียบเทียบกับค่า t วิกฤติในตารางซึ่งสามารถหาดูได้ในตำราเกี่ยวกับการวิจัยทั่วไป โดยวิธีดูตารางให้ใช้ค่า df ประกอบ และกำหนด นัยสำคัญทางสติถิ หรือความมั่นใจในการสรุปผลการวิจัย เช่น ถ้ามีนักเรียน 30 คน df=30-1=29 กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หรือมั่นใจร้อยละ 95 ค่า t วิกฤติเท่ากับ 1.699 เกณฑ์การเปรียบเทียบคือ ค่า t จากการคำนวณจะต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ค่า t วิกฤติในกรณีตัวอย่างนี้ ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 1.699 ส่วนการสรุป หากค่า t คำนวณมากกว่าหรือเท่ากับค่า t วิกฤติ เราจะสรุปได้ตามตัวอย่าง ดังนี้

    ตัวอย่างการสรุปผลการวิจัย

    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ด้วยนวัตกรรมสูงกว่าหรือสูงกว่าร้อยละ 70 (เป้าหมายที่กำหนด ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  • แบบการวิจัยที่ 2 เราจะสรุปผลว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ครูผู้วิจัยสร้างขึ้นทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนหรือไม่ เราสามารถนำเอาค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินก่อนและหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้มาทดสอบความแตกต่างกัน โดยใช้สูตรการทดสอบทีแบบ t-test dependent sample group ดังนี้


    โดยที่

    เมื่อคำนวณได้ค่า t ตามสูตรข้างบนนี้แล้ว ให้นำไปเปรียบเทียบกับค่า t วิกฤติ เช่นเดียวกับแบบการวิจัยที่ 1 แต่จะต่างที่การสรุป หากค่า t คำนวณมากกว่าหรือเท่ากับค่า t วิกฤติ เราจะสรุปได้ตามตัวอย่าง ดังนี้

    ตัวอย่างการสรุปผลการวิจัย

    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยนวัตกรรมสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

    แบบการวิจัยที่ 3 เราจะสรุปผลว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ครูผู้วิจัยสร้างขึ้นทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะมากกว่านักเรียนที่เรียนตามปกติ เราสามารถนำเอาค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของทั้งสองกลุ่มมาทดสอบความแตกต่างกัน โดยสามารถเลือกใช้สูตร การทดสอบทีแบบ t-test independent sample group ซึ่งมี 2 สูตร ดังต่อไปนี้

    สูตรที่ 1 กรณีสมมติว่าค่าความแปรปรวนของทั้งสองกลุ่มเท่ากัน



    โดยที่

    หรือ สูตรที่ 2 กรณีสมมติว่าค่าความแปรปรวนทั้งสองกลุ่มไม่เท่ากัน



    โดยที่

    เมื่อคำนวณได้ค่า t ตามสูตรข้างบนนี้แล้ว ให้นำไปเปรียบเทียบกับค่า t วิกฤติในตารางซึ่งสามารถหาดูได้ในตำราเกี่ยวกับการวิจัยทั่วไป โดยวิธีดูตารางให้ใช้ค่า df ประกอบ และกำหนด นัยสำคัญทางสติถิ หรือความมั่นใจในการสรุปผลการวิจัย เช่น ถ้ามีนักเรียนกลุ่มละ 30 คน ค่า df = 30+30-2 = 58 หรือมีค่าประมาณ 58 จากสูตรที่ 2 กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หรือมั่นใจร้อยละ 95 ค่า t วิกฤติเท่ากับ 1.29 เกณฑ์การเปรียบเทียบคือ ค่า t จากการคำนวณจะต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ค่า t วิกฤติในกรณีตัวอย่างนี้ ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 1.29 ส่วนการสรุป หากค่า t คำนวณมากกว่าหรือเท่ากับค่า t วิกฤติ เราจะสรุปได้ตามตัวอย่าง ดังนี้

    ตัวอย่างการสรุปผลการวิจัย

    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ด้วยนวัตกรรมสูงกว่านักเรียนที่เรียนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05




    แบบการวิจัยที่ 4 เราจะสรุปผลว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ครูผู้วิจัยสร้างขึ้นทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะมากกว่านักเรียนที่เรียนตามปกติ เราสามารถนำเอาค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินหลัง จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของทั้งสองกลุ่มมาทดสอบความแตกต่างกันเช่นเดียวกับแบบที่ 3 และ ยังสามารถนำเอาค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของทั้งสองกลุ่มมาทดสอบความแตกต่างกัน เพื่อยืนยันว่าก่อนเรียนนักเรียนมีความรู้พื้นฐานไม่แตกต่างกัน โดยใช้สูตรการทดสอบทีแบบ t-test independent sample group เช่นเดียวกับแบบที่ 3 นอกจากยังสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของการประเมินก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในทั้งสองกลุ่มได้ โดยใช้ สูตรการทดสอบที แบบ t-test dependent sample group เช่นเดียวกับแบบที่ 2

    ในการสรุปผลการวิจัยเราสามารถทำได้ตามแบบการวิจัยที่ 2 และ 3 แล้วแต่กรณี

    การเขียนรายงานการวิจัย

    จากขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวมาข้างต้น ครูผู้วิจัยจะต้องเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งมีส่วนประกอบ และรายละเอียดจะนำเสนอในโอกาสหน้าต่อไป ดังนี้

    ส่วนประกอบตอนต้น

    ปก
    ใบรองปก
    ปกใน
    หน้าอนุมัติ (จะมีเฉพาะทำวิจัยเพื่ออนุมัติผลการศึกษา)
    คำนำ/ประกาศคุณูปการ/กิตติกรรมประกาศ
    บทคัดย่อ (ภาษาไทย,ภาษาอังกฤษ)
    สารบัญ
    บัญชีตาราง (ถ้ามี)
    บัญชีภาพประกอบ (ถ้ามี)
    ส่วนเนื้อหา

    บทที่ 1 บทนำ

    ภูมิหลัง

    จุดมุ่งหมายของการวิจัย

    สมมติฐานการวิจัย

    ความสำคัญของการวิจัย

    ขอบเขตของการวิจัย

    นิยามศัพท์เฉพาะ

    บทที่ 2 เอกสารและรายงานการวิจัย

    เอกสารที่เกี่ยวข้อง

    รายงานการวิจัย

    บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

    ประชากร

    กลุ่มตัวอย่าง

    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

    วิธีดำเนินการทดลอง

    วิธีวิเคราะห์ข้อมูล

    สูตรสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

    บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

    สัญลักษณ์ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

    ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

    บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

    สรุปลการวิจัย

    อภิปรายผล

    ข้อเสนอแนะ

    ส่วนประกอบตอนท้าย

    บรรณานุกรม

    ภาคผนวก

    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

    รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒ/ผู้ชำนาญการ
    ประวัติผู้วิจัย

    บทสรุป การที่ครูจะเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูซึ่งถือว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้น จำเป็นจะต้องมีการพัฒนางานในหน้าที่ของตนให้มีความก้าวหน้าอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือคุณลักษณะของผู้เรียนหรือเรียกว่า ผลผลิตของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยที่ครูจะต้องทำการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ละเอียดถี่ถ้วน อาศัยหลักวิชาการ ซึ่งกระบวนการนี้ก็คือ “การวิจัยในชั้นเรียน” ซึ่งครูสามารถเริ่มที่การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนของตน แล้วศึกษาค้นคว้าและแสวงหาวิธีการหรือเครื่องมือใหม่ที่คิดว่าสามารถแก้ปัญหาได้หรือเรียกว่า “นวัตกรรม” ทดลองใช้นวัตกรรมนี้ แล้วศึกษาผลการใช้นวัตกรรมว่าสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ และเขียนรายงานการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่ม และนี่ก็คือ แนวทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพที่จะนำครูไปสู่ครูชั้นวิชาชีพชั้นสูง....


    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น