ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

28 พฤศจิกายน 2553

การเรียนการสอนของรูปแบบG.I.

การเรียนการสอนของรูปแบบ จี.ไอ. ( G.I. )

“ G.I. ” คือ “ Group Investigation ” รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนช่วยกันไปสืบค้นข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้ร่วมกัน โดยดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้
1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง-กลาง-อ่อน ) กลุ่มละ 4 คน
2 กลุ่มย่อยศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน โดย
ก. แบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อย ๆ แล้วแบ่งกันไปศึกษาหาข้อมูลหรือคำตอบ
ข. ในการเลือกเนื้อหา ควรให้ผู้เรียนอ่อนเป็นผู้เลือกก่อน
3 สมาชิกแต่ละคนไปศึกษาหาข้อมูล /คำตอบมาให้กลุ่ม กลุ่มอภิปรายร่วมกัน และสรุปผลการศึกษา
4 กลุ่มเสนอผลงานของกลุ่มต่อชั้นเรียน
ที่มา : ทิศนา แขมมณี . (2548). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
 
 
GI ก็คือต้องการปลูกฝังการร่วมมือกันอย่างมีประชาธิปไตย มีการกระจายภาระงานและสิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่เท่าเทียมกันของสมาชิกในกลุ่ม GI มีการกระตุ้นบทบาทที่แตกต่างกันทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม เป็นการส่งเสริมการแก้ปัญหาโดยกลุ่ม
2.4.6.1 แนวคิดในการจัดการเรียนรู้
1) นักเรียนแต่ละคนจะได้แสดงความสามารถของตนในการแสวงหาความรู้
2) นักเรียนแต่ละคน ต้องถ่ายทอดความรู้หรือวิธีการทำงานให้เพื่อนนักเรียนเข้าใจด้วย
3) ทุกคนต้องร่วมแสดงความคิดเห็น อภิปรายซักถามจนเข้าใจในทุกเรื่อง
4) ทุกคนต้องร่วมมือกันสรุปความเข้าใจที่ได้นำส่งอาจารย์เพียง 1 ฉบับเท่านั้น
5) เหมาะกับการสอนความรู้ที่สามารถแยกเป็นอิสระได้เป็นส่วนๆ หรือแยกทำได้หลายวิธีหรือการทบทวนเรื่องใดที่แบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ได้ หรือการทำงานที่แยกออกเป็นชิ้นๆ ได้
2.4.6.2 GI มีองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน 6 ประการ คือ
1) การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา (Topic Selection)
2) การวางแผนร่วมมือกันในการทำงาน (Cooperative Planning)
3) การดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ (Implementation)
4) การวิเคราะห์และสังเคราะห์งานที่ทำ (Analysis and Synthesis)
5) การนำเสนอผลงาน (Presentation of Final Report)
6) การประเมินผล (Evaluation)
GI เป็นการเรียนแบบร่วมมือที่มอบหมายความรับผิดชอบอย่างสูงให้กับนักเรียน ในการที่จะบ่งชี้ว่าเรียนอะไรและเรียนอย่างไร ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และตีความหมายของสิ่งที่ศึกษาโดยเน้นการสื่อความหมายและการแลกเปลี่ยนความคิดเป็นของกันและกันในการทำงาน
ขั้นที่ 1 : ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย ทบทวนบทเรียนที่สอน
ขั้นที่ 2 : แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ละ 2 – 4 คน แบ่งเรื่องที่สอนเป็นข้อย่อยแต่ละหัวข้อจะเป็นใบงานที่ 1 ใบงานที่ 2 ใบงานที่ 3 เป็นต้น
ขั้นที่ 3: ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกทำเพียงหัวข้อเดียว (ใบงานเพียงใบเดียว)โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนที่เรียนอ่อนเลือกหัวข้อก่อนการทำใบงาน อาจจะให้นักเรียนในกลุ่มแบ่งกันหาคำตอบ และนำคำตอบทั้งหมดมารวมเป็นคำตอบที่สมบูรณ์
ขั้นที่ 4 : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเรื่องจากใบงานที่ได้จนเป็นที่เข้าใจของทุกคนในกลุ่ม
ขั้นที่ 5 : ให้แต่ละกลุ่มรายงานผลเริ่มตั้งแต่กลุ่มที่ทำจากใบงานที่ 1 จนถึงใบงานสุดท้าย โดยให้คำชมเชยและรางวัลแก่กลุ่มที่ถูกต้องที่สุด

-----------------------------------------------------------------------------------
 
 
GI ก็คือต้องการปลูกฝังการร่วมมือกันอย่างมีประชาธิปไตย มีการกระจายภาระงานและสิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่เท่าเทียมกันของสมาชิกในกลุ่ม GI มีการกระตุ้นบทบาทที่แตกต่างกันทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม
แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน
1. นักเรียนแต่ละคนจะได้แสดงความสามารถของตน ในการแสวงหาความรู้ (หรือในการทำงาน)
2. นักเรียนแต่ละคน ต้องถ่ายทอดความรู้หรือวิธีการทำงานให้เพื่อนนักเรียนเข้าใจด้วย
3. ทุกคนต้องร่วมแสดงความคิดเห็น อภิปรายซักถามจนเข้าใจในทุกเรื่อง(หรือทุกงาน)
4. ทุกคนต้องร่วมมือกันสรุปความเข้าใจที่ได้ (สูตรหรือความสัมพันธ์หรือผลงาน) นำส่งอาจารย์เพียง 1 ฉบับเท่านั้น
5. เหมาะกับการสอนความรู้ที่สามารถแยกเป็นอิสระได้เป็นส่วนๆ หรือแยกทำได้หลายวิธี หรือการทบทวนเรื่องใดที่แบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ได้ หรือการทำงานที่แยกออกเป็นชิ้นๆ ได้

GI มีองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน 6 ประการ คือ
1. การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา (Topic Selection) นักเรียนเลือกหัวข้อที่เฉพาะเจาะจงของปัญหาที่เลือก แล้วกลุ่มจะแบ่งภาระงานออกเป็นงานย่อยๆ ที่มีสมาชิก 2-5 คนร่วมกันทำงาน

2. การวางแผนร่วมมือกันในการทำงาน (Cooperative Planning) ครูและนักเรียนวางแผนร่วมกันในวิธีดำเนินการ ภาระงานที่ทำ และเป้าหมายของงานในแต่ละหัวข้อย่อยตามปัญหาที่เลือก

3. การดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ (Implementation) นักเรียนดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ในขั้นที่ 2 กิจกรรมและทักษะต่างๆ ที่นักเรียนจะต้องศึกษาควรมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ครูจะให้คำปรึกษากับกลุ่มพร้อมกับติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของนักเรียนและช่วยเหลือนักเรียนเมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือ

4. การวิเคราะห์และสังเคราะห์งานที่ทำ (Analysis and Synthesis) นักเรียนวิเคราะห์และประเมินข้อมูลที่เขารวบรวมได้ในขั้นที่ 3 และวางแผนหรือลงข้อสรุปในรูปแบบที่น่าสนใจเพื่อนำเสนอต่อชั้นเรียน

5. การนำเสนอผลงาน (Presentation of Final Report) กลุ่มนำเสนอผลงานตามหัวข้อเรื่องที่เลือก ครูต้องพยายามให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมขณะที่มีการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนเพื่อเป็นการขยายความคิดของตัวนักเรียนเองให้กว้างไกล โดยเฉพาะในหัวข้อเรื่องที่กลุ่มไม่ได้ศึกษา ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในระหว่างการนำเสนอผลงาน

6. การประเมินผล (Evaluation) ครูและนักเรียนจะร่วมกันประเมินผลงานที่ถูกนำเสนอพร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นที่มีต่อผลงานทุกชิ้น การประเมินผลอาจรวมทั้งการประเมินเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม

GI เป็นการเรียนแบบร่วมมือที่มอบหมายความรับผิดชอบอย่างสูงให้กับนักเรียน ในการที่จะบ่งชี้ว่าเรียนอะไรและเรียนอย่างไร ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และตีความหมายของสิ่งที่ศึกษาโดยเน้นการสื่อความหมายและการแลกเปลี่ยนความคิดเป็นของกันและกันในการทำงาน

ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้

1.การทบทวนและชี้แจง (5-10 นาที)
1.1 ครูและนักเรียนทบทวนความรู้เดิม หรือทักษะพื้นฐานที่จำเป็นที่ต้องทราบหรือสามารถจัดทำเป็นมาก่อน
1.2 ครูบอกจุดประสงค์ของการเรียนรู้ในคาบการสอนนี้
1.3 ครูอธิบายขั้นตอนของการปฏิบัติงานและวิธีการต่างๆ ของการเรียนแบบ GI
2.การมอบหมายงานและปฏิบัติงาน (10-15 นาที)
2.1 ครูจัดเตรียมใบงาน โดยแยกออกเป็น 4 ส่วน หรือ 4 วิธีตามความเหมาะสม (จัดแบ่งงานง่าย-ยาก) มอบให้แต่ละกลุ่มเหมือนกัน
2.2 ภายในกลุ่มจัดแบ่งงานตามความถนัด ความสามารถ (อ่อน-เก่ง)
2.3 แต่ละคนทำตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด
3.สรุปผลงาน (15-20 นาที)
3.1 แต่ละคนนำผลงานของตนเสนอต่อเพื่อนๆ ในกลุ่มตามลำดับ 1-4
3.2 อธิบายลักษณะงานที่ได้รับ การดำเนินงาน จนถึงสรุปที่ได้ (หรือผลงานที่ แล้วเสร็จ)
3.3 เพื่อนๆ สามารถร่วมอภิปรายหรือซักถาม แนวความคิด แนวการแก้ปัญหาหรือ เสนอความคิดเห็นอื่นๆ ได้ จนทุกคนเข้าใจแจ่มชัดในทุกงานครบถ้วน
3.4 จัดทำเป็นรายงานร่วมกันหรือผลงานร่วมกันส่ง 1 ชุด
4. การประเมินผล ทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับเวลาที่เหลือ เช่น
4.1 ให้นักเรียนนำผลงานมาเสนอหน้าชั้นเรียนหรือบนบอร์ด แล้วครูผู้สอนประเมิน หรือตั้งกรรมการนักเรียนมาช่วยประเมินผลงานของกลุ่มต่างๆ (นอกเวลาเรียน)
4.2 ครูเลือกนักเรียนคนใดก็ได้ในแต่ละกลุ่มมารายงานผลการทำงานทั้งหมด ทุกคนต้องพร้อมที่จะรายงานทั้งหมดได้
4.3 จากคะแนนที่ได้ ครูชมเชย หรือให้รางวัล หรือเก็บสะสมคะแนนไว้ สำหรับการจัดหา Super Team ประจำสัปดาห์ต่อไป
 
 
---------------------------------------------------------------------

2 ความคิดเห็น:

  1. Group Investigation (GI)


    ขั้นที่ 1 : ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย ทบทวนบทเรียนที่สอน
    ขั้นที่ 2 : แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ละ 2 – 4 คน แบ่งเรื่องที่สอนเป็นข้อย่อย
    แต่ละหัวข้อจะเป็นใบงานที่ 1 ใบงานที่ 2 ใบงานที่ 3 เป็นต้น
    ขั้นที่ 3: ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกทำเพียงหัวข้อเดียว (ใบงานเพียงใบเดียว)
    โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนที่เรียนอ่อนเลือกหัวข้อก่อนการทำใบงาน
    อาจจะให้นักเรียนในกลุ่มแบ่งกันหาคำตอบ และนำคำตอบทั้งหมด
    มารวมเป็นคำตอบที่สมบูรณ์
    ขั้นที่ 4 : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเรื่องจากใบงานที่ได้จนเป็นที่
    เข้าใจของทุกคนในกลุ่ม
    ขั้นที่ 5 : ให้แต่ละกลุ่มรายงานผลเริ่มตั้งแต่กลุ่มที่ทำจากใบงานที่ 1 จนถึง
    ใบงานสุดท้าย โดยให้คำชมเชยและรางวัลแก่กลุ่มที่ถูกต้องที่สุด


    หมายเหตุ การสอนแบบ Cooperative Learning ควรเริ่มวิธีสอนแบบ Team
    Assisted Individualization (TAI) ไม่ควรเริ่มวิธีสอนแบบ Jigsaw









    .

    ตอบลบ
  2. กิจกรรมรูปแบบ GI (Group Investigation)

    กิจกรรมนี้พัฒนาโดย ชารอนและคณะ (Sharon and others, 1984) GI เป็นการเรียนแบบร่วมมือที่มีความซับซ้อนและกว้างขวางมาก ปรัชญาของ GI ก็คือต้องการปลูกฝังการร่วมมือกันอย่างเป็นประชาธิปไตย และมีการกระจายภาระงานและสิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่เท่าเทียมกันของสมาชิกในกลุ่ม GIO ยังกระตุ้นบทบาทที่แตกต่างกัน ทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม

    การนำการเรียนแบบ GI มาใช้ ผู้สอนจะแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5 คน หรือน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม การจัดกลุ่มตั้งอยู่บนความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน แต่ละกลุ่มวางแผนกันเองว่าจะศึกษาหัวข้อเรื่องอะไร และใช้วิธีการอะไรในการศึกษาหาความรู้ นอกจากนี้ สมาชิกแต่ละคนหรือสมาชิกแต่ละคู่ในกลุ่ม อาจเลือกหัวข้อย่อยแล้วตัดสินใจเองถึงวิธีการแสวงหาความรู้ในหัวข้อย่อย ๆ นั้น สมาชิกแต่ละคนหรือสมาชิกแต่ละคู่รายงานความก้าวหน้าและผลการทำงานให้กับกลุ่มของตนเองทราบ กลุ่มจะอธิบายเกี่ยวกับรายงานของสมาชิกและเตรียมรายงานของกลุ่มให้กับเพื่อนทั้งห้องฟัง

    ขั้นตอนการสอน ประกอบด้วย

    1. ขั้นการเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา (Topic selection) ผู้เรียนเลือกหัวข้อเรื่องที่เฉพาะเจาะจงของปัญหาที่เลือก แล้วกลุ่มจะแบ่งภาระงานออกเป็นงานย่อย ๆ ที่มีสมาชิก 2-5 คน ร่วมกันทำงาน

    2. ขั้นการวางแผนร่วมมือกันในการทำงาน (Cooperative planning) ผู้สอนและผู้เรียนวางแผนร่วมกันในวิธีดำเนินงาน ภาระงานที่ทำ และเป้าหมายของงานในแต่ละหัวข้อย่อยตามปัญหาที่เลือก

    3. ขั้นการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ (Implementation) ผู้เรียนดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ในขั้นที่ 2 กิจกรรมและทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาควรมาจากแหล่งข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ผู้สอนจะให้คำปรึกษากับทุกกลุ่มพร้อมกับติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของผู้เรียน

    4. ขั้นการวิเคราะห์และสังเคราะห์งานที่ทำ (Analysis and synthesis) ผู้เรียนวิเคราะห์และประเมินข้อมูลที่ผู้เรียนรวบรวมมาได้ในขั้นที่ 2 และวางแผนหรือลงข้อสรุปในรูปแบบที่น่าสนใจ เพื่อนำเสนอต่อชั้นเรียน

    5. ขั้นการนำเสนอผลงาน (Presentation of final report) กลุ่มนำเสนอผลงานตามหัวข้อเรื่องที่เลือก ผู้สอนต้องพยายามให้ผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมขณะที่มีการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน เพื่อเป็นการขยายความคิดของตัวผู้เรียนเองให้กว้างไกล โดยเฉพาะในหัวข้อเรื่องที่กลุ่มไม่ได้ศึกษา ผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในระหว่างการนำเสนอผลงาน

    6. ขั้นการประเมินผล (Evaluation) ผู้สอนและผู้เรียนจะร่วมกันประเมินผลงานที่ถูกนำเสนอ พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นที่มีต่อผลงานทุกชิ้น การประเมินผลอาจรวมทั้งการประเมินผลเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม

    GI เป็นการเรียนแบบร่วมมือที่มอบหมายความรับผิดชอบอย่างสูงให้กับผู้เรียนในการที่จะบ่งชี้ว่าจะเรียนอะไรและเรียนอย่างไร ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และตีความหมายของสิ่งที่ศึกษา ได้เน้นความหมายและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของกันและกันในการทำงาน

    4) ลักษณะเด่นของรูปแบบ

    การเรียนแบบร่วมมือร่วมใจ ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ทุกขั้นตอนด้วยการช่วยเหลือ พึ่งพาซึ่งกันและกัน จึงก่อให้เกิดผลดีหลายประการ ดังนี้

    1. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก เพราะทุก ๆ คนร่วมมือในการทำงานกลุ่ม ทุก ๆ คนมีส่วนร่วมเท่าเทียมกัน

    2. สมาชิกทุกคนมีโอกาสพูด แสดงออก แสดงความคิดเห็น ลงมือกระทำอย่างเท่าเทียมกัน

    3. เสริมให้มีความช่วยเหลือกัน เช่น เด็กเก่งช่วยเด็กที่เรียนไม่เก่ง ทำให้เด็กเก่งภาคภูมิใจ รู้จักสละเวลา ส่วนเด็กที่ไม่เก่งเกิดความซาบซึ้งในน้ำใจของเพื่อนสมาชิกด้วยกัน

    4. ร่วมกันคิดทุกคน ทำให้เกิดการระดมความคิด นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกันเพื่อประเมินคำตอบที่เหมาะที่สุด เป็นการส่งเสริมให้ช่วยกันคิดหาข้อมูลให้มากและวิเคราะห์และตัดสินใจเลือก

    5. ส่งเสริมทักษะทางสังคม เช่น การอยู่ร่วมกันด้วยมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เข้าใจกันและกัน อีกทั้งเสริมทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ให้สูงขึ้น





















    .

    ตอบลบ