ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

10 ธันวาคม 2553

ตัวอย่างบทคัดย่องานวิจัย

                 ตัวอย่างบทคัดย่องานวิจัย


ตัวอย่างบทคัดย่องานวิจัย 110 เรื่อง คลิกอ่านที่ : https://sites.google.com/site/prapasara/f1



ตัวอย่างบทคัดย่องานวิจัย


1. ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ เพื่อเพิ่มทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย นางสาวประภัสรา โคตะขุน

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สมชาย วรกิจเกษมสกุล

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีสุรางค์ ทีนะกุล

ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต

ปีการศึกษา 2545


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ เพื่อเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาและศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ภายหลังได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน ที่พัฒนาขึ้น

ดำเนินการโดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัตติวิสม์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านอูบมุง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอน เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น ที่เน้นกระบวนการ ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ , แบบบันทึกการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน , แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า

1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์ในภาพรวม เท่ากับ 88.89 / 81.67 เฉพาะเด็กเก่ง เท่ากับ 97.79 / 92.00 และเด็กปานกลาง เท่ากับ 89.64 / 85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ส่วนเด็กอ่อน เท่ากับ 78.23 / 63.33 ซึ่งมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์

โดยเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2. นักเรียนทั้งเด็กเก่ง เด็กปานกลางและเด็กอ่อน มีพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภายหลังได้รับการสอนสูงกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่

ระดับ .01 และมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดี




2. ชื่อเรื่อง ผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ของ BSCS ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย นางนันทกา คันธิยงค์

อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด สร้อยน้ำ

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์ ดร.ชาติชาย ม่วงปฐม

ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต

ปีการศึกษา 2547


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ของ BSCS

ดำเนินการโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านบกโนนเรียง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 40 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พลังงาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า

1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ของ BSCS มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม ปรากฏว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ81.20 ซึ่งไม่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ของ BSCS มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม ปรากฏว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 81.00 ซึ่งไม่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05



3. ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสมสวาท โพธิ์กฎ

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มอารีย์

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ปัญหาที่พบคือ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะอยู่ในระดับต่ำ และมีทักษะกระบวนการกลุ่มร่วมมือน้อยมาก

จากปัญหาดังกล่าวหากใช้ความพยายามพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมด้านการเรียนรู้และ

ทักษะกระบวนการกลุ่มร่วมมือ ในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้หลากหลายและเหมาะสมคงจะช่วยใน

การแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนั้นผู้ศึกษาค้นคว้าจึงมีความมุ่งหมาย เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อศึกษาเจตคติ ที่มีต่อการเรียนรู้นาฏศิลป์

และเพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม จำนวน 36 คน ซึ่งได้มา

จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มี 5 ชนิด

ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 7 แผน ใช้เวลาจัดกิจกรรมแผนละ 2 ชั่วโมง แบบทดสอบ

วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ

มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.75 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 แบบเติมคำตอบ

จำนวน 9 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.55 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.77

แบบวัดทักษะการปฏิบัติ จำนวน 7 ข้อ 1 ฉบับ แบบวัดเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ที่มีต่อการเรียนรู้นาฏศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 1 ฉบับ จำนวน 10 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจ

จำแนกตั้งแต่ 0.38 ถึง 0.56 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 แบบสอบถามความพึงพอใจของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้

ศิลปะ 1 ฉบับ จำนวน 15 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.54 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ

เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ( Dependent Samples)

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏ ดังนี้

1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.52 ถึง 77.50

ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6501 แสดงว่านักเรียนมี

ความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 65.01

3. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ

ทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีเจตคติต่อการเรียนนาฏศิลป์โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง

5. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวม

อยู่ในระดับมาก

โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเหมาะสม ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียน มีทักษะการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือและให้ความร่วมมือในการเรียนดีขึ้น สามารถใช้เป็น

แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ จึงควรส่งเสริม

สนับสนุนให้ครูนำแผนนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นต่อไป



4. ชื่อเรื่อง ผลการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD

และเทคนิค TGT เรื่อง เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ช่างไม้ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนและการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ที่มีเพศต่างกัน

ผู้วิจัย นายสิริมาศ ราชภักดี

กรรมการควบคุม รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยยศ เรืองสุวรรณ และ

รองศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สุขศรีงาม

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2550

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยียังขาด

สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหาวิชาและเกิดทักษะ

กระบวนการในการปฏิบัติงาน ทำให้ผู้เรียนขาดการคิดวิเคราะห์และพิจารณาไตร่ตรองในการ

วางแผนการทำงาน จึงทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ การวิจัยครั้งนี้จึง

มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมบทเรียน และเปรียบเทียบผลการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน

โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD และเทคนิค TGT เรื่อง เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์

ช่างไม้ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 1 ที่มีเพศต่างกัน จำนวน 79 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ โปรแกรมบทเรียน เรื่อง เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์

ช่างไม้ แผนการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน โดยใช้การเรียน

แบบร่วมมือเทคนิค STAD และใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TGT จำนวนกลุ่มละ 8 แผน แผน

ละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เครื่องมือและ

วัสดุอุปกรณ์ช่างไม้ จำนวน 40 ข้อ และแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์จำนวน 5 ด้าน

54 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test,

F-test (Two –way ANCOVA และ Two-way MANCOVA)

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. โปรแกรมบทเรียน เรื่อง เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ช่างไม้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.93/81.92

2. ดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน เรื่อง เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ช่างไม้

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7156 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน คิดเป็น

ร้อยละ 71.56

3. นักเรียนโดยส่วนรวม นักเรียนชาย และนักเรียนหญิง ที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน

โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD และเทคนิค TGT มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการ

เรียน และคะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์หลังเรียนโดยรวมและรายด้าน 5 ด้านเพิ่มขึ้นจาก

ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนที่มีเพศต่างกันและเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือต่างกัน

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน และการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์โดยรวมและเป็นราย 5 ด้าน

ไม่แตกต่างกัน และไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและรูปแบบการเรียนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

และการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์

5. นักเรียนโดยส่วนรวม นักเรียนชาย นักเรียนหญิง ที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน

โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD และเทคนิค TGT มีความคงทนในการเรียนรู้ไม่แตกต่าง

กัน

โดยสรุป โปรแกรมบทเรียนที่ใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD และเทคนิค TGT

มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม สามารถทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิด

เชิงวิพากษ์วิจารณ์ ความคงทนในการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรสนับสนุนและส่งเสริมให้

ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดการเรียนการสอนด้วยโปรแกรมบทเรียนที่ใช้เทคนิคการร่วมมือ

ดังกล่าว



5. ชื่อเรื่อง ผลการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง การวาดภาพ

เชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้ศึกษาค้นคว้า นายวิบูลย์ จรูญพันธุ์

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.นิราศ จันทรจิตร

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้นักเรียน

ได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ รวมทั้งการพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี

ต่อกันเพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานและมีความสุข การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มี

ความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง การวาด

ภาพเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล

ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง การวาดภาพเชิงสร้างสรรค์

และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

เรื่อง การวาดภาพเชิงสร้างสรรค์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

โรงเรียนบ้านโคกก่องดอนทองวิทยา อำเภอคอนสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ

เขต 1 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่

แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัด

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.21-0.73 มีค่าความ

เชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม

ร่วมมือด้วยเทคนิค STAD จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ( rxy ) ตั้งแต่ 0.35 – 0.69

มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง

การวาดภาพเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ

86.66/83.85 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6387 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการ

เรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

โดยสรุป การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง การวาดภาพเชิงสร้างสรรค์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลให้ผู้เรียน

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้

ร่วมกันเป็นกลุ่มที่มีคุณภาพ ซึ่งครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้

ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น



6. ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สำนวน สุภาษิต

และคำพังเพย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การ์ตูนประกอบกิจกรรมด้วย

กลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางนิรมล สมตัว

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภาพการ์ตูนประกอบด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการกลุ่ม

โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ผลสำเร็จของการเรียนรู้ อยู่ที่ความ

ร่วมมือของสมาชิกในกลุ่ม การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องสำนวนสุภาษิต และคำพังเพย ชนั้ ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้

การ์ตูนประกอบกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผล

ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการ

เรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมแพชนูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 5 จำนวน

30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน

30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.68 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 แบบวัดการ

เรียนรู้ดว้ ยตนเอง จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.70 และมีค่าความเชื่อมั่นทงั้

ฉบับเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ

ทดสอบสมมุติฐานด้วย t - test (Dependent Samples)

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สำนวน

สุภาษิต และคำพังเพย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การ์ตูนประกอบกิจกรรมด้วยกลุ่มแบบ STAD

มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.02/ 81.00

2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง สำนวน

สุภาษิต และคำพังเพย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.6952

3. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

มีคะแนนพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่

ระดับ .01

โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การ์ตูนประกอบกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD มีประสิทธิภาพ

และประสิทธิผล สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้นี้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้

อย่างมีประสิทธิภาพ



7. ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางรัตติกร ภิรมย์ไกรภักดิ์

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เป็นแนวทางการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

และส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้จึง

มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหา

ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นในตนเอง

ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย

ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 50 คน

ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการ

เรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 8 แผน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมโดยรวมเท่ากับ 4.43 แบบทดสอบวัด

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจ

จำแนกตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.69 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 แบบวัดความเชื่อมั่นในตนเอง

จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.75 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ใน

การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏ ดังนี้

1. แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.95/ 80.20

2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าเท่ากับ 0.6217

3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความเชื่อมั่นในตนเอง อยู่ในระดับมาก

4. ผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นที่น่าพอใจ นักเรียนสามารถ

ปฏิบัติงานกลุ่มร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขสนุกสนานกับกิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี

โดยสรุป การนำกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน

เชิงวิเคราะห์ ส่งผลให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


8. ชื่อเรื่อง การพัฒนาการใช้คำสมาสและคำสนธิ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมกลุ่มแบบ STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า นายหัสชัย เปาะวัน

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2549

บทคัดย่อ

ภาษาไทยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร และเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของนักเรียน

ดังนั้นจึงควรใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามอักขรวิธี แต่จากการศึกษาสภาพปัญหาการใช้ภาษาไทย

ของนักเรียนพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องการใช้คำสมาส และคำสนธิ ซึ่งเป็นคำ

ที่สร้างจากหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ทำให้ยากต่อการจดจำและเรียนรู้ ดังนั้น

ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงพัฒนาการใช้คำสมาสและคำสนธิ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมกลุ่มแบบ STAD ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวคิดของ

เคมมิส และแมคแทกการ์ท 3 วงรอบ แต่ละวงรอบมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ

ขั้นสังเกตการณ์ และขั้นสะท้อนผล ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าประกอบด้วยครูผู้สอนวิชาภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้องเรียน

36 คน ระยะเวลาที่ใช้ทำการศึกษาค้นคว้า เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 1

มีนาคม 2549 รวมระยะเวลา 12 ชั่วโมง

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า ผลจากการประเมินการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน

คิดเป็นร้อยละ 50.74 และหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 82.31 และผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละ

วงรอบสรุปได้ดังนี้ วงรอบที่ 1 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่อง การใช้

คำสมาส โดยใช้กิจกรรมกลุ่มแบบ STAD พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ตั้งใจ และสนใจเรียนดี

แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาที่พบในวงรอบนี้ คือ ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน และขั้นสอน ครูผู้สอนใช้

เวลาในช่วงนี้มากเกินกว่าที่กำหนด รวมทั้งกิจกรรมที่นักเรียนต้องเปิดพจนานุกรมหาความหมาย

ของคำศัพท์ และให้นักเรียนหาคำสมาสจากหนังสือพิมพ์ พบว่านักเรียนสนใจภาพหรือข่าวอื่น

มากกว่าสนใจเรื่องที่ครูให้ทำ นักเรียนบางคนไม่สนใจเรียน โดยเฉพาะนักเรียนที่เรียนอ่อนจะทำ

กิจกรรมต่าง ๆ ช้า กิจกรรมกลุ่มยังมีปัญหาคือเกี่ยงหน้าที่กัน ไม่ค่อยปรึกษาหารือกัน การนำเสนอ

ผลงานหน้าชั้นเรียนยังประหม่า ข้อมูลไม่ชัดเจน และนอกจากนี้การให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มน้อย วงรอบที่ 2 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่อง การใช้คำสนธิ

โดยใช้กิจกรรมกลุ่มแบบ STAD พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ตั้งใจ และสนใจเรียนดีส่วนปัญหาที่พบ

ในวงรอบที่ 1 นั้น ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ทำการแก้ไขปัญหาที่ครูใช้เวลามากเกินกว่าที่กำหนดในขั้น

นำเข้าสู่บทเรียนและขั้นสอน โดยการให้นักเรียนศึกษาข้อมูล และทำความเข้าใจเนื้อหามาล่วงหน้า

และครูใช้บัตรคำเป็นสื่อในกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้การเรียนรู้เรื่องคำสนธิเร็วขึ้น ส่วนปัญหา

นักเรียนบางคนไม่ตั้งใจ และไม่สนใจเรียนนั้น ผู้ศึกษาค้นคว้าใช้วิธีการกระตุ้นให้เห็นความสำคัญ

ของการเรียน ส่วนนักเรียนที่เรียนอ่อนที่ให้ความร่วมมือในกลุ่มน้อย ผู้ศึกษาค้นคว้าได้กระตุ้นให้

ตั้งใจเรียน และกระตุ้นให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม รวมทั้งการให้คำชมเชย ส่งผลให้นักเรียน

ที่เรียนอ่อนตั้งใจ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มมากขึ้น สำหรับปัญหาในการนำเสนอ

หน้าชั้นเรียน ผู้ศึกษาค้นคว้าให้การแนะนำว่าให้ฝึกซ้อม และฝึกพูดบ่อย ๆ ทบทวนข้อมูลเนื้อหา

มาให้ดี รวมทั้งครูผู้สอนได้สาธิตการนำเสนอผลงานให้นักเรียนดู สำหรับปัญหาที่พบในวงรอบนี้

คือ บางกลุ่มส่งเสียงดัง รวมทั้งลอกแบบฝึกท้ายแผนและข้อสอบ ส่วนการปรึกษาหารือกันยังไม่ดี

เท่าที่ควร เพราะบางกลุ่มนักเรียนที่เรียนเก่งจะเป็นคนทำเอง การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนดี

ผู้ศึกษาค้นคว้าแนะนำให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ให้สำรวจมารยาทในการพูด

และหมั่นฝึกซ้อมการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งการทำความเข้าใจในเนื้อหาให้ชัดเจน

วงรอบที่ 3 เป็นการทบทวนเนื้อหาทั้งหมดที่เรียนมา โดยเน้นเฉพาะส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจจริง ๆ

และปรับกิจกรรมการรู้ใหม่โดยการคละกลุ่มใหม่ แต่สมาชิกยังเท่าเดิม และยึดหลักกลุ่มแบบ STAD

เหมือนเดิม รวมทั้งเพิ่มแบบฝึกเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนายิ่งขึ้น ส่งผลให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น

สนใจและมีความตั้งใจเรียนดีขึ้น นักเรียนกล้าแสดงออกดีมาก ครูให้แรงเสริมรวมทั้งการให้รางวัล

ทุกกลุ่มที่มีผลงานพัฒนาการดีขึ้น ทำให้กิจกรรมการเรียนรู้มีความสนุกสนานและมีความสุข ส่งผล

ให้นักเรียนมีคะแนนในวงรอบนี้สูงขึ้น

โดยสรุป การพัฒนาการใช้คำสมาสและคำสนธิ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมกลุ่มแบบ STAD ทำให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง

กล้าแสดงออกเพิ่มมากขึ้น มีทักษะในการทำงานกลุ่ม มีความรับผิดชอบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ส่งผลให้นักเรียนมีพัฒนาการการใช้คำสมาสและคำสนธิดีขึ้น


9. ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน

ด้วยนิทานพื้นบ้าน

ผู้ศึกษาค้นคว้า นายวานิช ยืนชีวิต

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ยังมีปัญหา

อยู่มาก นักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดทักษะด้านการอ่าน อ่านแล้วจับใจความ วิเคราะห์ความและ

สรุปความไม่ได้ จึงทำให้ไม่มีความมั่นใจในการอ่านเท่าที่ควร ดังนั้น ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงได้ศึกษา

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนากิจกรรม

การเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ

STAD ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 (2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ

แบบ STADโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านด้วยนิทานพื้นบ้าน (3) เปรียบเทียบคะแนนการอ่านของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้หนังสือส่งเสริม

การอ่านด้วยนิทานพื้นบ้านระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน (4) ศึกษาความมั่นใจในตนเองของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้ภาษาไทย ด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านด้วยนิทานพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

โรงเรียนบ้านอาจสามารถ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา

2551 จำนวน 17 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 3 ชนิด

ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด

แบบทดสอบวัดการอ่าน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่

0.34 ถึง 0.69 มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.47 ถึง 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91

และแบบวัดความมั่นใจในตนเอง แบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้

ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน

ใช้ t-test (Dependent Samples)

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้หนังสือ

ส่งเสริมการอ่านด้วยนิทานพื้นบ้าน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.12/84.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80

ที่ตั้งไว้ มีค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 0.7727 แสดงว่านักเรียนมี

ความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 77.27 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความมั่นใจใน

ตนเอง อยู่ในระดับมาก

โดยสรุป แผนการจัดการเรียนรู้และหนังสือส่งเสริมการอ่านด้วยนิทานพื้นบ้าน

ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการอ่านของนักเรียนให้บรรลุ

เป้าหมายของหลักสูตรต่อไป


10. ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางเสงี่ยม โกฏิรักษ์

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์สุขิริน เย็นสวัสดิ์

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำเป็นสิ่งที่สำคัญ

ในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเริ่มเรียนภาษาไทย

จำเป็นต้องมีการฝึกฝนให้เกิดทักษะ และมีการนำทักษะกระบวนการกลุ่มร่วมมือมาใช้ในการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ให้หลากหลาย และเหมาะสมจะช่วยให้นักเรียนสามารถอ่านและเขียนสะกดคำ

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการ

จัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียน

สะกดคำในมาตราแม่ ก กา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์

80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่ม

ร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียน

สะกดคำในมาตราแม่ ก กา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่ผู้ศึกษาสร้างและพัฒนาขึ้น

กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียน

หนองไม้พลวงวิทยาคม จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่ม

ร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 แผน แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ

ในมาตราแม่ ก กา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 ชุด

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝกึ ทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง

การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นแบบทดสอบการอ่านออกเสียงคำ จำนวน 20 ข้อ แบบทดสอบการเขียนคำ จำนวน 20 ข้อ รวมจำนวน 40 ข้อ

มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.71 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.89 และแบบวัดความพึงพอใจ

ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีค่า

อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.44 ถึง 0.82 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.61/86.18 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์

80/80 ที่ตั้งไว้

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่ม

ร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7707 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าใน

การเรียนคิดเป็นร้อยละ 77.07

3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการรู้

โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก

โดยสรุป ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเหมาะสม นักเรียนมีทักษะ

การอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราแม่ ก กา เพิ่มขึ้น สามารถสร้างองค์ความรู้และตรวจสอบ

ความรู้ด้วยตนเอง มีความมั่นใจในตนเอง มีทักษะการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ มีความรับผิดชอบ

มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนั้นครูจึงควรนำ

รูปแบบการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ไปใช้ในการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ให้แพร่หลายและเกิดผลดีต่อผู้เรียนต่อไป


11. ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ช่วงชั้นที่ 2

โดยการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD

ผู้ศึกษาคนคว้า ทัศฎาพร ทุยเวียง

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด โดยการเรียนแบบกลุ่ม

ร่วมมือเทคนิค STAD เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับ

ความต้องการและความสนใจของนักเรียน เนื่องจากนักเรียนได้พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้

ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขและส่งผลให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการศึกษาค้นคว้า

จึงมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่อง

มาตราตัวสะกด ช่วงชั้นที่ 2 โดยการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ตามเกณฑ์ 80/80

2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาไทย 3) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้

ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองบัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 1 ห้อง รวม 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบ

สมมุติฐานด้วย T-test (Dependent Samples)

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

เรื่องมาตราตัวสะกด ช่วงชั้นที่ 2 โดยการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีประสิทธิภาพ

เท่ากับ 87.20 / 85.87

2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด

ช่วงชั้นที่ 2 โดยการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7557

3. นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ ภาษาไทยเรื่องมาตราตัวสะกด โดยการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีความ

คงทนในการเรียนรู้ หลังเรียนไปแล้ว 2 สัปดาห์ ได้ค่าเฉลี่ย 25.68 คิดเป็นร้อยละ 85.60

โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD

เรื่องมาตราตัวสะกด ส่งผลให้นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 มีผลการเรียนรู้สูงขึ้น มีประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผลเหมาะสม


12. ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวสุดใจ พงษ์เพียจันทร์

อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.พิศมัย ศรีอำไพ

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การอ่านเป็นทักษะที่มีความสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการเรียนรู้และการพัฒนาชีวิต

โดยเฉพาะการอ่านเชิงวิเคราะห์ซึ่งเป็นการอ่านที่สามารถสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์แก่นักเรียน

ได้ เป็นอย่างดี การอ่านเชิงวิเคราะห์จะช่วยให้นักเรียนได้ข้อเท็จจริงที่เป็นพื้นฐานความรู้ เพื่อ

นำไปใช้ในการแก้ปัญหา การประเมินและการตัดสินเรื่องราวต่างๆได้อย่างถูกต้อง นำไปสู่การสร้าง

วิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต การฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่ม

ร่วมมือแบบ STAD ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนานักเรียนให้

สามารถอ่านเชิงวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหา

ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ประกอบการใช้แบบฝึก

ทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านเชิงวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มี

ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และเพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 3

ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนชุมชนบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จากกลุ่มประชากรนักเรียน 3 กลุ่ม

จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบฝึกทักษะ

การอ่านเชิงวิเคราะห์ จำนวน 6 ชุด และแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์

ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.91 และมีค่า

ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 เวลาในการทดลองครั้งละ 2 ชั่วโมง จำนวน 6 ครั้ง สถิติที่ใช้

คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนีประสิทธิผล

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.83 / 81.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6547 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน

ร้อยละ 65.47

โดยสรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ประกอบการใช้แบบ

ฝึกทักษะ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้หนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

สามารถนำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ประกอบการใช้แบบฝึก

ทักษะไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการอ่าน

เชิงวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะทางสังคม มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ซึ่งจะส่งผลให้การเรียนรู้ของนักเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น


13. ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวพรทิภา มากมูลดี

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มอารีย์

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ปัญหาที่พบคือ ผู้เรียนมีทักษะ

กระบวนการคิดวิเคราะห์ และมีทักษะกระบวนการกลุ่มร่วมมือน้อยมาก จากปัญหาดังกล่าว

หากใช้ความพยายามพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการกลุ่มร่วมมือ ในการจัด

กิจกรรมเรียนรู้ให้หลากหลาย และเหมาะสมคงจะช่วยในการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนั้นผู้ศึกษา

ค้นคว้าจึงมีความมุ่งหมาย เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนา

ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล

ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้

แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อ

เปรียบเทียบการอ่านเชิงวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิง

วิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้

เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาวาราชกิจพิทยานุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหารเขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 30 คน

จาก 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึก

ทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 แผน

แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD จำนวน 8 ชุด แบบทดสอบวัด

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40

ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20-0.83 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.85 และแบบทดสอบวัด

ความสามารถการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 32 ข้อ มีค่าอำนาจ

จำแนกตั้งแต่ 0.20-0.80 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.84 และแบบอัตนัย จำนวน 8 ข้อ มีค่าอำนาจ

จำแนกตั้งแต่ 0.63-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.76 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน ใช้ Dependent t – test

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้าน

การอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.48/74.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถ

ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

มีค่าเท่ากับ 0.4370 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 43.70

3. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถ

ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

มีผลการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์

โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

มีประสิทธิภาพเหมาะสม นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ และทักษะด้านการอ่านเชิง

วิเคราะห์เพิ่มขึ้น สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน

เป็นสำคัญได้ และนักเรียนสามารถนำความรู้ในการอ่านเชิงวิเคราะห์ไปพัฒนาการเรียนรู้ได้

ทุกรายวิชา



14. ชื่อเรื่อง --- การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนในแม่ ก. กา

--- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรม

--- ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า --- นางโสภิต พันธ์วิริยะกุล

อาจารย์ที่ปรึกษา --- อาจารย์สุดาเรศ รัตนาถาวร

ปริญญา กศ.สาขาวิชา สาขาหลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

ภาษาไทยเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับคนไทยทุกคน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ภาษาในการดำรงชีวิต

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้

ภาษาไทย เรื่อง การพัฒนาความสามารถทางด้านการอ่านและการเขียนในแม่ ก. กา ของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการพัฒนา

ความสามารถทางด้านการอ่านและการเขียนในแม่ ก. กา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD 3) เพื่อศึกษา

กระบวนการทำงานกลุ่มของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เกิดจากการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ

STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนบ้านปากช่อง อำเภอ

ละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลอง 24 ชั่วโมง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าคือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัด

กิจกรรม จำนวน 12 แผน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินแผนมีค่าอยู่ระดับ 4.51- 5.00 ซึ่งหมายถึงอยู่ใน

ระดับเหมาะสมมากที่สุด แบบฝึกทักษะ 12 ชุด ชุดละ 3 แบบ ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินค่าอยู่ระหว่าง

4.51- 5.00 ซึ่งหมายถึงอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .26 - .66 ค่าความเชื่อมั่น 0.86 และ

แบบสังเกตกระบวนการทำงานกลุ่มของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ

ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการพัฒนา

ความสามารถด้านการอ่านและเขียนในแม่ ก กา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพ 85.00/82.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ภาษาไทย การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและเขียนในแม่ ก กา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีค่าเท่ากับ 0.5872

นั่นคือ นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 58.72 กระบวนการทำงานกลุ่มของ

นักเรียนโดยรวมสามารถเรียงคะแนนจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการปฏิบัติงานเสร็จทันเวลา

ด้านการแบ่งหน้าที่ภายในกลุ่ม ด้านการทำงานตามขั้นตอน ด้านการรู้จักแสดงความคิดเห็น

มีค่าเฉลี่ย ด้านความเป็นระเบียบและสะอาด

โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการพัฒนาความสามารถ

ด้านการอ่านและเขียนในแม่ ก กา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัด

กิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม สามารถเสริมสร้าง

ให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น มีกระบวนการทำงานกลุ่มที่มีคุณภาพ ดังนั้น ครู

และผู้สนใจสามารถนำไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมี

ประสิทธิภาพ


15. ชื่อเรื่อง การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

โดยใช้แบบฝึกทักษะ ด้านการอ่านและการเขียนคำยาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางกฤติกา เจริญยศ

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้น

ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการร่วมปฏิบัติกิจกรรมช่วยเหลือกันเป็นกลุ่ม คำนึงถึงความแตกต่าง

ระหว่างบุคคล ความสำเร็จของบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม ดังนั้นผู้ศึกษาค้นคว้าจึงได้ศึกษา

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ด้านการอ่านและการเขียนคำยาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อหาประสิทธิภาพ

ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ด้านการอ่านและการเขียนคำยาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อหาดัชนีประสิทธิผล

ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ

และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้

คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนกุดบากราษฎร์บำรุง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 27 คน จาก 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดย

การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้มี 3 ชนิด คือ แผนการจัดการเรียนรู้

ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ ด้านการอ่านและการเขียนคำยาก

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 แผน ทำการสอนแผนละ 1 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ

มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.80 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 และ

แบบวัดความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก

รายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.84 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

โดยใช้แบบฝึกทักษะ ด้านการอ่านและการเขียนคำยาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ

เท่ากับ 88.04/86.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่ตั้งไว้

2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

โดยใช้แบบฝึกทักษะ ด้านการอ่านและการเขียนคำยาก มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7095

3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ ด้านการอ่านและการเขียน

คำยาก โดยรวมและรายข้อทุกข้ออยู่ในระดับมาก

โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ส่งผลให้นักเรียนสามารถอ่านและเขียนคำยากได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ครูผู้สอนสามารถนำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ไปใช้จัดกิจกรรม

การเรียนรู้ภาษาไทยได้วิธีหนึ่ง


16. ชื่อเรื่อง การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์

ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางรินรดา จันทะวัน

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์สุมาลี ธรรมโหร

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2550

บทคัดย่อ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ทักษะการอ่าน

โดยเฉพาะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากครูผู้สอนไม่นำทักษะและเทคนิคการสอน

เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดในการวิเคราะห์ จึงทำให้ผู้เรียนไม่สามารถสรุปประเด็นสำคัญหรือ

จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้เท่าที่ควร ดังนั้นผู้ศึกษาค้นคว้าจึงพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้

แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมี

ความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการ

เรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อศึกษาดัชนี

ประสิทธิผลของแผนการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน

บ้านหนองขุ่นเหล่าหลักวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2

ปีการศึกษา 2549 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 35 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive

Sampling) เครื่องมือ ได้แก่ แผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านเชิงวิเคราะห์

แบบอัตนัยหรือความเรียง จำนวน 2 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผล

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 81.93 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์

80/80 ที่ตั้งไว้และมีดัชนีประสิทธิผล 60.28 หมายความว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.28

โดยสรุป ได้แผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ที่มีประสิทธิภาพ

เหมาะสม และเป็นนวัตกรรมที่สามารถใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการอ่าน สามารถจับใจความสำคัญ และสรุปประเด็นของเรื่องที่อ่านได้เป็นอย่างดี

จึงขอสนับสนุนให้ครูภาษาไทยสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเกิด

ทักษะด้านการอ่านเป็นอย่างดี


17. ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบ

กลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางจุฑามาศ ชัยสงคราม

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์สุดาเรศ รัตนาถาวร

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีข้อดี

หลายประการ ได้แก่ นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยสื่อที่น่าสนใจ นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันโดยแต่ละกลุ่ม

จะมีนักเรียน 4 - 5 คน ซึ่งมีนักเรียนที่เรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ได้เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมทำงาน

ร่วมวางแผน และนำเสนอผลงานกลุ่ม โดยกลุ่มจะช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนอ่อนให้มีพัฒนาการที่ดี

ขึ้น และมีการเสริมแรงด้วยการยกย่องชมเชยเมื่อมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้

เมื่อนำเอากิจกรรมดังกล่าว มาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จะช่วยให้

ผู้เรียนมีพัฒนาการทางการเรียนรู้ในกลุ่มสาระภาษาไทยได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้นผู้ศึกษาค้นคว้า

จึงมีความสนใจที่จะจัดทำหนังสือส่งเสริมการอ่านและนำกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD มาพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความมุ่งหมายเพื่อหาประสิทธิภาพของแผน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือ

ส่งเสริมการอ่าน ประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หาค่าดัชนี

ประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านจับใจความ กลุ่ม

ตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง

(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ภาษาไทย โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD จำนวน 7 แผน

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก

จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.56 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.20

ถึง 0.58 และ มีค่าความเชื่อมั่น (rcc) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผล

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏ ดังนี้

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพ (E1/E2)

เท่ากับ 84.72/82.22

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.6300 แสดงว่า

นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 63

3. การพัฒนาทักษะด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน

ประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD คิดเป็นร้อยละ 82.22 และพิจารณานักเรียนเป็นรายบุคคล

นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 คิดเป็นร้อยละ 67

4. ผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ปรากฏว่า

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD นักเรียนสามารถเข้าใจ และปฏิบัติตามขั้นตอน

ของกิจกรรมได้การจัดทำแผนผังความคิด นำเสนอผลงาน การอ่านจับใจความจากเรื่องในหนังสือ

ส่งเสริมการอ่าน การทดสอบย่อยท้ายแผน ทุกขั้นตอนมีความเหมาะสม ทันเวลาและได้ผลดีเป็นที่

น่าพอใจ

โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ ชั้นประถม

ศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผลเหมาะสม นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้และมีทักษะด้านการอ่านจับใจความ

เป็นอย่างดี


18. ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า จิระนันท์ ไตรแสง

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมแบบ STAD (Student Teams Achievement Division) เป็นรูปแบบ

หนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Cooperative Learning) ที่สนองตอบต่อ

ความแตกต่างระหว่างบุคคล และยึดหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การศึกษาครั้งนี้

มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน

เชิงวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อหา

ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (4) ศึกษาผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนพระธาตุบังพวน

วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster

Random Sampling) ใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD จำนวน 7 แผน ใช้เวลาสอนแผนละ 2 ชั่วโมง

(2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก ซึ่งมีค่า

อำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.60 โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.86

และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ชนิดมาตราส่วน

ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก (rxy ) ตั้งแต่ 0.317

ถึง 0.727 มีค่าความเชื่อมั่น (α ) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 สถิติทใี่ ช ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่

ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.81/85.75 ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีค่าเท่ากับ 0.5857 และนักเรียนมีความพึงพอใจ

ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD อยู่ในระดับมาก

โดยสรุปแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ส่งผลให้

นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเหมาะในการที่จะ

นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย


19. ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ โดยใช้เทคนิค STAD

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางรักคณา ไชยทอง

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มอารีย์

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD เป็นการจัดกิจกรรม

ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มทุกคนได้ช่วยเหลือและเกื้อกูลกันในการเรียนรู้ เพื่อความสำเร็จ

ของตนเองและของกลุ่ม ส่งผลให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม

ร่วมมือ เรื่อง ชนิดของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์

80/80 หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรม

การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาคาร

ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำนวน 28 คน

จาก 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการ สุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ใน

การศึกษาค้นคว้า มี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือโดยเทคนิค STAD

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 แผน

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบปรนัย

ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.80 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ

เท่ากับ 0.79 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ

เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น เป็นแบบมาตราส่วน

ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ตั้งแต่ 0.46-0.84

ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏ ดังนี้

1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชนิดของคำ โดยใช้เทคนิค STAD มีประสิทธิภาพ

เท่ากับ 86.54/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชนิดของคำ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค STAD มีค่าเท่ากับ 0.7266 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น

จากพื้นฐานความรู้เดิมร้อยละ 72.66

3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพังพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม

ร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับมาก

โดยสรุป แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD ที่ผู้ศึกษาค้นคว้า

สร้างและพัฒนาขึ้น ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และมีความสุขในการเรียนรู้


20. ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า นายไพศาล พระจันทร์ลา

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ นิ่มจินดา

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้น

การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ละกลุ่ม

ประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถแตกต่างกัน โดยที่แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

ในการเรียนรู้และในความสำเร็จของกลุ่ม ทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันทรัพยากร

การเรียนรู้ รวมทั้งการเป็นกำลังใจแก่กันและกัน คนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือคนที่เรียนอ่อนกว่า

สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่จะรับผิดชอบต่อการเรียนของตนเองเท่านั้น หากแต่จะต้องรับผิดชอบต่อ

การเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกทุกคนในกลุ่มด้วย ความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนา

ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอน

แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผล

ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแผน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ประจำ

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 24 คน ได้มาโดยการเลือก

แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

เพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ด้วยการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 6 แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่

0.21 ถึง 0.94 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.93 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 1 ชุด 20 ข้อคำถาม

ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.202 ถึง 0.769 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.838 สถิติที่ใช้ใน

การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผล

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาทักษะการอ่าน

เชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ

เทคนิค STAD มีประสิทธิภาพ 83.40/81.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 ดัชนีประสิทธิผล

0.3883 แสดงว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน ร้อยละ 38.83 และนักเรียนมีความพึงพอใจ

ต่อการเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อการพัฒนา

ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ อยู่ในระดับมากที่สุด

โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์

ด้วยการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ที่มีประสิทธิภาพ ใช้แล้วเกิดประสิทธิผลใน

การแก้ปัญหาด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนภาษาไทย ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทยสามารถนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในการสอนการอ่านโดยเฉพาะด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ได้

อย่างดี นอกจากนี้ยังเห็นสมควรให้นำไปพัฒนาใช้กับครูผู้สอนกลุ่มสาระอื่น ๆ ต่อไป



21. ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบ

การจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางปาริชาติ นุริศักดิ์

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มอารีย์

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีสาเหตุมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านและการคิด

วิเคราะห์ยังไม่เหมาะสม ทำให้ผลสัมฤทธิ์การอ่านและการคิดวิเคราะห์ต่ำกว่าเกณฑ์ดังนั้น ผู้ศึกษา

ค้นคว้าจึงได้พัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วย

กลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีความมุ่งหมาย (1) เพื่อพัฒนาแผนการ

จัดการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาประสิทธิผล

ของแผนการพัฒนาทักษาการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วย

กลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียน

ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ

แบบSTAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 / 1

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านขามเรียน จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือก

แบบสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่าน

เชิงวิเคราะห์จำนวน 6 แผน แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์จำนวน 6 ชุด แบบวัดทักษะการ

อ่านเชิงวิเคราะห์ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.27-0.70

มีค่าอำนาจจำแนก (B-Index) ตั้งแต่ 0.22-0.89 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และแบบสอบถามความ

พึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์

โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์

ประกอบกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.05/87.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้มีค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้เท่ากับ

0.7210 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 72.10 และนักเรียน

มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้

แบบฝึกทักษะประกอบกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD อยู่ในระดับมาก



22. ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

โดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางธนาลัย เธียรวรรณ

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

ปริญญา กศ.. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ช่วยให้ผู้เรียนมีความตื่นเต้น สนุกกับ

การเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด เรียนรู้ทักษะทางสังคม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและ

ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่ความสามารถต่างกันได้เรียนรู้ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์ เป็นผลทำ

ให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียน การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะ

การอ่านออกเสียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียน

บ้านโคกระกา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน

โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบของกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการ

และทบทวน 2) ขั้นเสนอบทเรียนใหม่ 3) ขั้นสรุป 4) ขั้นวัดผล เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผล

ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินการทำงานกลุ่ม แบบสัมภาษณ์ครู ผู้ร่วมศึกษา

ค้นคว้า แบบบันทึกการสัมภาษณ์นักเรียน แบบบันทึกการใช้แผนการเรียนรู้ แบบบันทึกความ

คิดเห็นของนักเรียน แบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียนและสมาชิกในกลุ่มขณะร่วมกิจกรรม และ

แบบทดสอบย่อยท้ายวงรอบ จำนวน 5 ชุด ๆ ละ 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่

ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ในการตรวจสอบข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าและนำเสนอ

ผลการศึกษาค้นคว้าโดยวิธีบรรยาย

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่ง

การดำเนินการพัฒนาออกเป็น 5 วงรอบ แต่ละวงรอบจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัด

การเรียนรู้วงรอบละ 2 แผน ซึ่งก่อนดำเนินการพัฒนาผู้ศึกษาค้นคว้าได้ทำการสำรวจสภาพปัญหา

การอ่านออกเสียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโคกระกา พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านออกเสียงต่ำ เนื่องจากนักเรียนใช้ภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทย โดยเฉพาะ

ภาษาถิ่นเขมร ทำให้นักเรียนขาดความเชื่อมั่นต่อการอ่านออกเสียง เมื่อครูผู้สอนให้นักเรียนอ่านออก

เสียงเป็นรายบุคคล นักเรียน ออกเสียงได้ไม่ชัดเจน และขาดการเสริมแรงจากครูผู้สอนอย่างใกล้ชิด

ทำให้เกิดปัญหาด้านการอ่านออกเสียงมาก ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงร่วมวางแผนกับผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าใน

การแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านด้วยกระบวนการกลุ่มแบบ STAD

หลังการพัฒนาครบทั้ง 5 วงรอบ พบว่า นักเรียนมีคะแนนการทดสอบย่อยท้ายวงรอบทั้ง 5 วงรอบ

ดีขึ้นเรื่อย คือ ได้คะแนนร้อยละ 56.00, 68.00, 69.50, 80.00 และร้อยละ 82.00 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ พบว่า จากการที่นักเรียนมีโอกาสทำงานร่วมกัน

ทุก ๆ คน สามารถทำงานได้ทันเวลา มีความร่วมมือกันดีในการทำงาน มีความกระตือรือร้น

ในการทำงาน กล้าแสดงออก มีความสนุกสนานกับกิจกรรมที่ครูจัดขึ้น ทำให้สามารถพัฒนาทักษะ

การอ่านออกเสียงได้ชัดเจน และถูกต้องมากยิ่งขึ้น

โดยสรุป การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียง โดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

ทั้ง 5 วงรอบ ทำให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น

ซึ่งการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ในครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ทักษะ

ด้านอื่น ๆ ได้






เรียบเรียงโดย  ::   ประภัสรา  โคตะขุน  ;   http://prapasara.blogspot.com
 การคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งของงานวิจัย  อย่าลืมอ้างอิงที่มาด้วยนะคะ 


















.





135 ความคิดเห็น:

  1. 23 ซื่องานวิจัย การสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำยาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านโคกค่าย อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

    ผู้วิจัย นายนพเก้า ณ พัทลุง อาจารย์ 1 ระดับ 4

    ปี พ.ศ. 2544

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำยาก จำนวน 15 แบบฝึกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านโคกค่าย อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำยากของนักเรียน ก่อนใช้และหลังใช้แบบฝึกการเขียนสะกดคำยาก

    กลุ่มที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านโคกค่ายอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสลขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบฝึกการเขียนสะกดคำยาก จำนวน 15 แบบฝึก แบบทดสอบความสามารถในการสะกดคำยาก จำนวน 50 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ และค่าเฉลี่ย

    ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า แบบฝึกการเขียนสะกดคำยากที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 86-84/84 ความสามารถในการเขียนสะกดคำยากของนักเรียน หลังใช้แบบฝึกสะกดคำยากสูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกการเขียนสะกดคำยาก

    ตอบลบ
  2. 24 ซื่องานวิจัย การสร้างแบบปร ะเมินค่าทักษะพื้นฐานของกีฬาวอลเลย์บอล

    ผู้วิจัย นางสาวจรินทร์ โฮ่สกุล

    ปี พ.ศ. 2544



    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบประเมินค่าทักษะพื้นฐานของกีฬาวอลเลย์บอลจำนวน 6 รายการ ประกอบด้วย 1) การเล่นลูกสองมือล่างขั้นพื้นฐานของกีฬาวอลเลย์บอล 2) การเสิร์ฟลูกมือล่างด้านหน้า 3) การเสิร์ฟลูกมือบนเหนือศีรษะด้านหน้า 4 ) การเล่นลูกสองมือบนหรือการเซ็ทขั้นพื้นฐานของกีฬาวอลเลย์บอล 5) การตบบอลขั้นพื้นฐานของกีฬาวอลเลย์บอล และ 6) การสกัดกั้นขั้นพื้นฐานของกีฬาวอลเลย์บอล ผู้วิจัยวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยใช้วิธีของโรไวนิลไลและแฮมเบิลตัน (Test – Retest) และวิเคราะห์ค่าความเป็นปรนัยของผุ้ประเมิน (Objectivity) จากการข้อมูลที่ประเมินโดยผู้วิจัยและคณะ จำนวน 2 คน

    กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา และสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ จังหวัดภายในเขตการศึกษา 4 เป็นนักเรียนชาย 150 คน และนักเรียนหญิง 150 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)

    ผลการวิจัยพบว่าแบบประเมินค่าทักษะพื้นฐานของกีฬาวอลเลย์บอลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทั้ง 6 รายการเป็นแบบประเมินค่าที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้ 1 ) แบบประเมินค่าการเล่นลูกสองมือล่างขั้นพื้นฐานของกีฬาวอลเลย์บอล มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0983 มีค่าความเหมาะสมของการกำหนดน้ำหนักคะแนนของทักษะย่อยแต่ละทักษะเท่ากับ 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ 0886 และมีค่าความเป็นปรนัยของผู้ประเมินเท่ากับ .937 2) แบบประเมินค่าการเสิร์ฟลูกมือล่างด้านหน้ามีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .992 มีค่าความเหมาะสมของการกำหนดน้ำหนักคะแนนของทักษะแต่ละทักษะเท่ากับ 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ 0922 และมีค่าความเป็นปรนัยของผู้ประเมินเท่ากับ 0946 3) แบบประเมินค่าการเสิร์ฟลูกมือบนเหนือศีรษะด้านหน้า มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .983 มีค่าความเหมาะสมของการกำหนดน้ำหนักคะแนนของทักษะย่อยแต่ละทักษะเท่ากับ 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ 0874 และมีค่าความเป็นปรนัยของผู้ประเมินเท่ากับ 0886 4) แบบประเมินค่าการเล่นลูกสองมือ

    บน หรือการเซ็ทขั้นพื้นฐานของกีฬาวอลเลย์บอล มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0942 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ 0899 และมีค่าความเป็นปรนัยของผู้ประเมินเท่ากับ 0913 5) แบบประเมินค่าการตบบอลขั้นพื้นฐานของกีฬาวอลเลย์บอล มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0967 มีค่าความเหมาะสมของการกำหนดน้ำหนักคะแนนของทักษะย่อยแต่ละทักษะเท่ากับ 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ 0956 และมีค่าความเป็นปรนัยของผู้ประเมินเท่ากับ 0954 และ 6) แบบประเมินค่าการสกัดกั้นขั้นพื้นฐานของกีฬา

    วอลเลย์บอล มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0967 มีค่าความเหมาะสมของการกำหนดน้ำหนักคะแนนของทักษะย่อยแต่ละทักษะเท่ากับ 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ 0896 และมีค่าความเป็นปรนัยของผู้ประเมินเท่ากับ 0935 โดยแบบประเมินค่าทักษะพื้นฐานของกีฬาวอลเลย์บอลทุกรายการมีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัด และค่าความเป็นปรนัยของผู้ประเมินอยู่ในระดับสูง ถึง สูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ .05

    จากค่าสถิติที่บ่งชี้ ความเมี่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเชื่อมั่นของกีฬาวอลเลย์บอล สร้างขึ้นมีคุณภาพถึงดีมากเหมาะอย่างยิ่งสำหรับนำไปใช้วัดและประเมินนักเรียนที่เรียนกิจกรรมกีฬาวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน

    ตอบลบ
  3. 25 ซื่องานวิจัย พฤติกรรมการสอนภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตการศึกษา 2

    ผู้วิจัย นายศราวุธ อรรถานุรักษ์ นักวิชาการศึกษา 7 (ว.)

    ปี พ.ศ. 2542

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสอนภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตการศึกษา 2 จำนวน 278 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นแบบบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของโรงเรียนและครูที่ถูกสังเกต ตอนที่ 2 แบบสังเกตพฤตกรรมการเรียนการสอนของครูในห้องเรียนเฉพาะการสอนวิชาภาษาไทยในด้านการใช้สื่อ ด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน และด้านการใช้วิธีสอน

    การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for Social Science) หาค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที่ (t-test) ค่าเอฟ (F-test) การทดสอบสมมติฐานกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า

    1. ครูที่มีอายุต่างกันมีพฤติกรรมการสอนภาษาไทย ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน (P=0.012) และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านการใช้สื่อ (P=0.403) และด้านการใช้วิธีสอน (P=0.106)

    2. ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกันพฤติกรรมการสอนภาษาไทย ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการใช้วิธีสอน (P=0.012) โดยพบว่าครูที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญาตรีกับปริญาตรีและปริญญาตรีกับสูงกว่าปริญญาตรี มีพฤติกรรมการสอนภาษาไทย ต่างกัน และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านการใช้สื่อ (P=0.055) และด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน (P=0.908)

    3. ครูที่มีประสบการณ์ต่างกันมีพฤติกรรมการสอนภาษาไทย ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการใช้สื่อ (P=0.018) โดยพบว่าครูที่มีประสบการณ์ต่ำกว่า 5 ปี กับครูที่มีประสบการณ์ 5-10 ปี และในด้านการใช้สอน (P=0.014) โอยพบว่าครูที่มีประสบการณ์ต่ำกว่า 5 ปี กับครูที่มีประสบการณ์ 5-10 ปี มีพฤติกรรมการสอนภาษาไทย ต่างกัน และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน (P=0.600)

    4. ครูที่ทำการสอนในชั้นเรียนต่างกันมีพฤติกรรมการสอนภาษาไทย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการใช้วิธีสอน (P=0.809) ในด้านการใช้สื่อ (P=0.750) และด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน (P=0.920)

    5. ครูที่ทำการสอนในโรงเรียนที่เปิดสอนตามใบรับอนุญาตที่ได้รับตามมาตรา 15(1) และมาตรา 15(2) มีพฤติกรรมการสอนภาษาไทย ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน (P=0.035) และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านการใช้สื่อ (P=0.242) และด้านการใช้วิธีสอน (P=0.723)

    6. ครูที่ทำการสอนในโรงเรียนที่มีขนาดเล็กกับขนาดกลาง ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่มีพฤติกรรมการสอนภาษาไทย ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในด้านการใช้สื่อ (P=0.001) และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน (P=0.174) และด้านการใช้วิธีสอน (P=0.074)

    7. ครูที่มีภูมิลำเนาจังหวัดยะลากับปัตตานี ยะลากับนราธิวาส ยะลากับสตูล ปัตตานีกับสตูล และนราธิวาสกับสตูล มีพฤติกรรมการสอนภาษาไทย ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในด้านการใช้สื่อ (P=0.001) และพบว่าครูที่มีภูมิลำเนาจังหวัดยะลากับปัตตานี ยะลากับนราธิวาส ยะลากับสตูล มีพฤติกรรมการสอนภาษาไทย ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 ในด้านการใช้วิธีสอน (P=0.001) และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน (P=0.90)

    ตอบลบ
  4. ซื่องานวิจัย การพัฒนาสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนประเภทวิดีทัศน์ เรื่อง การหลีกเลี่ยงสารเสพย์ติด

    ผู้วิจัย นางปรานอม ประทีปทวี

    ปี พ.ศ. 2543

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาสื่อวิดีทัศน์ประกอบการจัดการเรียนการสอนและศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนการสอน เรื่อง การหลีกเลี่ยงสารเสพย์ติด ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 โรงเรียนพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ จำนวน 5 แผน 7 คาบ ซึ่งสร้างขึ้นเอง วิดีทัศน์ประกอบการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การหลีกเลี่ยงสารเสพติด แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนโดยใช้สื่อวิดีทัศน์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอน เรื่องการหลีกเลี่ยงสารเสพย์ติด นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติทดสอบที่ (t-test)

    ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาสื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การหลีกเลี่ยงสารเสพย์ติด ทำให้ผลการทดสอบก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และนักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการใช้สื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและประโยชน์ในการนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองในระดับมากที่สุด

    ตอบลบ
  5. ซื่องานวิจัย การศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ (ว 102) สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

    ผู้วิจัย นายสุระชัย ศรีสุวรรณ

    ปี พ.ศ. 2544

    บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยชุดจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ว.102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75

    ในการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

    1. ศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะโครงงานวิทยาศาสตร์ มากำหนดวิธีการสอนสำหรับใช้สร้างชุดจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ว.102 โดยบูรณาการวิธีการสอนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

    2. สร้างแผนจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ว. 102 โดยประยุกต์และบูรณาการทฤษฎีต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยมีกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และโครงงานวิทยาศาสตร์กระตุ้นให้นักเรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองอย่างมีเหตุผล คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

    3. สร้างแบบทดสอบวัดผล แบบทดสอบก่อนเรียนแบบทดสอบหลังเรียน แล้วหาคุณภาพความเที่ยงตรงเป็น 1 ทุกข้อ โดยใช้สูตร t = åD

    ND² - (åD ²)



    N - 1 (df = N – 1)

    ค่า t ที่ใช้ตรวจสอบอำนาจจำแนกของข้อสอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกข้อ แบบทดสอบกลางภาคเรียน แบบทดสอบปลายภาคเรียน

    4. หาประสิทธิภาพแผนจัดกิจกรรมการสอน โดยนำไปทดลอง 3 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศาลาพัน สำนักงานการประถมศึกษา อำเภอสามโคก สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี ผลการทดลองปรากฏว่าประสิทธิภาพของชุดการสอนในการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเป็น 75.28 / 74.07 , 76.81 / 74.20 , 78.07 / 75.68ต ตามลำดับผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียน พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

    ตอบลบ
  6. ซื่องานวิจัย การใช้วิธีสอน “แบบสองภาษา” ในชั้นอนุบาลโรงเรียนศึกษาพิเศษนครปฐม

    ผู้วิจัย คุณอุณาวรรณ มั่นใจ

    ปี พ.ศ. 2544

    บทคัดย่อ

    การจัดการศึกษาสำหรับเด็กหูหนวกเป็นที่ถกเถียงกันว่าวิธีใดเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับคนหูหนวกปัญหาที่พบคือ ความสามารถด้านการอาน เขียน ของคนหูหนวกด้อยกว่าคนทั่วไปในวัยเดียวกันมาก ซึ่งเป็นผลทำให้คนหูหนวกมีความสามารถด้านการเรียนไม่เท่ากับคนทั่วไป ปัจจุบันได้มีการนำวิธีการสอนแบบสองภาษามาใช้สอนเด็กหูหนวกกันอย่างแพร่หลาย และพบว่าได้ผลดีในประเทศแถบสแกนดีเนเวีย อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยวิทยาลัยราชสุดามหาวิทยาลัยหิดล และโรงเรียนศึกษาพิเศษนครปฐม ได้นำมาหดลองใช้เช่นเดียวกัน คณะผู้วิจัยจึงได้สนใจทำการวิจัย เรื่อง “การใช้วิธีสอนแบบสองภาษาในชั้นอนุบาลโรงเรียนศึกษาพิเศษนครปฐม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีสอนแบบสองภาษาในชั้นอนุบาลของเด็กหูหนวกในโรงเรียนศึกษาพิเศษนครปฐม คำถามการวิจัยมี 3 ข้อ (1) กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบสองภาษาเป็นอย่างไร (2) ปัจจัยที่เอื้อต่อการจักการเรียนการสอนแบบสองภาษา มีอะไรบ้าง และ (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กหูหนวกที่เรียนโดยวิธีสอนแบบสองภาษาเป็นอย่างไร โดยศึกษาจากเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2543 ของโรงเรียนศึกษาพิเศษนครปฐม และโรงเรียนสอนคนหูหนวกในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลอีก 3 แห่ง หารวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณร่วมกัน การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และเอกสารจากชั้นเรียนและโรงเรียน การทดลองนำแผนการสอนโดยใช้วิธีกาสอนแบบสองภาษาไปสอนในโรงเรียนสอนเด็กหูหนวกชั้นอนุบาลปีที่ 1 แห่งอื่น จลอดจนการทดสอบวัดความสามารถด้านคำศัพท์ในชั้นเรียนที่เป็นประชากรกลุ่มตัวอย่างและโรงเรียนอื่นอีก 3 แห่ง เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย รวมทั้งทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว แล้วนำมาเสนอในรูปแบบการพรรณนา

    จากผลการวิจัยพบดังนี้

    1. กระบวนการเรียนการสอนแบบสองภาษามีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง คือ มีครูที่มีการได้ยินและครูหูหนวกสอนร่วมกันในชั้นเดียวกัน ครูสองคนต้องมีความสามารถในด้านภาษาไทยและภาษามือไทยในระดับค่อนข้างดี ใช้ภาษามือไทยสื่อสารในชั้นเรียน วิธีการสอนครูจะทำงานร่วมกันทุกขั้นตอนและแบ่งบทบาทหน้าที่ในชั้นเรียนอย่างชัดเจน เช่น บทบาทด้านการสอนเนื้อหา และการสอนภาษามือ เป็นของครูหูหนวกและการสอนภาษาไทยในด้านการอ่าน พูดและเขียนเป็นของครูที่มีการได้ยิน โดยครูทั้งสองคนจำทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียนร่วมกัน

    2. ปัจจัยที่เอื้อต่อการสอนแบบสองภาษา พบว่าโรงเรียนศึกษาพิเศษนครปฐม มีนโยบายด้านการจัดการเรียนการสอนแบบสองภาษาอย่างชัดเจน และมีโครงการห้องเรียนสาธิตเพื่อเป็นโครงการนำร่องทดลองสอนแบบสองภาษา มีบุคลากรที่มีคุณวุฒิสูงและปริมาณมากพอ มีการจ้างครูหูหนวกเพื่อสอนในโครงเรียนและชั้นเรียนการสอนแบบสองภาษา มีโครงการและกิจกรรมพัฒนาบุคลากรครู ตลอดจนการเตรียมความพร้อมครูและบุคลากรเพื่อการจัดการเรียนแบบสองภาษามีการปรับสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและการจัดเรียนให้เหมาะสมกับคนหูหนวก ตลอดจนมีนโยบายให้ใช้ภาษามือสื่อสารในโรงเรียนและชั้นเรียนด้วย

    3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ของโรงเรียนศึกษาพิเศษนครปฐม จากการประเมินของโรงเรียนอยู่ในระดับที่น่าพอใจและน่าพอใจมาก และจากการวัดความสามารถด้านคำศัพท์ของนักเรียน ผลปรากฏว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง คือร้อยละ 87.4 รวมทั้งจากการประเมินพัฒนาการของเด็ก ของครู ผู้ปกครอง และบุคลากรที่เกี่ยวข้องพบว่านักเรียนมีพัฒนาการเป็นที่น่าพอใจเช่นกัน สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ

    นอกจากนี้ยังพบว่าบรรยากาศการเรียนในชั้นเรียนสอนแบบสองภาษาดีมาก เด็กส่วนใหญ่มีความสนุกสนาน สนใจการเรียน มีการโต้ตอบกับครูผู้สอนตลอดเวลา และสามารถอยู่ร่วมในกิจกรรม การเรียนการสอนเป็นระยะเวลานาน และพบว่าวิธีการสอนแบบสองภาษานี้สามารถใช้ได้ในห้องเรียนเด็กหูหนวกทุกชั้นเรียน ถึงแม้ว่าจะเป็นห้องเรียนซึ่งใช้วิธีสอนแบบอื่น ซึ่งได้แก่วิธีการสอนพูดหรือการสอนแบบระบบรวมมาก่อน

    ตอบลบ
  7. ซื่องานวิจัย การศึกษาการพัฒนาป่าชายเลน ภาคตะวันออก (ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด)

    ผู้วิจัย นายเกื้อกูล ดีประสงค์ นักวิชาการศึกษา 7 ว

    ปี พ.ศ. 2546

    บทคัดย่อ

    การศึกษาการพัฒนาป่าชายเลนภาคตะวันออก (ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด) มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับป่าชายเลนภาคตะวันออกทั้งในด้านกายภาพและชีวภาพ เพื่อศึกษาปัญหาในการพัฒนาป่าชายเลนภาคตะวันออก ซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชนและชุมชน และแนวทางการแก้ปัญหาของชุมชนในหมู่บ้านในท้องที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรีและ จังหวัดตราดที่มีที่ตั้งของหมู่บ้านอยู่ใกล้กับป่าชายเลนหรือชุมชนที่มีการประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง จังหวัดละ 5 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 คน โดยการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) รวมจำนวนประชาการตัวอย่างทั้งสิ้น 100 คน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการตอบแบบสอบถาม ที่สร้างขึ้นและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละและการแจกแจงความถี่

    ผลการศึกษา

    1. เกี่ยวกับปัญหาในการพัฒนาป่าชายเลนภาคตะวันออก ซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชนและชุมชน และแนวทางการแก้ปัญหาของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า

    1.1 ประสบปัญหาปริมาณของป่าชายเลนในภาคตะวันออกมีจำนวนลดน้อยลง โดยมีสาเหตุจากการบุกรุกที่ดินป่าชายเลนเพื่อการประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์น้ำ การสร่งที่ยู่อาศัย และการตัดไม้ในป่าชายเลนเพื่อการอุปโภคและจำหน่ายสร้างรายได้

    1.2 ประสบปัญหาเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ ทรัพยากรป่าชายเลน

    1.3 ประสบปัญหาเกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยาทางทะเล

    1.4 มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในชุมชน และมีผลกระทบต่อความสุขในครัวเรือนของประชาชนและชุมชน

    1.5 ในการดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนอย่างยั่งยืน ขาดการประสานงานและความร่วมมือในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและต่อเนื่อง

    1.6 กระบวนการสร้างอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนอย่างยั่งยืน ขาดการประสานงานและความร่วมมือในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและต่อเนื่อง

    2. ด้านความต้องการของประชาชนและชุมชนในการอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนอย่างยั่งยืน พบว่า

    2.1 ประชาชนและชุมชนหลายแห่งในจังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราดมีความกระตือรืนร้นในการอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนอย่างยั่งยืน มีการรวมตัวจัดเป็นประชาคมหมู่บ้าน มีการกำหรดกติกาและมาตรการในการใช้ทรัพยากรป่าชายเลนของชุมชนร่วมกัน

    2.2 ประชาชนมีความต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนโดยการส่งเสริมการปลูกสวนป่าชายเลนให้มากขึ้น พร้อมทั้ง มีความต้องการได้รับการสนับสนุนการบำรุงป่าชายเลนผสมการพัฒนาสัตว์น้ำ เพื่อที่ประชาชนในชุมชนจะได้ใช้ประโยชน์จากป้าชายเลน เช่น การจับสัตว์น้ำเพื่อการบริโภคและจำหน่าย เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชนและลดปัญหาการบุกรุกทำลายป่าชายเลนเพื่อการประกอบอาชีพอีกทางหนึ่งด้วย

    2.3 ประชาชนต้องการให้มีการกำหนดอาณาเขตพื้นที่ป่าชายเลนให้ชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาการรุกล้ำที่ดิน

    2.4 ประชาชนต้องกาให้ทางราชการเพิ่มบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับบุคคลที่กระทำความผิดเกี่ยวกับป่าชายเลน เช่น การบุกรุกที่ดินป่าชายเลนเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของผู้มีอิทธิพล การทำประมงชายฝั่งที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่นการจับสัตว์น้ำในเขตหวงห้าม หรือในฤดูวางไข่ การใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ผิดกฎหมาย เช่น การใช้อวนตาถี่เหล่านี้เป็นต้น

    2.5 ประชาชนมีความต้องการที่จะเข้าร่วมการประชุมสัมมนา ศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนในสถานที่ต่าง ๆ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสลการณ์ตรงระหว่างบุคคลในชุมชน และจะได้นำเอาความรู้และประสลการณ์ตรงที่ได้รับพัฒนาการดำเนินงานของชุมชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

    ตอบลบ
  8. ซื่องานวิจัย การประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพัทลุง

    ผู้วิจัย นายประทีป แสงเปี่ยมสุข ศึกษานิเทศก์ 9

    ปี พ.ศ. 2546 - 2547

    บทคัดย่อ

    ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมและการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัด ศึกษากระบวนการใช้หลักสูตรในด้านการบริหาร และการจัดการเรียนการสอน ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรสถานศึกษา และเพื่อรวบรวมปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

    กลุ่มตัวอย่างประชากร ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุงจำนวน 30 คน ครูผู้สอน จำนวน 270 คน คัดเลือกโดยวิธีสุ่มอย่างงาย (Simple Random Sampling) และการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามผู้บริหารโรงเรียนและแบบสอบถามครูผู้สอนผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 15 ธันวาคม 2546

    สรุปผลการวิจัย

    ก. ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านปัจจัย

    1. โรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.00 เปิดสอนระดับประถมศึกษามีจำนวนนักเรียนระหว่าง 121 - 500 คน โรงเรียนใช้วิธีประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้วิธีการประชุมชี้แจง

    2. โรงเรียนใช้วิธีพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เรื่องหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่ครูผู้สอนโดยวิธีจัดอบรมเป็นกลุ่มโรงเรียน รองลงมาคือ ผู้บริหารพัฒนาครูผู้สอนด้วยตนเองชุมชนเห็นความสำคัญของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรในระดับปานกลาง

    ข. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน

    1. ด้านกระบวนการ

    ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนด้านกระบวนการข้อกระทงส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ยกเว้นข้อกระทงที่ว่า การตรวจและปรับปรุงหลักสูตรความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรของบุคลากรในสถานศึกษา เรื่อง การกำหนดเกณฑ์วิธีการวัดและประเมินผล กรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนเรื่องใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และด้านการนิเทศ เรื่อง การเยี่ยมชั้นเรียน การสรุปผลการนิเทศ และการนำผลการนิเทศพัฒนาการเรียนรู้เท่านั้นที่อยู่ในระดับปานกลาง

    2. ด้านผลผลิต

    ผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนด้านการใช้หลักสูตรส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางยกเว้นข้อกระทงที่ว่าครูผู้สอนทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้นที่อยู่ในระดับน้อยส่วนความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรของผู้บริหารโรงเรียนทุกข้อกระทงอยู่ในระดับมากยกเว้นข้อกระทงที่ว่าการจัดสอนซ่อมเสริมและครูผู้สอนใช้สื่อประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนเท่านั้นที่อยู่ในระดับปานกลาง

    3. ด้านปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

    ตอบลบ
  9. 3. ด้านปัญหา และข้อเสนอแนะในการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

    ความคิดเห็นของครูผู้สอนด้านสภาพปัญหา แต่ละด้านข้อกระทงที่มีความถี่สูงสุด คือ ครูไม่เข้าใจกระบวนการจัดทำหลักสูตร ครูไม่มีความชัดเจนในการวิเคราะห์หลักสูตรและเขียนแผนให้ครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ ขาดงบประมาณในการจัดทำสื่อที่มีคุณภาพครูไม่มีความชัดเจนเรื่องการวัดและประเมินผล ขาดความร่วมมือของบุคลากรภายในโรงเรียนนักเรียนบางคนมีปัญหาแตกต่างกันจึงยากแก่การช่วยเหลือ ส่วนข้อเสนอแนะข้อกระทงที่มีความถี่สูงสุดคือ จัดอบรมครูเรื่องการจัดทำหลักสูตรการเขียนแผนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ควรจัดงบประมาณในการจัดทำสื่อ/แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนการวัดและประเมินผล การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและควรมีครูที่มีความรู้เกี่ยวกับการแนะแนวทุกโรงเรียน

    ตอบลบ
  10. ซื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลองค์การ บริหารส่วนตำบลด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน

    ผู้วิจัย ดร. พิสณุ ฟองศรี

    ปี พ.ศ. 2544

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลองค์การบริหารส่วนตำบลด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมทั้ง ทดสอบคุณภาพตลอดจนความสอดคล้องระหว่างโครงสร้างเชิงเส้นของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลมี 2 กลุ่มจำนวนทั้งสิ้น 941 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณหาค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for Windows และวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

    1. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ตัวแปรประสิทธิผลองค์การบริหารส่วนตำบลด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน 4 ตัวแปร คือ ตัวแปรการบรรลุจุดมุ่งหมาย ประสิทธิภาพ การปรับตัว และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ตัวแปรเชิงสาเหตุ 8 ตัวแปร คือ ตัวแปรนโยบายหน่วยเหนือ บริบทชุมชน นโยบายองค์การบริหารส่วนตำบล ภาวะผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล การบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล วัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบล คุณลักษณะบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล และการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล

    2. ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่ารูปแบบทีพัฒนาขึ้นมีประโยชน์ทางวิชาการ และการนำไปใช้ทางปฏิบัติในระดับมาก

    3. รูปแบบทีพัฒนาขึ้นสามารถประเมินประสิทธิผลองค์การบริหารส่วนตำบลด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้ และโครงสร้างเชิงเส้นของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน = 1.00 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว = 0.98 ตามลำดับ

    4. ตัวแปรเชิงสาเหตุที่อิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การบริหารส่วนตำบลด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน เรียงตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ นโยบายองค์การบริหารส่วนตำบล การบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนโยบายหน่วยเหนือ ภาวะผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล วัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบล คุณลักษณะของบุคลากร บริบทชุชน และการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล

    ตอบลบ
  11. ซื่องานวิจัย แนวทางการประยุกต์มาตรฐาน ISO 9000 ไปใช้กับกิจกรรมทางการศึกษา

    ผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กฤษดา กรุดทอง

    ปี พ.ศ. 2542

    บทคัดย่อ

    แนวทางการประยุกต์มาตรฐาน ISO 9000 ไปใช้กับกิจกรรมทางการศึกษา

    สภาพปัญหา

    ปัจจุบันองค์กรธุรกิจได้นำเอาระบบการบริหารงานคุณภาพไปใช้ในการสร้างสรรผลิตภัณฑ์และบริการให้มีคุณภาพอย่างได้ผลดีมาแล้ว องค์กรทางการศึกษาได้พยายามผลักดันให้สถาบันการศึกษาจัดทำระบบคุณภาพขึ้น และสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้มีความพยายามและการริเริ่มให้มีการประกันคุณภาพ

    ทางการศึกษาในขึ้นในสถาบัน โดยเฉพาะเมื่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกำหนดให้สถาบันการศึกษาต้องมีการประกันคุณภาพในทุกสถาบันการศึกษาขึ้นภายในปี พ.ศ. 2545

    ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 เป็นมาตรฐานของกิจกรรมคุณภาพที่องค์กรจะต้องพัฒนาขึ้นมาในระบบงานขององค์กร เพื่อเสนิขอให้รับรองมาตรฐาน ISO 9000 มาตรฐานของ ISO 9000 เขียนขึ้นไว้เป็นข้อกำหนดทั่วไปที่องค์กรสามารถดัดแปลงใช้ตามลักษณะของธรกิจ การนำมาตรฐาน ISO 9000 ที่มีอยู่ไปไปใช้ในสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องมีการประยุกต์ให้สอดคล้องกับสภาพและภารกิจของงานการจัดการศึกษา ที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันยังมีการตีความมาตรฐานไม่ตรงกันนัก จึงควรได้มีการจัดทำแนวทางในการประยุกต์ข้อกำหนดของมาตรฐานไปเป็นกิจกรรมทางการศึกษาขึ้น เพื่อให้สถาบันการศึกษาได้ใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาระบบคุณภาพในสถานศึกษาให้ง่ายสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

    วัตถุประสงค์

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อจัดทำแนวทางการอธิบายมาตรฐานของ ISO 9000 ตามภารกิจการจัดการศึกษาของสถาบันราชภัฏ โดยกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะไว้ 3 ประการ คือ

    (ก) เพื่อวิเคราะห์กรอบข้อกำหนดในมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000

    (ข) เพื่อวิเคราะห์กรอบภารกิจการจัดการศึกษาของสถาบันราชภัฏ

    (ค) เพื่อวิเคราะห์วิธีการประยุกต์ข้อกำหนดในมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 ไปใช้ให้สอดคล้องกับภารกิจการจัดการศึกษาขอวงสถาบันราชภัฏ

    วิธีดำเนินการ

    ตอบลบ
  12. วิธีดำเนินการ

    การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis)

    แหล่งข้อมูลเอกสาร ได้แก่ เอกสารมาตรฐานของระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000:200 ฉบับร่างสุดท้าย และเอกสารคู่มือแนะนำการประยุกต์มาตรฐาน ISO 900 ในทางการศึกษาและการจัดฝึกอบรมของ British Standard Institute และแหล่งข้อมูลบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 กลุ่ม คือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการศึกษาของสถาบันราชภัฎ ด้านมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 และ ด้านมาตรฐาน ISO 9000 ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จำนวน 15 ท่าน

    เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ (1) แบบสอบถามความเหมาะสมของกรอบกำหนดตามมาตรฐาน ISO 9000 (2) แบบสอบถามความเหมาะสมของกรอบภารกิจสถาบันราชภัฎ แบบสอบถามใช้สอบถามความเหมาะสมของการตีความมาตรฐาน เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า แบบ 2 ระดับ

    การเก็บรวบรวมข้อมูลจำแนกออกเป็น 2 วิธี คือ การใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ใน การใช้แบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 รอบ รอบแรกเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ส่วนรอบหลังเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลฉบับที่ 3 และได้ตรวจสอบผลโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้งสามกลุ่มประกอบแบบสอบถามด้วย

    การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสอบถามฉบับที่ 1 และ 2 และวิเคราะห์ความสอดคล้องเชิงเนื้อหาจากแบบสอบถามฉบับที่ 3 และตรวจสอบความเชื่อมั่นและเที่ยงตรงกับความคิด

    เห็นจากผู้เชี่ยวชาญทั้งจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ นำผลจากแบบสอบถามฉบับที่ 3 มาเขียนแนวทางการประยุกต์ใช้ข้อกำหนดของมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพทางการศึกษา

    ผลการวิจัย

    ในการวิจัยนี้ได้เสนอผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ (1) ผลการวิเคราะห์กรอบข้อกำหนดในมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 (2) ผลการวิเคราะห์กรอบภารกิจการจัดการศึกษาของสถาบันราชภัฎ (3) ผลการวิเคราะห์การประยุกต์ข้อกำหนดตามมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 ไปใช้ให้สอดคล้องกับภารกิจการจัดการศึกษาของสถาบันราชภัฏ และ (4) ผลการเขียนแนวทางการประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 9000 ตามภารกิจการจัดการศึกษา

    (1) ในมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 ทั้ง 4 ข้อ มีข้อกำหนดทั้งสิ้นจำนวน 131 ข้อ จำแนกออกเป็น ข้อกำหนดตามมาตรฐานข้อ 5 จำนวน 19 ข้อ ตามมาตรฐานข้อ 6 จำนวน 9 ข้อ มาตรฐานข้อ 7 จำนวน 70 ข้อและมาตรฐานข้อ 8 จำนวน 31 ข้อ ตามลำดับ

    (2) ในภารกิจการจัดการศึกษาของสถาบันราชภัฎ มีกิจกรรมทั้งหมด จำนวน 39 กิจกรรม จำแนกเป็นกิจกรรมหลัก 22 กิจกรรม กิจกรรมย่อย 12 กิจกรรม และกิจกรรมสนับสนุน 5 กิจกรรม

    (3) ในการจัดกิจการจัดการศึกษาของสถาบันราชภัฎจัดลงในข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 9000 ตามประเด็จที่สอดคล้องกัน จัดได้ดังนี้ (ความรับผิดชอบด้านการบริหาร)

    ก. มาตรฐานของระบบบริหารงานคุณภาพ ข้อ 5 ความรับผิดชอบด้านการบริหารสอดคล้องกับภารกิจการจัดการศึกษาด้านกระบวนการสนับสนุนเป็นหลัก

    ข. มาตรฐานของระบบบริหารงานคุณภาพ ข้อ 6 การบริหารทรัพยากรสอดคล้องกับงานกิจการจัดการศึกษาด้านกระบวนการย่อยเป็นหลัก

    ค. มาตรฐานของระบบการบริหารงานคุณภาพ ข้อ 7 การผลิต/การให้บริการ และ ข้อ 8 การวัด การวิเคราะห์และการปรับปรุงสอดคล้องกับภารกิจการจัดการศึกษาด้านกระบวนการหลัก

    (4) ในการประยุกต์มาตรฐาน ISO 9000 มาใช้กับกิจกรรมทางการศึกษา ได้เสนอคำอธิบายของมาตรฐานของระบบบริหารงานคุณภาพตามภารกิจการจัดการศึกษาของสถาบันราชภัฏ จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ ข้อ 5 , 6 , 7 และ 8

    ตอบลบ
  13. ซื่องานวิจัย โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณลักษณะของผู้เรียน

    ผู้วิจัย นางสาวสุริยา จันทร์เนียม

    ปี พ.ศ. 2541

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการพัฒนาศักยภาพด้านการใช้ภาษาอังกฤษและคุณลักษณะของผู้เรียนด้วยโครงงานภาษาอังกฤษ

    กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (แผนภาษาไทย - สังคมศึกษา - ภาษาอังกฤษ) ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษโครงงาน ปีการศึกษา 2541 ของโรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท จำนวน 30 คน ผู้วิจัยได้นำโครงงานภาษาอังกฤษจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษโครงงานกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มดังกล่าวโดยกลุ่มตัวอย่างทำโครงงาน 3 โครงงาน แล้วนำผลที่ได้มาสรุปเป็นการพัฒนาด้านศักยภาพ และด้านคุณลักษณะ

    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือ 3 ชนิด คือ แผนการสอน, แบบประเมินศักยภาพในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อวางแผน ปฏิบัติงาน และประเมินผลตามโครงงาน และแบบประเมินคุณลักษณะด้านความรับผิดชอบในการทำงาน ความร่วมมือในการทำงาน และความเชื่อมั่นและกล้าแสดงออก สถิติที่ใช้การวิจัยครั้งนี้คือ ค่าเฉลี่ย

    ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงานตามโครงงานภาษาอังกฤษ โดยมีศักยภาพทางด้านการใช้ภาษาในการวางแผน การปฏิบัติงานตามแผน การประเมินผลงานสูงขึ้น และพัฒนาคุณลักษณะของตนเองด้านความร่วมมือในการทำงาน ความรับผิดชอบในการทำงาน ความเชื่อมั่นและกล้าแสดงออกอยู่ในระดับสูง

    ตอบลบ
  14. ซื่องานวิจัย การพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ทักษะการเรียนสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

    ผู้วิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์

    ปี พ.ศ. 2543

    บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทักษะการเรียนสำหรับนักเรียนประถมศึกษา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบทักษะการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียน และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทักษะการเรียน

    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทักษะการสอบ (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) แบบสอบถามความคอดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทักษะการเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทักษะการเรียนที่พัฒนาขึ้น ไปทดสอบประสิทธิภาพ ด้วยการทดสอบแบบเดี่ยว ทดสอบแบบกลุ่ม และทดสอบภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพ ใช้สูตร E¹/E² ใช้ค่าสถิติ t เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทักษะการเรียน

    ผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทักษะการเรียนทั้ง 5 ทักษะมีประสิทธิภาพเรียงตามลำดับดังนี้ 79.10/81.48 80.55/84.44 81.55/81.10 83.88/84.80 และ 72.27/80.60 (2) ทักษะการเรียนหลังเรียนของนักเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทักษะการเรียน ในส่วนของปัจจัยนำเข้า ผลลัพธ์ และผลกระทบ อยู่มนระดับ “มาก” ส่วนกระบวนการอยู่ในระดับ “มากที่สุด”

    ตอบลบ
  15. ซื่องานวิจัย กลยุทธ์การจูงใจให้บุคลากรทางการศึกษาใช้การวิจัยในการพัฒนาการเรียนการสอน

    ผู้วิจัย นางสาวศศิกาญจน์ รัตนศรี และคณะ

    ปี พ.ศ. 2543

    บทคัดย่อ

    การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา และองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาต่าง ๆ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเนื้อหา สาระกระบวนการเรียนการสอนและต่อกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ จึงได้ดำเนินการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษากลยุทธ์การจูงใจให้บุคลากรทางการศึกษาใช้การวิจัยในการพัฒนาการเรียนการสอนในแต่ละขั้นตอน ตามที่คณะผู้วิจัยกำหนด กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอควนเนียง ปีการศึกษา 2544 คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 4 คน ครูผู้สอน 26 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละมัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาและการบรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

    1. กลยุทธ์การจูงใจให้บุคลากรทางการศึกษาใช้การวิจัยในการพัฒนาการเรียน จากการสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรพบว่ากลยุทธ์การจูงใจที่ส่งผลให้ลุคลากรทำงานวิจัยได้สำเร็จ จัดลำดับที่จากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้

    1. การให้คำปรึกษา

    2. การปรึกษาหารือ

    3. การพาไปศึกษานอกสถานที่

    4. การให้ปฏิบัติจริง

    5. การประชุมร่วมกัน

    6. การให้ความรู้เสริม

    7. การมีส่วนร่วมในการวางแผน

    8. การประชุมกลุ่มย่อย

    9. การปฏิบัติแบบจับคู่

    10. การศึกษาด้วยตนเอง

    11. การปฏิบัติแบบร่วมมือ

    12. การประเมินผลตนเอง

    13. การจัดแสดงผลงาน

    14. การประกาศความสามารถ

    15. การรับรางวัลแห่งความสำเร็จ

    2. ความเหมาะสมของการใช้กลยุทธ์ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาบุคลากร พบว่ากลยุทธ์ทั้ง 15 กลยุทธ์ที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการมีความเหมาะสมในระดับมากทุกกลยุทธ์

    ตอบลบ
  16. ซื่องานวิจัย การศึกษาสภาพการดำเนินงานการวิจัยเกี่ยวกับทุนอุดหนุนวิจัยของคณะอนุกรรมการวิจัยการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม เขตการศึกษา 6

    ผู้วิจัย

    ปี พ.ศ. 2544

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานให้ทุนอุดหนุนการวิจัยและสภาพการดำเนินการวิจัยของผู้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยของคณะอนุกรรมการวิจัยการศึกษา การศาสนาและการวัฒนธรรม เขตการศึกษา 6 ปีงบประมาร 2539 - 2542 และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานเกี่ยวกับทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อให้เกิดประสิทธิยิ่งขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัย เขตการศึกษา 6 ระหว่างปีงบประมาณ 2539 - 2542 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการและปลายเปิดการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละและวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

    1. สภาพการดำเนินงานวิจัย

    1.1 ด้านปัจจัยสนับสนุนงานวิจัย แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่มาจากกรมวิชาการ ปัจจัยสนับสนุนในการทำวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัย คือ มีความสนใจในงานวิจัยและคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากงานวิจัย ปัจจัยที่เป็นปัญหาในการทำวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยช่วงเวลาการรับสมัครเงินทุนอุดหนุนวิจัยเกินไป

    1.2 ด้านการวางแผนงานวิจัยแนวทางในการกำหนดหัวข้อวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยเกิดจากผู้วิจัยเสนอหัวข้อที่สนใจ ความสำคัญของการดำเนินการวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยเกิดจากประโยชน์ต่อการปรับปรุงการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนการวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัย คือ ประโยชน์จากผลงานวิจัยและศักยภาพของผู้วิจัย

    1.3 ด้านการดำเนินงานการวิจัย ลักษณะของคณะผู้วิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจะดำเนินการวิจัยเพียงคนเดียว ระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจะใช้การวิจัยเชิงทดลอง วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้เครื่องคิดคำนวณ ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนหนุนวิจัยเกิดจากการทำวิจัยไม่ทันกับเวลาที่ได้วางแผนไว้

    1.4 ด้านการนำผลวิจัยไปใช้ ข้อมูลจากผลการวิจัยที่ได้นำไปใช้โดยผู้วิจัยและผู้อื่นคือ นำไปใช้ในด้านข้อค้นพบ / สรุปผลของงานวิจัย ขอบข่ายงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุน คือ ด้านการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน การนำผลการวิจัยไปใช้ของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัย คือ นำผลการวิจัยไปใช้เพียงบางส่วน

    1.5 ด้านความพึงพอใจในผลงานวิจัย เหตุผลที่ทำให้พึงพอใจในผลงานวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัย คือ การเพิ่มพูนประสบการณ์การวิจัยและการใช้ผลงานวิจัยให้เกิดประโยชน์เหตุผลที่ทำให้ไม่พึงพอใจในผลงานวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัย คือ ข้อจำกัดด้านเวลาและไม่สามารถทำได้ตามที่ตั้งใจไว้

    1.6 ด้านการเผยแพร่งานวิจัย ลักษณะของการเผยแพร่งานวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัย คือ เผยแพร่โดยการรายงานผลการวิจัยไปยังต้นสังกัด ปัญหาในการเผยแพร่งานวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัย คือ งบประมาณไม่เพียงพอ

    2. แนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงานวิจัย

    ตอบลบ
  17. 2.1 ด้านปัจจัยสนับสนุนงานวิจัย

    - แนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงานวิจัยด้านปัจจัยสนับสนุนงานวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัย คือ ควรพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับโครงการวิจัยจัดทีมที่ปรึกษาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้วิจัยตลอดระยะเวลาดำเนินการวิจัย สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา 6 ควรจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นประโยชน์ในการค้นคว้าอ้างอิง ควรเพิ่มระยะเวลาในการเขียนโครงการเพื่อขอรับทุนให้มากขึ้น ควรสนับสนุนให้มีแหล่งค้นคว้าอ้างอิงเพิ่มขึ้น สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา 6 ควรจัดบริการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์และ สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา 6 ควรมีแหล่งบริการ การจัดพิมพ์และการจัดทำรูปเล่มที่เป็นมาตรฐานงานวิจัย

    2.2 ด้านการวางแผนงานวิจัย

    - แนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงานวิจัยด้านการวางแผนงานวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัย คือ ควรเร่งรัดการอนุมัติโครงการให้เร็วกว่าที่เป็นอยู่เพื่อให้แผนการวิจัยที่วางไว้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและควรกำหนดกรอบ ระเบียบ ข้อกำหนดหรือข้อจำกัดต่าง ๆ ให้ทราบล่วงหน้าเพื่อให้ผู้วิจัยวางแผนได้สอดคล้อง

    2.3 ด้านการดำเนินงานการวิจัย

    - แนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงานวิจัยด้านการดำเนินงานการวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัย คือ ควรประกาศให้ทุนสนับสนุนการวิจัยอย่างแพร่หลายทั่วถึง ควรดำเนินการเบิกจ่ายเงินทุนให้คล่องตัวมากขึ้น ควรขยายจำนวนทุนให้มากกว่านี้ ควรให้อิสระในการทำวิจัยในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น ควรจัดประชุมชี้แจงการเบิกจ่ายงบประมาณให้ถูกต้องและควรเบิกจ่ายเงินทุนเพียงงวดเดียว

    2.4 ด้านการเผยแพร่ผลงานวิจัย

    - แนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงานวิจัยด้านด้านการเผยแพร่ผลงานวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัย คือ สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา 6 ควรเผยแพร่ผลงานในหลายรูปแบบ เช่น วารสาร บทความ ฯลฯ ควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยระหว่างหน่วยงานให้มากขึ้น เจ้าของทุนอุดหนุนวิจัยควรสนับสนุนทุนในการเผยแพร่งานวิจัยให้ผู้รับทุนด้วย ควรจัดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และผลงานวิจัยและควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องตระหนักในคุณประโยชน์ของวานวิจัย

    ตอบลบ
  18. ซื่องานวิจัย การพัฒนาตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย

    ผู้วิจัย นายสุทัน มณีวัลย์ และคณะ

    ปี พ.ศ. 2542

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการพัฒนาตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ในทักษะการเรียนรู้ ทักษะการคิด และทักษะการสื่อสาร

    ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสุโขทัย จำนวน 4,772 คน

    กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2543 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 193 คน

    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบเรื่อง การพัฒนาตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 21 ข้อ โดยได้ใช้แบบวัดศักยภาพของเด็กไทยระดับมัธยมศึกษา ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ในด้านทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในอนาคต ข้อ 1 - ข้อ 21

    การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PC เพื่อหาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวแปร 2 กลุ่ม ใช้การทดสอบที (T-test) และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม ใช้การทดสอบเอฟ (F – test)

    ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย มีการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมาก (X = 3.08 S.D. = 0.29) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีการพัฒนาตนเองสูงสุด คือด้านทักษะการเรียนรู้ รองลงมา คือด้านทักษะการคิด และด้านทักษะการสื่อสาร

    ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาตนเองของนักเรียนตามตัวแปร เพศ พบว่า นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีการพัฒนาตนเอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้านเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนหญิงมีการพัฒนาตนเองมากกว่านักเรียนชายในข้อ 8 นักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาทั้งส่วนตนเองและส่วนรวมได้ และในข้อ 15 นักเรียนสามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข่าวตามสถานการณ์หรือข้อความที่กำหนดให้

    ตอบลบ
  19. ซื่องานวิจัย การปฏิบัติงานการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศึกษาราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2521) ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 4

    ผู้วิจัย คุณสมพร ฉั่วสกุล

    ปี พ.ศ. 2542

    บทคัดย่อ

    การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาระดับ เปรียบเทียบ และประมวลข้อเสนอในการปฏิบัติงานการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรุง พ.ศ. 2533) ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 4

    ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 4 จำนวน 143 คน แต่ตอบแบบสอบถามสมบูรณ์ส่งกลับคืน จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ จำนวนคำถาม 50 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้ค่าที (T – test) ในการทดสอบสมมติฐาน

    ผลการศึกษาวิจัย พบว่า

    1. การปฏิบัติงานการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป้ฯรายองค์ประกอบ พบว่า การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริหารและบริการวัสดุหลักสูตร การบริการหลักสูตรภายในโรงเรียน การจัดทำแผนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลการเรียน และการบำรุงขวัญเพื่อให้กำลังใจแก่ครูอยู่ในระดับมาก ส่วนองค์ประกอบด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง

    2. ผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 4 ที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาต่างกัน การปฏิบัติงานการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) โดยภาพรวมและรายองค์ประกอบไม่แตกต่างกัน

    3. ผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 4 ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันการปฏิบัติงานการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) โดยภาพรวมและรายองค์ประกอบไม่แตกต่างกัน

    ตอบลบ
  20. 4. ข้อเสนอแนะในการยกระดับการปฏิบัติงานการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 4 จากแบบสอบถามปลายเปิด ปรากฏดังนี้ ควรอบรมบุคลากรเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร ควรเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับการใช้หลักสูตรในการผลิตบุคลากรทางการศึกษา ควรจัดครูเข้าสอนให้ตรงกับวิชาเอก หรือตามความรู้ความสามารถ ควรจัดอบรมครูที่สอนตามรายวิชาต่าง ๆ ควรมีเอกสารคู่มือการบริหารแลบริการวัสดุหลักสูตร ควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบที่เกี่ยวกับงานวัสดุให้ทันสมัยควรสนับสุนนให้ครูสามารถผลิตวัสดุหลักสูตรได้เองและนัดหาวัสดุสื่อให้ตรงกับความต้องการของครู ควรมีการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการใช้สื่ออย่างสม่ำเสมอ ควรจัดหาหนังสือให้ห้องสมุดอย่างเพียงพอและทันสมัย ควรพัฒนาครูให้มีความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ควรเชิญบุคลากรภายนอกมาร่วมพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ควรให้โรงเรียนเปิดสอนวิชาชีพตามความต้องการของท้องถิ่น ควรจัดทำแผนการสอนสำเร็จรูป ควรส่งเสริมให้ครูทุกคนทำแผนการสอน ควรมีการอบรมครูเกี่ยวกับการจัดทำและพัฒนาแผนการสอนอย่างสม่ำเสมอ ควรมีการนิเทศ ติดตามการนำแผนการสอนไปใช้ ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ควรสนับสนุน ส่งเสริม ให้ครูใช้วิธีการสอนอย่างหลากหลาย ควรเน้นกระบวนการกลุ่มในการเรียนการสอน ควรพัฒนาบุคลากรด้านการวัดผลและประเมินผลการใช้หลักสูตรของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ควรมีคณะกรรมการประเมินผลทุกระดับ เช่น โรงเรียน อำเภอ จังหวัด ควรนำผลการนิเทศ ติดตามมาปรับปรุงแก้ไขการใช้หลักสูตร ควรจัดหารางวัลเกียรติบัตรมอบให้กับครูดีเด่นในแต่ละวิชา ควรบำรุงขวัญ กำลังใจแก่ครูอย่างเหมาะสม ยุติธรรม ควรส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าทางอาชีพและวิชาการ และควรรับฟัง ร่วมแก้ไขปัญหาของผู้ใต้บังคับบัญชาและให้กำลังใจอย่างแท้จริง

    ตอบลบ
  21. ซื่องานวิจัย การพัฒนาเครื่องมือประเมินคุณภาพนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ด้านความสามารถทางคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

    ผู้วิจัย นางสาววรรณี ตีวกุล และคณะ

    ปี พ.ศ. 2543

    บทคัดย่อ

    ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ในระดับท้องถิ่น ประจำปี 2541 จำนวน 91,900 บาท ระยะเลาทำการวิจัย 1 ปี ตั้งแต่ มีนาคม 2542 ถึง มีนาคม 2543

    การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่มีคุณภาพตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน และสร้างเกณฑ์มาตรฐานวิชาคณิตศาสตร์ ในการประเมินคุณภาพของนักศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2530

    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาหมวดคณิตศาสตร์ (บังคับ) ในภาคเรียนที่ 7/2542 และภาคเรียนที่ 2/2542 ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดในเขตการศึกษา 5 จำนวน 6 จังหวัด จำนวน 423 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)

    เครื่องมือที่ใช้ในกรเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน พุทธศึกราช 2530 ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 7 เรื่อง ครอบคลุมความสามารถใน 4 ด้าน คือ ความสามารถด้านความรู้ ความจำ ด้านการคิดคำนวณ ความเข้าใจ ด้านการนำไปใช้ และด้านการวิเคราะห์ โดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ การทดสอบครั้งที่ 1 กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อหาคุณภาพของแบบทดสอบ ส่วนครั้งที่ 2 และ ที่ 3 เป็น การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อกำหนดคะแนนจุดตัด

    ผลการวิจัยพบว่า

    1. การพัฒนาเครื่องมือวัความสามารถทางคณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2530 ได้เครื่องมือที่มีคุณภาพ ดังนี้

    1.1 ค่าความเที่ยงตรงของแบบทดสอบ หาความเที่ยงตรงตามเนื้อหาให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ โดยวิธีการของ โรวิเนลลี่และแฮมเบิลตัน (Rovenalli and Hambleton) ซึ่งได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญทางเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ว่าข้อสอบแต่ละข้อวัดตรงตามเนื้อหาวิชาและความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่ต้องการ แสดงว่าแบบทดสอบมีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา

    1.2 คุณภาพของเครื่องมือประเมินจากการทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน

    ค่าความยากง่ายของข้อสอบก่อนมีค่าตั้งแต่ 0.09-0.52 แสดงว่าข้อสอบส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

    ค่าความยากง่ายหลังเรียนมีค่า ตั้งแต่ 0.38-0.78 แสดงว่าข้อสอบส่วนใหญ่ค่อนข้างยาก

    ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบหาโดยวิธีหาค่า Pre to Post Difference Index ได้ค่า ตั้งแต่ 0.11-0.47 มีจำนวนข้อสอบ 12 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนกต่ำกว่า 0.20 ข้อ แสดงว่าข้อสอบส่วนใหญ่มีอำนาจจำแนกที่ถือว่าจำแนกเด็กเก่งอ่อนได้

    1.3 ค่าสถิติพื้นฐานของแบบทดสอบจากการทดสอบครั้งที่ก่อนเรียน-หลังเรียน

    คะแนนผลการสอบก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 30 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ เท่ากับ 57

    คะแนนผลการสอบก่อนเรียนมีค่าคาวามเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 6.69 หลังเรียนมีค่า 15.62

    เสดงว่าผู้เรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากการสอบหลังเรียนมากกว่าการสอนก่อนเรียน และคะแนนการสอบหลังเรียนมีการกระจายมากว่าคะแนนสอบก่อนเรียน

    1.4 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ จากการทดสอบครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ซึ่งคำนวณ โดยใช้สูตรของ ฮวน (Huyhn) ปรากฏผลว่าแบบทดสอบมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .71 ถือเป็นค่าที่สูงพอสมควร แสดงว่าแบบทดสอบนี้มีความคงที่ในการประเมินคุณภาพ ผู้เรียน

    2. เกณฑ์มาตรในการประเมินคุณภาพของนักศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งหาคะแนนจุดตัดโดยวิธีการของเบอร์ก (Berk) ได้ที่คะแนนจุดตัดจากการทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน คือ 46 ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์คะแนนสอบผ่าน

    ตอบลบ
  22. ซื่องานวิจัย ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และศักยภาพด้านความมีวินัยในตนเองทักษะการคิด และการทำงานร่วมกับผู้อื่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

    ผู้วิจัย นางจรรยา แก้วสองเมือง

    ปี พ.ศ. 2546

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบบูรณาการ (2) เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความมีวินัยในตนเอง ทักษะการคิด และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบบูรณาการ

    กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกุมภวาปี จังกวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 50 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยได้แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดศักยภาพด้านความมีวินัยในตนเอง ทักษะการคิด และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Sample

    ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบบูรณาการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ศักยภาพด้านความมีวินัยในตนเอง ทักษะการคิด และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบบูรณาการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

    ตอบลบ
  23. ซื่องานวิจัย เอกลักษณ์ของศิลปะแนวประเพณีไทย

    ผู้วิจัย นายอำนาจ เย็นสบาย

    ปี พ.ศ.

    บทคัดย่อ

    งานวิจัยเรื่อง “เอกลักษณ์ของศิลปะแนวประเพณีไทย” ในความหมายเฉพาะจิตรกรรมแนวประเพณีไทย ที่ปรากฏอยู่บนผนังพระอุโบสถและวิหารของพุทธศาสนาสมัยรัตนโกสินทร์นั้น มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เอกลักษณ์ของศิลปะแนวประเพณีไทยเกิดการวิวัฒนาการ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะแนวประเพณีไทยกับสังคม เพื่อศึกษาวิเคราะห์เอกลักษณ์ทางรูปแบบและเรื่องราวของศิลปะแนวประเพณีไทย ซึ่งเมื่อทำการศึกษาวิจัยแล้ว มีผลสรุปดังต่อไปนี้

    ผลงานศิลปะแนวประเพณีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะแนวประเพณีไทยสมัยอยุธยา สมัยสุโขทัย และมีหลักฐานย้อนหลังไปจนถึงการได้รับอิทธิพลทั้งด้านเรื่องราวและรูปแบบมาจากอินเดีย

    ศิลปะแนวประเพณีไทยแต่ละสมัยมีความผูกพันกับศาสนาอย่างแนบแน่นโดยเฉพาะพุทธศาสนา มีการนำคติความเชื่อของฝ่ายหินยาน และมหายานมาแสดงออกในงานจิตกรรมแนวประเพณีไทย รวมทั้ง ๆ ศาสนาอื่น ลัทธิความเชื่ออื่นๆ เช่น ศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดู ก็ถูกนำมาผสมผสานและแสดงออกในจิตรกรรมแนวประเพณีไทยมาตลอดทุกยุคทุกสมัย

    ลักษณะเด่นของศิลปะแนวประเพณีไทย แสดงความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาจักรและอาณาจักรส่งผลทำให้เรื่องราวในจิตรกรรมแนวประเพณีไทย มีลักษณะรับใช้สถาบันศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งโอยทางตรงและโอยทางออ้ม

    ศิลปะแนวประเพณีไทยนอกจากจะรับอิทธิพลจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเดียวกันแล้ว เมื่อสังคมโลกมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจการเมือง สังคม ได้ส่งผลกระทบทำให้ศิลปะแนวประเพณีไทยรับอิทธิพลจากประเทศมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์ ศิลปกรรมแนวประเพณีไทยได้เปิดรับอิทธิพลทางด้านรูปแบบ เทคนิควิธีการ สื่อวัสดุ รวมทั้งแนวคิดของเรื่องราวเข้ามาพัฒนาศิลปะแนวประเพณีไทยให้มีความหลากหลายไปจากอดีตมากขึ้น

    การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทย หลัง พ.ศ. 2475 เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ในเวลาต่อมา ชนชั้นกลางมีบทบาทในสังคมสูงขึ้น และส่งผลทำให้ศิลปะแนวประเพณีไทยต้องมีการปรับตัว เข้าสู่ยุคของการค้นหาความเป็นปัจเจก การค้นหาลักษณะเฉพาะตัวในการแสดงออกในศิลปะแนวประเพณีไทยมากขึ้น

    ความขัดแย้งระหว่างการอนุรักษาเอกลักษณ์ กับการพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในศิลปะแนวประเพณีไทย เป็นภาพสะท้อนความขัดแย้งของผู้คนในสังคมไทยและสะท้อนความขัดแย้งระหว่างสังคมไทยกับสังคมโลก ซึ่งในปัจจุบัน แนวคิดเรื่องการรักษาดุลภาพของศิลปะแนวประเพณีไทยกับการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยของโลกสากลที่ไม่โน้มเอียงไปในทางใดทางหนึ่งถือเป็นแนวคิดที่สำคัญในปัจจุบัน

    ตอบลบ
  24. ซื่องานวิจัย ศึกษาความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เขตการศึกษา 5

    ผู้วิจัย นายประเทือง ทรัพย์เกิด นักวิชาการศึกษา 7 (ว)

    ปี พ.ศ. 2542

    บทคัดย่อ

    การศึกษาวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหวายเพื่อศึกษาความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตการศึกษา 5 และเปรียบเทียบความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทุกจังหวัดและทุกสังกัดในเขตการศึกษา 5

    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทุกจังหวัด ทุกสังกัด ในเขตการศึกษา 5 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) และเลือกสุ่มตามสัดส่วนของจำนวนประชากรในแต่ละจังหวัด และสังกัด จะได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 286 คน

    ผลการวิจัย พบว่า

    1. ความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาต้องต้น เขตการศึกษา 5 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านการสอนวิทยาศาสตร์ด้านการพัฒนาสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ด้านการวางแผนการสอน ด้านการประเมินผลการเรียนด้านการบริหารทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนการสอน และด้านการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์

    2. เปรียบเทียบความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เขตการศึกษา 5 โดยจำแนกตามจังหวัดและสังกัด สรุปได้นี้

    2.1 ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดที่ต่างกัน มีความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

    2.2 ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในสังกัดที่ต่างกัน มีความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูวิทยาศาสตร์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ มีความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนโดยรวมมากกว่าครู

    วิทยาศาสตร์สังกัดกรมสามัญศึกษา และรายด้านพบว่า ครูวิทยาศาสตร์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ มีความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนในด้านการบริหารทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนการสอนมากกว่าครูวิทยาศาสตร์สังกัดกรมสามัญศึกษาและครูวิทยาศาสตร์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ มีความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนในด้านการประเมินผลการเรียนมากกว่าครูวิทยาศาสตร์สังกัดกรมสามัญศึกษา

    3. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอของครูวิทยาศาสตร์ในความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากแบบสอบถามปลายเปิด สรุปได้ว่า

    ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนใน 5 อันดับแรก และอันดับสุดท้าย คือ ต้องการให้จัดอบรมสัมมนาครูวิทยาศาสตร์ ระดับเขตการศึกษา 5 เพื่อเปิดโอกาสให้ครูพัฒนาความรู้การเรียนการสอนและเปลี่ยนประสบการณ์และศึกษาดูงานมากเป็นอันดับแรก อันดับที่สองต้องการให้หน่วยงานต้นสังกัดสนับสนุนช่วยเหลือด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์การเรียนการสอนในโรงเรียนให้มีจำนวนเพียงพอ อันดับที่สามต้องการข้อมูลข่าวสารและเอกสารเผยแพร่ด้านความเคลื่อนไหวทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ อันดับที่สี่ต้องการให้ครูที่เรียนจบสาขาวิชาวิทยาศาสตร์โดยตรงมาเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ที่มีวุฒิไม่ตรงสาขาวิชาและควรเป็นช่วงปิดภาคเรียน และความต้องการอันดับสุดท้าย คือ ต้องการให้หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์เน้นกิจกรรมเสริมความรู้มาก ๆ และเทคนิคในการเลือกกิจกรรมการเรียนรู้มาใช้สอน และเขตการศึกษา 5 ควรวางแนวทางการวัดผลประเมินผลการสอนนักเรียนให้เหมือนกันทุกโรงเรียน

    ตอบลบ
  25. ซื่องานวิจัย บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในการส่งเสริมศูนย์การเรียนชุมชน (ศรช.)

    ในอำเภอผักไห่

    ผู้วิจัย นายกรวุฒิ เกิดนาวี

    ปี พ.ศ. 2543

    บทคัดย่อ

    การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในการส่งเสริมศูนย์การเรียนชุมชน (ศรช.) การปฏิบัติตามนโยบาย แผนงานโครงการ และการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการส่งเสริมศูนย์การเรียนชุมชน และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค ของคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล ในการส่งเสริมศูนย์การเรียนชุมชน

    ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลทุกคนของตำบลต่าง ๆ ในอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 126 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ

    ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า

    1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมศูนย์การเรียนชุมชนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง

    2. การปฏิบัติตามนโยบาย แผนงาน โครงการและการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมศูนย์การเรียนชุมชน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

    3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค ของคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมศูนย์การเรียนชุมชน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยมาก

    ตอบลบ
  26. ซื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยเทคนิคการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

    ผู้วิจัย นางสาวกอบกุล ดิษฐแย้ม วุฒิ กศ.บ. (เคมี-ชีววิทยา)

    ปี พ.ศ. 2543

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

    1) พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยเทคนิคการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

    2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนตามรูปแบบการสอนที่เน้นเทคนิคการเรียนรู้แบบมีส่วนที่เน้นเทคนิคการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับนักเรียนที่เรียนตามแผนการสอนที่เน้น

    3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับประชาธิปไตยของนักเรียนตามรูปแบบแผนการสอนที่เน้นเทคนิคการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับนักเรียนที่เรียนตามแผนการสอนปกติ

    4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบแผนการสอนที่เน้นเทคนิคการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนปกติ วิธีวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนารูปแบบแผนการสอนในรายวิชาสังคมศึกษา ส 401 และแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยและเอกสารประกอบการสอน ขั้นตอนที่ 2 เป็นการทดลองใช้รูปแบบแผนการสอนและแผนการจัดกิจกรรมส่งเริมประชาธิปไตยกับนักเรียน จำนวน 1,406 คน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดส่วนกลาง จำนวน 9 โรงเรียน ปรากฏผลดังนี้

    1. พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียน ซึ่งเป็นแผนการสอนที่มีส่วนประกอบสำคัญคือ สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ สื่อการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลจำนวนแผนการสอน 9 แผน ใช้เวลาสอน 36 คาบ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2543 ซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าแผนการสอนมีความเหมาะสม ระดับดีมาก

    2. ผลเปรียบเทียบพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 5 โรงเรียนจากโรงเรียนทั้งหมด สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05

    3. ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับประชาธิปไตยของนักเรียนในภาพรวมนักเรียนกลุ่มทดลองของโรงเรียนส่วนมากมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประชาธิปไตยในทิศทางบวกสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

    4. ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนในภาพรวมเกือบทุกโรงเรียนนักเรียน

    กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์การเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นเพียง 1 โรงเรียน ที่นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์การเรียนต่ำกว่าควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

    ตอบลบ
  27. ซื่องานวิจัย การศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและขั้นตอนการประกันคุณภาพศึกษาของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษาระดับประถมศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา

    ผู้วิจัย นายดิเรก ทวยมีฤทธิ์

    ปี พ.ศ. 2543

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับปัญหาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของครูโรงเรียนเอกชน (2) ศึกษาปัญหาในการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการประกันคุณภาพการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ระดับประถมศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชน จำนวน 227 คน ได้มาโดยคำนวณสัดส่วนของประชากรและเทียบบัญญัติไตรยางค์ และผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ได้แก่ ครูใหญ่ 32 คนและผู้จัดการ 32 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Putposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิดตัวเลือก 5 ระดับ วิเคราะห์ โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมภาษณ์เป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Inteview) การรวบรวมข้อมูลโดยใช้ความเรียงและวิเคราะห์โดยใช้สถิติ คือ ความถี่

    ผลการวิจัยพบว่า

    1. ระดับปัญหาการปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของครูโรงเรียนเอกชนทั้ง 7 มาตรฐาน พบว่า มีปัญหาในการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย จำนวน 1 มาตรฐาน ได้แก่ ด้านกิจการนักเรียน และมีปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย จำนวน 1 มาตรฐาน ได้แก่ ด้านกิจกรรมนักเรียน และมีปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 6 มาตรฐานด้วยกันโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากน้อยไปมากได้ดังนี้ บุคลากร, ปรัชญาและเป้าหมายของโรงเรียน, ทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน, การจัดการ การบริหาร, สัมฤทธิ์ผลของผู้เรียนและหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน

    2. ปัญหาในการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการประกันคุณภาพการศึกษาทั้ง 4 ขั้น ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ระดับประถมศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา สามารถสรุปได้ดังนี้

    2.1. ขั้นการจัดทำธรรมนูญโรงเรียน/แผนพัฒนาโรงเรียน มีปัญหาโดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ระดับแรก ได้ดังนี้ การเขียนธรรมนูญโรงเรียน/แผนพัฒนาโรงเรียน, แนวปฏิบัติในการจัดทำและการวิเคราะห์มาตรฐาน

    2.2 ขั้นการดำเนินงานตามธรรมนูญโรงเรียน/แผนพัฒนาโรงเรียน มีปัญหาโดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ระดับแรก ได้ดังนี้ หารปฏิบัติไม่เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้, ครูมีภาระต่าง ๆ ไม่ค่อยมีเวลาและงบประมาณไม่เพียงพอ

    2.3 ขั้นการติดตาม ตรวจสอบและปรับปรุง มีปัญหาโดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ระดับแรก ดังนี้ ไม่ได้ประเมินผลการดำเนินงาน, ความพร้อมของบุคลากรและการเก็บหลักฐาน

    2.4 ขั้นการประเมินตนเองและรายงานผล มีปัญหาโดยเรียงมากไปหาน้อย 3 ระดับแรก ดังนี้ การเขียนการประเมินตนเอง, การรวบรวมงานแต่ละฝ่ายให้เป็นงานเดียวกันและการวางแผนการประเมินที่ต่อเนื่อง

    ตอบลบ
  28. ซื่องานวิจัย การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องวัฒนธรรมในการใช้ภาษา สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชลบุรี

    ผู้วิจัย นางณัฐพร โอภาไพบูลย์

    ปี พ.ศ. 2544

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้สืบเนื่องมาจากนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินขาดแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองและยังขาดการเรียนรู้ในเรื่องวัฒนธรรมในการใช้ภาษาและมารยาททางสังคมที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันผู้วิจัยจึงได้ทำวิจัยโดยมีจุดมุ่งหมายคือ (1) เพื่อสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องวัฒนธรรมในการใช้ภาษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชลบุรีใช้อ่านด้วยตนเอง (2) เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องวัฒนธรรมในการใช้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชลบุรี ตามเกณฑ์มาตรฐาน 70/70

    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2543 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 35 คน

    เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ สร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องวัฒนธรรมในการใช้ภาษาสำหรับนักเรียนที่มีความพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดชลบุรี และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง

    การเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ

    ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ผู้วิจัยสร้างขั้นมีประสิทธิภาพ 80.00/87.71 เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 70/70 ทีกำหนดไว้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ที่เป็นเช่นนี้เพราะหนังสื่ออ่านเพิ่มเติม เรื่องวัฒนธรรมในการใช้ภาษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นสื่อการเรียนที่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล นักเรียนแต่ละคนสามารถใช้เวลาอ่านได้อย่างอิสระ ไม่จำกัดสถานที่ ได้รับความรู้และความเข้าใจ เนื่องจากรูปแบบของหนังสืออ่านเพิ่มเติมสร้างขึ้นตามหลักเกณฑ์การสร้างหนังสือ มีจุดมุ่งหมายในการสร้างเพื่อให้นักเรียนได้ใช้อ่านด้วยตนเองนักเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่เป็นของตนเองและใช้อ่านได้หลายครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมักเป็นคนที่ลืมง่าย การมีหนังสือไว้อ่านด้วยตนเองสามารถหยิบอ่านได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจดีขึ้น นอกจากนั้นด้านเนื้อหาเรื่องวัฒนธรรมในการใช้ภาษาแล้ว ผู้วิจัยยังได้สอดแทรกสาระเรื่องมารยาททางสังคมซึ่งเป็นเรื่องที่อธิบายอยากมาเรียบเรียงใหม่ให้รัดกุม มีภาพการ์ตูนสีประกอบทำให้นักเรียนสนใจและนักเรียนสามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ซึ่งนักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และเกิดความภาคภูมิใจที่ตนเองมีความรู้สูงขึ้น นับเป็นหนังสือที่ตรงตามความต้องการและความสนใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งยังเป็น

    หนังสือที่เพิ่มพูนความฝังค่านิยมและเอกลักษณ์ไทยให้เกิดขึ้นกับเยาวชนของชาติ และกระตุ้นเตือนให้เยาวชนของชาติรักษาวัฒนธรรมของไทยไว้ต่อไปสมกับการเป็นคนไทยอีกด้วย

    ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ควรจัดให้มีการอบรมครูเกี่ยวกับการสร้าหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อสร้างหนังสือให้เหมาะสมกับศักยภาพของคนพิการสำหรับใช้ในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาเพื่อคนพิการต่อไป

    ตอบลบ
  29. ซื่องานวิจัย นิทานพื้นบ้านสุรินกับการเรียนแบบบูรณาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแนงมุด

    ผู้วิจัย นางสาววณภัทร เกถกิงบุณย์

    ปี พ.ศ. 2544

    บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและจุดมุ่งหมายในการแต่งหรือเล่านิทานพื้นบ้านมาให้เป็นแนวในการศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่น และนำมาบูรณาการในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแนงมุด กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ศึกษา คือ นำเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 ของโรงเรียนบ้านแนงมุด ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการคือนิทานพื้นบ้านสุรินทร์ 5 เรื่อง คือ ตำนานลูกช้างเผือก ยายกับหลาน ผีกลัว อาจี นางตร็วนสะตรา นำมาจัดการทำแผนการสอนโดยใช้นิทานพื้นบ้านเหล่านั้นเป็นแกนในกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต หน่วยที่ 3 สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา วิเคราะห์ที่มาของนิทาน ภาษาที่ใช้ในนิทาน อาชีพที่ปรากฏในนิทาน การดำรงชีวิต คติธรรม คำสอนจากนิทาน นำมาสรุปเป็นข้อคิดในบทเรียน นักเรียนนำนิทานไปอ่านให้ผู้ปกครองฟัง ผู้ปกครองตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับนิทาน วิเคราะห์ความพอใจของผู้ปกครองและนักเรียนหลังเรียน เปรียบเทียบผลการทดสอบความรู้เกี่ยวกับนิทาน 5 เรื่อง ก่อนเรียน หลังเรียนนำผลการสอบมาวิเคราะห์เปรียบเทียบเป็นร้อยละ วิเคราะห์ผลงานนักเรียนจากการประเมินตามสภาพที่แท้จริงจากการเรียนรู้ระหว่างเรียน หลังเรียน กำหนดระดับคุณภาพผลงาน นักเรียนร่วมกันประเมินผลงานของตนเอง ของเพื่อนตามระดับคุณภาพ

    ผลการวิจัย พบว่า

    1. การเปรียบเทียบความก้าวหน้าจากการทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน ปรากฏว่านักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับนิทานเพิ่มขึ้นมากคิดเป็นร้อยละ 49.22

    2. การประเมินผลงานนักเรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ นักเรียนกล้าแสดงออกเป็นอย่างดี มีความสามารถในการคิดตามวุฒิภาวะของตน เรียนรู้อย่างมีความสุขผลงานที่ได้จากแผนการสอนครั้งแรกการหาความรู้เพื่อสรุปเป็นข้อคิดจากนิทานจะได้จากเพื่อนเพียงคนเดียว แต่ต่อมาเริ่มมีการเสนอแนะความคิดตามที่แต่ละคนพบแล้วจึงนำมาสรุปเป็นของกลุ่ม เช่น ปราสาทของนางตร็วนสะตรามีการวาดภาพที่หลากหลายและนำมาสรุปข้อคิดว่าเป็นการสร้างที่อยู่อาศัยทั่วไปเพราะมีขนาดเล็ก การที่นัก

    เรียนกล้าแสดงออก กล้าพูด มีความสุขจากการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนนำผลการเรียนรู้ไปเล่าสู่ผู้ปกครอง พี่ และเพื่อนๆในชั้นอื่นๆเป็นการเผยแพรศิลปวัฒนธรรมวิธีหนึ่ง

    3. ผู้ปกครองมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ สังเกตได้จากการให้ความร่วมมือในการเตรียมสื่อ สิ่งของการตอบแบบสอบถาม ผู้ปกครองพยายามตอบแบบสอบถามเป้นอย่างดีตามความสามารถและความรู้ที่มี นักเรียนมีผลตอบสนองที่ดีขึ้น เพราะการได้เรียนรู้จากนิทาน สถานที่จริงทำให้ทุกคนเรียนรู้อย่างสนุกสนานและมีความสุข แต่การกำหนดกิจกรรมในแผนที่ 5 คือ แผนการสอนเรื่องนางตร็วนสะตรา ซึ่งนักเรียนได้ออกไปปฏิบัติกิจกรรมในที่ปราสาทหินบ้านพลวง มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมบางรายการไม่สามารถกำหนดเวลาได้ ไม่สามารถปฏิบัติได้เพราะวัสดุไม่พร้อมเช่นการประดิษฐ์ภาพปราสาทบ้านพลวงโดยใช้รู้ทรงเรขาคณิตนักเรียนตื่นเต้นที่จะได้ไปเรียนรู้ในสถานที่จริงจึงเตรียมวัสดุในการประดิษฐ์ไม่พร้อม ทุกคนจึงเปลี่ยนเป็นการวาดภาพปราสาทโดยใช้รู้ทรงเรขาคณิตแทน ผลงานที่ได้รับนั้นดี มีการแสดงความคิดอย่างหลากหลาย บางกลุ่มวาดภาพไม่เหมือนของจริง แต่เป็นการวาดภาพจินตนาการของตนเอง และเชื่อมั่นในแบบที่ตนวาด

    ตอบลบ
  30. ซื่องานวิจัย การศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ (ว203) โดยหลักการสอนแบบซิปปา (CIPPA MODEL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

    ผู้วิจัย นางจันทร์เพ็ญ ทองย่น

    ปี พ.ศ. 2544

    บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการสอนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบซิปปาในวิชาวิทยาศาสตร์ ว 203 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนก่อนเรียนและหลังเรียน

    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนวัดบางขัน อำเภอคลิงหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 100 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 50 คน 1 ห้องเรียน และกลุ่มทดลอง 50 คน 1 ห้องเรียน ผู้ศึกษาเป็นผู้ดำเนินการสอนด้วยตนเอง โดยใช้แผนการสอนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักการสอนแบบซิปปาในกลุ่มทดลอง และการสอนตามคู่มือครูของ สสวท. ในกลุ่มควยคุม ก่อนดำเนินการทดลองสอนได้ทำการทดสอบก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น โดยผ่านขั้นตอนการหาความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นเรียบร้อยแล้ว หลังกรทดลองได้ทำการทดสอบอีกครั้งหนึ่ง และนำผลการทดสอบวิเคราะห์เพื่อกาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและการทดสอบค่าที (t-test) และการหารประสิทธิภาพของ แผนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ผลการศึกษาพบว่า

    1. แผนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ว 203 ที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักการสอนแบบซิปปาที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 85.14/80.40 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80

    2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการสอน ที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักการสอนแบบซิปปา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ว 203 สูงกว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครูของ สสวท. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

    3. นักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมตามหลักการสอนแบบซิปปา มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก

    ตอบลบ
  31. ซื่องานวิจัย แนวทางในการอนุรักษ์และจัดการสิ่งแวดล้อมของตำหนักในวังสุนันทา

    ผู้วิจัย นางฉันทนา สุรัสวดี

    ปี พ.ศ. 2543

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาแนวทางการอนุรักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมของอาคารที่ได้ข้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน 6 หลังที่อยู่บริเวณสถาบันราชภัฏสวนสุนันทาโดยสร้างแบบสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของตัวงานสถาปัตยกรรม และใช้ขบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อหาสาเหตุแห่งการเสื่อมสภาพของโบราณสถาน

    ผลของการศึกษาพบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้โบราณสถานเสื่อมสภาพคือ ความชื้นที่เกิดจากการดูดซึมน้ำใต้ผิวดินไว้ในผนังอาคาร น้ำฝนที่ซึมจากรอยรั่วของหลังคา ผนังอาคารที่แตกร้าว ประตูหน้าต่างที่ชำรุด การระบายอากาศที่ไม่ดีทำให้เกิดความชื้นสะสมในผนัง นอกจากนี้ความชื้นยังเป็นตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีและฟิสิกส์ เกิดการตกผลึกของเกลือในผนังอาคารทำให้ผนังปูนเสื่อมสภาพหลุดร่อนออก และปล่อยให้วัชพืชขึ้นตากซอกรอยแตกของอาคารก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง แนวทางการแก้ไขจึงต้องซ่อมแซมรอยรั่วของหลังคา ตามผนังอาคาร ประตู หน้าต่าง จัดการระบบอากาศที่ดีของตัวอาคารดูดซับความเค็มของเกลือในผนังออให้มากที่สุดแล้วใช้ปูนหมักแบบโบราณในการซ่อมแซมผนัง เลือกใช้สารเคลือบผิวที่มีคุณภาพดีเพื่อช่วยยืดอายุกรใช้งานของวัสดุให้ยาวนานขึ้น สร้างความเข้าใจอันดีในการใช้งานโบราณสถานอย่างระมัดระวัง มีการดูแลและบำรุงรักษาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ส่วนการจัดการสิ่งแวดล้อมควรมีมาตรการในการกำหนดความต้องการในการใช้พื้นที่ที่ชัดเจนเพื่อรักษาโบราณสถานไว้ ไม่สร้างอาคารบดบังทัศนียภาพที่ดีของตัวโบราณสถานและพัฒนาพื้นที่ไปในทิศทางของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

    ตอบลบ
  32. ซื่องานวิจัย “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ จังหวัดนนทบุรี ที่เรียนโดยใช้และไม่ใช้แบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ “

    ผู้วิจัย นายชนินทร ศรีแล

    ปี พ.ศ. 2544

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่อสร้างแบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้และไม่ใช้แบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 80 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน

    ผู้วิจัยทดลองสอนนักเรียนทั้งสองกลุ่ม โดยใช้แบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบการสอนเฉพาะกลุ่มทดลอง เมื่อทดลองสอนครบ 21 ครั้ง จึงทดสอบนักเรียนโดยใช้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาจำนวน 6 ฉบับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับมาตรฐานพร้อมด้วยแบบทดสอบเรียงความแบบบรรยายภาพ 1 ฉบับ จากนั้นนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์ทั้งสองกลุ่มโดยใช้ t- test

    ผลการวิจัยปรากฎว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเชิงสร้างสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .01

    ตอบลบ
  33. 51 ซื่องานวิจัย การศึกษาเปรียบเทียบเจตคติของผู้บริหาร และครูที่มีต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนโครงการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
    ผู้วิจัย นายอภินันท์ ไชยศร และคณะ
    ปี พ.ศ. 2543
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติของผู้บริหารและครูในโรงเรียนโครงการเรียนร่วม ที่มีต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และเปรียบเทียบเจตคติของผู้บริหาร และครูในโรงเรียนโครงการเรียนร่วมที่มีต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในด้านตำแหน่งหน้าที่ วุฒิทางการศึกษาพิเศษ และประสบการณ์ที่เข้าร่วมโครงการเรียนร่วมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 123 คน ครูผู้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 118 คน ครูที่ไม่ได้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 338 ตน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเจตคติ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (ANOVA) และการเปรียบเทียบเจตคติโดยใช้ t-test แบบ Independent
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. การศึกษาเจตคติของผู้บริหาร ครูผู้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และครูที่ไม่ได้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีเจตคติต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษในทางบวกทุกด้าน และมีเจตคติอยู่ในระดับมากทุกด้าน
    2. การเปรียบเทียบเจตคติ ในด้านตำแหน่งหน้าที่ ระหว่างผู้บริหาร ครูผู้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และ ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษและไม่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษ และในด้านประสบการณ์ที่เข้าร่วมโครงการเรียนร่วม ระหว่างครูที่มีประสบการณ์เข้าร่วมโครงการเรียนร่วมน้อยกว่า 5 ปี และมากกว่า 5 ปี ทั้ง 3 ด้าน มีเจตคติแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

    ตอบลบ
  34. 52 ซื่องานวิจัย ศึกษาศักยภาพการจัดการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรมของข้าราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
    ผู้วิจัย นายพัฒนา ชมเชย นักวิชาการศึกษา 7 ว.
    ปี พ.ศ. 2543
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาศักยภาพการจัดการศึกษา การศาสนาและการวัฒนธรรม ของข้าราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่ปฏิบัติงานในสำนักงานศึกษาธิการจังกวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ เขตการศึกษา 2 เพื่อทราบระดับและเปรียบเทียบศักยภาพการจัดการศึกษา การศาสนาและการวัฒนธรรม ของข้าราชการ ที่มี เพศ อายุ ภูมิละเนา วุฒิการศึกษา และตำแหน่ง ต่างกัน
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ข้าราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ เขตการศึกษา 2 จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่ามีห้าระดับ จำนวน 60 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test และ F-test เมื่อมีนัยสำคัญทางสถิติ จะเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มเป็นรายคู่ โดยวิธีของ Newman - Keuls test ต่อไป
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ระดับศักยภาพการจัดการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม ของข้าราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกรทรวงศึกษาธิการ เขตการศึกษา 2 พบว่า โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง
    2. ผลการเปรียบเทียบศักยภาพการจัดการศึกษา การศาสนาและการวัฒนธรรม ของข้าราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เขตการศึกษา 2 ที่แตกต่างกันตามตัวแปรเพศ อายุ ภูมิลำเนา วุฒิการศึกษาและตำแหน่ง พบว่า
    2.1 ข้าราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เขตการศึกษา 2 ที่มีเพศต่างกันมีศักยภาพการจัดการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม โดยภาพรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
    2.2 ข้าราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เขตการศึกษา 2 ที่มีอายุต่างกันมีศักยภาพการจัดการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม โอยภาพรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
    2.3 ข้าราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เขตการศึกษา 2 ที่มีภูมิลำเนาต่างกันมีศักยภาพการจัดการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันหนึ่งด้านคือ ด้านการจัดการศาสนา มีความแตกต่างกันอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่ข้าราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีภูมิอยู่จังหวัดในเขตการศึกษา 2 มีศักยภาพด้านการจัดการศาสนา มากกว่า ข้าราชการที่มีภูมิลำเนา อยู่จังหวัดนอกเตการศึกษา 2
    2.4 ข้าราชการ สังกัดสำนักงานปลัดประทรวงศึกษาธิการ เขตการศึกษา 2 ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีศักยภาพการจัดการศึกษา การศาสนาและการวัฒนธรรม โดยภาพรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
    2.5 ข้าราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เขตการศึกษา 2 ที่มีตำแหน่งต่างกันมีศักยภาพการจัดการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แตกต่างกันสองด้าน คือ ด้านการจัดการศาสนา และด้านการจัดการวัฒนธรรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มเป็นรายคู่ โดยวิธีของ Newman - Keuls test พบว่า ด้านการจัดการศาสนา และด้านการจัดการวัฒนธรรมแตกต่างกัน โดยที่ข้าราชการที่มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารการศึกษา มีศักยภาพด้านการจัดการศาสนา และด้านการจัดการวัฒนธรรมมากกว่าข้าราชการที่มีตำแหน่งเป็นนักวิชาการศึกษา ข้าราชการที่มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารการศึกษา มีศักยภาพด้านการจัดการศาสนา และด้านการจัดการวัฒนธรรม มากกว่าข้าราชการทีมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ และข้าราชการที่มีตำแหน่งเป็นนักวิชาการศึกษา มีศักยภาพด้านการจัดการศาสนา และด้านดารจัดการวัฒนธรรมมากกว่าข้าราชการที่มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

    ตอบลบ
  35. ซื่องานวิจัย การรับรู้กระบวนการให้การศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ของนักเรียน นักศึกษา ในเขตตรวจราชการที 9
    ผู้วิจัย -
    ปี พ.ศ. -
    บทคัดย่อ
    รายงานการวิจัยเรื่อง “การับรู้กระบวนการให้การศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ของนักเรียน นักศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 9 “ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับการับรู้กระบวนการให้การศึกษา ความรู้ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติ มนการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์ของนักเรียน นักศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 9
    ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ สถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา และสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Strtified Random Sampling) ประกอบด้วยสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา ที่ตั้งอยู่ในเมือง จำนวน 9 แห่ง และนอกเมืองจำนวน 10 แห่ง รวม 19 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 382 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเพื่อศึกษาการรับรู้กระบวนการให้การศึกษาที่คณะผู้วิจัยร่วมกันสร้างขึ้น ตรวจสอบคุณภาพด้วยการกาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ตามวิธีการของครอนบัค (Cronbach) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติทางสังคมศาสตร์ เพื่อคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยโดยใช้การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
    ผลการวิจัยสรุปรวม 5 ด้าน คือ 1) ด้านข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง 2) ด้านการรับรู้กระบวนการให้การศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ และ 3) ด้านความรู้ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ 4) การเปรียบเทียบ ระดับการรับรู้กระบวนการให้การศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ 5) การเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจ เจตคติและการปฏิบัติในการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ ดังนี้
    1. ด้านข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง
    นักเรียน นักศึกษา ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนด้านเพศ ระดับการศึกษา ที่ตั้งของสถานศึกษาจำนวนใกล้เคียงกัน จากจำนวนทั้งหมด 1 ใน 4 เคยมีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์โดยมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ในช่วงอายุ 13-18 ปี ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ครั้งแรกกับคนรักรองลงมา เป็นกับรุ่นพี่/น้อง กับเพื่อนสนิท กับคนรู้จัก กับอื่น ๆ กับหญิง/ชายขายบริการทางเพศกับญาติพี่น้อง ตามลำดับ ส่วนประสบการณ์การใช้สารเสพติด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เริ่มใช้สารเสพติดตั้งแต่ช่วงอายุ 14 - 18 ปี รองลงมาเป็นช่วงอายุ 9 ปี ถึง 13 ปี และอายุ 19ปีขึ้นไปน้อยที่สุด สารเสพติดที่ใช้ส่วนใหญ่ คือ เหล้าเบียร์ และไวน์

    ตอบลบ
  36. 2. ด้านการรับรู้กระบวนการให้การศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
    ผลการศึกษาพบว่านักเรียน นักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีการรับรู้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์อยู่ในระดับมาก โดยมีการรับรู้ด้านเนื้อหาสาระและหลักสูตรมากที่สุดรองลงมา คือ ด้านสื่อการเรียนรู้ และด้านกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับปานกลาง แสดงว่ากระบวนการให้การศึกษาด้านเนื้อหาสาระและหลักสูตรเรื่องเอดส์ที่สอดแทรกในรายวิชาสุขศึกษาสังคมศึกษา และวิทยาศาสตร์ ทำให้นักเรียน นักศึกษาเกิดการรับรู้วิธีการป้องกันและรักษาโรคเอดส์ได้มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านสื่อการเรียนรู้ และด้านกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับปานกลาง แสดงว่ากระบวนการให้การศึกษาด้านเนื้อหาสาระและหลักสูตรเรื่องเอดส์ที่สอดแทรกในรายวิชาสุขศึกษาสังคมศึกษาและวิทยาศาสตร์ทำให้นักเรียนนักศึกษาเกิดการรับรู้วิธีการป้องกันและรักษาโรคเอดส์ได้มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านสื่อการเรียนรู้โดยมีการรับรู้จากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ส่วนด้านกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียน นักศึกษามีการรับรู้จากกิจกรรม ทู บี นัมเบอร์วัน มากที่สุด เมื่อจำแนกตัวตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ของนักเรียน นักศึกษาพบว่าเพศชาย และเพศหญิง มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้กระบวนการให้การศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่การรับรู้ของเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเพศชาย เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษานักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้มากที่สุด รองลงมา คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพตามลำดับ ส่วนสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเมืองมีค่าเฉลี่ยของการรับรู้ในภาพรวมมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่สถานศึกษาตั้งอยู่นอกเมือง กลุ่มตัวอย่างที่เคยมีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยมีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่เคยมีประสบการณ์การใช้สารเสพติด มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยมีประสบการณ์การใช้สารเสพติด
    3. ด้านความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
    3.1 ด้านความรู้ความเข้าใจ
    ระดับความรู้ความเข้าในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ของนักเรียน นักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่จำนวน 274 คน อยู่ในกลุ่มต่ำ คิดเป็นร้อยละ 71.70 นอกจากนั้นอยู่ในกลุ่มต่ำ จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 28.30 กลุ่มตัวอย่างเพศชายมีสัดส่วนความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน
    และแก้ไขปัญหาเอดส์อยู่ในกลุ่มสูงมากกว่าเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีสัดส่วนความรู้ความเข้าใจในกลุ่มสูงมากกว่าเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีสัดส่วนความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์อยู่ในกลุ่มสูงมากที่สุด รองลงมา คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ส่วนนักเรียน นักศึกษา รองลงมา คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ส่วนนักเรียน นักศึกษา ที่ศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่นอกเมือง ที่เคยมีประสบการณ์การเพศสัมพันธ์และที่ไม่เคยมีประสบการณ์การใช้สารเสพติด มีสัดส่วนความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์อยู่ในกลุ่มสูงมากกว่ากลุ่มต่ำ
    3.2 ด้านเจตคติต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
    ระดับของเจตคติต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ของนักเรียนนักศึกษา ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มต่ำ จำนวน 267 คน คิดเป็นร้อยละ 69.90 และอยู่ในนกลุ่มต่ำจำนวน 115 คน คิดเป็นร้อยละ 30.10 กลุ่มตัวอย่างเพศชายส่วนใหญ่มีเจตคติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์อยู่ในกลุ่มตัวอย่างระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีระดับเจตคติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์อยู่ในกลุ่มสูงมากที่สุด รองลงมา คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในสถานศึกษา ที่ตั้งอยู่ในเมือง ที่ไม่เคยมีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์และที่ไม่เคยมีประสบการณ์การใช้สารเสพติดมีสัดส่วนของเจตคติต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ มีสัดส่วนอยู่ในกลุ่มสูงมากกว่ากลุ่มต่ำ

    ตอบลบ
  37. 3.3 ด้านการปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
    ระดับการปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ของนักเรียน นักศึกษา ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จำนวน 286 คน อยู่ในกลุ่มที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 74.90 ส่วนที่ปฏิบัติถูกต้อง มีเพียง 96 คน คิดเป็นร้อยละ 25.10 สัดส่วนของการปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างเพศชายมีการปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ อยู่ในกลุ่มปฏิบัติถูกต้องมากกว่าเพศหญิงกลุ่มตัวอย่างระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีสัดส่วนเจตคติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ของระดับการศึกษาที่มีการปฏิบัติถูกต้องมากที่สุด รองลงมา คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามรสถานศึกษาที่ตั้งอยู่นอกเมือง ที่ไม่เคยมีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์และที่ไม่เคยมีประสบการณ์การใช้สารเสพติด มีสัดส่วนการปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์อยู่ในกลุ่มปฏิบัติถูกต้องมากกว่าไม่ถูกต้อง
    4. การเปรียบเทียบ ระดับการรับรู้กระบวนการให้การศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
    เพศชายและเพศหญิง มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้กระบวนการให้การศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างที่สถานศึกษาตั้งอยู่ในเมืองและนอกเมือง มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้กระบวนการให้การศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มตัวอย่างที่สถานศึกษาตั้งอยู่ในเมือง มีการรับรู้โดยเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่สถานศึกษาตั้งอยู่นอกเมือง กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยมีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์และที่เคยมีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ของการรับรู้กระบวนการให้การศึกษาในการป้องกันและแก้ไข
    ปัญหาเอดส์ แตกต่างกันอย่างไม่นัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยมีประสบการณ์การใช้สารเสพติดกับกลุ่มที่เคยมีประสบการณ์การใช้สารเสพติด มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้กระบวนการการให้การศึกษาในการ
    ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยของการรับรู้กระบวนการให้การศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ของนักเรียน นักศึกษาในระดับต่าง ๆ โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    5. การเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
    5.1 ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
    กลุ่มตัวอย่างที่เพศ ที่ตั้งสถานศึกษา ประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ และประสบการณ์การใช้สารเสพติดต่างกัน มีค่าเฉลี่ของความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนระดับการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
    5.2 เจตคติต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
    กลุ่มตัวอย่างเพศที่ตั้งของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยของเจตคติต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง มีค่าเฉลี่ของเจตคติต่อการป้องและแก้ไขปัญหาเอดส์สูงกว่าเพศชาย กลุ่มตัวอย่างที่สถานศึกษาตั้งอยู่นอกเมือง มีค่าเฉลี่ยของเจตคติติดต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์สูงกว่าในเมือง ส่วนกลุ่มตัวอย่างประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ และกลุ่มตัวอย่างประสบการณ์การใช้สารเสพติด มีค่าเฉลี่ยของเจตคติติดต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติส่วนระดับการศึกษามีเจคติต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    5.3 การปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
    กลุ่มตัวอย่างเพศ ประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์และประสบการณ์การใช้สารเสพติด มีการปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์สูงกว่าเพศชาย ที่ไม่เคยมีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ และที่ไม่เคยมีประสบการณ์การใช้สารเสพติด มีค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์สูงกว่า ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ตั้งของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ของการปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และระดับการศึกษามีการปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

    ตอบลบ
  38. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
    1. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ
    1.1 ด้านเนื้อหาสารและหลักสูตรการเรียนการสอน ควรมุ่งเน้นให้นักเรียนนักศึกษาเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือการปฏิบัติที่ถูกต้อง
    1.2 ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ควรมีการจัดกิจกรรมทางการศึกษาที่หลากหลายด้วยการบูรณาการเนื้อหาสาระและหลักสูตรการเรียนการสอนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ร่วมกับกลุ่มวิชา
    ต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมเสริมหลักสูตร
    1.3 ด้านสื่อการเรียนรู้ ควรมีการจัดทำสื่อโทรทัศน์เผยแพรสาระความรู้ และแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะคือนักเรียน นักศึกษาและให้สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ในสถานศึกษาได้อย่างเหมาะสม
    2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
    2.1 สถานศึกษาควรมีนโยบายในการเฝ้าระวังพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของนักเรียน นักศึกษา และเผยแพร่ข้อมูลให้นักเรียน นักศึกษาได้รับรู้ถึงสภาพปัญหา ความรุนแรง และมีทางเลือกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
    2.2 กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดนโยบายในการจัดการศึกษา เฝ้าระวัง และติดต่อสถานการณ์ของเอดส์ โดยมีเครื่องมือที่สามารถประมวลผลในภาพรวม ที่บ่งชี้ให้เห็นถึงสภาพความรุนแรง และทางเลือกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
    3. ข้อเสนอแนะในการวิจัย
    3.1 สถานศึกษาควรมีการศึกษาสภาพ ปัจจัย และพฤติกรรมของนักเรียน นักศึกษา และจำแนกนักเรียน นักศึกษาเป็นกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติ เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับนักเรียน นักศึกษาแต่ละกลุ่ม
    3.2 ควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง และให้ความรู้ความเข้าใจ ใน การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่เหมาะสมกับวัย
    3.3 ควรมีการศึกษาทัศนคติ ค่านิยมในการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียน นักศึกษาทั้งในมิติด้านพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการวางแผน ป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์ได้อย่างเหมาะสม

    ตอบลบ
  39. ซื่องานวิจัย การพัฒนาแบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี
    ผู้วิจัย นางสมใจ กงเติม
    ปี พ.ศ. 2543
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ พัฒนาแบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี โดยผู้วิจัยพัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 4 ชุด ได้แก่ แบบฝึกการสร้างคำแบบฝึกการเขียนประโยค แบบฝึกการเขียน สำนวน สุภาษิต คำพังเพย และแบบฝึกการเขียนเรื่อง โดยแบบฝึกที่สร้างขึ้นทุกชุด มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 0.30 – 1.00 และประสิทธิภาพ 87.79/85.50 และนำไปใช้กับนักเรียนโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ Randomized group pretest - posttest design กลุ่มละ 30 คน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และเมื่อประเมินความคิดเห็นในการใช้แบบฝึกในด้าน ปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตจากนักเรียนที่ใช้แบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 30 คน มีความเห็นว่าแบบฝึกมีความเหมาะสมปานกลางถึงเหมาะสมมาก

    ตอบลบ
  40. ซื่องานวิจัย (ภาษาไทย) การพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้สื่อใกล้ตัว
    ผู้วิจัย นางอัสนี พ่วงสะอาด
    ปี พ.ศ. 2544
    บทคัดย่อ
    งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนโดยใช้สื่อใกล้ตัวกับการสอนปกติ
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดทีมุขาราม สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอปลายพระยา จังวัดกระบี่ จำนวน 38 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เท่า ๆ กันกลุ่มละ 19 คน ทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนทั้งสองกลุ่มโดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกัน จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน ใช้เวลาทดสอง 1 ภาคเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ค่าที่ (t-test) ในการทดสอบสมมติฐาน
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนการสอนโดยวิธีปกติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.11 คิดเป็นร้อยละ 47.03 อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.26 คิดเป็นร้อยละ 57.53 อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนการสอนโดยใช้สื่อใกล้ตัวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.58 คิดเป็นร้อยละ 48.60 อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.21 คิดเป็นร้อยละ 67.37 อยู่ในระดับปานกลาง
    3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากวิธีสอนปกติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนการสอนโดยใช้สื่อใกล้ตัว หลังเรียนสูงกว่าก่นเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนโดยใช้สื่อใกล้ตัวสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    6. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนระหว่างวิธีสอนโดยใช้สื่อใกล้ตัวกับวิธีสอนปกติมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    ข้อเสนอแนะ
    1. การสอนอ่านต้องให้นักเรียนฝึกอ่านบ่อย ๆ สม่ำเสมอทุกวัน โดยให้เริ่มอ่านคำจากรูปภาพไปสู่การอ่านคำที่ไม่มีรูปภาพ
    2. การฝึกความเข้าใจในการอ่าน ควรฝึกจากเรื่องที่ง่ายไปหาเรื่องยาก
    3. เมื่อนักเรียนอ่านคำได้ ควรให้นักเรียนสร้างคำใหม่ที่มีความหมาย โดยใช้โครงสร้างขอคำเดิม เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้คำและอ่านคำได้มากขึ้น

    ตอบลบ
  41. ซื่องานวิจัย ผลการใช้แบบฝึกทักษะการคิดคำนวณตามแนวเวทคณิตเรื่องการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
    ผู้วิจัย นางอาภาภรณ์ นันทัชพรพงศ์ และคณะ
    ปี พ.ศ. 2544
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดคำนวณตามแนวเวทคณิต เรื่องการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดคำนวณตามแนวเวทคณิตเรื่องการบวกและการลบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนบ้านโป่งแดงน้ำฉ่าสามัคคี สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอขามทะเลสอ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนจำนวน 45 แผน แบบฝึกทักษะการคิดคำนวณตามแนวเวทคณิต จำนวน 45 เล่ม แบบทดสอบย่อย จำนวน 9 ฉบับ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ฉบับ สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t (t-test)
    ผลการวิจัยพบว่า แบบฝึกทักษะการคิดคำนวณตามแนวเวทคณิตที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิ์ภาพเท่ากับ 86.64/80.95 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางเรียนหลังเรียนสุงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

    ตอบลบ
  42. ซื่องานวิจัย ปัญหาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 12
    ผู้วิจัย นายวิรัช กิมทรง
    ปี พ.ศ. 2545
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 12 โดยศึกษาปัญหา 5 ด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนด้านการบริบริหารโครงการด้านอาคารสถานที่ด้านการบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านการนิเทศตดตาม และประเมินผล ตัวแปรที่นำมาศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้านี้ได้แก่ หัวหน้างานโสตทัศนศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 12 ปี การศึกษา 2543 จำนวน 596 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบที่ผู้ศึกษาค้นค้า สร้างขึ้นเอง และนำแบบสอบถามไปหาค่าความเชื่อมั่นได้ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ และการหาค่าไค - สแควร์
    ผลการวิจัย พบว่า
    1. ด้านการจัดการเรียนการสอน มีปัญหาในเรื่องระยะเวลาในการจัดสอนซ่อมเสริมที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ในทันที ปัญหาการนำเข้าสู่บทเรียนและการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประกอบ การเรียนในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ด่านการบริหารโครงการ มีปัญหาเรื่องการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการและปัญหาการจัดทำแผนปฏิบัติการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ด้านอาคารสถานที่ มีปัญหาในด้านการใช้อาคารสถานที่รับชมรายการปัญหาในด้านความสะดวกของการใช้สถานที่ในการจัดการเรียนการสอน การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ด้านการบำรุงรักษาอุปกรณ์ มีปัญหาในด้านการนิเทศติดตามกำกับเกี่ยวกับการบำรุงรักษาอุปกรณ์และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการกำกับติดตามประเมินผล และการนิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของผู้บริหารโรงเรียน
    2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 12 ตามทัศนะของหัวหน้างานโสตทัศนศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ไม่แตกต่างกัน

    ตอบลบ
  43. ซื่องานวิจัย การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อทักษะชีวิตด้านสารเสพติดของนักเรียนศึกษาอาชีวเกษตร
    ผู้วิจัย คุณบรรชร กล้าหาญ และคณะ
    ปี พ.ศ. 2543
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรูปแบบและวิธีการในการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อทักษะชีวิตด้านสารเสพติดของนักศึกษาอาชีวเกษตร รูปแบบและวิธีการในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตลอดจนศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่มีผลต่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่นักศึกษาในโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. 3) จำนวน 20 คน จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ การศึกษาได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งกระทำโดยการนำเอาโปรแกรมทักษะชีวิต, เทคนิค PRA, AIC, การระดมความคิดเห็น,การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม รวมทั้งการสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม
    ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบด้วยการเรียนรู้แบบเป็นทางการโดยการจัดกิจกรรมการศึกษาอบรม โดยกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมอย่างชัดเจน เช่น การจัดโปรแกรมทักษะชีวิต การทำกิจกรรม AIVC เพื่อการกระตุ้นสำนึกรับผิดชอบและแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบ และการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการจากการระดมพลังสมองเพื่อสะท้อนความคิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมการสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทั้งจากการร่วมอภิปราย การสนทนากลุ่ม และการทำกิจกรรม PRA เพื่อวิเคราะห์และสร้างความตระหนักต่อสภาพปัญหารวมทั้งการเติบเต็มความรู้จากการศึกษาดูงาน ตลอดจนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยซึ่งเป็นการเรียนรู้จากการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนและสิ่งแวดล้อมด้าน ส่วนวิธีการในการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย การเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ทั้งนี้ขั้นตอนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือการจัดประสบการณ์ซึ่งเป็นการประมาณประสบการณ์เดิมของนักศึกษาให้เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ การสะท้อนความคิดเห็นและการอภิปรายข้อคิดเห็นที่ได้รับจากการแบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้าใจและเกิดความคิดรวบยอด รวมทั้งการทดลองหรือประยุกต์แนวคิดซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการนำเอาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันในลักษณะและสถานการณ์ต่าง ๆ จนเกิดเป็นแนวปฏิบัติของนักศึกษา นอกจากนี้ยังต้องสัมพันธ์กับองค์ประกอบทั้ง 3 ด้านของทักษะชีวิต คือทักษะพิสัย จิตพิสัยและพุทธิพิสัย
    สำหรับรูปแบบและวิธีการในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ประกอบด้วยกระบวนการในการขัดเกลาทางสังคมในลักษณะของการขัดเกลาทางตรง กรขัด
    เกลาแบบบูรณาการ และการขัดเกลาทางอ้อม รวมทั้งการจัดกิจกรรมในรูปแบบของกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์

    ตอบลบ
  44. ผลจากการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ทำให้นักศึกษาเกิดความตระหนักในตนเองสามารถวิเคราะห์ถึงสถานภาพ ข้อดี ข้อจำกัดของตนเอง สามารถจัดการกับตนเองในภาวะกดดันได้ โดยการคิดวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม เกิดความเข้าใจและเห็นคุณค่าของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนเองโดยเฉพาะผู้ที่ประสบปัญหาอันเนื่องมาจากปัญหาสารเสพติด นำไปสู่ความภูมิใจในตนเองและสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาสารเสพติดจากการทำหน้าที่อาสาสมัครเพื่อสื่อสารความรู้เรื่องสารเสพติดให้แก่เพื่อนทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งผลของการทำหน้าที่อาสาสมัครทำให้นักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร รวมทั้งสามารถจัดการกับอารมณ์และความเครียดของตนเองได้ด้วย
    สำหรับปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อการเรียนรู้ประกอบด้วยคุณลักษณะส่วนบุคคลอันเกิดจากความสนใจและความสามารถทางสติปัญญาในการคิดวิเคราะห์อย่างเชื่อมโยง หลอมรวมกับคุณลักษณะของความเป็นผู้นำที่มีความสามารถในการควบคุมตนเอง และความสำนึกรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เกิดเป็นแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรม เช่นเดียวกับความรู้สึกคาดหวังต่อการกระทำของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังได้รับแรงสนับสนุนจากสังคม จากการแสดงออกซึ่งการยอมรับในการแสดงพฤติกรรมจากบุคคลแวดล้อม ประกอบกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายและเน้นการมีส่วนร่วม ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดได้ทำ ได้สร้างสรรค์ และสรุปสาระของการเรียนรู้ร่วมกัน อีกทั้งจากบริบทของสถานศึกษาเกี่ยวกับที่พักอาศัยของนักศึกษาและลักษณะกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรของสถานศึกษา และด้วยการเลือกใช้ช่วงเวลาที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน ทำให้ได้รับการร่วมมือในการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

    ตอบลบ
  45. ซื่องานวิจัย การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง “โครงสร้างของดอก” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนคงทองวิทยา
    ผู้วิจัย นางสาวสุภัคสิริ อ้นแพ และ นายผจญ รุ่งอรุณเลิศ
    ปี พ.ศ. 2544
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง “โครงสร้างของดอก” ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนปกติ และศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนคงทองวิทยา จำนวน 160 คน โดยแบ่งการทดสองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนปกติ กลุ่มละ 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง “โครงสร้างของดอก” 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดเจตคติ ทำการทดลองโดยการทดสอบก่อนเรียน แล้วจึงเรียนด้วยวิธีสอนแต่ละวิธี เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนให้นักเรียนทำแบบทดสอบและกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์สอนตอบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ z-test
    ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .01 โดยนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนปกติ 2) นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คิดเป็นร้อยละ 95.27 3) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง “โครงสร้างของดอก” มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90.10 สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนและศึกษาด้วยตนเองได้

    ตอบลบ
  46. ซื่องานวิจัย การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ
    ผู้วิจัย นายประยงค์ มาแสง
    ปี พ.ศ. 2543
    บทคัดย่อ
    การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ที่พิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2533 - 2543 โดยการสังเคราะห์เชิงคุณลักษณะด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสำรวจงานวิจัย แบบประเมินงานวิจัยด้วยตนเองและแบบสรุปรายงานการวิจัย ได้งานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การประเมินจำนวน 128 เรื่อง สำหรับทำการสังเคราะห์
    สรุปผลการวิจัย
    1) สภาพงานวิจัย ร้อยละ 19.55 พิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2543 ร้อยละ 96.24 เป็นวิทยานิพนธ์ ซึ่งร้อยละ 51.13 ผลิตจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และร้อยละ 31.58, 6.02 ผลิตจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยนเรศวร ตามลำดับร้อยละ 65.41 เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ และร้อยละ 34.59 เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง จำแนกตามเนื้อหาด้านการบริหารการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 37.59 ด้านการนิเทศการศึกษา ร้อยละ 4.51 และด้านการจัดการเรียนการสอน ร้อย 57.90
    2) งานวิจัยการบริหารการศึกษา พบเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมและการปฏิบัติงานของหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ การปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนการใช้หลักสูตรประถมศึกษา การปฏิรูปการศึกษา มาตรฐานโรงเรียน โครงการขยายโอกาสทางการศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการ การดำเนินงานบริหารทั่วไป การดำเนินงานการเงินและพัสดุ คณะกรรมการการประถมศึกษาอำเภอ คณะกรรมการโรงเรียนศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียน โครงการอาหารกลางวัดและโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ผลงานทางวิชาการ และการพัฒนาบุคลากร
    3) งานวิจัยด้านการนิเทศการศึกษา พบเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพ ปัญหาความต้องการ และการปฏิบัติการนิเทศ
    4) งานวิจัยด้านการเรียนการสอน พบเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา การเรียนการสอนวิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาจริยศึกษา วิชาศิลปศึกษา วิชาลูกเสือ-ยุวกาชาด วิชาสังคมศึกษา การแนะแนวและให้คำปรึกษาหลักสูตรและภูมิปัญญาท้องถิ่น และพัฒนาการเด็ก
    5) ผลการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงสำรวจพบสภาพ ปัญหา ความต้องการผลการเปรียบเทียบและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาตามลักษณะกิจกรรมและเนื้อหาสามารถพัฒนาการเรียนรู้ ทักษะและพฤติกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนให้สูงขึ้น
    6) ผลการสังเคราะห์เชิงทดลองพบผลการใช้นวัตกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถพัฒนาการเรียนรู้ ทักษะและพฤติกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนให้สูงขึ้น

    ตอบลบ
  47. ซื่องานวิจัย แหล่งการเรียนรู้แบบบูรณาการในพื้นที่โดยรอบโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
    ผู้วิจัย นายประพัฒน์ วรทรัพย์
    ปี พ.ศ. 2546
    บทคัดย่อ
    การศึกษาวิจัย เรื่อง แหล่งการเรียนรู้แบบบูรณาการในพื้นที่โดยรอบโรงเรียนศรีวิชัยวิทยาอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทและจำนวนแหล่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในพื้นที่ศึกษา และเพื่อวิเคราะห์รูปแบบการจัดการศึกษาแบบบูรณาการที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ และเพื่อวิเคราะห์รูปแบบการจัดการศึกษาแบบบูรณาการที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยการวิจัยเอกสาร การสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยการวิจัยเอกสาร การสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพ รายงานผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ โดยมีขอบเขตพื้นที่ในการศึกษาเป็นรัศมีระยะ 5 กิโลเมตรจากโดรงเรียนศรีวิชัยวิทยา จากการศึกษาพบว่า
    แหล่งการเรียนรู้รอบโรงเรียนศรีวิชัยวิทยาแต่ละแห่งมีความเหมาะสมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ แตกต่างกันไป จำแนกประเภทของแหล่งการเรียนรู้แบบบูรณาการออกเป็น 5 ปะเภท โดยแต่ละประเภทมีจำนวนแหล่งการเรียนรู้ดังนี้ แหล่งการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จำนวน 8 แหล่ง แหล่งการเรียนรู้ด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 12 แหล่ง แหล่งการเรียนรู้ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 แหล่ง แหล่งการเรียนรู้ด้านการประกอบอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นจำนวน 8 แหล่ง แหล่งการเรียนรู้ด้านวิทยาการสมัยใหม่ จำนวน 9 แหล่ง จำนวนแหล่งการเรียนรู้ทั้งหมดที่ศึกษาในแต่ละประเภทเมื่อรวมแหล่งการเรียนรู้ที่มีชื่อซ้ำอยู่ในแหล่งอื่น ๆ ด้วยมีจำนวนทั้งสิ้น 33 แหล่งการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญและการมีส่วนร่วมของชุมชน จะส่งผลให้นักเรียนเป็นคนเก่ง ดีอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
    รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน ด้วยกิจกรรมที่ผสมผสานและเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยมีการวางแผนในการกำหนดโครงการร่วมกันระหว่างสถานศึกษา ครูผู้สอน และชุมชนที่เกี่ยวข้อง สำหรับการดำเนินงานของโรงเรียนศรีวิชัยวิทยาสามารถดำเนินการได้ในขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยครูผู้สอน ซึ่งสามารถจัดการเรียนรู้ได้ทั้งบูรณาการแบบคู่ขนาน บูรณาการแบบสหวิทยาการ และบูรณาการแบบโครงการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดทำแผนการเรียนรู้สถานศึกษาเป็นสำคัญ

    ตอบลบ
  48. ซื่องานวิจัย การสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากในวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
    ผู้วิจัย นางกรวิการ์ รื่นรมย์
    ปี พ.ศ. 2543
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากในวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และนำไปหาประสิทธิภาพกับนักเรียนเป็นจำนวน 3 ครั้ง นักเรียนรายบุคคลจำนวน 5 คน เป็นกลุ่มย่อยจำนวน 10 คน เป็นกลุ่มย่อยจำนวน 10 คน เป็นกลุ่มใหญ่ จำนวน 73 คน ในปีการศึกษา 2543 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคำยากและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากกับการสอนโดยใช้วิธีสอนตามคู่มือครูได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดระยองจำนวนทั้งสิ้น 288 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายเป็นนักเรียนโรงเรียนวัดชากผักกูด จำนวน 5 คน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 3 จำนวน 10 คน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 จำนวน 73 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากและแบบวัดความสามารถในการเขียนสะกดคำยาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก 3 ครั้ง โดยใช้เกณฑ์ 80/80 เกณฑ์ 80 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งกลุ่มที่ทำแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากได้ถูกต้อง เกณฑ์ 80 ตัวหลังหมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งกลุ่มที่ทำแบบวัดความสามารถในการเขียนสะกดคำยากหลังเรียนได้ถูกต้องและใช้การทดสอบค่าที่ (t – test) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคำยากก่อนและหลังการทำแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากและวัดความคงทนในการเรียนรู้
    ผลการวิจัยพบว่าแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากมีประสิทธิภาพ 92.05/81.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคำยากและความคงทนในการเรียนรู้ระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากมีผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคำยากและความคงทนในการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีสอนตามคู่มือครู

    ตอบลบ
  49. ซื่องานวิจัย การศึกษาผลกระทบของการพัฒนาผู้บริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา
    ผู้วิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.อุทัย บุญประเสริฐ และคณะ
    ปี พ.ศ. 2539
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการพัฒนาผู้บริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา ในด้านประสิทธิภาพการบริหารการศึกษา ด้านคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และระบบย่อยภายในองค์การของสถานศึกษาในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาทีได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้บริหารการศึกษาตามแผนพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง สังกัดกรมอาชีวศึกษา ระหว่างปีงบประมาณ 2529 – 2537 และเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษาในปีการศึกษา 2538 จำนวน 82 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า
    1. โดยภาพรวมแล้วประสิทธิภาพในการบริหารของสถานศึกษา อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก และความมีประสิทธิภาพนั้นเป็นผลมาจากการที่ผู้บริหารผ่านการฝึกอบรมในโครงการพัฒนาผู้บริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในระดับมาก ส่วนที่ส่งผลมากชัดเจนคือการส่งผลในงานด้านการส่งเสริมการศึกษา
    2. คุณภาพของสถานศึกษา เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว ปรากฏว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง และผลกระทบที่เกิดจากการที่ผู้บริหารสถานศึกษาผ่านการฝึกอบรมเมื่อพิจารณาโดยรวมก็อยู่ระดับปานกลางเช่นเดียวกัน แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดเป็นการเฉพาะ พบว่ามีการส่งผลกระทบในระดับมาก ในองค์ประกอบด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ทางการศึกษา
    3. สถานศึกษามีการเปลี่ยนแปลงในระดับมาก ทั้งโดยรวมและในระบบย่อยแต่ละระบบทุกระบบย่อย การผ่านการฝึกอบรมในโครงการนี้มีผลโดยตรงในระดับมากต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบย่อยต่าง ๆ ภายในของสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา

    ตอบลบ
  50. ซื่องานวิจัย รายงานการจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการ
    ผู้วิจัย -
    ปี พ.ศ. 2543
    บทคัดย่อ
    รายงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้
    1) การวิเคราะห์เค้าโครงการวิจัยประจำปีของกระทรวงศึกษาธิการ
    2) การพิจารณาเค้าโครงการวิจัยในการให้ทุนอุดหนุนการวิจัย
    3) การตรวจรายงานผลการวิจัยในการให้ทุนอุดหนุนการวิจัย
    4) การคัดเลือกผลงานวิจัยดีมีคุณภาพของกระทรวงศึกษาธิการ
    ประชากร คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมินงานวิจัยของหน่วยงานและสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยในกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งในการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ด้วยการเลือกแบบเจาะจงได้แก่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง
    เครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล สร้างเครื่องมือขึ้นจากการหลอมรวมความคิดทฤษฎีต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับบทบาทและภาระหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นข้อคำถามปลายเปิด เนื่องจากในการจัดทำหลักเกณฑ์การแระเมินงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยครั้งนี้ มี 4 หลักเกณฑ์ คือ การวิเคราะห์เค้าโครงการวิจัยประจำปี การพิจารณาเค้าโครงการวิจัยที่ขอรับทุน การตรวจรายงานผลการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย และการคัดเลือกผลงานวิจัยดีมีคุณภาพ จึงสร้างเครื่องมือเป็นแบบสำรวจข้อมูลจากเอกสาร 4 แบบ ตรวจสอบเครื่องมือโดยให้นักวิชาการพิจารณาในความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาจากเอกสารที่รวบรวมได้จากหน่วยงานที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยการติดต่อขอเอกสารทางไปรษณีย์ และสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาสรุปตามกรอบความคิด หรือตามแบบสำรวจข้อมูลในแต่ละหลักเกณฑ์ดังกล่าว
    การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และทำการสรุปผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics)
    ขั้นตอนกาจัดทำหลักเกณฑ์การประเมิน ในการจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินครั้งนี้ มีขั้นตอนการดำเนินงานสำคัญในแต่ละหลักเกณฑ์ประกอบด้วย
    1. วางแผนพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการวิจัย ใน 3 ลักษณะ คือเกี่ยวกับการเสนอของงบประมาณโครงการวิจัยประจำปีผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติตามมติคณะรัฐมนตรี (1 ฉบับ) การให้ทุนอุดหนุนการวิจัย (2 ฉบับ) และเกี่ยวกับการคัดเลือกผลงานวิจัยดีมีคุณภาพเพื่อเผยและยกย่องเชิดชูเกียรติ (1 ฉบับ) โดยการกำหนดรูปแบบของหลักเกณฑ์การประเมิน กำหนดสภาพปัจจุบันและปัญหากำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดประชากรกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
    2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณภาพงานวิจัยอย่างหลากหลาย ทั้งเอกสารหลักเกณฑ์การประเมิน ตำราการวิเคราะห์โครงการวิจัย กรตรวจรายงานผลการวิจัยเพื่อนำมาสร้างกรอบความคิดในการดำเนินงานและเกี่ยวกับการคัดเลือกผลงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่
    3. สร้างกรอบความคิดที่ใช้ในการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินแต่ละฉบับ เพื่อกำหนดกรอบให้ครอบคลุมเนื้อหาที่จะทำการประเมิน และสอดคล้องกับบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการ
    4. จัดทำร่างหลักเกณฑ์การประเมิน 4ฉบับ ทั้งการวิเคราะห์เค้าโครงการวิจัยประจำปี การตรวจสอบโครงการวิจัยที่ขอรับทุน การตรวจรายงานผลการวิจัยที่ได้รับทุน และการคัดเลือกผลงานวิจัยดีมีคุณภาพ

    ตอบลบ
  51. 5. ตรวจสอบความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยขอความอนุเคราะห์จากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ นำไปทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    6. ปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์ทั้ง 4 ฉบับ โดยนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานเพื่อพิจารณาทุนอุดหนุนการวิจัยด้วยการตรวจสอบฉบับละ 3 ครั้ง แล้วนำเสนอคระกรรมการวิจัยการศึกษา การศาสนา และการวัฒนาธรรมของกระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ
    7. จัดพิมพ์เผยแพร่ไปยังหน่วยงานทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 665 หน่วยงานทั่วประเทศได้ใช้ประโยชน์
    ผลการศึกษาได้เสนอสระสำคัญของประเด็นที่จะทำการปะเมินในแต่ละหลักเกณฑ์ดังนี้
    ก. หลักเกณฑ์การวิเคราะห์เค้าโครงการวิจัยประจำปีของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นการสร้างเกณฑ์การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในเบื้องต้นของเค้าโครงการวิจัยที่จะของบประมาณประจำปี ผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยใช้เกณฑ์การจัดอันดับ (Rating Scale) มาประกอบการวิเคราะห์ มีสาระสำคัญดังนี้
    1. คุณค่าเค้าโครงการวิจัยในเชิงนโยบาย พิจารณาจากความสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาทางการศึกษาของรัฐบาล สภาพปัญหาและการพัฒนาตามสถานการณ์ทางการศึกษา ตลอดจนความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา และพิจารณาจากความซ้ำซ้อนหรือความคล้ายกันของโครงการวิจัยที่ดำเนินการมาแล้ว
    2. คุณค่าของเค้าโครงการวิจัยด้านระเบียบวิธีวิจัย พิจารณาจากความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับปัญหาที่ทำการวิจัย ความเหมาะสมของหลักการและเหตุผล และความเหมาะสมของขั้นตอนของการดำเนินงานวิจัย
    3. ประโยชน์ที่จะได้จากการวิจัย พิจารณาจากการนำไปกำหนดนโยบายหรือนำไปวางแผนทางการศึกษา การนำไปใช้ในทางปฏิบัติจริง และคุณค่าทางวิชาการเกี่ยวกับการหาข้อสรุปใหม่ทางการศึกษา
    ข. หลักเกณฑ์การพิจารณาเค้าโครงการวิจัยที่ขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยของกรทรวงศึกษาธิการ โดยใช้เกณฑ์การจัดอันดับ (Rating Scale) มาประกอบการพิจารณา มีสาระสำคัญดังนี้
    1. ชื่อโครงการมีความกะทัดรัดครอบคลุมใช้ภาษาได้ถูกต้องตามสาขาวิชา ความสำคัญและที่มาของปัญหา สามารถชี้ประเด็นได้ชัดเจนวิเคราะห์ได้สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎี มีการศึกษาเอกสารแนวคิดทฤษฎีได้กะทัดรัด และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน สอดคล้องกับปัญหาและตอบคำถามได้
    2. เลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัยได้เหมาะสมกับการแก้ปัญหา กำหนดแบบแผนได้สอดคล้องกับการแก้ปัญหา ขั้นตอนการวิจัยชัดเจน เครื่องมือถูกต้อง และสถิติที่ใช้เหมาะสมกับแบบแผนการวิจัย
    3. ผลที่ได้รับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติได้ สอดคล้องกับการแก้ปัญหาและเกิดคุณค่าทางวิชาการ
    4. การอ้างอิงเขียนได้ถูกต้องตามหลักสากลที่ยอมรับได้และครบถ้วน
    5. แผนการดำเนินงานและงบประมาณเหมาะสมกับการดำเนินงานและความพร้อมของผู้วิจัยเอื้อต่อการทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จได้
    ค. หลักเกณฑ์การตรวจรายงานการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยใช้เกณฑ์การผ่านหรือไม่ผ่าน ในแต่ละตอน ซึ่งมี 4 ตอน ใช้ความเชี่ยวชาญของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นสำคัญ มีสาระสำคัญดังนี้
    1. ความสำคัญและขอบเขตของเรื่องที่วิจัยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญได้ชัดเจนสมเหตุสมผล การอ้างอิงและกำหนดกรอบความคิดในการวิจัยได้เหมาะสมกับเรื่องที่วิจัย
    2. วิธีดำเนินการวิจัยและแบบแผนการวิจัยกำหนดได้สอดคล้องกับการแก้ปัญหาการวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้สถิติได้เหมาะสมที่จะตอบคำถามได้ และแปลผลได้ถูกต้อง ตลอดจนสรุปอภิปรายผลได้น่าสนใจและเชื่อถือได้
    3. การอ้างอิงดำเนินการได้ถูกต้องตามหลักสากลที่ยอมรับได้ การใช้ภาษาโดยทั่วไปได้เหมาะสมกะทัดรัด ความต่อเนื่องของการเขียนรายงานได้เชื่อมโยงทุกตอน
    ง. หลักเกณฑ์การคัดเลือกผลงานวิจัยดีมีคุณภาพ ใช้ระดับคุณภาพ 4 ระดับ มีสาระสำคัญดังนี้
    1. ชื่อรายงานวิจัยมีความชัดเจน กะทัดรัดเข้าใจง่าย ครอบคลุมเนื้อหา วัตถุประสงค์จำเพาะเจาะจง สามารถตอบคำถามได้ ความสำคัญและที่มาของปัญหามีความชัดเจนกล่าวถึงกันมาก จำเป็นต้องทำการวิจัยหาแนวทางแก้ไข
    2. มีการศึกษาแนวคิดทฤษฎีได้ครอบคลุมกับปัญหาของการวิจัย เสนอกรอบความคิดได้ชัดเจน ออกแบบการวิจัยได้เหมาะสมกับการแก้ปัญหา มีวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เชื่อถือได้เครื่องมือเหมาะสม เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้อง
    3. เสนอผลการวิจัยได้ครอบคลุม สรุปได้สมเหตุสมผลกับทฤษฎี ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ผลที่เกิดขึ้นนำไปแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ในหน่วยงานได้ ตลอดจนเกิดคุณค่า

    ตอบลบ
  52. ซื่องานวิจัย รูปแบบการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดสงขลา
    ผู้วิจัย นางสาวจรรย์จรูญ ยอดศรี
    ปี พ.ศ. 2544
    บทคัดย่อ
    งานวิจัย เป็นการวิจัยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ หารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ตามสุขบัญญัติแห่งชาติในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดสงขลา เพื่อนำผลจากการศึกษา มาพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติ แห่งชาติ ให้เกิดประสิทธิผลต่อนักเรียน และเพื่อให้นักเรียนสามารถเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ โดยจัดทำเป็นหนังสือส่งเสริม การอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 2 ได้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการทดสอบ สังเกตและสัมภาษณ์ แล้วนำเสนอการวิจัยด้วยวิธีพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
    1. ได้สรุปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดสงขลา ดังนี้
    2. ผลการนำรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไปพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดสงขลาสอยู่ในระดับดี และส่งผลต่อพฤติกรรมของนักเรียนในระดับดีมาก
    3. ผลจากการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมพฤติกรรมตามสุขบัญญัติแห่งชาติโดยการจัดทำหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 – 2 นั้น นักเรียนนำเสนอเนื้อหาค่อนข้างมีสาระน้อย การใช้ภาษาไม่ชัดเจน ความคิดไม่ต่อเนื่อง และที่สำคัญคือ เขียนหนังสือผิด

    ตอบลบ
  53. ซื่องานวิจัย รูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ในเขตการศึกษา 2
    ผู้วิจัย นายพิษณุ ก่อเกียรติยากุล
    ปี พ.ศ. 2543
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชุนในเขตการศึกษา 2 ตามกรอบความคิดเห็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนการสอน และด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้นำกลุ่มบุคคลในชุมชนในเขตการศึกษา 2 จำนวน 2 กลุ่ม คือ ผู้นำกลุ่มบุคคลในองค์กรทางการศึกษา ประกอบด้วยศึกษาธิการอำเภอ หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอหัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ผู้อำนวยการกองการศึกษาเทศบาลและผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้นำกลุ่มบุคคลในองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาประกอบด้วยพัฒนาการอำเภอเกษตรอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 339 คน ซึ่งได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางการเปรียบเทียบของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and MorgaN) และทำการสุ่มอย่างง่ายให้ครอบคลุมทุกจังหวัดของเขตการศึกษา 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบเลือกตอบ 2 ตัวเลือกจำนวน 48 ข้อ ซึ่งผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้นตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 1.00 และมีคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดลองสมสุติฐานโดยใช้ ค่าไค – สแควร์ ค่าเอฟ (f – test) และค่าที (t – test) ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผู้นำกลุ่มบุคคลในองค์กรทางการศึกษาและผู้นำกลุ่มบุคคลในองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในเขตการศึกษา 2 ส่วนใหญ่เห็นด้วย กับรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในเขตการศึกษา 2 ซึ่งได้สังเคราะห์ขึ้นตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน กล่าวคือ ด้านการบริหารและการจัดการ เห็นด้วยกับการที่จะให้กระทรวงการศึกษามีอำนาจน้อยลง แต่จะมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาให้กับสถานศึกษาในสังกัดรวมทั้งสังกัดกระทรวงมหาดไทยด้วย นอกจากนั้นมีหน้าที่สนับสนุนทรัพยากรรวมทั้งการตรวจสอบติดตามประเมินผล สำหรับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการการศึกษาเขตพื้นที่ และคณะกรรมการสถานศึกษามีหน้าที่วางแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชนและประชาชน ในการระดมสรรพกำลังมาใช้ในการจัดการศึกษาตลอดจนกำหนดระบบข้อมูล

    ตอบลบ
  54. สารสนเทศระบบตรวจสอบนิเทศและระบบประเมินตนเองภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ด้านหลักสูตร เห็นด้วยกับการให้สถานศึกษามีหน้าที่ต้องจัดทำสาระของหลักสูตรให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางโดยให้ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วม พัฒนาหลักสูตรและจัดทำแผนการเรียนที่หลากหลาย สอดคล้องกับสภาพความพร้อม และความต้องการของผู้เรียนและชุมชน บริหารการใช้หลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ ดำเนินการตามระบบเทียบโอนผลการเรียน สถานศึกษาสามารถจัดทำสาระการเรียนรู้พื้นฐาน 8 กลุ่ม ประกอบด้วยความรู้ ทักษะ และคุณธรรม ครูมีอิสระในการเลือกแบบเรียนและสร้างประมวลการสอน สถานศึกษามีอิสระในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นให้เหมาะกับสภาพชุมชนและมุ่งพัฒนาผู้เรียนในลักษณะองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ด้านกระยวนการเรียนการสอน เห็นด้วยที่จะให้จัดกระบวนการเรียนการสอนทียึดผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดทำสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและความต้องการของผู้เรียนและชุมชน จัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม และองค์ประกอบอื่นให้เหมาะกับการเรียนรู้รวมทั้งให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน มีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำผลมาใช้พัฒนาการเรียนการสอนมีการปะเมินผลสัมฤทธิ์โดยใช้สื่อที่หลากหลายมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน ให้สัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน การให้ปราชญ์ท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนและจัดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาที่น่าเชื่อถือ ด้านวิชาชีพครูแลบุคลากรทางการศึกษา เห็นด้วยกับการให้มีการพัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนให้เป็นทีมงานที่มีคุณภาพในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาการศึกษา พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อนำไปสู่การเป็นมืออาชีพ มีความรู้ความเข้าใจการจัดทำหลักสูตร และการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งภายใน และภายนอก มีการรายงานผลงานสู่ สาธารณชน และรับฟังเสียงสะท้อนกลับ เปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน ดำเนินการให้คุณและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการสูงขึ้น มีใบรับรองการประกอบวิชาชีพ ให้คุรุสภามีหน้าที่ดูแลมาตรฐานครูและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาหลักสูตรการผลิตครู ส่งเสริมผู้มีความรู้คู่คุณธรรมเข้ามาเรียนวิชาชีพครู และเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ที่ตั้งสถานศึกษาเข้ามาเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มากที่สุด
    2. ผู้นำกลุ่มบุคคลในองค์กรทางการศึกษาและผู้นำกลุ่มบุคคลในองค์กรชุชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ในเขตการศึกษา 2 ที่มีเพศต่างกัน อายุต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน ตำแหน่งหน้าที่การงานต่างกัน และปฏิบัติงานในจังหวัดต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมและรายด้านทั้ง 6 ด้าน คือด้านการบริหารและการจัดการ ด้านหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนการสอน และด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่แตกต่างกัน
    3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในเขตการศึกษา 2 ผู้นำกลุ่มบุคคลในชุมชนได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ ด้านการบริหารและการจัดการ ควรให้มีการกระจายอำนาจบริหารและจัดการศึกษาไปสู่ท้องถิ่นและสถานศึกษาอย่างแท้จริง ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วม ควรสรรหาและพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพด้านหลักสูตร ควรพัฒนาหลักสูตรให้ชุมชนมีส่วนร่วม ควรสรรหาและพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพก้านหลักสูตร ควรพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและทันสมัยอยู่เสมอรวมทั้งพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาให้มีความรู้ในการจัดทำและพัฒนาหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนการสอน ควรจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างแท้จริง และพัฒนาครูให้เข้าใจวิธีสอนแบบนี้ด้วยนอกจากนั้นเน้นให้ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนรู้ และด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางศึกษาควรพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อนำไป สู่การเป็นมืออาชีพ การให้มีใบประกอบวิชาชีพครู การให้ค่าตอบแทน และสวัสดิการที่สูงขึ้น การยกย่องเชิดชูเกียรติ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

    ตอบลบ
  55. ซื่องานวิจัย ความต้องการแรงงานระดับอาชีวศึกษาของสถานประกอบการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
    ผู้วิจัย นางวัชราภรณ์ นิยม
    ปี พ.ศ. 2542
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการแรงงานระดับอาชีวศึกษาของสถานประกอบการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการแรงงานระหว่างระดับการศึกษาในแต่ละประเภทของสถานประกอบการ 3) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการแรงงานระหว่างประเภทวิชาในแต่ละประเภทของสถานประกอบการ 4) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความรู้ทางวิชาการ และทักษะ ทางวิชาชีพของสถานประกอบการ
    กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานประกอบการประเภทอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และบริการ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัดในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส จำนวน 193 แห่ง ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย
    เครื่องมือใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มี 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลเบื้องต้นของสถานประกอบการและผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบเติมจำนวนเกี่ยวกับความต้องการจ้างงานระดับอาชีวศึกษาของสถานประกอบการ ประเภทอุตสาหกรรมพาณิชยกรรม และบริการ ตอนที่ 3 เป็นคำถมปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะความรู้ทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ เพื่อหาค่าร้อยละและทดสอบค่าไคว์สแคว (X² Test)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ระดับการศึกษาที่สถานประกอบการมีความต้องการมากที่สุด คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชา คือ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ส่วนประเภทของสถานประกอบการและปี พ.ศ. ที่มีความต้องการแรงงานมากที่สุด คือ สถานประกอบการประเภทพาณิชยกรรม และปี พ.ศ. 2545
    2. สถานประกอบการทั้ง 3 ประเภท มีความต้องการแรงงานระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ไม่แตกต่างกัน
    3.สถานประกอบการทั้ง 3 ประเภท มีความต้องการแรงงานระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมไม่แตกต่างกันมีความต้องการแรงงานประเภทพาณิชยกรรมและคหกรรมแตกต่างกัน มีความต้องการแรงงานระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ศิลปกรรม และคหกรรม ไม่แตกต่างกัน มีความต้องการแรงงานประเภทวิชาพาณิชยกรรมแตกต่างกัน มีความต้องการแรงงานระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมไม่แตกต่างกัน
    4.ข้อเสนอแนะของสถานประกอบการเกี่ยวกับความรู้ทางวิชาการ คือ ควรให้มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เน้นการเรียนภาษาต่างประเทศ เน้นเกี่ยวกับความรู้ความสามารถเฉพาะสาขาวิชาให้มากกว่านี้ส่วนทักษะทางวิชาชีพควรเน้นภาคปฏิบัติให้มากขึ้น ให้ฝึกงานในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เรียน เน้นคุณธรรมจริยธรรม ส่วนข้อเสนอแนะอื่น ๆ การสอนวิชาช่างควรเน้นปฏิบัติมากกว่าทฤษฎีควรฝึกให้นักศึกษามีความรับผิดชอบและกว้าแสดงออก

    ตอบลบ
  56. ซื่องานวิจัย รูปแบบการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
    ผู้วิจัย นายสนั่น พาหอม
    ปี พ.ศ. 2548
    บทคัดย่อ
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) กลุ่มเป้าหมายผู้ร่วมปฏิบัติการได้แก่ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม โต๊ะครูและผู้เกี่ยวข้องอื่นในพื้นที่ รวม 308 คน กลุ่มตัวอย่างในการประเมินผลการพัฒนาของสถาบันศึกษาปอเนาะได้แก่โต๊ะครูที่ร่วมปฏิบัติการ ส่วนกลุ่มตัวอย่างในการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบได้แก่ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของสถาบันศึกษาปอเนาะ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม และโต๊ะครู จำนวน 100 คน ใช้แบบสนทนากลุ่มกำหนดปัญหาและความต้องการ แบบสนทนากลุ่มกำหนดแนวทางการพัฒนา แบบประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันศึกษาปอเนาะและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยการหาความตรงในเนื้อหาด้วยการหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เป็นเครื่องมือการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การจัดส่งแบบและรวบรวมแบบคืนทางไปรษณีย์และการจัดส่งแบบและรวบรวมคืนด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความแตกต่างระหว่างฐานนิยมและมัธยฐาน (Mo-Md) และค่าพิสัยควอไทล์ (Q.D.) เป็นสถิติในการวิเคราะห์
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. สถาบันศึกษาปอเนาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาเกี่ยวกับ ความไม่ชัดเจนและต่อเนื่องในนโยบายสนับสนุนของรัฐ อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม บุคลากรขาดโอกาสในการพัฒนาตนเอง หลักสูตรไม่เอื้อต่อการถ่ายโอนผลการเรียน การวัดและประเมินผลรวมทั้งการบริหารจัดการยังขาดประสิทธิภาพ ต้องการการสนับสนุนจากรัฐอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาหลักสูตรกลางเป็นตัวแบบ และต้องการสนับสนุนช่วยเหลือกันในการพัฒนา
    2. สถาบันศึกษาปอเนาะจำเป็นต้องพัฒนา ทั้งด้านวิชาการ อาคารสถานที่ การบริหารการเงินและธุรการ การพัฒนาบุคลากรและการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยการพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง การร่วมมือช่วยเหลือกัน การพัฒนาตามสภาพจริง การระดมสรรพกำลังจากทุกฝ่าย และการกำหนดกรอบกิจกรรมสำหรับการพัฒนา ในแต่ละระดับ
    3. สถาบันศึกษาปอเนาะที่ร่วมปฏิบัติการ ได้นำแนวทางการพัฒนาที่กำหนดร่วมกัน ไปใช้เป็นแนวทางใน การพัฒนา และได้ดำเนินการพัฒนาตามแนวทางที่กำหนดในระดับมากที่สุด
    4. รูปแบบการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะที่พัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบความคิดเชิงยุทธศาสตร์ กำหนดให้สถาบันเป็นสถาบันสอนศาสนาและการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมและสร้างชุมชนเข้มแข็ง ดำเนินการพัฒนาใน 5 พันธกิจ ได้แก่ การพัฒนาอาคารสถานที่ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการพัฒนาชุมชน โดยมีเป้าประสงค์ที่จะให้สถาบันศึกษาปอเนาะ เป็นสถาบันน่าอยู่ ครูมีคุณภาพ ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และเป็นสถาบันของชุมชน ใช้ 3 กลยุทธ์หลัก ในการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาแบบพึ่งตนเอง การสร้างเครือข่ายการพัฒนาและการสร้างคุณภาพถ้วนหน้า พร้อมทั้งกำหนดกรอบกิจกรรมการพัฒนาไว้ชัดเจนในแต่ละระดับ ให้ส่งผลต่อความร่วมมือและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
    5. ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะ ทั้งผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม และ โต๊ะครู มีความเห็นสอดคล้องกันเป็นฉันทามิติว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ มีความเหมาะสมและความเป็นได้ในระดับมาก

    ตอบลบ
  57. ซื่องานวิจัย ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาส
    ผู้ศึกษา นางขนิษฐา มณีนวล
    ปี พ.ศ. 2548

    บทคัดย่อ
    การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาส มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาส ในด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ปัจจัยการผลิต กระบวนการ และผลผลิต 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ 3) เพื่อติดตามผลการดำเนินงานทุนการศึกษาสำหรับเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาส ในด้านความจำเป็นหรือความเหมาะสมของการได้รับทุนการศึกษา ด้านการใช้จ่ายเงินทุนการศึกษา ด้านพฤติกรรมของผู้ปกครองและผู้รับทุนการศึกษา และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้รับทุนการศึกษา 4) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาส
    การรวบรวมข้อมูลใช้การสอบถาม สัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มกับผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้แทน และผู้รับผิดชอบงาน/โครงการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้รับทุนการศึกษา และผู้ปกครองของผู้รับทุนการศึกษาจาก 6 เขตพื้นที่การศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 18 ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลการดำเนินงาน พบว่า
    การบริหารจัดการทุนการศึกษาสำหรับเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาสในปีงบประมาณ 2547 มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านผลผลิต ข้อค้นพบในส่วนนี้แสดงให้เห็นว่าโครงการมีประโยชน์ต่อนักเรียนนักศึกษามาก หลักการและเหตุผลของโครงการให้ทุนมีความเหมาะสม นักเรียนนักศึกษา และผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ และนักเรียนนำทุนที่ได้รับจากโครงการไปใช้ได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ และที่สำคัญ คือ โครงการนี้มีคุณค่าต่อนักเรียน/นักศึกษามากที่สุด สำหรับรายด้านที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับน้อย และควรได้รับการปรับปรุง ได้แก่ ส่วนที่เกี่ยวกับปัจจัยการดำเนินงานที่สำคัญได้แก่ การประชุมหารือระหว่างที่เกี่ยวข้องกับโครงการ การติดตามนักเรียน/นักศึกษาที่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการ การประชุมชี้แจงหรือพูดคุยกับผู้รับผิดชอบโครงการ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยปฏิบัติทราบมีการปฏิบัติน้อย จำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบในระดับเขตพื้นที่การศึกษาที่มีไม่เพียงพอ ระบบการตรวจค้นข้อมูลยังไม่เป็นปัจจุบัน ไม่สะดวก รวดเร็ว สำหรับด้านกระบวนการดำเนินงานนั้น สิ่งที่มีการปฏิบัติน้อย ได้แก่
    การประชุมปรึกษาหารือ และการประสานงานระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากับผู้บริหารโครงการในส่วนกลาง ตลอดจนการติดตามนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ และจากการติดตามและประเมินผลเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการ ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้รับทุนการศึกษาในประถมศึกษา ร้อยละ 41.38 ระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 23.17 และระดับอุดมศึกษา ร้อยละ 35.45 แสดงให้เห็นว่าผู้รับผิดชอบการบริหารทุนเห็นความสำคัญของการให้ทุนสนับสนุนการศึกษาทุกระดับใกล้เคียงกัน การได้รับทุนเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองได้มาก จึงส่งผลให้มีความพึงพอใจกับโครงการนี้มากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องจำนวนเงินทุนการศึกษาที่ได้รับ ครูที่ปรึกษา/เจ้าหน้าที่เต็มใจในการให้บริการ และการให้เวลาในการบริการทุนการศึกษาของครูและเจ้าหน้าที่ เป็นต้น

    ตอบลบ
  58. สำหรับผลการดำเนินงานทุนการศึกษาที่สำคัญจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม ทำให้ทราบว่า
    1. ความจำเป็นและความเหมาะสม การจัดสรรทุนสอดคล้องกับความจำเป็นและความเหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ปกครองเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือ เป็นการให้ทุนต่อนักเรียนที่ยากจนและด้อยโอกาส ทำให้มีโอกาสได้รับการศึกษาเท่าเทียมกับผู้อื่น และช่วยให้เศรษฐกิจในชุมชนดีขึ้น
    2. การใช้จ่ายเงินทุนการศึกษา การใช้จ่ายเงินทุนการศึกษาของผู้รับทุนการศึกษาส่วนใหญ่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการให้ทุน เพราะอยู่ภายใต้การควบคุม ดูแล ให้คำปรึกษาของครูที่ปรึกษา และผู้ปกครอง ให้นำเงินทุนไปใช้จ่ายในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เช่น ซื้ออุปกรณ์การเรียน หนังสือเรียน ค่าพาหนะ และค่าอาหารกลางวัน โดยส่วนน้อยได้นำเงินทุนไปใช้จ่ายช่วยเหลือครอบครัวบ้าง เช่น เครื่องอุปโภคบริโภค และนำไปลงทุนเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว
    3. พฤติกรรมของผู้ปกครองและผู้รับทุนการศึกษา ผลการได้รับทุนการศึกษาไม่เป็นเหตุทำให้ผู้ปกครอง หรือนักเรียนพึ่งตนเองน้อยลง เพราะเป็นเพียงการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของเด็กในความปกครองได้เพียงส่วนหนึ่ง ลดความวิตกกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาทั้งผู้รับทุนและผู้ปกครอง และช่วยให้มีกำลังใจในการประกอบอาชีพมากขึ้น เพราะมีความรู้สึกว่าได้รับการเอาใจใส่ดูแลและห่วงใยจากรัฐบาล สำหรับนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษายังคงมีวิถีชีวิตตามปกติ แต่ได้รับการดูแล เอาใจใส่จากครอบครัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีขวัญกำลังใจในการเรียนดีขึ้น
    4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้รับทุนการศึกษา การได้รับทุนการศึกษาทำให้ผู้รับทุนไม่ต้องกังวลใจในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเรียน มีกำลังใจ มีสมาธิในการเรียน มีความรับผิดชอบมากขึ้น ส่งผลให้ส่วนใหญ่มีผลการเรียนดีขึ้นกว่าเดิม แต่มีนักเรียนส่วนน้อยที่มีผลการเรียนเท่าเดิม หรือไม่ดีขึ้น เพราะเกี่ยวข้องกับระดับสติปัญญา สภาพแวดล้อมทางครอบครัว เป็นต้น

    ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
    1. ควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริหารทุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการมีคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับปฏิบัติได้ชัดเจน
    2. ควรจัดให้มีโครงการติดตามผลผู้รับทุนการศึกษา เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียน การใช้จ่ายทุน และตรวจสอบความเหมาะสมและความจำเป็นของผู้รับทุนการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนคนอื่น ๆ เป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาการดำเนินงานให้ทุนการศึกษามีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
    3. ควรปรับปรุงกระบวนการบริหารของหน่วยงานที่ให้ทุน โดยเฉพาะการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับการให้ทุน พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจการดำเนินงานให้บริการทุนการศึกษา เพื่อให้การบริการผู้รับทุนเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง
    4. ควรปรับปรุงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ทุนให้ชัดเจน ดำเนินงานด้วยความรวดเร็ว
    5. ควรมีหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่สามารถพิจารณาผู้รับทุนการศึกษาอย่างเหมาะสม ยุติธรรม และโปร่งใส
    6. ควรพิจารณาผู้รับทุนได้รับทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือตามความสามารถของผู้รับทุนการศึกษา
    7. ควรกระจายทุนการศึกษาให้สถานศึกษาทุกแห่งอย่างทั่วถึง โดยพิจารณาจากจำนวนนักเรียน และสภาพความต้องการของนักเรียน/นักศึกษา

    ตอบลบ
  59. ชื่องานวิจัย กระบวนทัศน์ในการปฏิรูปการเรียนรู้ของครูต้นแบบ ปี พ.ศ.2542
    ผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิทยาภรณ์ มานะจุติ
    ปี พ.ศ. 2543
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนทัศน์ในการปฏิรูปการเรียนรู้ ปัจจัยเกื้อหนุน
    ความสำเร็จและกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูต้นแบบ ปี พ.ศ. 2542 ประชากร
    ในการวิจัย ได้แก่ ครูต้นแบบ ปี พ.ศ. 2542 ในเขต 1 ภาคเหนือตอนบน จำนวน 14 คนซึ่งปฏิบัติงาน
    อยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำพูนและลำปาง เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม, แบบสัมภาษณ์, แบบสังเกตและแบบบันทึกการเก็บข้อมูล ข้อมูลที่ได้รับนำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดย
    ใช้โปรแกรม SPSS
    ผลการวิจัยพบว่า กระบวนทัศน์ในการปฏิรูปการเรียนรู้ของครูต้นแบบ ด้านตัวผู้เรียนคือครูต้นแบบ เห็นด้วยในระดับมากที่สุดว่า ผู้เรียนต้องมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ต้องมีการใช้กระบวนการคิดมีส่วนในการประเมินผล มีโอกาสเรียนรู้จากการทำงานกลุ่ม เป็นตัวของตัวเอง มีความสามารถในการคิด แก้ปัญหาการเรียนรู้ได้และพึ่งตนเอง สำหรับกระบวนทัศน์ด้านคุณลักษณะของครูแนวใหม่ครูต้นแบบเห็นด้วยในระดับมากที่สุดว่าครูต้องมีทักษะในการใช้ปัญญา
    มีทักษะทางสังคม สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญได้ มีทักษะการใช้ภาษาไทยและค้นคว้า โดยระบบสารสนเทศได้ ภายหลังการได้รับรางวัลแล้ว ครูต้นแบบมีการขยายเครือข่ายการเรียนรู้ผ่านการเป็นวิทยากร การพัฒนาครูแกนนำ และทำการสาธิตการสอน
    ด้านปัจจัยเกื้อหนุน ความสำเร็จของครูต้นแบบ พบว่าครูต้นแบบมีความเชื่อในระดับมากที่สุดว่า ความสำเร็จในการทำงานมาจากตนเอง รองลงมาคือมาจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและองค์กร
    ด้านกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่าครูต้นแบบส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.43
    เชื่อในทฤษฏีการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ร้อยละ 92.86 กระตุนให้ผู้เรียนค้นหาวิธีเรียนให้คำปรึกษาซักถามผู้เรียนและสร้างบรรยากาศจูงใจแก่ผู้เรียน

    ตอบลบ
  60. ชื่องานวิจัย กระบวนทัศน์ในการปฏิรูปการเรียนรู้ของครูต้นแบบ ปี พ.ศ.2542
    ผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิทยาภรณ์ มานะจุติ
    ปี พ.ศ. 2543
    บทคัดย่อ
    จังหวัดระนอง เป็นจังหวัดชายแดนที่มีการติดต่อทั้งด้านการค้าขาย การใช้แรงงานทำให้ภาษาพม่ามีความจำเป็นต่อวิถีชีวิตของประชาชนในจังหวัดระนอง การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการใช้ภาษาพม่าของประชาชนในจังหวัดระนอง ด้านบุคคล ครอบครัวและด้านสังคม เพื่อเปรียบเทียบความต้องการการใช้ภาษาพม่า ตามความเห็นของประชาชนที่มีเพส อายุ วุฒิการศึกษา และอาชีพต่างกัน และเพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป
    ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ประชาชนทั่วไป ข้าราชการ พ่อค้า นักธุรกิจ และนักศึกษา ได้มาโดยวิธีสุมแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Ramdom Sampling) จำนวน 900 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) จำนวน 19 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.9840 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (T-test) การทดสอบเอฟ (F-test)
    การวิเคราะห์ความแปรปรวน (one way ANIOVA) และการทดสอบค่าเฉลี่ยคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe’)

    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ความต้องการใช้ภาษาพม่าของประชาชนในด้านบุคคล ด้านครอบครัวและด้านสังคม ความเห็นของประชาชนในจังหวัดระนองแต่ละด้านพบว่า ด้านสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับน้อยและโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย
    2 . ประชาชนที่มีเพศต่างกันเห็นว่าความต้องการใช้ภาษาพม่าของประชาชนโดยภาพนวมแตกต่างกันซึ่งบุคคลและครอบครัวแตกต่างกัน ส่วนระดับความต้องการด้านสังคมไม่แตกต่างกัน
    3. ประชาชนที่มีอายุต่างกันเห็นว่า ความต้องการการใช้ภาษาพม่าของประชาชนโดยภาพรวมแตกต่างกัน ซึ่งด้านบุคคล ครอบครัว และสังคมแตกต่างกัน
    4. ประชาชนที่มีวุฒิทางการศึกษาต่างกันเห็นว่า ความต้องการการใช้ภาษาพม่าของประชาชนโดยภาพรวมแตกต่างกัน ซึ่งด้านบุคคล ครอบครัว และด้านสังคมแตกต่างกัน
    5. ประชาชนที่มีอาชีพต่างกันเห็นว่าความต้องการการใช้ภาษาพม่าของประชาชน
    โดยภาพรวมแตกต่างกัน ซึ่งด้านบุคคล ครอบครัว และด้านสังคมแตกต่างกัน
    ข้อเสนอแนะ
    คณะผู้วิจัยเห็นว่า การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาต้องการการใช้ภาษาพม่าของประชาชนในจังหวัดระนอง เฉพาะด้านบุคคล ครอบครัวและด้านสังคม อาจจะไม่ครอบคลุมด้านอื่น ๆ ที่ยังมีความสำคัญต่อการใช้ภาษาพม่า อย่างไรก็ตาม ควรให้ประชาชนในจังหวัดระนอง ได้มีโอกาสทั้งการอ่าน เขียน และการสื่อสารับคนพม่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานนอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ทั้งยังเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติได้อีกด้วย
    สำหรับแนวทางในการขยายผล ควรสนับสนุนให้มีการศึกษาความต้องการการใช้ภาษาพม่าในจังหวัดอื่น เพื่อเปรียบเทียบความต้องการของประชาชนในจังหวัดระนอง ทั้งอาจจะทำการศึกษาในโอกาสต่อไป เพื่อนำผลไปเปรียบเทียบแนวโน้มของความต้องการการใช้ภาษาพม่าของประชาชนในจังหวัดระนอง

    ตอบลบ
  61. ชื่องานวิจัย สภาพความพร้อมของหน่วยงานทางการศึกษาต่อการปฏิรูปการศึกษา
    ของกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 4
    ผู้วิจัย โกเมศ กลั่นสมจิตต์
    ปี พ.ศ. 2544
    บทคัดย่อ
    การวิจัยเรื่อง สภาพความพร้อมของหน่วยงานทางการศึกษาต่อการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 4 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพความพร้อมของหน่วยงานทางการศึกษาต่อการปฏิรูปการศึกษา และประมวลผลรวบรวมปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ต่อการปฏิรูปการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษา ในเขตการศึกษา 4
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ครู-อาจารย์ ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และเจ้าอาวาส/นักบวช/ผู้นำ
    ทางศาสนา ที่อยู่พื้นที่ในเขตการศึกษา 4 จำนวน 515 คน ซึ่งได้มาโดยการสุมตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบเลือกตอบ (Checklist) จำนวน 6 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage)
    ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
    1. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ด้านการปฏิรูประบบบริหารและการจัดการ ด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน ด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน ด้านพัฒนาอาชีพครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ด้านการกระจายอำนาจ ด้านแผนยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และด้านแบบการเรียนของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 4 โดยภาพรวม มีความรู้ความเข้าใจ อยู่ในระดับมาก
    2. การยอมรับในสาระสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา ด้านการปฏิรูประบบบริหารและการจัดการ ด้านการปฏิรูปหลักสูตร ด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนด้านการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการใช้แผนยุทธ์ศาสตร์ ด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านการประกันภาพการศึกษา ด้านแบบของการเรียน
    ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 4 โดยภาพรวม มีการยอมรับในสาระสำคัญต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก

    3.ความสามารถในการปฏิบัติ ด้านการปฏิรูประบบบริหารและการจัดการ ปฏิรูปหลักสูตรด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการใช้แผนยุทธศาสตร์ ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านแบบของการเรียน ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 4 โดยภาพรวม มีความสามารถในการปฏิบัติ
    4.ปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับความพร้อมในการปฏิรูปการศึกษาของผู้บริหาร รอง หรือ ผู้ช่วยผู้บริหารต่อการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 4 มีค่าร้อยละมากที่สุด คือ ใช้แผนเป็นเครื่องมือในการบริหารงาน พร้อมทั้งควบคุมดูแลให้การดำเนินงานบรรลุตามแผน (ร้อยละ 100.0)ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวกับความพร้อมในการปฏิรูปการศึกษาของผู้บริหารรอง และผู้ช่วยผู้บริหาร มีค่าร้อยละน้อยที่สุด คือ นอกจากมีห้องเรียนเพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐานแล้ว ยังจัดห้องบริการและห้องพิเศษในอาคารเรียนได้ร้อยละ 50 ของเกณฑ์มาตรฐานสัดส่วนครู : นักเรียนเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ ก.ค. กำหนด จำนวนคาบการสอนแต่ละสัปดาห์ของครูเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน และมีการรวบรวม วิเคราะห์ และจัดระบบข้อมูลของชุมชน (ร้อยละ 63.64) และเมื่อพิจารณาโดยภาพรวม พบว่า ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความพร้อมในการปฏิรูปการศึกษาของผู้บริหาร/รอง หรือผู้ช่วยผู้บริหาร มีค่าร้อยละ 82.25
    5.ข้อสรุปเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ต่อการปฏิรูปการศึกษาของกหน่วยงานทางการศึกษา ในเขตการศึกษา 4
    หน่วยงานทางการศึกษา ในเขตการศึกษา 4 มีสภาพความพร้อมต่อการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในทุกด้าน แต่ทั้งนี้ ก็ยังมีปัญหาอีกมากมายที่จะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เช่น การยึดติดกับสิ่งที่เคยปฏิบัติ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีไม่เพียงพอ ประชาชนในชุมชนมีภารกิจส่วนตัวมาก และการความขัดแย้งทางความคิด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปการศึกษาจะบรรลุผลสำเร็จได้ นอกจากทุกฝ่ายจะต้องส่วนรวมอย่างจริงจังแล้ว จำเป็นต้องอาศัยการเผยแพร่ข่าวสารและประชาสัมพันธ์ การกำหนดรูปแบบ วิธีการ และขันตอนการดดำเนินงานการพัฒนาบุคลากร เป็นปัจจัยสำคัญด้วยเช่นกัน

    ตอบลบ
  62. ชื่อวิจัย การวิจัยเชิงประเมินผลโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ เขตการศึกษา 5
    ผู้วิจัย นายจริยะ วิโรจน์ นางกัลยาณี พันศิริพัฒน์ นางสาวรัตน์ติยา ม่วงทรัพย์
    ปี พ.ศ. 2546
    บทคัดย่อ
    การวิจัยเชิงประเมินผลโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ ในเขตการศึกษา 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างโรงเรียนในโครงการปฏิรูปการเรียนรู้กับโรงเรียนนอกโครงการ (2) ศึกษาเปรียบเทียบสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต/ผลลัพธ์ของโรงเรียนในโครงการ กับนอกโครงการปฏิรูปการเรียนรู้
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ที่ได้เข้าโครงการปฏิรูปการเรียนรู้โครงการใดโครงการหนึ่ง หรือหลายโครงการ และที่ไม่ได้เข้าโครงการปฏิรูปการเรียนรู้ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มหลายขั้นตอน
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1)แบบบันทึกข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากผลการทดสอบระดับชาติ ปีการศึกษา 2544 ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้งเองและ (2)แบบสอบถามการวิจัยประเมินผลโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ที่คณะผู้วิจัยได้ร่วมการสร้างและพัฒนาตามขั้นตอนต่างๆ จนได้ค่าความเชื่อมั่นสูงถึง 0.966
    การเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลทางด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2544 ซึ่งกรมวิชาการได้ดำเนินการและจัดส่งแผ่นบันทึกข้อมูลให้เขตการศึกษา5 ไว้แล้ว คณะผู้วิจัยใช้วิธีคัดลอกข้อมูลของโรงเรียนที่สุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่างลงในแบบบันทึก ส่วนข้อมูลทางด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต/ผลลัพธ์ของโรงเรียน ซึ่งต้องใช้แบบสอบถาม คณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนใหญ่โดยใช้บริการไปรษณีย์และเก็บรวบรวมบางส่วนด้วยตนเอง
    การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS วิเคราะห์ค่าทางสถิติต่างๆ ดังนี้(1)วิเคราะห์สถานภาพของโรงเรียนและผู้ตอบแบบสอบถามด้วยค่าร้อยละ (Percentage) (2)วิเคราะห์และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รวมทั้งเปรียบเทียบสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้ากระบวนการ และผลผลิต/ผลลัพธ์ของโรงเรียน ระหว่างโรงเรียนในโครงการกับนอกโครงการปฏิรูปการรู้ ด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที่ (T-test) (3)วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์ กับผลผลิต/ผลลัพธ์ของโรงเรียนในโครงการและนอกโครงการ
    ปฏิรูปการเรียน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson ‘s Product Moment Correlation ) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเอ็นเตอร์ (Enter ‘s Regression Analysis)
    ผลการวิจัยครั้งนี้ สรุปได้ดังนี้
    1. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    1.1 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในโรงเรียนทีเข้าโค
    รงการปฏิรูปการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 3 วิชา ต่ำกว่าของนักเรียนที่ไม่ได้เข้าโครงการปฏิรูปการเรียนรู้เล็กน้อย แต่เมื่อทดสอบด้วยสถิติทดสอบที (T-test) พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในรายวิชาก็พบว่ามีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเล็กน้อย และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทุกวิชา
    2. ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในโรงเรียน
    ที่เข้าโครงการปฏิรูปการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 3 วิชา ต่ำกว่าของนักเรียนในโรงเรียนที่ไม่ได้เข้าโครงการปฏิรูปการเรียนรู้เล็กน้อย แต่เมื่อทดสอบด้วยสถิติทดสอบที (t-test) พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในรายวิชาก็พบว่า มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเล็กน้อย และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ทุกวิชา
    3. ผลการศึกษาเปรียบเทียบสภาพเรียน
    3.1 ในสภาพรวมทุกด้าน โรงเรียนในโครงการปฏิรูปการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย
    รวมอยู่ในระดับมาก ส่วนโรงเรียนนอกโครงการมีค่าเฉลี่ยรวมในระดับปานกลาง และเมื่อทดสอบด้วยสถิติทดสอบที (t-test) พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
    2.1 ในแต่ละด้าน 4 ด้าน
    2.1.1 ด้านสภาพแวดล้อม โรงเรียนในโครงการและนอก
    โครงการปฏิรูปการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยในระดับปางกลาง เมื่อทดสอบด้วยสถิติทดสอบที (t-test) พบว่าแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
    2.1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า โรงเรียนในโครงการและนอก
    โครงการปฏิรูปการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก เมื่อสอบด้วยสถิติทดสอบที (t-test) พบว่า แตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
    2.1.3 ด้านกระบวนการ โรงเรียนในโครงการและนอก
    โครงการปฏิรูปการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก เมื่อทดสอบด้วยสถิติทดสอบที (t-test) พบว่า แตกต่างกันนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
    2.1.4 ด้านผลผลิต/ผลลัพธ์ โรงเรียนในโครงการและนอก
    โครงการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก เมื่อทดสอบที (t-test) พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

    ตอบลบ
  63. 3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลผลิต/ผลลัพธ์ของโรงเรียน
    3.1 โรงเรียนในโครงการปฏิรูปการเรียนรู้ ตัวแปรด้านกระบวนการและปัจจัย


    นำเข้า มีความสัมพันธ์กับผลผลิต/ผลลัพธ์ของโรงเรียนสูงที่สุด และสูงรองลงมา ส่วนตัวแปรย่อยที่มีความสัมพันธ์กับผลผลิต/ผลลัพธ์ของโรงเรียนที่สูงที่สุด และสูงรองๆ ลงมาได้แก่ การบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอน คุณลักษณะของผู้บริหาร อาคารสถานที่ คุณลักษณะของครูผู้สอน สื่อการเรียนรู้ และงบประมาณ ตามลำดับ ความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
    3.1.1 ภาพรวม y^ =0.41+0.40(ปัจจัย
    นำเข้า)+0.19(กระบวนการ)
    3.1.2 จำแนกตามตัวแปรย่อย y^ =0.56+0.17(การ
    บริหารจัดการ)+0.15 (การจัดการเรียนการสอน)+0.07(คุณลักษณะของผู้บริหาร)+0.15(อาคารสถานที่)+0.13(คุณลักษณะของครูผู้สอน)+0.07(สื่อการเรียนรู้)+0.08(งบประมาณ)
    3.2 โรงเรียนนอกโครงการปฏิรูปการเรียนรู้ ตัวแปรด้านกระบวนการและ
    ปัจจัยนำเข้ามีสัมพันธ์กับผลผลิต / ผลลัพธ์ของโรงเรียนสูงที่สุด และสูงรองลงมา ส่วนตัวแปรย่อยที่มีความสัมพันธ์กับผลผลิต / ผลลัพธ์ของโรงเรียนสูงที่สุดและสูงรอบๆลงมา ได้แก่ การบริหารขจัดการการเรียนการสอน คุณลักษณะของผู้บริหาร อาคารสถานที่ คุณลักษณะของครูผู้สอน สื่อการเรียนรู้ และงบประมาณ ตามลำดับ และความสัมพันธ์ดังกล่าว สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
    3.2.1 ภาพรวม y^=0.54+0.25(ปัจจัย
    นำเข้า)+0.25(กระบวนการ)
    3.2.2 จำแนกตามตัวแปรย่อย y^=0.69+0.27(การบริหารจัดการ)+0.14
    (การจัดการเรียนการสอน)+0.02(คุณลักษณะของผู้บริหาร)+0.11(อาคารสถานที่)+0.08(คุณลักษณะของครูผู้สอน)+0.11(สื่อการเรียนรู้)+0.04(งบประมาณ)
    การวิจัยครั้งที่นี้มีผลให้ได้ข้อเสนอแนะเพื่อการไปใช้ ดังนี้
    1. โครงการปฏิรูปการเรียนรู้ทุกโครงการ นับเป็นโครงการที่ดี ควรสนับสนุนให้ทุก
    หน่วยงานดำเนินงานต่อไป รวมทั้งควรส่งเสริมให้มีการขยายผลไปยังสถานศึกษาอื่นที่ยังไม่ได้เข้าโครงการให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
    2. การพัฒนาการปฏิรูปการเรียนรู้ของโรงเรียนในอนาคต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้
    ความสำคัญต่อการปรับปรุงพัฒนาด้านกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้ อันได้แก่ ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ และประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนให้มากกว่าการพัฒนาด้านปัจจัยนำเข้า
    3. สถานศึกษาที่ดำเนินงาน โครงการ หรือกิจกรรมปฏิรูปการเรียนรู้ ควรนำสมการ
    พยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลผลิต / ผลลัพธ์ของโรงเรียนไปใช้เป็นแนวทางในการ
    กำหนดเป้าหมาย แผนและกิจกรรมการพัฒนา ทั้งนี้ ควรจัดให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันวิเคราะห์และแปลความหมายของสมการรวมทั้งร่วมกันกำหนดกิจกรรมพัฒนาที่สอดคล้องกับสมการด้วย

    ตอบลบ
  64. ชื่อวิจัย การศึกษาสภาพการวัดและประเมินผลในวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา
    ตอนปลาย โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 2 ที่ส่งผลให้ค่า สหสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนเฉลี่ยของโรงเรียน กับผลการสอบโดยข้อสอบมาตรฐานต่ำ
    ผู้วิจัย คณะกรรมการจัดทำผลการเรียนเฉลี่ย และลำดับ
    ปี พ.ศ.

    บทคัดย่อ
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการวัดและประเมินผล วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตการศึกษา 2 ที่ส่งผลให้ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนกับผล การเรียนของโรงเรียนกับผลการสอบมาตรฐานต่ำ คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามไปยังประชากร ซึ่ง
    เป็นศูนย์คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมตอนปลาย เขตการศึกษา 2 ที่ทำการสอนในระหว่างปี 2540-2542 จำนวนทั้งสิ้น 133 ฉบับ ส่งกลับคืนมาและติดตามเก็บในส่วนที่เหลือได้ครบร้อยเปอร์เซ็น
    นำมาวิเคราะห์ข้อมูลในการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
    ผลการวิจัยพบว่า สภาพการวัดและประเมินผล ที่ส่งผลให้ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนเฉลี่ย 5 ภาคเรียน และผลการสอบด้วยข้อสอบมาตรฐานต่ำ มาจากการปฏิบัติของครูซึ่งปฏิบัติไม่เป็นตามแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ในระเบียบ คือวิธีการคัดเลือกสัดส่วนร้อยละของคะแนนจิตพิสัยในการประเมินผลการเรียนจำนวนข้อสอบที่วัดแต่ละจุดประสงค์มีน้อยเกินไปการกำหนดคะแนนและจำนวนข้อสอบไม่สมดุลกัน ข้อสอบส่วนใหญ่ไม่ได้หาคุณภาพหรือหากเพียงคุณภาพเบื้องต้น วิธีการสอนซ่อมเสริม วิธีสอบวัดในการสอบแก้ตัวหลังจากซ่อมเสริมจำนวนครั้งในการสอบแก้ตัวและประสบการของครูประจำการเรียนวิชาวัดผลมาน้อยและเมื่อเป็นครูประจำการแล้วไม่ได้รับการดูแลหรือพัฒนา เพียงพอ

    ตอบลบ
  65. ชื่อวิจัย การศึกษาสภาพการจัดการโครงการอาหารกลางวันหลังการถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการในโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
    ผู้วิจัย สำนักงานศึกษาอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
    ปี พ.ศ. 2545

    บทคัดย่อ
    การศึกษาสภาพการจัดการโครงการอาหารกลางวัน หลังการถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ ในโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการโครงการอาหารกลางวัน หลังการถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และข้อเสนออื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ในการบริหารและจัดการโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารโรงเรียน และผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอมายอ จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบ
    ถามลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบสอบถามแบบปลายเปิด (Open Ended) ที่สำนักงานศึกษาธิการอำเภอมายอสร้างเอง
    ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
    1. จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี คิดเป็นร้อยละ 83.33
    2. ระดับการปฏิบัติในการจัดการโครงการอาหารกลางวันหลังการถ่ายโอนให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมาก คือโรงเรียนแจ้งยอดนักเรียนที่ได้รับอาหารกลางวันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งยอดงบประมาณให้โรงเรียนทราบก่อนดำเนินโครงการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกฎหมายและระเบียบการถ่ายโอนให้โรงเรียนทราบ มีการวางแผนก่อนการจัดการโครงการอาหารกลางวันร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    3. ระดับการปฏิบัติในการจัดการโครงการอาหารกลางวัน หลังการถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการด้านกระบวนการ อยู่ในระดับปานกลาง คือ การร่วมกันแก้ปัญหาโครงการอาหารกลางวันร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การประชุมปรึกษาหารือเรื่องการจัดการโครงการอาหารกลางวันร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ การมีส่วนร่วมในการวางแผนระหว่างการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้าใจในการบริการอาหารกลางวันของโรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณโครงการอาหารกลางวันเพิ่มเติมให้แก่นักเรียนที่ขาดแคลน
    4. ระดับการปฏิบัติในการจัดโครงการอาหารกลางวันหลังการถ่ายโอนให้องค์กรปกครอง ปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ ในด้านผลผลิต อยู่ในระดับปานกลาง คือ การมีส่วนร่วมของครูในการจัดบริการอาหารกลางวันในโรงเรียนเมื่อโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการติดตามผลและประเมินผลโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการติดตามผลและประเมินผลโครงการอาหารกลางวันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความสำเร็จของโครงการอาหารกลางวันที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัด ได้แจ้งให้โรงเรียนและผู้ปกครองทราบการมีส่วนร่วมของครูในการจัดบริการอาหารกลางวันในโรงเรียนเมื่อโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    5. ข้อเสนอแนะในการจัดการโครงการอาหารกลางวัน หลังการถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ ดังนี้ คือควรให้โรงเรียนบริหารโครงการอาหารกลางวันแบบเดิมควรจัดสรรงบประมาณให้กับโรงเรียนก่อนโรงเรียนเปิดภาคเรียน ควร
    สนับสนุนงประมาณให้สามารถบริการให้กับเด็กนักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวัน ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความพร้อมมากกว่านี้ ควรให้มีการเบิกจ่ายเงินมาล่วงหน้า

    ตอบลบ
  66. ชื่องานวิจัย การพัฒนาบทเรียนภาษาไทยโดยใช้เนื้อหาสัมพันธ์กับท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
    ผู้วิจัย นางรำพา ฤาชัย
    ปี พ.ศ. 2544

    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนภาษาไทย โดยใช้เนื้อหาสัมพันธ์กับท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้เนื้อหาสัมพันธ์กับท้องถิ่นระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนวิชาภาษาไทยโดยให้เนื้อหาสัมพันธ์กับท้องถิ่น
    กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มโรงเรียนบ้านปงยางคก จำนวน 30
    คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ บทเรียนภาษาไทยโดยใช้เนื้อหาสัมพันธ์กับท้องถิ่น แผนการสอน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อทบเรียนภาษาไทยโดยใช้เนื้อหาสัมพันธ์กับท้องถิ่นสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ มัชณิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ
    ทดสอบค่าที
    ผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนภาษาไทยโดยใช้เนื้อหาสัมพันธ์กับท้องถิ่น ที่ผู้วิจัยพัฒนา
    ขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ตั้งไว้คือ 85.00/85.47 (2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้เนื้อหาสัมพันธ์กับท้องถิ่น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
    ระดับ .05 (3) นักเรียนมีความคิดเห็นที่ดีและชอบการเรียนภาษาไทยโดยใช้เนื้อหาสัมพันธ์กับท้องถิ่นระดับมาก อยู่ในระดับ 3.53
    ข้อเสนอแนะในการวิจัย ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการฝึกทักษะภาษาด้วยวิธีสอนแบบการ
    ศึกษานอกสถานที่ และพัฒนาบทเรียนที่เน้นเจาะลึกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น คำสำคัญ บทเรียนภาษาไทยเรื่องหาสัมพันธ์ ผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพ
    คุณภาพของการจัดการศึกษาเป็นปัญหาหลักที่ต้องเร่งแก้ไขซึ่งครูผู้สอนต้องคำนึงถึง
    ประโยชน์สูงสุดที่เกิดแก่ผู้เรียน การนำแนวคิดเรื่องการประเมินตามสภาพจริงมาบูรณาการเข้ากับการจัดการเรียนรู้ จะส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง คิดเอง และปฏิบัติเองอย่างรู้คุณค่าของสิ่งที่เรียน โดยเฉพาะในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ครูส่วนใหญ่ยังขาดความรู้
    ความเข้าใจและยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติตามแนวทางการประเมินตามสภาพจริง ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมี
    วัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการประเมินตามสภาพจริงของกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ และ2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการประเมินตามสภาพจริงต่อการพัฒนาผู้เรียนในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การดำเนินการวิจัย ใช้กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องโรงเรียนนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ในเนื้อหา ห.ร.ม., ค.ร.น. และพื้นฐานเรขาคณิต ใช้หลักการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการวิจัย 3 วงจร ระหว่างภาคการศึกษาต้นและปลายปีการศึกษา 2546
    การดำเนินการวิจัยโดยใช้ 3 วงจรปฏิบัติการ ตาม 4 ขั้นตอนหลัก คือ วางแผน ปฏิบัติการ สังเกต และสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้มีการปรับเปลี่ยนแผนและเกิดข้อค้นพบที่สำคัญ ดังนี้ จากวงจรที่ 1 สู่วงจรที่ 2 ครูต้องอธิบายให้น้อยลง ให้เวลาสำหรับการ ถาม – ตอบ ของนักเรียนให้มากขึ้น เทคนิคการถาม – ตอบ ต้องอิงบริบทชีวิตจริงอย่างมีความหมาย เครื่องมือประเมินตามสภาพจริง ต้องการคำสั่งที่ชัดเจน จากวงจรที่ 2 สู่วงจรที่ 3 ครูต้องบริหารเวลาให้เหมาะสม ได้ปรับปรุงแผนใหม่ใหม่ของแผนการจัดการเรียนรู้ (Replan) จากการค้นพบที่สำคัญ ซึ่งเรียกรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ว่า รูปแบบ 5 Cs

    ตอบลบ
  67. ผลการวิจัย
    ผลการพัฒนากระบวนการประเมินตามสภาพจริง มีดังนี้ 1) กำหนดการพัฒนามี 3 ขั้นตอน คือ กำหนดแผนการประเมิน ดำเนินการ และ ประเมินสรุปผล 2) ผลการพัฒนากระบวนการได้สังเคราะห์แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามสภาพจริงเป็น 5 ขั้นตอน (รูปแบบ 5 Cs) คือ (1) กำหนดสถานการณ์หรือเงื่อนไข (Condition / Situation) (2) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Cooperative / Sharing) (3) กิจกรรมนำเสนอผลงาน (Communication / Presentation) (4) กิจกรรมวิพากษ์สะท้อนผล (Comment / Reflection) และ (5) กิจกรรมสรุปองค์ความรู้ (Conclution) ได้เครื่องมือประเมินตามสภาพจริง คือ บัตรกิจกรรม ใบงาน แบบประเมินผลงานแบบประเมินโครงงาน แบบสังเกตกระบวนการปฏิบัติงาน แบบประเมินตนเองในการทำโครงงานแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน แบบสังเกตการทำงานกลุ่ม และแบบประเมินตนเองในการทำโครงงาน
    ผลการพัฒนาผู้เรียน 3 ด้าน มีดังนี้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะกระบวนการและด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (ความรับผิดชอบ การทำงานกลุ่ม แบบการใฝ่รู้ใฝ่เรียน) เมื่อประเมินรายกลุ่ม หรือรายบุคคลพบว่า นักเรียนมีพัฒนาการก้าวหน้าขึ้นจากวงจรวิจัยที่ 1 สู่ที่ 3 ในระดับขั้นพอใช้ขึ้นไปถึงระดับดี นักเรียนมีความกระตือรือร้น สนุกสนใจในการเรียน มีความเข้าใจในคณิตศาสตร์มากขึ้น และมีความรับผิดชอบในการทำงานต่อตนเองและต่อกลุ่ม
    ข้อค้นพบจากการดำเนินการวิจัย
    ข้อค้นพบที่สำคัญคือ 1) การวิจัยที่เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยโรงเรียน ทำให้การประยุกต์ใช้ทฤษฎีและหลักการจากนักวิชาการไปสู่ครูผู้ปฏิบัติ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดความเข้าใจ และมีความหมาย ต่อบุคลากรทั้งสองฝ่ายและเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กร และ 2) การบูรณาการกระบวนการประเมินตามสภาพจริงเข้าไปในกิจกรรมการเรียนรู้ ช่วยให้ครูผู้สอนตระหนักในคุณค่าของการเชื่อมโยงเนื้อหาบทเรียนคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง ทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนน่าสนใจ มีชีวิตชีวา และเกิดการเรียนรู้ในเทคนิค วิธีการของการจัดการประเมินตามสภาพจริงอย่างถ่องแท้ นักเรียนเกิดพฤติกรรม กระตือรือร้น ติดตามงาน ปรับปรุงาน และมีความสุขในการเรียน

    ตอบลบ
  68. ชื่องานวิจัย การพัฒนาหลักสูตรค่ายทักษะชีวิตป้องกันการใช้สารเสพติดด้วยวิธี Storyline สำหรับเยาวชน
    ผู้วิจัย นายจำรัส ศิลาคม และคณะ
    ปีพ.ศ. 2542
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักสูตรค่ายทักษะชีวิตป้องกันการใช้สารเสพติดด้วยวิธี Storyline สำหรับเยาวชน แล้วทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตร เปรียบเทียบทักษะชีวิตของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมและวัดระดับเจตคติของกลุ่มทดลองที่มีต่อหลักสูตรค่ายทักษะชีวิตที่สร้างขึ้น
    หลักสูตรค่ายทักษะชีวิตที่สร้างขึ้น มุ่งพัฒนาทักษะชีวิต 8 ทักษะได้แก่ ความเข้าใจผลร้ายของการใช้สารเสพติด ความรู้สึกรังเกียจการใช้สารเสพติด ความตระหนักว่าสารเสพติดเป็นปัญหาใกล้ตัว ความตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของตนเอง ความรู้สึกเห็นใจผู้ที่ได้รับผลร้ายจากสารเสพติด ทักษะการปฏิเสธ ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหา และทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียด
    หัวเรื่องที่กำหนดไว้ในหลักสูตร คือ “เรา คือ ผู้สร้างบ้านที่แสนสุขของเรา” กำหนดเส้นทางการเดินเรื่องตามวิธีการ Storyline โดยให้หมู่บ้านของเราเป็นฉาก ให้ชาวบ้าน ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ เป็นตัวละคร ให้สภาพปัจจุบันของหมู่บ้านวิถีชีวิต และให้การร่วมสร้างสรรค์อนาคตและสิ่งชั่วร้ายตายไป เป็นสถานการณ์ ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม จำนวน 4 วัน 3 คืน กิจกรรมที่ใช้ประกอบด้วยเกม เพลง กิจกรรม Walk Rally ระดมพลังสมอง วาดภาพ สมาธิหมุนสั่งจิตใต้สำนึกของตนเอง เต้นเกาชิกิ จัดนิทรรศการ กรณีศึกษา การฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง และการแสดงบทบาทสมมุติ
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เยาว์ชนในหมู่บ้าน 5 หมู่บ้านของตำบลโนนทอง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทอลอง 60 คน และกลุ่มควบคุม 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบวัดเจตคติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
    กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายทักษะชีวิตป้องกันการใช้สารเสพติด ตามหลักสูตรที่สร้างขึ้น ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้านทักษะชีวิต ระหว่างเข้าค่ายจากการตรวจผลงานและสังเกตพฤติกรรมและเก็บข้อมูลด้านทักษะชีวิตและด้านเจตคติต่อค่ายหลังเข้าค่าย จากเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นส่วนกลุ่มควบคุมข้อมูลด้านทักษะชีวิตในช่วงเวลาเดียวกับการเก็บข้อมูลหลังเข้าค่ายของกลุ่มทดลอง
    วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาสัดส่วนระหว่างค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยด้านทักษะชีวิตระหว่างเข้าค่ายกับหลังเข้าค่าย เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านทักษะชีวิตระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมโดยการทดสอยค่าที่ (t-test) และหาค่าเฉลี่ยของระดับเจตคติต่อค่ายของกลุ่มทดลอง
    ผลการทดลองปรากฎว่า หลักสูตรที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.91 : 89.59 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80 : 80 คะแนนเฉลี่ยด้านทักษะชีวิตของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และโดยเฉลี่ยแล้วกลุ่มทดลองมีเจตคติดีมากต่อค่ายทักษะชีวิตป้องกันการใช้สารเสพติดตามหลักสูตรที่ใช้วิธี Storyline ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น

    ตอบลบ
  69. ชื่องานวิจัย ปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตการศึกษา 2
    ผู้วิจัย นายประชาคม จันทรชิต ปี พ.ศ. 2541
    บทคัดย่อ
    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตการศึกษา 2 ว่าอยู่ในระดับใด 2.) เปรียบเทียบทัศนะทั้งของผู้บริหารและครู อาจารย์ที่มีสถานภาพแตกต่างกัน ที่มีต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตการศึกษา 2 3.) รวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตการศึกษา 2
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหาร และครู อาจารย์ของสถานศึกษา สังกัดรมอาชีวศึกษา ในเขตกการศึกษา 2 ซึ่งจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2540 ทั้งหมด 12 แห่ง จำนวน 485 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร 41 คน ครู อาจารย์ 444 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตามระดับชั้นโดยการแบ่งชั้นตามตำแหน่งหน้าที่ของประชากร
    การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้บริหารสร้างขึ้นเอง มี 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานส่วนตัวของแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 49 ข้อ ภายใต้ขอบข่ายของปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษา จำนวน 7 ด้าน ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่า (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-tewt) และทำการเปรียบเทียบพหูคูณโดยใช้วิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe’ method)
    ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้
    1. ผู้บริหาร และครู อาจารย์ของสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขการศึกษา 2 มีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชีพของสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตการศึกษา 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.15) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
    2. ผู้บริหาร และครู อาจารย์ของสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตการศึกษา 2 ที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และภูมิลำเนาต่างกัน มีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษา ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3. ผู้บริหาร และครู อาจารย์ของสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษาในเขตการศึกษา 2 ที่มีเพศต่างกัน ประสบการณ์ในตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน และสังกัดกองสถานศึกษาต่างกัน มีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษาโดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านดังกล่าว ปรากฎว่า ผู้บริหาร และครู อาจารย์ของสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตการศึกษา 2 มีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ในแต่ละตัวแปรดังต่อไปนี้

    ตอบลบ
  70. 3.1 เพศ พบว่า ผู้บริหารและครู อาจารย์ของสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตการศึกษา 2 มีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านบุคลากร และด้านสื่อ อุปกรณ์ และวัสดุฝึก โดยเพศชายมีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษาสูงกว่าเพศหญิง
    3.2 ประสบการณ์ในตำแหน่งหน้าที่ พบว่า ผู้บริหารและครู อาจารย์ของสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตการศึกษา 2 ที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งต่างกัน มีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านสื่อ อุปกรณ์ และวัสดุฝึกและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านอาคาร สถานที่ ส่วนผลการทดสอบพหูคุณ ปรากฏผลดังต่อไปนี้
    3.2.1 ผู้ที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน มี ทัศนะ ต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษาด้านสื่อ อุปกรณ์ และวัสดุฝึก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05 จำนวน 1 คู่ คือผู้ที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งหน้า
    ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี มีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษาสุงกว่าผู้ที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งหน้าที่มากกว่า 10 ปี
    3.2.2 ผู้ที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งหน้าที่ทีต่างกัน มีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษา ด้านอาคาร สถานที่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 คู่ คือ ผู้ที่มีประสบการณ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 มี มีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษาสูงกว่าผู้ที่มีประสลการณ์มากกว่า 5 ปี ถึง 10 ปี และผู้ที่มีประสบการณ์สุงกว่า 10 ปี
    3.3 กองสถานศึกษาที่สังกัด พบว่า ผู้บริหาร และครู อาจารย์ ของสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตการศึกษา 2 ที่สังกัดกองสถานศึกษาต่างกัน มีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านนโยบายของหน่วยงานระดับสูง และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านอาคาร สถานที่ ส่วนผลการทดสอลพหูคูณปรากฏผลดังต่อไปนี้
    3.3.1 ผู้ที่สังกัดกองสถานศึกษาต่างกัน มีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษาด้านนโยบายของหน่วยงานระดับสูง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 คู่ คือ ผู้ที่สังกัดกองวิทยาลัยเกษตรกรรม มีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชัพของสถานศึกษาสูงกว่าผู้ที่สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค
    3.3.2 ผู้ที่สังกัดกองสถานศึกษาต่างกัน มีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษา ด้านอาคาร สถานที่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 คู่ คือผู้ที่สังกัดกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา มีทัศนะต่อปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชัพของสถานศึกษาสูงกว่าผู้ที่สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค
    การวิจัยในครั้งนี้พบว่า ปัญหาที่ผู้บริหาร และครู อาจารย์สังกัดกรมอาชีวศึกษาในเขตการศึกษา 2 มีทัศนะว่าปัญหาอยู่ในอันดับสูงกว่าด้านอื่น อยู่ 2 ด้าน คือ ด้านอาคาร สถานที่และด้านนักเรียน นักศึกษา (X = 3.21) ส่วนด้านที่มีปัญหาอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าด้านอื่น คือ ด้านความร่วมมือของภาคเอกชน (X = 3.08) ส่วนด้านอื่น ๆ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ได้แก่ ด้านสื่อ อุปกรณ์ และวัสดุฝึก (X = 3.20) ด้านนโยบายของหน่วยงานระดับสูง (X = 3.17) ด้านหลักสูตร (X = 3.10) และด้านบุคลากร (X = 3.09)
    ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ผู้บริหารที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตการศึกษา 2 ทั้งในระดับสถานศึกษา และระดับที่สูงขึ้นไปไม่ว่าจะเป็นระดับกรมอาชีวศึกษา หรือกระทรวงศึกษาธิการ ควรใช้ผลจากการวิจัยดังกล่าวเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษา ทั้งนี้เพื่อจะได้พัฒนาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตการศึกษา 2 ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการวิจัยในข้อที่มีปัญหาอยู่ในระมากของแต่ละด้านของแบบสอบถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่าเกี่ยวกับปัญหาการจัดการศึกษาวิชาชีพของสถานศึกษา และข้อจากเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาในแต่ละด้านของแบบสอบถามปลายเปิด

    ตอบลบ
  71. ชื่องานวิจัย การสร้างบทเรียนสำเร็จแบบสาขา สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ชีวิตพืชสำหรับซ่อมเสริมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านลุงม่วง จังหวัดบุรีรัมย์
    ผู้วิจัย นางเกษรา สุชิรัมย์
    ปีพ.ศ. 2547
    บทคัดย่อ
    ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อสร้างบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่องชีวิตและชีวิตพืช สำหรับซ่อมเสริมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านลุงม่วง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตและชีวิตพืช และ 3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตและชีวิตพืช กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 1 ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนบ้านลุงม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด คือ ร้อยละ 80 ของคะแนนทดสอบใช้เวลาในการวิจัย 14 คาบ ๆ ละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา 2 หน่วยย่อยหน่วยย่อยละ 1 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบภาคเจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผลบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. บทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา หน่วยการเรียนรู้ เรื่องชีวิตและชีวิตพืช ทั้ง 2 หน่วยย่อยมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ที่ระดับ 75/75 โดยหน่วยย่อย เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ มีประสิทธิภาพ 80.00/88.00 และหน่วยย่อย เรื่องการสืบพันธุ์ของพืช มีประสิทธิภาพ 77.91/85.00
    2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสุงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้ง 2 หน่วยย่อย โดยหน่วยย่อย เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และหน่วยย่อย เรื่อง การสืบพันธ์ของพืช นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
    3. นักเรียนมีเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์โดยรวมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 2 หน่วยย่อย

    ตอบลบ
  72. ชื่องานวิจัย การพัฒนาชุดการเรียนรู้บนระบบเครือข่ายสาระการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 3
    ผู้วิจัย นางสุภัตรา ปริสุทธิกุล
    ปีพ.ศ. 2546
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้ระบบเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศช่วงชั้นที่ 3 เรื่องการสืบค้นข้อมูลและติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยตั้งสมมติฐานว่าชุดการเรียนรู้นี้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนวิจิตราพิทยา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 111 คน
    ผลการวิจัยปรากฏว่า ชุดการเรียนรู้บทระบบเครือข่าย กลุ่มสระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วงชั้นที่ 3 เรื่องการสืบค้นข้อมูลและติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 83.24/81.67 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.73 แสดงว่าชุดการเรียนรู้บนระบบเครือข่ายได้ค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากชุดการเรียนรู้บนระบบเครือข่าย สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

    ตอบลบ
  73. ชื่องานวิจัย การประเมินตามสภาพจริงโดยใช้หลัก 4P ในวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น
    ผู้วิจัย นางนงนุช ชุมเทพ
    ปีพ.ศ. 2547

    บทคัดย่อ
    การศึกษา เรื่องการประเมินตามสภาพจริงโดยใช้หลัก 4P ในวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทัศนคติ และปฎิสัมพันธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการประเมินตามสภาพจริงโดยใช้หลัก 4P ในวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้รู้แบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอและการประเมินตามสภาพจริงโดยใช้หลัก 4P กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 , 5/2 และ 5/3 โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 32 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 143 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในกางวิจัย ประกอบ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบวัดทัศนคติ 3) แบบวัดปฎิสัมพันธ์ 4) แบบบันทึกพฤติกรรมและ 5) แบบประเมินตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และนำเสนอแบบพรรณาวิเคราะห์
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการประเมินจากสภาพจริงโดยใช้หลัก 4P ส่วนมากอยู่ในระดับ 3 คิดเป็นร้อยละ 38.46 และมีนักเรียนที่สอบไม่ผ่าน คิดเป็นร้อยละ 11.19
    2. ทัศนคติของนักเรียนชั้นเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการประเมินตามสภาพจริงโดยใช้หลัก 4P ในวิชาคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับปานกลาง
    3. ปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการประเมินตามสภาพจริงโดยใช้หลัก 4P ในวิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนมีพฤติกรรมที่แสดงออกต่อกันอยู่ในระดับปานกลาง

    ตอบลบ
  74. ชื่องานวิจัย การทดลองใช้สื่อบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ วิชา ชีววิทยา (ว044) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
    ผู้วิจัย อาจารย์สิริลักษณ์ ทิพย์สุวรรณ
    ปี พ.ศ. 2543

    บทคัดย่อ
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1. เพื่อเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สื่อบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ
    2. เพื่อศึกษาความคิดเห็น ของครู-อาจารย์และนักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อบทเรียนสำเร็จรูป
    วิธีการดำเนินการวิจัย
    - ประชากรที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 32 คน ครู-อาจารย์ จำนวน 5 คน
    - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบรายจุดประสงค์(ก่อนเรียน - หลังเรียน) และแบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพสื่อบทเรียนสำเร็จรูปสร้างขึ้นโดยรวยรวมจากเอกสารของหน่วยศึกษานิเทศก์ เขตการศึกษา 2 กรมสามัญศึกษา (อาจารย์พัชรี ภู่บำรุง) และหนังสือประกอบต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือเรียนวิชา ชีววิทยา(ว044) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ของกระทรวงศึกษาธิการ ชีววิทยา โดย ดร.คลุ้ม วัชโรบล , คู่มือชีววิทยาแผนใหม่ โดย อ.เกษม ศิริพงษ์ และเอกสารประกอบคำอธิบาย วิชา ชีววิทยา ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    การวิเคราะห์ข้อมูล
    - ใช้วิธีการหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความมีนัยสำคัญด้วยค่า (T-Test)
    สรุปผลการวิจัย
    จากผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
    1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ โดยใช้ สื่อบทเรียนสำเร็จรูป หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    2. ครู-อาจารย์ และนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการเรียนการสอน โดยใช้สื่อบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ คือ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (3.00) จริง

    ตอบลบ
  75. ชื่องานวิจัย การศึกษาศิลปะวัฒนธรรมและวิถีชีวิตท้องถิ่นภาคกลางการสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา
    ผู้วิจัย นายโสภณ จงสมจิต ปีพ.ศ. 2536

    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องราวทางโบราณคดี ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อจำแนกศิลปะวัฒนธรรม ศึกษาการดำเนินวิถีชาวนาท้องถิ่นภาคกลางในสภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและผลกระทบที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างความตระหนัก ในการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะวัฒนธรรม คุณภาพชีวิต พัฒนาสิ่งแวดล้อม ให้เกิดขึ้นสำหรับเด็ก เยาว์ชนในสถานศึกษา และเพื่อสร้างสื่อและทดลองสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อไปใช้กับหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา “ประเทศไทยให้ความสำคัญและดำเนินการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม วิถีชีวิตนิยมไทย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม โดยให้เด็กและเยาวชนมีความตระหนักในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานวัฒนธรรมไทย
    การดำเนินการวิจัยโดยศึกษาจากเอกสารและการสำรวจภูมิภาคของภาคกลางทางด้านศิลปะวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตของคนภาคกลางและใช้แบบสอบถามสาระความสำคัญของวัฒนธรรมไทยและความสำคัญ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความตระหนักแนวคิดวิธีการร่วมกันในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา สังกัดเทศบาลอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เยาวชนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและโรงเรียนสตรีวิทยา ระดับ ปวช. นักศึกษาวอทยาเขตพิตรพิมุข จักรวรรดิ และ ปวส. วิทยาเขตเพาะช่าง จำนวน 179 คน เสนอแนวความคิด 168 แนวทาง โดยให้ลำดับความสำคัญให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนให้มีการอภิปราย จัดนิทรรศการด้านสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา มีความเห็น 17.87% ให้เด็กและเยาวชนทัศนศึกษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเข้าค่ายเยาวชนและนำมาอภิปราย มีความเห็น 7.28 % ให้มีการจัดวิชาเรียนเรื่องสิ่งแวดล้อมในหลักสูตรทุกระดับ 6.14 % นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2-3 จำนวน 74 คน มีความเห็นว่า การวิจัยสาระ (Content Analysis) ความสำคัญด้านวัฒนธรรมควรให้ประเทศไทยมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองนักเรียนโรงเรียนสตรีวิทยา เสนอแนะว่า ศิลปะวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ แสดงความเป็นเอกราชและภูมอปัญญาของคนไทย 67.90 % และให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม 13.58 %
    ในส่วนภูมิภาคได้ทำการทดลองวิเคราะห์สาระที่โรงเรียนเทศบาลวัดโบสถ์ (เทศบาล 3) และโรงเรียนเทศบาลวัดป่าโมกข์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนมีความเห็นว่าสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน ชุมชน ให้ความสำคัญสูงสุด 33.33% ให้รักษาความสะอาดในหมู่บ้านและความต้องการลำดับรองลงมามีค่าร้อยละ 28.33% ต้องการสิ่งแวดล้อมด้านกีฬาให้มีสนามกีฬาในหมู่บ้าน สนามเด็กเล่นและการจัดการสาธารณสุขสำหรับเด็ก ส่วนทางด้านศิลปะวัฒนธรรม มีความเห็นว่า ชนบทควรอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ย 34.78%
    จาการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เยาว์ชนมีความเห็นว่า ศิลปะวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อประเทศมากที่สุด 29 ข้อใน 50 ข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับ (X = 4.89) จำนวน 19 ข้อใน 50 ข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.94) จำนวน 2 ข้อใน 50 ข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (X = 2.94) ในจำนวน 18 คน เป็นชาย 12 คน หญิง 6 คน
    ในข้อคำถามเป็นเรื่อง ศิลปะวัฒนธรรม 3 ข้อ และสิ่งแวดล้อม 47 ข้อ สรุปว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เยาวชนมีความตระหนักให้ความสำคัญมากกว่าปัญหาศิลปวัฒนธรรมและเยาวชนเห็นว่าโรงเรียนควรจัดนิทรรศการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา จัดกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาว์ชนได้ไปศึกษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ แล้วนำมาอภิปราย
    ดังนั้น การสร้างความตระหนักจึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร ครู-อาจารย์ บุคลากรในโรงเรียนจะต้องให้การเรียนรู้ เสริมสร้างให้เกิดความคิด ความเข้าใจ และจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ วัสดุ เทคโนโลยีโสตทัศนศึกษาอย่างเหมาะสม

    ตอบลบ
  76. ชื่องานวิจัย การพัฒนาชุดการสอนและการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างคน สัตว์ พืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
    ผู้วิจัย นายพิสิทธิ์ ชำนาญไพร
    ปีพ.ศ. 2546

    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์พัฒนาชุดการสอนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่าง คน สัตว์ พืช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น ภาคเรียน 1 ปีการศึกษา2546 จำนวน 53 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดการสอน แผนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รูปแบบของการวิจัยครั้งนี้ใช้ One group pretest - posttest design โดยนำคะแนนที่ได้จาการทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถิติ t-test
    ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนมีประสิทธิภาพ 83.66 / 83.33 และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.69 นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

    ตอบลบ
  77. ชื่องานวิจัย การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและแนวทางการวิจัยทางการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรมของ กระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535-2539
    ผู้วิจัย
    ปีพ.ศ. 2543

    บทคัดย่อ
    การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและแนวทางการวิจัยทางการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรมของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 - 2359 เป็นการติดตามกำกับการนำนโยบายการวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการไปสู่การปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการวิจัยตลอดช่วง 5 ปี ของแผนพัฒนาการศึกษาฯระยะที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการดำเนินงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2540 - 2544 การประเมินผลครั้งนี้ได้ศึกษาทั้งจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างในส่วนประชากรได้ศึกษาจากเอกสารผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการวิจัยและสอบถาม ผู้ทำหน้าที่ส่งเสริมการวิจัยจากหน่วยงานเทียบเท่ากรมในส่วนกลางกับหน่วยงานและสถานศึกษาเทียบเท่ากองในส่วนภูมิภาค จำนวนรวม 665 หน่วยงาน โดยใช้แบบสอบถาม สำหรับกลุ่มตัวอย่างได้ศึกษาจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ด้านการวิจัยของหน่วยงานและสถานศึกษาในจังหวัดที่ตั้งเขตการศึกษา 1 - 12 จังหวัดละ 6 หน่วยงาน ๆ ละ 1 คน รวม 72 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และจากการนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินงานวิจัยและการติดตามผลการวิจัยในระหว่างการจัดประชุมสัมมนาผู้ทำหน้าที่ส่งเสริมการวิจัยจากหน่วยงานและสถานศึกษาในจังหวัดที่ตั้งเขตการศึกษา และจังหวัดใกล้เคียง 18 จังหวัด โดยดำเนินการติดต่อกันตลอด 5 ปี ( 2535 - 2539 ) มู้เข้าประชุมรวม 600 คน โดยใช้ใบงาน และการสัมมนากลุ่ม
    ผลการประเมิน
    1. สรุปผลการประเมินเกี่ยวกับการวิจัยด้านปริมาณและด้านเนื้อหาตาม 9 ด้านของนโยบายและแนวทางการวิจัยฯ ของกระทรวงศึกษาธิการในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาฯระยะที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539)
    1.1 การดำเนินงานเกี่ยวกับการวิจัยในด้านปริมาณ พบว่า ด้านอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีทางอาชีพ ดำเนินการได้มากที่สุด (สัดส่วน 82 เรื่องต่อองค์ประกอบ) รองลงมาคือด้านการพัฒนาการศึกษาระดับพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเด็กและเยาวชนและด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การกีฬา พลานามัย และสิ่งแวดล้อม (สัดส่วน 68 และ 55 เรื่องต่อองค์ประกอบตามลำดับ) ส่วนด้านที่ดำเนินการได้น้อยคือ ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ด้านการส่งเสริมให้มีการเผยแพร่และประยุกต์ใช้ผลการวิจัย และด้านการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทำการวิจัย (สัดส่วน 13 6 และ 5 เรื่องต่อองค์ประกอบตามลำดับ)
    1.2 การดำเนินงานเกี่ยวกับการวิจัยในด้านเนื้อหา พบว่า งานที่ดำเนินการได้มากในแต่ละด้านซึ่งมี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาการศึกษาระดับพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต คือ การเสริมสร้างการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คุณลักษณะและประสบการณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (ระดับประถมศึกษา) ด้านการพัฒนาอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีทางอาชีพ คือ การพัฒนาทักษะทางอาชีพที่อาศัยการทดลองและการพัฒนาวิทยาการต่าง ๆ ให้กับเยาชน ด้านกรพัฒนาการฝึกหัดครูและพัฒนาชุมชน คือการวิจัยที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาเกี่ยวกับการฝึกหัดครู ด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาพิเศษ คือ การขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ท้องถิ่นชนบท อย่างหลากหลายรูปแบบ ด้านการส่งเริมและสนับสนุนการพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ คือ กาพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน และด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การกีฬา พลานามัยและสิ่งแวดล้อม คือ การศึกษาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การศึกษาวิทยาศาสตร์ การกีฬาและพลานามัย

    ตอบลบ
  78. 2. สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไข
    การนำนโยบายและแนวทางการวิจัยฯ ของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 2 ไปปฏิบัติไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญ ผู้ให้ความสนใจทำวิจัยน้อยขาดแหล่งสืบค้นข้อมูลงบประมาณจำกัดประเมินและคุณภาพของผลงานวิจัยไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จึงควรให้มีการเร่งรัดพัฒนาสมรรถภาพขององค์กร บุคลากรการวิจัย ให้มีงานวิจัยที่เพียงพอสำหรับเผยแพร่หลากหลายและทั่วถึง มีการจัดนิทรรศการทางวิชาการและการวิจัยส่งเสริมการวิจัยในระดับชั้นเรียน บริการระบบการสืบค้นให้เกิดความรวดเร็วมีการเผยแพร่แนวคิดทฤษฎีใหม่ ๆ และนำไปขยายผลในหน่วยงานและสถานศึกษาให้มากขึ้น
    การดำเนินงาเกี่ยวกับการวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการไม่สนองตอบต่อนโยบายและแนวทางการวิจัย ฯ ของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 - 2539 เท่าที่ควร เนื่องจากมีการนำนโยบายไปปฏิบัติน้อย จะทำการวิจัยตามคามต้องการของนักวิจัยและการให้ทุนวิจัยดำเนินการได้จำกัด จึงควรส่งเสริมให้มีการวิจัยมากขึ้น การให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการวิจัยทางการศึกษา การตรวจสอบคุณภาพการศึกษาและการให้โรงเรียนประกันคุณภาพทางการศึกษาเตรียมคนให้มีทักษะทางอาชีพที่เข้าสู่ตลาดแรงงานได้ พัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้ตอบสนองความต้องการของชุมชน และที่จะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ กระจายอำนาจทางการศึกษาให้ถึงท้องถิ่นและระดับโรงเรียนให้สามารถจัดการศึกษาต่อเนื่องและสัมพันธ์กันทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผู้ด้อยโอกาสและคนพิการได้เรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาระบบการจัดหาครู - อาจารย์ ให้ได้คนเก่ง คนดีมีคุณธรรม พัฒนาบทบาทของสงฆ์ให้สามารถสร้างความศรัทธาจากประชาชน ให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น วางแผนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สามารถนำวิทยาศาสตร์มาใช้ในการดำรงชีวิต พัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาให้แข่งขันในระดับโลกได้และจัดการศึกษาที่สร้างความตระหนักและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเด็กและเยาวชนได้อย่างต่อเนื่อง
    3. ประเด็นสำคัญที่นำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดนโยบายการวิจัยในช่วงแผนพัฒนาการศึกษา ฯ ระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544)
    ข้อมูลพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปกำหนดนโยบายการวิจัยในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาฯระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) คือ ควรจัดนิทรรศการเสนอผลงานทางวิชาการ การขอความร่วมมือจากภาคเอกชนการพัฒนาระบบเครือข่ายการสืบค้นข้อมูลการวิจัย การเผยแพร่แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยใหม่ๆ การจัดทำเอกสารการนำผลการวิจัยไปสู่การปฏิบัติ การส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมตัดสินใจในการจัดการศึกษา การศึกษาคุณลักษณะพื้นฐานเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรม การพัฒนาอุปกรณ์เกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติให้ประหยัด การให้นักศึกษาทางอาชีพมีส่วนร่วมในการทำวิจัยการพัฒนาสถาบันทางอาชีพภาคเอกชนให้สมารถฝึกอาชีพให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนได้
    การประเมินศักยภาพของบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม การศึกษาบทบาทการพัฒนาชุมชนของสถาบันทางการศึกษา การบุกเบิกวิทยาการสาขาต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาชุมชน การพัฒนาบุคลากรของชุมชนให้สามารถประกอบอาชีพที่พึ่งพาซึ่งกันและกันในสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้ การศึกษาเกี่ยวกับการกระจายความเป็นธรรมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนแก่ผู้ขาดโอกาสทางการศึกษาการจัดกิจกรรมและชุดการเรียนสำหรับคนที่ผิดปกติทางร่างกาย เด็กเก่งพิเศษให้เรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ การศึกษาการใช้ทรัพยากรร่วมกันของท้องถิ่นและจากภูมิปัญญาชาวบ้านการพัฒนาระบบการสรรหาครูที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเอื้ออาทรต่อนักเรียน การศึกษาเดียวกับการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมกับศักยภาพการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกันได้ทุกระดับการศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรม ให้เป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชนแต่ละท้องถิ่น
    การพัฒนาบทบาทของสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาศีลธรรมจรรยา และสร้างความศรัทธาทางศาสนาให้เกิดกับเด็ก เยาว์ชน และประชาชนทั่วไป การขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับสงฆ์อย่างทั่วถึง การศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมด้วยจิตสาธารณะ การศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ การกีฬาและสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคน การเตรียมความพร้อมด้านการกีฬาที่นำไปสู่การพัฒนาให้สามารถแข่งขันกีฬาในระดับโลกได้ และการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในลักษณะบูรณาการเข้ากับการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดความสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล

    ตอบลบ
  79. ชื่องานวิจัย การวิจัยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบศูนย์การเรียนกับการสอนแบบบรรยาย เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืช
    ผู้วิจัย อาจารย์สุธีรา หมาดทิ้ง อาจารย์ 2 ระดับ 7
    ปีพ.ศ. 2544

    บทคัดย่อ
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนแบบศูนย์การเรียนกับการสอนแบบบรรยาย
    วิธีดำเนินการวิจัย
    - ประชากรที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ,1/2 จำนวน 68 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงโดยใช้แบบทดสอบที่เป็นกลางสอบวัดมาตรฐานเด็กและใช้วิธีคัดจากผลการเรียนเฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์ในภาคเรียนที่ผ่านมา คัดเลือกนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใกล้เคียงกันทั้งหมดได้ 32 คน โดยผู้วิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
    - กลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้น ม.1/1 ปีการศึกษา 2543 จำนวน 16 คน โดยใช้การสอนศูนย์การเรียน
    - กลุ่มควบคม ได้แก่ นักเรียนชั้น ม.1/2 ปีการศึกษา 2543 จำนวน 16 คน โดยใช้การสอนแบบบรรยาย
    เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย
    1. แผนการสอนศูนย์การเรียน เรื่องการสืบพันธุ์ของพืช ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยครูผู้เชี่ยวชาญ
    2. แบบทดสอบวัดผลหลังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องการสืบพันธุ์ของพืช
    การวิเคราะห์ข้อมูล
    ใช้วิธีหาค่าความแปรปรวนและทดสอบแบบมีนัยสำคัญด้วยค่า t - test
    สรุปผลการวิจัย
    จากการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สอนแบบบรรยายอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ 0.001

    ตอบลบ
  80. ชื่องานวิจัย การศึกษาแนวทางและมาตรการจูงใจในการระดมทรัพยากรเพื่อจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีของรัฐ
    ผู้วิจัย
    ปี พ.ศ.

    บทคัดย่อ
    การวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางมาตรการจูงใจในการระดมทรัพยากร เพื่อการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีของรัฐนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ปกครองแลประชาชนเกี่ยวกับแนวทางและมาตรการจูงใจในการระดมทรัพยากร เพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ของภาครัฐ เพื่อนำผลไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการและกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการต่อไป ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผุ้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 25 คน ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 293 คน ผู้ปกครองและประชาชน ซึ่งสุ่มจากทั้ง 12 เขตการศึกษาจำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม รวมจำนวน 3 ฉบับ
    ผลการวิจัยพบว่า ทั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารการศึกษา กลุ่มผู้ปกครองและประชาชนยินดีให้ความร่วมมือในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อนำมาใช้ในการจัดการศึกษาของรัฐบาลมีเงื่อนไขเห็นผลตอบแทนให้ ในขณะเดียวกันยังมีความต้องการให้รัฐจัดงบประมาณสนับสนุนในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับสูง และเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างหน่วยงานและระหว่างท้องถิ่นตลอดจนมีระบบสารสนเทศโดยให้คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เนตมีเครือข่ายทุกเขตพื้นที่
    สำหรับผลของความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของกลุ่มผู้จัดการศึกษา (ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารการศึกษา) กับกลุ่มผู้รับบริการในการจัดการศึกษา (ผู้ปกครองและประชาชน) มีความคิดเห็นต่อรูปแบบและแนวทางการระดมทรัพยากรพื่อการจัดการศึกษาแตกต่างกันโดยกลุ่มผู้จัดการศึกษามีความคิดเห็นในทางสนับสุนนให้มีการดำเนินการระดมทรัพยากรจากผู้เรียนและชุมชนมากกว่ากลุ่มผู้รับบริการ
    ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางและมารตรการจูงใจในการระดมทรัพยากรจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ควรกำหนดกฎระเบียบวิธีปฏิบัติและหลักเกณฑ์ในการระดมทรัพยากรให้ชัดเจนเร่งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ชุมชนรู้และเข้าใจ ตลอดจนจัดให้มีคณะกรรมการทั้งภาครัฐ และ เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากร และวิธีการระดมทรัพยากรต้องเป็นไปโดยความสมัครใจไม่มีเงื่อนไขในการหาผลประโยชน์รวมทั้งควรมีมาตรการกำกับควบคุมสามารถตรวจสอบได้ และควรมีการประสานงานที่ดีภายในท้องถิ่นของชุมชนด้วย สำหรับปัญหาอุปสรรคที่ต้องเร่งแก้ไขตามผลการวิจัยที่ได้ คือ ประชาชนขาดความรู้ และขาดจิตสำนึกร่วมกันระหว่างชุมชนและองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่นเกี่ยวกับการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และต้องเร่งจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเข็มแข็งของครอบครัวและขุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งปรับสภาพโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ในขณะเดียวกันต้องแก้ป้ญหาความไม่พร้อมทางด้านงบประมาณและทรัพยากรด้านอื่นๆ ของภาครัฐและเอกชนด้วย

    ตอบลบ
  81. ชื่องานวิจัย การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ส 102 เรื่องพัฒนาการและประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย ระหว่างการสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์กับวิธีบรรยาย
    ผู้วิจัย นายชุมสาย ไชยวัต และนางสมทรง ไชยวัต
    ปีพ.ศ. 2546

    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
    1. เพื่อศึกษาวิธีสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์
    2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ส 102 เรื่องพัฒนาการและประวัติความเป็นมาของชาติไทย ระหว่างการสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์กับวิธีบรรยายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    ตัวอย่างของประชากรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนรับราษฎร์อุปถัมภ์ จังหวัดราชบุรี จำนวน 68 คน โดยสุ่มมา 2 ห้องเรียน ซึ่งทั้ง 2 ห้องเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ส 101 ในภาคเรียนที่ 1 แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้วิจัยสร้างแผนการสอนใช้ทดลองสอน โดยให้กลุ่มทดลองเรียนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์และกลุ่มควบคุมเรียนด้วยวิธีบรรยาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ส 102 เรื่องพัฒนาการและประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบ t - test
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์มีความสนใจและกระตือรือร้นต่อการเรียนมาก สามารถแสดงความคิดวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ส 102 เรื่องพัฒนาการและประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย ระหว่างการสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์กับวิธีบรรยาย แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

    ตอบลบ
  82. ชื่องานวิจัย รายงานการทดลองใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง การอ่านประกาศรับสมัครงาน วิชา ภาษาอังกฤษอ่าน เขียน (อ 025 ข) ชั้นมัธยมปีที่ 5
    ผู้วิจัย นางสุเพียง อาญาพิทักษ์ อาจารย์ 2 ระดับ 6
    ปี พ.ศ. 2543

    บทคัดย่อ
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    การทดลองใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง การอ่านประกาศรับสมัครงานวิชาภาษาอังกฤษอ่าน เขียน (อ 025 ข) มีวัตถุประสงค์ดังนี้
    1.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
    2.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้ใช้ชุดการสอน
    3.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนโดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
    วิธีดำเนินการวิจัย
    ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 แผนการเรียนอังกฤษคณิต โรงเรียนกำแพงวิทยา จำนวน 36 คน และผู้เชี่ยวชาญจากโรงเรียนเดียวกัน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความคิดเห็นของครูผู้สอน และแบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ IOC, X, SD และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าสถิติ t-test

    ตอบลบ
  83. ชื่องานวิจัย การทดลองใช้สื่อชุดการสอนศูนย์การเรียนเรื่องการเขียนจดหมายส่วนตัว วิชาภาษาอังกฤษหลัก อ 017
    ผู้วิจัย อาจารย์กัลยา เด็งสาแม
    ปี พ.ศ. 2543

    บทคัดย่อ
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียนโดยใช้สื่อชุดการสอนศูนย์การเรียน
    2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นครูอาจารย์ และนักเรียนที่ใช้สื่อชุดการสอนศูนย์การเรียน
    ดำเนินการวิจัย
    - กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ดำเนินการวิจัยคือ นักเรียนชั้น ม. 4/3 แผนการเรียนวิทย์คณิตจำนวน 37 คน และให้ครูอาจารย์ศูนย์วิชาภาษาอังกฤษเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบตามจุดประสงค์ เป็นข้อสอบแบบให้เขียนตอบ มีทั้งหมด 7 ข้อ คะแนนเต็ม 15 คะแนน ซึ่งสร้างขึ้นเองบางข้อ และบางข้อดัดแปลงมาจากหนังสือของ อบร สัภิบาล (ฝึกเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ)และมานิต มานิตเจริญ (ตำราด้วยการเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ)
    - และอีกชุดเป็นแบบสอบถาม ประเมินประสิทธิภาพของสื่อชุดการสอนศูนย์การเรียน
    - การวิเคราะห์ใช้วิธีการหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบความมีนัยสำคัญค่า t - test
    ผลการวิจัย
    1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเรื่องการเขียนจดหมายส่วนตัว (Personal Letter) โดยใช้สื่อชุดการสอนศูนย์การเรียน คะแนนก่อนเรียน และหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนับสคัญทางสถิติที่ 0.001
    2. นักเรียนและครูอาจารย์มีความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียนการสอนโดยใช้สื่อชุดการสอนศูนย์การเรียน ผลการวิจัย
    1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
    2.ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน มีความเห็นว่าชุดการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก – มากที่สุด (3.80 - 4.60) ซึ่งสุงกว่าเกณฑ์ 3.50 ที่ตั้งไว้
    3.นักเรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนโดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนอยู่ในระดับมาก – มากที่สุด (3.94 - 4.75) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 3.50 ที่ตั้งไว้เช่นกัน

    ตอบลบ
  84. ชื่องานวิจัย การทดลองใช้สื่อบทเรียนหน้าเดียว เรื่อง ศิลปะวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา รายวิชา ประเทศของเรา 3 (ส 204) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2543
    ผู้วิจัย นางมณี นุ้ยจันทร์
    ปีพ.ศ. 2543

    บทคัดย่อ
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1. เพื่อเปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สื่อบทเรียนหน้าเดียว
    2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน โดยใช้สื่อบทเรียนหน้าเดียว
    วิธีดำเนินการวิจัย
    - กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้น ม. 2/3 จำนวน 44 คน และครู - อาจารย์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบสื่อ
    - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบทดสอบตามจุดประสงค์และแบบถามเพื่อประเมินประสิทะภาพของสื่อบทเรียนหน้าเดียว
    - การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการหาค่าเยี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความมีนัยสำคัญ ทางสถิติด้วยค่า ที (t – test)
    สรุปผลการวิจัย
    1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง ศิลปะวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา โดยใช้สื่อ บทเรียนหน้าเดียวหลังเรียน สูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .001
    2. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทเรียนหน้าเดียวในระดับมากกว่าทุกรายการที่ประเมิน

    ตอบลบ
  85. ชื่องานวิจัย การศึกษาผลการใช้แบบฝึกทักษะการคิดและแบบฝึกโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านป่าตาล อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
    ผู้วิจัย นางคมคาย พฤกษากร
    ปีพ.ศ. 2545

    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการคิดและแบบฝึกโครงงานวิทยาศาสตร์ และ (2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะกรคิดและแบบฝึกโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนบ้านป่าตาล อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10 คน เตรื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ แบบฝึกทักษะการคิด จำนวน 10 ชุด แบบฝึกโครงงานวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 ชุด และแบบประเมินคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการใช้แบบฝึกแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน
    ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า
    1. ได้แบบฝึกทักษะการคิด และแบบฝึกโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สำหรับโครงงานทั้ง 4 ประเภทได้แก่ โครงงานประเภทสำรวจ โครงงานประเภททดลองโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ และโครงงานประเภททฤษฎี
    2. โครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังจากการใช้แบบฝึกทักษะการคิดและแบบฝึกโครงงานวิทยาศาสตร์ มีคุณภาพดีกว่าก่อนการใช้แบบฝึกทักษะการคิดและแบบฝึกโครงงานวิทยาศาสตร์

    ตอบลบ
  86. ชื่องานวิจัย การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา
    ผู้วิจัย
    ปีพ.ศ.

    บทคัดย่อ
    กรวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเรียนและวิธีการสอน ที่ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้ที่ยั่งยืนของเด็กไทย วิชาวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา โดยใช้วิธีสังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาวิธีการเรียน วิธีการสอน และรูปแบบการเรียนการสอน ที่ทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ.2533 - พ.ศ. 2541 ในการศึกษาครั้งนี้พบเฉพาะงานวิจัยที่ศึกษาวิธีการสอนและรูปแบบการเรียนการสอน จำนวน 93 เล่ม นำมาสังเคราะห์ด้วยวิธีการสังเคราะห์เชิงปริมาณด้วยวิธีวิเคราะห์แบบเมตต้า (จำนวน 27 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 29.3) และการสังเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
    1. ผลการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า
    1.1 การสอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ด้วยวิธีการสอนแบบใช้กิจกรรมวิธีการสอนแบบใช้สื่อการเรียนการสอน และวิธีการสอนแบบผสม ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการสอนตามปกติ
    1.2 การสอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ด้วยวิธีการสอนแบบผสม (โดยใช้ชุดการสอน) ทำให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สุงกว่าการสอนตามปกติ
    2. ผลการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงเนื้อหา พบว่า
    2.1 วิธีการสอนแบบใช้กิจกรรม มี 15 วิธี วิธีการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่าการสอนตามปกติ ได้แก่ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิธีสอนแบบแก้ปัญหา และใช้แผนการสอนหรือชุดกิจกรรมที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าการสอนตามปกติ ได้แก่ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และชุดฝึกกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าการสอนตามปกติ ได้แก่ วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา และใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิทยาศาสตร์
    2.2 วิธีการสอนแบบใช้สื่อการเรียนการสอน มี 10 วิธี วิธีการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าการสอนตามปกติ ได้แก่ การใช้บทเรียนแบบโปรแกรมและหนังสือการ์ตูนเพื่อเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทำให้ผู้เรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าการสอนตามปกติ การใช้สไลด์จากโปรแกรมนำเสนอในคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูงกว่าการสอนตามปกติ การใช้สไลด์-เทป ที่มีสิ่งช่วยจัดมโนมติด้วยนั้น การใช้สิ่งช่วยจัดมโนมติก่อน จะทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีที่สุด รองลงมาคือการใช้ระหว่างใช้สไลด์-เทป และการใช้สิ่งช่วยจัดมโนมติแบบเรื่องย่อกับบทเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะดีกว่าการใช้สิ่งช่วยจัดมโนมติแบบโครงเรื่อง
    2.3 วิธีการสอนแบบผสม มี 12 วิธี วิธีการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าการสอนตามปกติ ได้แก่ การใช้เกมและของเล่นทางวิทยาศาสตร์การใช้คู่มือ/แผนการสอนเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การใช้เครื่องเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ทำให้ผู้เรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าการสอนตามปกติ และชุดการสอนทำให้ความคงทนในการเรียนรู้สูงกว่าการสอนตามปกติ
    2.4 รูปแบบการเรียนการสอน มี 5 รูปแบบ รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของ Bruner, Ausubel และ Suchman ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระยวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าการสอนตามปกติ รูปแบบการเรียนการสอนของ Gagne ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการสอนตามปกติ
    วิธีการสอนทั้ง 37 วิธี และรูปแบบการเรียนการสอน 5 รูปแบบนี้ ล้วนส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้ที่ยั่งยืนของผู้เรียน เพราะส่วนใหญ่นอกจากจะทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นหรือสูงกว่าการสอนตามปกติแล้ว ยังทำให้กระยวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนสูงขึ้นหรือสูงกว่าการสอนตามปกติด้วย

    ตอบลบ
  87. ชื่องานวิจัย การศึกษาสภาพการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล 3 ขวบ) จังหวัดหนองคาย
    ผู้วิจัย นายวีรพล สารบรรณ
    ปีพ.ศ. 2547
    บทคัดย่อ
    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษา ปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล 3 ขวบ) จังหวัดหนองคาย ใน 8 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร ก้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ ด้านการบริหารจัดการ ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ด้านการจัดประสบการณ์และกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านผลการพัฒนาเด็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้ปกครอง ครูผู้สอนหรือพี่เลี้ยงเด็ก และผู้บริหาร ในหน่วยงานหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่จัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล 3 ขวบ) สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ ในจังหวัดหนองคาย จำนวน 181 แห่ง ในอัตรา 1 : 1 : 1 รวม 543 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสำรวจความคิดเห็นและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าตัวกลางเลขคณิต (X) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
    ผลการวิจัยพบว่า
    สภาพการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล 3 ขวบ) โดยภาพรวมมีสภาพการจัดการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าบุคลากร ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านการจัดประสบการณ์และกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านผลการพัฒนาเด็ก มี สภาพการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมาก ด้านงบประมาณ ด้านสื่อการเรียน การสอนและวัสดุอุปกรณ์ด้านการบริหารจัดการ และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน มีสภาพการจัดการศึกษาอยู่ในระดับปานกลางส่วนปัญหาและข้อเสนอแนะพบว่า ผู้บริหารขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล 3 ขวบ) ครูผู้สอนหรือพี่เลี้ยงไม่จบการศึกษาปฐมวัย ครูผู้สอนหรือพี่เลี้ยงเด็กมีน้อย ได้ค่าตอบแทนน้อย ชุมชนหรือผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษา การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า และไม่เพียงพอ สถานที่ตั้งไม่เหมาะสม คับแคบ ห้องเรียนไม่ปลอดโปร่ง สื่อการเรียนการสอนมีน้อย ไม่เพียงพอ บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการติดตามประเมินผลกิจกรรมที่สถานศึกษาร่วมกับชุมชนยังมีน้อย การจัดกิจกรรมประจำวันยังไม่ครอบคลุม

    ตอบลบ
  88. ชื่องานวิจัย ศึกษาความต้องการในการพัฒนาทางวิชาการของบุคลากรเขตการศึกษา 3
    ผู้วิจัย นายอมร บุญช่วย และ นางปัทมา โกมารทัต
    ปีพ.ศ. 2542

    บทคัดย่อ
    ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
    การจัดการศึกษาตามบทบาทหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการตรวจสอบ เอาใจใส่จากสังคมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในด้านคุณภาพของผลผลิตทางการศึกษาที่ต้องเหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของโลกและวิถีชีวิตของความเป็นไทย และบริหารการศึกษาในยุคปัจจุบันจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านจุหมายและระบบการปฏิบัติงาน จากการสรุปแผนพัฒนาการศึกษา การศาสนาและการวัฒนธรรม ระยะที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) ของกระทรวงศึกษาธิการด้านนโยบายการบริหารและการสนับสนุนได้ว่า โครงสร้างการบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการยังไม่มีเอกภาพทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิ พฤติกรรมการบริหารยังเป็นลักษณะของการรวมอำนาจ องค์กรมีขนาดใหญ่เกินไปจนเกิดความล่าช้า มีการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนกันของหน่วยงาน นโยบายการจัดสรรงบประมารตามความต้องการของท้องถิ่นหรือหน่วยงานผู้ปฏิบัติ ยังไม่มีผลจริงในทางปฏิบัติ ระบบข้อมูลสารสนเทศยังขาดความเที่ยงตรง ขาดเอกภาพ ไม่ทันสมัยและครอบคลุม การใช้เทคโนโลยียังไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะศักยภาพของบุคลากร ในสภาวการณ์นี้บทบาทของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในด้านการเร่งรัดกำกับ ติดตามและประเมินผล จึงยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานบุคลากรจำต้องมีศักยภาพด้านวิชาการที่เพียงพอกับบทบาท ดังนี้ จึงมีความจำเป็นที่จ้อง ศึกษาความต้องการในการพัฒนาทางวิชาการของบุคลากร
    ความสำคัญของการศึกษา
    ผลการศึกษาครั้งนี้จะใช้เป็นแนวในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเขตการศึกษา 3 รวมทั้งเพื่อประโยชน์ของเขตการศึกษาจังหวัดและอำเภอที่จะใช้สำหรับกำหนดโยบายในการพัฒนาองค์การต่อไป
    วิธีดำเนินการศึกษา
    ในการศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูลจากบุคลากร เขตการศึกษา 3 ประกอบด้วย ศึกษาธิการอำเภอนักวิชาการศึกษาหัวหน้าฝ่ายระดับจังหวัด นักวิชาการศึกษาจังหวัด นักวิชาการศึกษาอำเภอ และนักวิชาการศึกษาเขตการศึกษา จำนวน 332 คน กำหนดให้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 193 คน
    เครื่องมือใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยอาศัยกรอบแนวทางเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนาธรรม ในฐานะหน่วยงานที่ต้องส่งเสริมงานวิชาการแก่บุคลากรในสังกัดและพื้นที่เขตการศึกษา
    ผลการศึกษา
    การศึกษาความต้องการพัฒนาทางวิชาการของบุคลากรเขตการศึกษา 3 ในเมื่อนำผลการศึกษามาประมวลได้ดังนี้
    1. บทบาทของสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนาธรรม เขตการศึกษา 3 ในการส่งเสริมงานวิชาการแก่บุคลากรในสังกัด โดยภาพรวมบุคลากรมีความเห็นไม่แตกต่างกัน โดยมีการปฏิบัติงานตามบทบาทนี้อยู่ระดับปานกลาง ในข้อเท็จจริงแล้วศักยภาพด้านความพร้อมของบุคลากรของสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามกรอบอัตรากำลังปีงบประมาณ 2539-2542 กำหนดให้มีอัตรากำลัง 30 ตำแหน่ง แต่ปัจจุบันมีบุคลากรปฏิบัติงานจริงเพียง 22 ตำแหน่งเท่านั้น ควรที่จะได้สรรหาบุคลากรที่ความรู้ความสามารถด้านวิชาการมาเสริมศักยภาพเนื่องจากข้าราชการพลเรือน ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาซึ่งมีการปฏิบัติงานลักษณะเดียวกันกับข้าราชการครูในตำแหน่งศึกษานิเทศก์ คือความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ต้องใช้ผลงานทางวิชาการ แต่ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาจะถูกกำหนดทั้งจำนวนอัตรา และเพดานระดับชั้น อีกทั้งทางทางราชการมิได้กำหนดให้มีค่าตอบแทนประจำตำแหน่งแต่อย่างใด ดังนั้นการสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพทางวิชาการมาอยู่ในหน่วยงานจึงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก การพัฒนาศักยภาพของสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อเป็นศูนย์วิชาการสำหรับค้นคว้า ทดลอง และแสดงผลความก้าวหน้าทางวิชาการก็ควรที่จะดำเนินการขึ้นเพราะจะเป็นแหล่งประสานระหว่างภูมิปัญญาของส่วนกลาง และท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี อันเป็นการสนองนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ได้วิธีการหนึ่งสำหรับการเสริมสร้างศักยภาพทางวิชาการของบุคลากรเขตการศึกษา 3 โดยกระยวนการทำงานในลักษณะเครือข่ายตามนโยบายของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

    ตอบลบ
  89. 2. ความรู้ความเข้าใจทางวิชาการของบุคลากรที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม บุคลากรทุกกลุ่มมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกน โดยยอมรับว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง มีแต่ศึกษาธิการอำเภอ และนักวิชาการศึกษา ทีต้องปฏิบัติทั้งงานการวางแผนและงานส่งเสริมพัฒนา เท่านั้นที่มีความรู้ความเข้าใจสูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอที่ต้องการให้มีการพัฒนาทางวิชาการประจำปี และควรเป็นโครงการที่มีระบบแน่นอน ควรจัดเป็นหลักสูตรต่อเนื่องระยะยาวนอกจากนี้ควรจะจัดงบประมาณเพื่อสนับสนุนการค้นคว้าทดลองทางวิชาการในระดับจังหวัดและอำเภอด้วย
    3. การจัดอันดับความรู้ทางวิชาการที่ควรนำมาพัฒนาแก่บุคลากร เขตการศึกษา 3 จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นที่น่าสังเกตว่า ความรู้เกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์นโยบาย การพัฒนาองค์การ การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามนดยบาบเหล่านี้เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่บุคลากรเขตการศึกษา 3 มีความต้องการที่จะให้มีการพัฒนาโดยเร่งด่วนสภาพการณ์นี้อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บุคลากร เขตการศึกษา 3 มีความพอใจกับการปฏิบัติหน้าที่ปัจจุบันเพียงร้อยละ 59.60 และสอดคล้องกับความต้องการให้มีการพัฒนาทางวิชาการประจำปีซึ่งมีถึงร้อยละ 74.50 นอกจากนี้วิธีการอบรมสัมมนามีการเสนอให้เป็นหลักสูตรระยะเวลาและการศึกษาด้วยตนเองโดยนำผลการพัฒนาทางวิชาการไปประเมินคุณภาพในการปฏิบัติงานด้วย อันจะเป็นการเสริมแรงจูงใจได้ประการหนึ่ง อย่างไรก็ตามการพัฒนาวิธีการอบรมสัมมนาทางวิชาการนี้ควรที่จะดำเนินการเพื่อสนองความต้องการของหน่วยงานและบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วย อาทิการพัฒนาตนเองโดยใช้กระยวนการกลุ่ม (Sensitive training) ซึ่งเป็นกระยวนการฝึกการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและผู้อื่น มองเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอัตมโนทัศน์ (Self concept) อันเป็นผลจากการทดลองการวิจัยเรื่องการพัฒนาอัตมโนทัศน์ด้วยการพัฒนาตนเองโดยกระบวนการกลุ่มเป็นต้น
    ข้อเสนอแนะเพื่อพิจารณาในการวิจัยต่อไป
    1. การศึกษารูปแบบเกณฑ์มาตรฐานของนักวิชาการศึกษาในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
    2. การศึกษารูปแบบการพัฒนาทางวิชาการด้วยตนเองสำหรับนักวิชาการศึกษาในสังกัดสำนักงานปลักกระทรวงศึกษาธิการ
    3. การศึกษารูปแบบกระยวนการเครือข่ายเพื่อพัฒนาทางวิชาการแก่วิชาการศึกษาในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

    ตอบลบ
  90. ชื่องานวิจัย รายงานการจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธการ
    ผู้วิจัย -
    ปี พ.ศ. -
    บทคัดย่อ
    รายงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้
    1) การวิเคราะห์เค้าโครงการวิจัยประจำปีของกระทรวงศึกษาธิการ
    2) การพิจารณาเค้าโครงการวิจัยในการให้ทุนอุดหนุนการวิจัย
    3) การตรวจรายงานผลการวิจัยในการให้ทุนอุดหนุนการวิจัย
    4) การคัดเลือกผลงานวิจัยดีมีคุณภาพของกระทรวงศึกษาธิการ
    ประชากร คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมินงานวิจัยของหน่วยงานและสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยในกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ด้วยการเลือกแบบเจาะจงได้แก่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง
    เครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล สร้างเครื่องมือขึ้นจากการหลอมรวมความคิดทฤษฎีต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับบทบาทและภาระหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นข้อคำถามปลายเปิด เนื่องจากในการจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยครั้งนี้ มี 4 หลักเกณฑ์ คือ การวิเคราะห์เค้าโครงการวิจัยประจำปี การพิจารณาเค้าโครงการวิจัยที่ขอรับทุน การตรวจรายงานผลการวิจัยที่ได้รับทุนอุหนุนการวิจัย และการคัดเลือกผลงานวิจัยดีมีคุณภาพ จึงสร้างเครื่องมือเป็นแบบสำรวจข้อมูลจากเอกสาร 4 แบบ ตรวจสอบเครื่องมือโดยให้นักวิชาการพิจารณาในความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาจากเอกสารที่รวบรวมได้จากหน่วยงานที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยการติดต่อของเอกสารทางไปรษณีย์ และสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาสรุปตามกรอบความคิด หรือตามแบบสำรวจข้อมูลในแต่ละหลักเกณฑ์ดังกล่าว
    การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และทำการสรุปผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics)
    ขั้นตอนการจัดทำหลักเกณฑ์การประเมิน ในการจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินครั้งนี้ มีขั้นตอนการดำเนินงานสำคัญในแต่ละหลักเกณฑ์ประกอบด้วย
    1. วางแผนพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการวิจัย ใน 3 ลักษณะ คือ เกี่ยวกับการเสนอของงบประมาณโครงการวิจัยประจำปีผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติตามมติคณะรัฐมาตรี (1 ฉบับ) การให้ทุนอดหนุนการวิจัย (2 ฉบับ) และเกี่ยวกับการคัดเลือกผลงานวิจัยดีมีคุณภาพเพื่อเผยแพร่แลยกย่องเชิดชูเกียรติ (1 ฉบับ) โดยการกำหนดรูปแบบของหลักเกณฑ์การประเมิน กำหนดสภาพปัจจุบันและปัญหากำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดประชากรกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
    2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณภาพงานวิจัยอย่างหลากหลาย ทั้งเอกสารหลักเกณฑ์การประเมิน ตำราการวิเคราะห์โครงการวิจัย การตรวจรายงานผลการวิจัยเพื่อนำมาน้างกรอบความคิดในการดำเนินงานและเกี่ยวกับการคัดเลือกผลงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่
    3. สร้างกรอบความคิดที่ใช้ในการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินแต่ละฉบับ เพื่อกำหนดกรอบให้ครอบคลุมเนื้อหาที่จะทำการประเมิน และสอดคล้องกับปบบาทของกระทรวงศึกษาธิการ
    4. จัดทำร่างหลักเกณฑ์การประเมิน 4 ฉบับ ทั้งการวิเคราะห์เค้าโครงการวิจัยประจำปี การตรวจสอบโครงการวิจัยที่ขอรับทุน การตรวจรายงานผลการวิจัยที่ได้รับทุน และการคัดเลือกผลงานวิจัยดีมีคุณภาพ
    5. ตรวจสอบความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยของความอนุเคราะห์จากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ นำไปทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    6. ปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์ทั้ง 4 ฉบับ โดยนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานเพื่อพิจารณาทุนอุดหนุนการวิจัยด้วยการตรวจสอบฉบับละ 3 ครั้ง แล้วนำเสนอคณะกรรมการวิจัยการการศึกษา การศาสนา และการวัฒนะธรรมของกระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ
    7. จัดพิมพ์เผยแพร่ไปยังหน่วยงานทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 665 หน่วยงานทั่วประเทศได้ใช้ประโยชน์
    ผลการศึกษาได้เสนอสาระสำคัญของประเด็นที่จะทำการประเมินในแต่ละหลักเกณฑ์ดังนี้
    ก. หลักเกณฑ์การวิเคราะห์เค้าโครงการวิจัยประจำปีของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นการสร้างเกณฑ์การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในเบื้องต้นของเค้าโครงการวิจัยที่จะของบประมาณประจำปี ผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยใช้เกณฑ์การจัดอันดับ (Rating Scale) มาประกอบการวิเคราะห์ มีสาระสำคัญดังนี้

    ตอบลบ
  91. 1. คุณค่าเค้าโครงการวิจัยในเชิงนโยบาย พิจารณาจากความสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาทางการศึกษาของรัฐบาล สภาพปัญหาและการพัฒนาตามสถานการณ์ทางการศึกษา ตลอดจนความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา และพิจารณาจากความซ้ำซ้อนหรือความคล้ายกันของโครงการวิจัยที่ดำเนินการมาแล้ว
    2. คุณค่าของเค้าโครงการวิจัยด้านระเบียบวิธีวิจัย พิจารณาจากความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับปัญหาที่ทำการวิจัย ความเหมาะสมของหลักการและเหตุผล และความเหมาะสมของขั้นตอนของการดำเนินงานวิจัย
    3. ประโยชน์ที่จะได้จากการวิจัย พิจารณาจากการนำไปกำหนดนโยบายหรือนำไปวางแผนทางการศึกษา การนำไปใช้ในทางปฏิบัติจริง และคุณค่าทางวิชาการเกี่ยวกับการหาข้อสรุปใหม่ทางการศึกษา
    ข. หลักเกณฑ์การพิจารณาเค้าโครงการวิจัยที่ขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการโดยใช้เกณฑ์การจัดอันดับ (Rating Scale) มาประกอบการพิจารณา มีสาระสำคัญดังนี้
    1. ชื่อโครงการมีความกระทัดรัดครอบคลุมใช้ภาษาได้ถูกต้องตามสาขาวิชา ความสำคัญและที่มาของปัญหา สามารุชี้ประเด็นได้ชัดเจนวิเคราะห์ได้สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎี มีการศึกษาเอกสารแนวคิดทฤษฎีได้กระทัดรัด และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน สอดคล้องกับปัญหาและตอบคำถามได้
    2. เลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัยได้เหมาะสมกับการแก้ปัญหา กำหนดแบบแผนได้สอดคล้องกับการแก้ปัญหา ขั้นตอนการวิจัยชัดเจน เครื่องมือถูกต้อง และสถิติที่ใช้เหมาะสมกับแบบแผนการวิจัย
    3. ผลที่ได้รับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติได้ สอดคล้องกับการแก้ปัญหาและเกิดคุณค่าทางวิชาการ
    4. การอ้างอิงเขียนได้ถูกต้องตามหลักสากลที่ยอมรับได้และครบถ้วน
    5.แผนการดำเนินงานและงบประมาณเหมาะสมกับการดำเนินงานและความพร้อมของผู้วิจัยเอื้อต่อการทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จได้
    ค. หลักเกณฑ์การตรวจรายงานการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ใช้เกณฑ์การผ่านหรือไม่ผ่าน ในแต่ละตอน ซึ่งมี 4 ตอน ใช้ความเชี่ยวชาญของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นสำคัญ มีสาระสำคัญดังนี้
    1. ความสำคัญและขอบเขตของเรื่องที่วิจัยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญได้ชัดเจนสมเหตุสมผล การอ้างอิงและกำหนดกรอบความคิดในการวิจัยได้เหมาะสมกับเรื่องที่วิจัย
    2. วิธีดำเนินการวิจัยและแบบแผนการวิจัยกำหนดได้สอดคล้องกับการแก้ปัญหาการวิเคราะห์ข้อมูลและการให้สถิติได้เหมาะสมที่จะตอบคำถามได้ และแปลผลได้ถูกต้อง ตลอดจนสรุปอภิปรายผลได้น่าสนใจและเชื่อถือได้
    3. การอ้างอิงดำเนินการได้ถูกต้องตามหลักสากลที่ยอมรับได้ การใช้ภาษาโดยทั่วไปได้เหมาะสมกระทัดรัด ความต้องเนื่องของการเขียนรายงานได้เชื่อมโยงทุกตอน
    ง. หลักเกณฑ์การคัดเลือกผลงานวิจัยดีมีคุณภาพ ใช้ระดับคุณภาพ 4 ระดับ มีสาระสำคัญดังนี้
    1. ชื่อรายงานวิจัยมีความชัดเจน กระทัดรัดเข้าใจง่าย ครอบคลุมเนื้อหา วัตถุประสงค์จำเพาะเจาะจง สามารถตอบคำถามได้ ความสำคัญและที่มาของปัญหามีความชัดเจนกล่าวถึงกันมาก จำเป็นต้องทำการวิจัยหาแนวทางแก้ไข
    2. มีการศึกษาแนวคิดทฤษฎีได้ครอบคลุมกับปัญหาของการวิจัย เสนอกรอบความคิดได้ชัดเจน ออกแบบการวิจัยได้เหมาะสมกับการแก้ปัญหา มีวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เชื่อถือได้เครื่องมือเหมาะสม เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้อง
    3. เสนอผลการวิจัยได้ครอบคลุม สรุปได้สมเหตุสมผลกับทฤษฎี ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ผลที่เกิดขึ้นนำไปแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ในหน่วยงานได้ ตลอดจนเกิดคุณค่าทาง

    ตอบลบ
  92. ชื่องานวิจัย การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนจะนะ จังหัดสงขลา เพื่อทำหนังสือประกอบการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2
    ผู้วิจัย นางละเอียด บุญช่วย
    ปี พ.ศ. 2544
    บทคัดย่อ
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนจะนะ จังหวัดสงขลา เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ประวัติการตั้งถิ่นฐาน ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนและนำเนื้อหาที่ได้จากการศึกษา ไปจัดทำหนังสือประกอบการเรียนการสอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2
    วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
    ระยะที่ 1 การวิจัยโดยการสำรวจและศึกษาเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ เพื่อกำหนดกรอบเค้าโครงในการสัมภาษณ์ ดำเนินการสัมภาษณ์บุคบลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับหมู่บ้านเป็นอย่างดี นำผลการสัมภาษณ์มาสรุปเป็น สภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ประวัติการตั้งถิ่นฐาน ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นรายตำบล
    ระยะที่ 2 การวิจัยโดยนำผลการสรุปสาระสำคัญของประวัติศาสตร์ชุมชนจะนะ จังหวัดสงขลามาจัดทำหนังสือประกอบการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 หาประสิทธิภาพของหนังสือหระกอบการเรียนการสอนด้วยวิธีประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในระดับปฏิบัติการซึ่งเป็นครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2
    ผลการศึกษาพบว่า
    อำเภอจะนะตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสงขลา สภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมชองชุมชนจะนะมีลักษณะภูมิประเทศเป็นทีราบสูง ควนและภูเขาเตี้ย ๆ เป็นที่ราบลุ่มและที่ราบชายฝั่งทะเล ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และอาชีพประมง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 ตำบล 133 หมู่บ้าน ชุมชนจะนะเป็นชุมชนโบราณ มีการพบกลองมโหระทึกสำริดหลักฐานทางโบราณคดี ที่แสดงถึงการทำกิจกรรมของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในพื้นที่นี้ และมีการพบร่องรอยคูคันดินที่สันนิษฐานว่าเป็นป้อมปราการของการตั้งชุมชนดั้งเดิมที่บ้านในเมือง ตำบลคลองเปียะ เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีของคนในชุมชนจะนะ ชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธมีการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนาพุทธ เช่น ประเพณีทำบุญวันสารทเดือนสิบประเพณีชักพระ วันเข้าพรรษา ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามมีการประกอยพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม เช่นการละหมาด 5 เวลา การเข้าสนัด การจัดงานเมาลิด วันฮารีรายอ วันอีดิฏฮา การบริจาคซะกาฮ์ และการไปประกอบพิธีฮัจฮ์
    ประชาชนในชุมชนจะนะ มีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อเกี่ยวกับทวด ความเชื่อเรื่องฤกษ์ผานาที่ในการประกอบงานมงคล วัฒนธรรมที่ปรากฏในรูปวรรณกรรมมุขปาฐะ ได้แก่ เพลงชาน้อง เพลงร้องเรือ หรือเพลงเปลที่ใช้กล่อมเด็ก และนิทานเกี่ยวกับท้องถิ่น
    การจัดทำหนังสือประกอบการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 โดยใช้เนื้อหาจากการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนจะนะ จังหวัดสงขลา เพื่อใช้เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี สามารถนำเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชนไปพัฒนาเป็นหนังสือสำหรับเด็กในลักษณะต่างๆได้

    ตอบลบ
  93. ชื่องานวิจัย ผลของการใช้แผนการสอนกิจกรรมแนะแนวที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางที่มีต่อมโนภาพแห่งตนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสรรพวิทยาคม
    ผู้วิจัย คุณฉัตรชัย วิเทศน์
    ปี พ.ศ. 2544
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงผลของการใช้แผนการสอนกิจกรรมแนะแนวที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางที่มีต่อมโนภาพแห่งตน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเนียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสรรพวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ปีการศึกษา 2543 จำนวน 28 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นจากผู้ที่มีคะแนนมโนภาพแห่งตน ต่ำกว่า 75 % แล้วทำการสุ่มจำแนกเพื่อแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 14 คน กลุ่มทดลองได้รับการสอนโดยใช้แผนการสอนกิจกรรมแนะแนวที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง จำนวน 18 ครั้ง ๆ ละ 50 นาที ติดต่อกันรวม 4 เดือนครึ่ง โดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอนตามแผนการสอนที่กำหนดไว้ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนโดยวิธีปกติ
    เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบมโนภาพแห่งตน ซึ่งแปลและเรียนเรียงโดย จุไรรัตน์ เปรมัษเฐียร มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 จาการทดสอบความแตกต่างโดยใช้การทดสอบที่ผลการวิจัยพบว่า
    1. นักเรียน ที่ได้รับกรสอนโดยใช้แผนการสอนกิจกรรมแนะแนวทีเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางมีมโนภาพแห่งตนสุงกว่านักเรียนที่สอนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการสอนกิจกรรมแนะแนวที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง มีมโนภาพแห่งตนหลักการสอนสูงกว่าก่อนได้รัยการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

    ตอบลบ
  94. ชื่องานวิจัย ความต้องการบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระบบโรงเรียน
    ผู้วิจัย ส่วนสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
    ปี พ.ศ. -

    บทคัดย่อ
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเรื่องเนื้อหาปละรูปแบบของ CAI จากบุคลากรในระบบโรงเรียน คือ ผู้บริหารครู-อาจารย์และนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จากโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน โรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล กรุงเทพมหานคร) โดยสุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนจำนวน 683 โรงจัดส่งแบบสอบถามไปให้กลุ่มตัวอย่างตอบและส่งกลับทางไปรษณีย์ ได้รับแบบสอบถามคืนทั้งสิ้นจำนวน 3,381 ฉบับ นำมาเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณความถี่และร้อยละ
    ผลการศึกษาพบว่า ในวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความต้องการในเนื้อหาเรื่อง กลไกมนุษย์ หญิงและชาย โลกดวงดาวและอวกาศ โลกและการเปลี่ยนแปลง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ต้องการเนื้อหาเรื่อง โครงสร้างอะตอมปรากฏการณ์คลื่น พันธะเคมี แสงและการเห็น โมเมนตัมและการชน ระบบนิเวศวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้อนมี ความต้องการในเนื้อหาเรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สมการ ทฤษฎีบทปีทาโกรัส เลขยกกำลัง คู่อันดับ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต้องการเนื้อหาเรื่อง ระบบจำนนจริง ตรีโกณมิติ ภาคตัดกรวย เซต ฟังก์ชัน วิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความต้องการเนื้อหาเรื่อง Tense, Noun and Pronoun Active and Passive Voice, Preposition ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต้องการเนื้อหาเรื่อง Tense, Sentence Construction, Active and Passive Voice, Word Order Noun and Pronoun ส่วนรูปแบบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนใหญ่ต้องการรูปแบบประเภทติวเตอร์ แบบฝึกหัด และแบบทดสอบ

    ตอบลบ
  95. 101 ชื่องานวิจัย การศึกษาแหล่งความรู้ในชุมชนวิชาสังคมศึกษากรณีศึกษา อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
    ผู้วิจัย รองศาสตราจารย์ลัดดา สิลาน้อย และคณะ
    ปี พ.ศ. 2542

    บทคัดย่อ
    ภาษาไทย
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) รวบรวมแหล่งความรู้ที่มีอยู่ในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จัดทำเป็นคู่มือสำหรับครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สำหรับเป็นแนวทางในการใช้แหล่งความรู้ในอำเภอน้ำพอง ในการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาและ (2) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาในการนำแหล่งความรู้มาใช้ในการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษากรณีศึกษาอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นกลุ่มตัวอย่างคือแหล่งความรู้ในชุมชน ประกอบไปด้วย บุคคล สถานที กิจกรรมของอำเภอน้ำพอง จำนวน 80 แหล่ง ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา 70 คน เก็บรวบรวมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PC+ เพื่อคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการวิจัย
    1. แหล่งความรู้ในชุมชนของอำเภอน้ำพองที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาสังคมศึกษา มี 4 ประเภท คือ แหล่งความรู้ในชุมชนประเภทบุคคล สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และกิจกรรมในชุมชน จำนวน 80 แหล่ง แบ่งเป็นแหล่งความรู้ประเภทบุคคล 21 แหล่ง ความรู้ประเภทบุคคลที่สัมพันธ์กับการเรียนการสอนรายวิชาสังคมศึกษามากที่สุดคือ พระสงฆ์ที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งได้แก่ พระสุขเกษม สุขุมาโล บุญสม และพระมหาขบวน อัคคะวัณโน แหล่งความรู้ประเภทสถานที่ 57 แหล่ง แหล่งความรู้ประเภทสถานที่ที่สัมพันธ์กับการเรียนการสอนรายวิชาสังคมศึกษามากที่สุด คือ ห้องสุมดประชาชนเฉลิมราชกุมารี ส่วนแหล่งความรู้ประเภทวัสดุอุปกรณ์ 38 แหล่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในแหล่งความรู้ประเภทบุคคล สถานที่ แหล่งความรู้ประเภทวัสดุอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับการเรียนการสอนรายวิชาสังคมศึกษามากที่สุดคือ ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี และแหล่งความรู้ประเภทกิจกรรม 2 แหล่ง โดยแหล่งความรู้ประเภทกิจกรรมที่สัมพันธ์กับการเรียนการสอนรายวิชาสังคมศึกษามากที่สุดคือ กิจกรรมอนุรักษ์น้ำพองซึ่งแหล่งความรู้ 80 แหล่งนี้ ผู้วิจัยได้จัดทำคู่มือแหล่งความรู้ในอำเภอน้ำพอง สำหรับเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา นำใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งรายละเอียดของแหล่งความรู้แต่ละแหล่งประกอบด้วย
    1.1 ชื่อแหล่งความรู้
    1.2 ประเภทของแหล่งความรู้
    1.3 ความรู้ที่ได้รับจากแหล่งความรู้
    1.4..สถานที่ตั้งแหล่งความรู้
    1.5 ผู้รับผิดชอบแหล่งความรู้
    1.6 ระยะทางจากอำเภอน้ำพองถึงแหล่งความรู้
    1.7 วิธีการติดต่อแหล่งความรู้
    1.7.1 ชื่อตำแหน่ง
    1.7.2 ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้
    1.7.3 ช่วงเวลาที่ให้บริการด้านการศึกษา
    1.7.4 วิธีการให้บริการ
    1.7.5 วัสดุอุปกรณ์ของแหล่งความรู้ที่สามารถขอยืม
    1.8 ความสัมพันธ์ของแหล่งความรู้ที่ได้จากชุมชนกับจุดประสงค์ในหลักสูตรวิชาสังคมศึกษาแต่ละรายวิชา
    1.9 ประโยชน์ที่นักเรียนและครูได้รับจากแหล่งความรู้

    ตอบลบ
  96. 2. ความคิดเห็นของครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาในการนำแหล่งความรู้ในชุมชนมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา กรณีศึกษาอำเภอน้ำพอง จังกวัดขอนแก่น พบว่า
    2.1 ความคิดของครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา อำเภอน้ำพอง มีความคิดเห็นด้านวิธีการใช้แหล่งความรู้ในชุมชนในระดับมากทุกวิธีการ โดยลำดับแรกครูเห็นด้วยกับวิธีการเชิญชาวบ้านที่มีความสามารถเฉพาะด้าน เช่น ทอเสื่อ ปั้นหม้อ รีดนมวัว เป็นวิทยากรให้ความรู้ ส่วนวิธีที่ครูเห็นด้วยน้อยที่สุดคือการขอยืมสไลด์ วีดิทัศน์ รูปภาพจากหน่วยงานอื่น ๆ
    2.2 ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา อำเภอน้ำพอง มีความคิดเห็นต่อประโยชน์ของแหล่งความรู้ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยประโยชน์อันดับแรกที่ครูส่วนใหญ่เห็นร่วมกันคือช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจและเห็นคุณค่าต่อสภาพแวดล้อมอำเภอน้ำพองและครูทุกคนไม่มีความเห็นด้านประโยชน์ของแหล่งความรู้อำเภอน้ำพอง ในระดับน้อยที่สุด
    2.3 แหล่งความรู้ในอำเภอน้ำพองที่ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยม ร้อยละ 30 ขึ้นไป เคยนำมาใช้มี 28 แหล่ง และในจำนวนแหล่งความรู้ 8 แหล่งจาก 28 แหล่งนี้ ครูผู้สอนร้อยละ 80 เคยนำมาใช้ซึ่งได้แก่ พระสงฆ์ ป้ายโฆษณา รณรงค์ยาเสพติด รณรงค์ประชาธิปไตย กิจกรรมรณรงค์โรคเอดส์ และกิจกรรมรณรงค์ประชาธิปไตย กรทำบุญตามวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมอบรมธรรมะ และจริยธรรมส่วนแหล่งความรู้ที่ครูผู้สอนร้อยละ 10 เคยนำมาใช้ มีเพียง 1 แหล่งคือ การขอยืม วัสดุอุปกรณ์ สไลด์ วีดีทัศน์เรื่องการผลิตกระดาษ

    ตอบลบ
  97. ชื่องานวิจัย “บทบาทการส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบล เขตการศึกษา 10”
    ผู้วิจัย นายพนิชย์ พรจันทร์ และคณะ
    ปี พ.ศ. 2543

    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทการส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามทัศนะของประธานกรรมการบริหารส่วนตำบลในพื้นที่เขตการศึกษา 10 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาในการส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ องค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่เขตการศึกษา 10 ประจำปี 2542 จำนวน 228 แห่ง โดยศึกษาจากทัศนะของประธานกรรมการการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบเลือกตอบแบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
    ผลการวิจัย มีดังนี้
    1. องค์การบริหารส่วนตำบล โดยประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล มีบทบาท ส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมดังนี้
    ในด้านศาสนา พบว่า มีบทบาทในระดับปานกลาง โดยได้จัดกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา ได้สนับสนุนส่งเสริมการประชาสัมพันธ์งานด้านศาสนาทางหอกระจายข่าว และได้ร่วมมือกันจัดส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติตามหลักธรรม คำสอนของศาสนา ตามลำดับ
    ในด้านวัฒนธรรม พบว่า มีบทบาทในระดับปานกลาง โดยได้ร่วมมือกับชุมชนจัดงานประเพณีของท้องถิ่น ได้ร่วมมือกับวัดจัดงานประเพณีของท้องถิ่น และได้จัดกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ตามลำดับ
    2. เปรียบเทียบบทบาทการส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบล โดยประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จำแนกตามเพศ พบว่า ทั้งเพศชายและเพศหญิง มีบทบาทส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุพบว่า ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มอายุต่ำกว่า 41 ปี และ 41 ปีขึ้นไป มีการส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่ากลุ่มระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไป มีการส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
    3. ปัญหาอุปสรรคในการส่งเสริมศาสนา และวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า ขาดงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอ ขาดบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านศาสนาและวัฒนธรรม รวมทั้งขาดความรู้ความเข้าใจงานด้านส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหา คือ รัฐควรจัดสรรงบประมาณให้องค์การบริหารส่วนตำบลอย่างเพียงพอจัดอัตรากำลังด้านศาสนาและวัฒนธรรม รวมทั้งจัดให้มีการอบรมเพิ่มพูนความรู้แก่บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลด้านส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมมากขึ้น

    ตอบลบ
  98. ชื่องานวิจัย การผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    ผู้วิจัย คุณประพันธ์ กาวิชัย
    ปี พ.ศ. 2542

    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียน และ 2) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ทีมีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2542 โรงเรียนสารภีพิทยาคม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ประกอบด้วย 1.1) หมวดคำศัพท์ที่จัดเป็น Active Vocabulary จำนวน 5 หมวด ๆ ละ 10 คำ 1.2) แบบฝึกหัดที่เป็นชนิด สุ่มเลือกให้นักเรียนได้ฝึกจนเกิดความเข้าใจในบทเรียน 1.3) แบบทดสอบสำหรับให้นักเรียนได้ตรวจสอบและยืนยันผลการเรียนรู้ของตนเอง 2) แบบทดสอบก่อนและหลังการเรียน และ 3) แบบวัดเจตคติ
    ก่อนที่จะให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้เรียนรู้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้วิจัยได้ทำการวัดความรู้ โดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลังการเรียนซึ่งแบบทดสอบดังกล่าวจะถูกนำมาทดสอบซ้ำอีกครั้งหลังจากที่นักเรียนได้ศึกษาบทเรียนไปแล้ว และเก็บผลคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ X SD แลทดสอบค่า t-test ส่วนการศึกษาเจตคติของนักเรียนได้จากผลการให้ความเห็นจากแบบวัดเจตคติที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น และนำผลที่ได้มาสรุปโดยใช้สถิติร้อยละ
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลสัมฤทธิ์ทางเรียนก่อนและหลังการเรียน ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
    2. ผลการวิเคราะห์ด้านเจตคติของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนพบว่า นักเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ระดับความเห็น มาก คิดเป็นร้อยละ 100

    ตอบลบ
  99. ชื่องานวิจัย การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยยึดทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ
    ผู้วิจัย นายสมบัติ แซ่ติ้ว
    ปี พ.ศ. 2538

    บทคัดย่อ
    การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยทฤษฎีการตอบสอนง (Item Response Theory - IRT) และการสำรวจสภาพการเรียนการสอน เจตคตินักเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในเขตการศึกษา 2 ประจำปีการศึกษา 2538 มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบทดสอบที่เหมาะสมกับนักเรียนที่มีระดับความสามารถต่างกัน เพื่อต้องการให้ครูหรือ โรงเรียนได้มาใช้บริการเป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยข้อบกพร่องของนักเรียนในชั้นที่สอน ก่อนที่จะคิดผลิตวัตกรรมต่อไป ผลการพัฒนาแบบทดสอบ พบว่า แบบทดสอบที่สร้างขึ้นจำนวน 40 ข้อ เมื่อผ่านการวิเคราะห์ ตามแนวของ IRT พบว่า เป็นข้อสอบที่มีระดับความยากต่ำกว่า -1.0 เหมาะจะนำไปใช้สอบวินิจฉัย จำนวน 14 ข้อ นอกจากนั้นเป็นข้อสอบที่ยาก มีค่า b > 1.0 ควรจะนำไปใช้สอบแข่งขัน ค่าอำนาจจำแนก (a) มากกว่า 0.3 23 ข้อ ค่าโอกาสในการเดา (c < 0.3) 3 ข้อ
    ผลการสำรวจด้านพฤติกรรมการสอนของครูที่สอนคณิตศาสตร์ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การให้นักเรียนฝึกคิดคำนวณโดยการเล่นเกม หรือแบบฝึกอื่น ๆ ที่ไม่ใช่จากหนังสือแบบฝึกหัด พฤติกรราการสอนของครูที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ครูสอนโดยอธิบายยกตัวอย่างจากหนังสือแบบฝึกหัด
    ผลการสำรวจเจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนกลัวที่จะเรียนคณิตศาสตร์ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด พบว่า ความต้องการเรียนคณิตศาสตร์ให้ได้คะแนนดี
    เมื่อศึกษาปัญหา หรือจุดบกพร่องจากที่นักเรียนตอบผิดเกินกว่าร้อยละ 50 ของผู้สอบทั้งหมด พบว่านักเรียนบกพร่องในทักษะการคำนวณมากที่สุด โดยเฉพาะการลบเศษส่วนที่มีส่วนไม่เท่ากัน การลบเศษส่วนที่อยู่ในรูปจำนวนคละ รองลงมานักเรียนพกพร่องในด้านโจทย์ปัญหา เพราะยังใช้สัญลักษณ์แทนค่าในโจทย์ไม่ถูกต้อง

    ตอบลบ
  100. ชื่องานวิจัย “ผลการใช้แบบฝึกการคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล”
    ผู้วิจัย นางวรรณดี สุธาพาณิชย์
    ปี พ.ศ. 2546

    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกการคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลและเพื่อเปรียบเทียบการคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการใช้แบบฝึกการเขียนแบบสร้างสรรค์
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานประถมศึกษาอำเภอเมืองสตูล ปีการศึกษา 2545 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจง คือ ห้องเรียนที่มีนักเรียนไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ ในสมรรถภาพการเขียนมากที่สุด 3 ห้องเรียน คือ นักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล จำนวน 30 คน โรงเรียนบ้านคลองขุด จำนวน 30 คน โรงเรียนบ้านเขาจีน 30 คน รวมทั้งสิ้น จำนวนนักเรียน 90 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกการคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบฝึกการคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และแบบทดสอบการคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 6 ฉบับ ใช้รูปแบบการทดลองแบบ One -Group Pretest – Posttest Design
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. แบบฝึกการคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มี ประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกการคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการทดลองมีคะแนนการคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่นและความคิดริเริ่ม สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

    ตอบลบ
  101. ชื่องานวิจัย การฝึกดนตรีประเภทขลุ่ยเพียงออ ซอด้วงและซออู้
    ผู้วิจัย นางอัมพิกา มาดีประเสริฐ
    ปี พ.ศ. 2546
    บทคัดย่อ
    การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้เป็นการพัฒนาชุดการเรียนการสอน เรื่องการฝึกดนตรีประเภทขลุ่ยเพียงออ ซอด้วงและซออู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนดนตรี และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนการสอนเรื่องการฝึกดนตรี
    กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 จำนวน 30 คน สุ่มแบบเจาะจง ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 6 คาบ ๆ ละ 50 นาที และฝึกดนตรีโดยลำพังไม่น้อยกว่า 4 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดการเรียนการสอนเรื่องการฝึกดนตรีประเภทขลุ่ยเพียงออ ซอด้วงและซออู้ จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินผลการฝึกดนตรี และสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับชุดฝึกดนตรี ด้านเนื้อหา ภาษา และประโยชน์ที่ได้รับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
    ผลการวิจัยพบว่า ชุดการเรียนการสอนเรื่อง การฝึกดนตรี ประเภทขลุ่ยเพียงออ ซอด้วงและซออู้ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ชุดที่ 1 = 84.22/87.56 = ชุดที่ 2 = 89.33/91.11 ชุดที่ 3 = 83.22/84.00 และชุดที่ 4 = 89.22/92.44 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุงกว่าก่อนเรียนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้ง 4 ชุด เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนด การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนการสอน พบว่านักเรียนที่ฝึกขลุ่ยเพียงออ ซอด้วงและซออู้ เห็นว่า ในด้าน เนื้อหา ภาษา และประโยชน์ที่ได้รับมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน

    ตอบลบ
  102. ชื่องานวิจัย การศึกษาวิเคราะห์ผลการตรวจราชการและติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เขตการศึกษา 3 ประจำปีงบประมาณ 2545
    ผู้วิจัย นายประสม วัชรจินดา
    ปี พ.ศ. 2545

    บทคัดย่อ
    การศึกษาวิเคราะห์ผลการตรวจราชการและติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เขตการศึกษา 3 ประจำงบประมาณ 2545 มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของสถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เขตการศึกษา 3 ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2545 2.) เพื่อประสาน เร่งรัด ติดตามความก้าวหน้า และความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการปฏิบัติงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2545 ให้สมประโยชน์ต่อทางราชการ ตลอดจนตรวจสอบคุณภาพงานและการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐในมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน 3.) เพื่อนำข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นข้อมูลประกอบการสนับสนุนหรือปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป การจัดเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม รวมรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรที่ใช้ในการตรวจราชการครั้งนี้ ได้แก่ สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 3 จำนวน 76 แห่ง สถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 3 คือ จังหวัดสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร จำนวน 2,946 แห่ง รวม 3,022 แห่ง กำหนดสัดส่วนเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในส่งแบบสอบถามจำนวน 1,111 แห่ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงพรรณนา สรุปสาระได้ดังนี้
    นโยบาย
    1. การปฏิรูปการศึกษา พบว่า สถานศึกษาปฏิบัติได้ในระดับมาก กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานมากที่สุด คือ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิกการเรียนการสอน และการประเมินผลที่ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ตามแนวทางการใช้หลักสูตรใหม่ กิจกรรมมีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานน้อยที่สุด คือ ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทดลองนำร่องเขตพื้นที่การศึกษา

    ตอบลบ
  103. 2. การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี และการศึกษาปฐมวัย พบว่า โดยภาพรวม สถานศึกษาปฏิบัติได้ในระดับมาก พิจารณาด้านของจุดเน้น พบว่า
    ด้านการจัดให้บุคคลมีโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมและทั่วถึงกัน พบว่า กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานที่สุด คือ การรับเด็กเข้าเรียนตามนโยบาย ระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานน้อยที่สุด คือ การจัดสื่อ/อุปกรณ์ สำหรับเด็กขาดแคลน
    ด้านการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา และพัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่ากิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานมากที่สุด คือ การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน เพื่อนำมาไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานน้อยที่สุด คือ การจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศโดยเจ้าของภาษา
    ด้านการให้บุคคล ชุมชน องค์กร และสถาบันต่าง ๆ ในท้องถิ่น ส่วนร่วม สนับสนุน ส่งเสริมการจัดการศึกษา พบว่า กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานมากที่สุด คือ การมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมทางศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานน้อยที่สุด คือการสนับสนุนอาหารเสริม (นม)
    พิจารณาการจัดการศึกษาปฐมวัย พบว่า โดยภาพรวม สถานศึกษาปฏิบัติได้ในระดับมาก
    ด้านการจัดให้บุคคลมีโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง พบว่า กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานมากที่สุด คือ การรับเด็กเข้าเรียนตามนโยบายและระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานน้อยที่สุด คือ การให้บริการแก่เด็กด้อยโอกาสและเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย
    ด้านการให้บุคคล ชุมชน องค์กร และสถาบันต่าง ๆ ในท้องถิ่น มีส่วนร่วมสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการศึกษา พบว่า กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานมากที่สุด คือ การสนับสนุนในการดูแลสุขภาพ กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานน้อยที่สุด คือ การสนับสนุนเกี่ยวกับสื่อ/อุปการณ์
    3. การจัดอาชีวศึกษา และการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานวิทยาลัยชุมชน พบว่า สถานศึกษาที่เปิดสอนในระดับอาชีวศึกษา ในเขตการศึกษา 3 ปฏิบัติตามนโยบายการจัดอาชีวศึกษา และการจัดอาชีวศึกษาระบบวิภาคีได้ในระดับมาก กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานมากที่สุด คือการจัดทำโครงการส่งเสริมเยาวชนฝึกอบรมวิชาชีพ (9+1) และ (12-1) ด้านการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาดี พบว่า จัดได้ในระดับมาก
    4. การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พบว่า สถานศึกษาที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษา สามารถปฏิบัติได้ในระดับมาก
    พิจารณาด้านการจัดอุดมศึกษา พบว่า กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานมากที่สุด คือการวางแผนการดำเนินการรับนักศึกษา ในระดับอุดมศึกษา ทั้งระดับอนุปริญญาและปริญญา
    ด้านการพัฒนาครุและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเข้าสู่กระยวนการปฏิรูปการศึกษา พบว่าสถานศึกษาสามารถปฏิบัติการได้ในระดับมาก กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานมากที่สุด คือ การฝึกอบรมและให้ความรู้ครู ตามหลักสูตรเตรียมความพร้อมเข้าสู่การปฏิรูปการศึกษา และหลักสุตรสร้างความเข็มแข้งในวิชาการและวิชาชีพ และการจัดระบบบริหารงานบุคคล กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินงานน้อยที่สุด คือ การจัดตั้งศูนย์ประสานงานการพัฒนาครูและบุคลากรระดับจังหวัด

    ตอบลบ
  104. ชื่องานวิจัย พฤติกรรมการสอนของครู : ศึกษากรณีโรงเรียนลาดทิพรสพิทยาคม
    ผู้วิจัย นายบัญญัติ คุ้มภัย
    ปี พ.ศ. 2541
    บทคัดย่อ
    พฤติกรรมการสอนของครู : กรณีศึกษาโรงเรียนลาดทิพรสพิทยาคม
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครูของโรงเรียนลาดทิพรสพิทยาคม อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยประชากรที่ใช้เป็นนักเรียนโรงเรียนลาดทิพรสพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2541 จำนน 224 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่าง อย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนครู 1 ฉบับ ซึ่งหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ได้ทำขึ้น เมื่อปีการศึกษา 7 ได้พัฒนามาจากแบบสอบถามที่หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ได้ทำขึ้น เมื่อปีการศึกษา 2530 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยให้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเลขคณิตด้วยวิธีเชฟเฟ่ (Scheffe’) การจัดทำข้อมูลทุกขั้นตอนวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS/PC
    ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการสอนของครุตามความคิดเห็นของนักเรียนโดยภาพรวมแล้วอยู่ในระดับมากเพื่อพิจารณาแต่ละรายการย่อยพบว่า
    1.1 พฤติกรรมการสอนของครูเชิงบวกที่มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตสูง 3 ลำดับแรก คือ
    1. ครูผู้สอนแต่งกายถูกต้องตามที่โรงเรียนกำหนด
    2. ครูผู้สอนวางตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน
    3. นักเรียนชอบครูผู้สอน
    ส่วนพฤติกรรมการสอนของครูมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตต่ำ มีเพียง 1 รายการ คือ ครูผู้สอนเชิญบุคคลภายนอกบรรยายหรือสอนนักเรียน
    1.2 พฤติกรรมการสอนของครูเชิงลบที่มีค่าเฉลี่ยคณิตสูงสุดคือ ในการเรียนวิชานี้ ครูผู้สอนเน้นทฤษฎีมากกว่าการให้นักเรียนปฏิบัติ และพฤติกรรมการสอนชองครูที่มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตต่ำสุดคือ ครูผู้สอนมักนำงานอื่นเข้ามาทำด้วยในชั่วโมงสอน
    นอกจากนี้ วิชัย ดิสสระ (2519) ได้กล่าวไว้ว่า สมรรถภาพการสอนของอาจารย์เป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะส่งผลต่อผู้เรียน ถ้าการสอนของอาจารย์ดี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้จะดีตามไปด้วย
    จากที่กล่าวมาทำให้ทราบว่า พฤติกรรมการสอนที่ดีของครูจะช่วยให้ผู้เรียนนำวิธีการและความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม และจำเป็นการส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจใคร่ศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูโรงเรียนลาดทิพรสพิทยาคม เพื่อจะได้นำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอน

    ตอบลบ
  105. ชื่องานวิจัย การศึกษาสภาพการดำเนินงานเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกตามกรอบมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 6
    ผู้วิจัย นายอุดมศักดิ์ พลอยบุตร
    ปี พ.ศ. 2546

    บทคัดย่อ
    การประกันคุณภาพเป็นกลไกสำคัญที่เสริม และผลักดันให้หระบวนการทำงานบุคลากรดำเนินไปอย่างเป็นระบบเพื่อบรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีมาตรฐานการศึกษาเป็นหลักเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในการดำเนินงานประกันคุณภาพ จึงต้องมีการประเมินคุณภาพด้วยการสำรวจตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียน กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และปัจจจัยในการดำเนินการว่าได้ผลตามตัวบ่งชี้มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้หรือไม่ ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการดำเนินงานด้านตัวผู้เรียน ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัยตามกรอบการประเมินคุณภาพนอกของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 6 กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน จำนวน 70 โรงเรียน ประกอบด้วยผู้บริหาร 208 คน ครูผู้สอน 396 คน และนักเรียน 1,280 คน เครื่องมือที่ใช้ ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน จำนวน 3 ฉบับ และแบบกรอกข้อมูลจำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้เป็นสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าฐานนิยม ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป
    ผลการวิจัยพบว่า ด้านตัวผู้เรียนมีมาตรฐานที่มีผลการดำเนินอยู่ในระดับ A3 คือ ระดับบรรลุผลตามเกณฑ์ในระดับมากได้แก่ นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์นักเรียนมีทักษะในการทำงาน รัการทำงาน ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริตผู้เรียนมีสุนทรีภาพ และลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา ส่วนมาตรฐานที่อยู่ในระดับน้อยที่ควรจะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นคือ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองมีวิสัยทัศน์ มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและบางตัวชี้วัด อาทิเช่น ความรับผิดชอบ การประหยัด ความขยันอดทน ความละเอียดรอบคอบยังอยู่ในในระดับน้อยควรปรับปรุง
    ด้านกระบวนการพบว่ามาตรฐานด้านกระบวนการมีผลการดำเนินการอยู่ในระดับ A3 คือ ระดับบรรลุผลตามเกณฑ์ในระดับมากทั้ง 3 มาตรฐาน คือ สถานศึกษาส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้าง และการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจรให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา
    ด้านปัจจัย พบว่ามาตรฐานด้านปัจจัยมีผลการดำเนินการอยู่ในระดับ A3 คือระดับบรรลุผลตามเกณฑ์ในระดับมากทั้ง 4 มาตรฐาน คือ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหารจัดการ ครูมีความสามรถในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูมีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ และมีครูเพียงพอ สถานศึกษามีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่นมีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้

    ตอบลบ
  106. ชื่องานวิจัย การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา
    ผู้วิจัย นางสาววันเพ็ญ ผลอุดม
    ปี พ.ศ. 2546

    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 70
    กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนบ้านนายม อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 40 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติได้แก่ แผนการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แบบบันทึกการสะท้อนผลการใช้แผนการสอนแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบฝึกทักษะประจำบทเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคม 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
    รูปแบบการวิจัยครั้งนี้ ใช้เทคนิควิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีวงจรปฏิบัติการวิจัย 4 วงจร คือ วงจรปฏิบัติการที่ 1 ประกอบด้วยแผนการสอนที่ 1 – 4 (บทที่ 3) และแผนการสอนที่ 1 – 5 (บทที่ 4) วงจรปฏิบัติการที่ 2 ประกอบด้วยแผนการสอนที่ 1 - 7 (บทที่ 7) วงจรปฏิบัติการที่ 3 ประกอบด้วยแผนการสอนที่ 1 - 8 (บทที่ 12) วงจรปฏิบัติการที่ 4 ประกอบด้วยแผนการสอนที่ 1 - 8 (บทที่ 13) โดยใช้รูปแบบการสอนที่สร้างขึ้น ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการบันทึก สังเกต และสัมภาษณ์นักเรียน เมื่อสิ้นสุดในแต่ละวงจรปฏิบัติจะทำการสอนย่อยเพื่อประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน แล้วจึงสะท้อนผลการปฏิบัติ ซึ่งผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการบันทึก สังเกต สัมภาษณ์นักเรียน และผลงานนักเรียนมาวิเคราะห์ อภิปราย เพื่อปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนในวงจรต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    ผลการวิจัย พบว่า
    1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามแนวการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา โดยมีหลักการและเป้าหมาย เพื่อให้นักเรียนอ่านโจทย์ปัญหาได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ได้คิดและลงมือปฏิบัติการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิม 2) ขั้นสอน ประกอบด้วย (1) กิจกรรมแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา (2) กิจกรรมเสริความเข้าใจ 3) ขั้นสรุป เป็นการสรุปมโนมติ ความรู้ หรือหลักการต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ในแต่ละชั่วโมง 4)ขั้นพัฒนาทักษะและการนำไปใช้ เป็นการพัฒนาทักษะ โดยนักเรียนทำบัตรกิจกรรม และแบบฝึกทักษะ
    2. นักเรียนที่ได้รับการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามแนวการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงตั้งแต่ร้อยละ 70
    3. นักเรียนที่ได้รับการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามแนวการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา มีความสามารถในการอ่าน มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงความคิดเห็นสามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ มีความรับผิดชอบมีการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

    ตอบลบ
  107. ชื่องานวิจัย การสร้างชุดการสอนเพื่อใช้เสริมมรรถภาพการอ่านในใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
    ผู้วิจัย นางกาญจนา จองเดิม
    ปี พ.ศ. 2547

    บทคัดย่อ
    จุดมุ่งหมายของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อสร้างชุดการสอนเสริมสมรรถภาพการอ่านในใจหาประสิทธิภาพของชุดการสอนตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพการอ่านในใจก่อนการเรียนกับหลังการเรียนโดยใช้ชุดการสอน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
    การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคลองหิน และโรงเรียนบ้านโผงโผง อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานีภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 64 คน ใช้เวลาในการทดลอง 11 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวม คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านในใจที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจำนวน 2 ชุด มีค่าความเชื่อมั่น 0.74 และ 0.72 แลชุดการสอนเสริมสมรรถภาพการอ่านในใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 ชุดการสอน มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test
    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ชุดการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และสมรรถภาพการอ่านในใจก่อนการเรียนกับหลังการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

    ตอบลบ
  108. ชื่องานวิจัย การศึกษาความพร้อมเพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาชั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 12
    ผู้วิจัย -
    ปี พ.ศ. -

    บทคัดย่อ
    การวิจัยเรื่อง การศึกษาความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาขั้น
    พื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 12 โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางสนับสนุนและให้ข้อเสนอแนะในการเตรียมความพร้อมเพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยทำการศึกษาความพร้อมตามองค์ประกอบ 6 ด้าน ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง คือ 1) ประสบการณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดหรือมีส่วนร่วมจัดการศึกษา 2) แผนการเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษา หรือแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับ ระดับประเภท และรูปแบบการศึกษา 3) วิธีบริหารและจัดการศึกษา 4) การจัดสรรรายได้เพื่อการศึกษา 5) ระดับและประเภทการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน และ 6) ความเห็นของประชาชนและผุ้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ศึกษาจากประชากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตตรวจราชการที่ 12 ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พนักงานเทศบาล พนักงานครูเทศบาล พนักงานส่วนตำบล และกลุ่มประชาชน/ผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลหรือเขตตำบล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionaire) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) แบบมีโครงสร้าง (Structure Interview) และการจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้ความถี่ (f) แลค่าร้อยละ (%) สำหรับข้อมูลจากคำถามปลายเปิด การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ใช้การพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Descriptive analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
    1. สาระสำคัญจากแบบสอบถาม
    ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรีเทศบาลนคร/เมือง/ตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยจัดเก็บรวบรวมข้อมูลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด 7 แห่ง เทศบาล 88 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 524 แห่ง รวมทั้งสิ้น 619 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 76.23 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว พบว่า
    1.1 ด้านประสบการณ์ในการจัด หรือการมีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดการศึกษา ในภาพรวม พบว่าเทศบาลที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว คือ เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาปฐมวัย ตั้งแต่ 4 - 40 ปี ในระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ 10 - 40 ปี และในระดับมัธยมศึกษา ตั้งแต่ 1 - 10 ปี เทศบาลตำบล มีประสบการณ์ในการจัดการการศึกษาระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ 1 - 4 ปี และองค์การบริหารส่วนตำบล มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาปฐมวัยตั้งแต่ 1 - 4 ปี
    สำหรับการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการศึกษาในสถานศึกษาต่าง ๆ ภายในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบนั้นพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว จำนวน 151 แห่ง จำแนกเป็น เทศบาล 31 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 12 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังไม่เคยจัดการศึกษา จำนวน 468 แห่ง จำแนกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 7 แห่ง เทศบาล 57 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 404 แห่ง ให้การสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ในภาพรวมระดับเขตตรวจราชการที่ 12 ไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ 1) ด้านทรัพย์สินส่วนใหญ่สนับสนุนงบประมาณจัดหาคอมพิวเตอร์ บริจาคเงินเพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนหรือถนนภายในโรงเรียน และจัดหาวัสดุ อุปการณ์ทางการศึกษา 2) ด้านวิชาการ ส่วนใหญ่เป็นกรรมการสถานศึกษา ให้การสนับสนุนหรือเข้าร่วมอบรมครูและนักเรียน 3) ด้านบริการส่วนใหญ่ให้บริการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของสถานศึกษา จัดบริการน้ำดื่ม และจัดรถรับ – ส่งนักเรียน และ 4) ด้านอื่น ๆ ส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมการแข่งขันกีฬา วันสำคัญทางศาสนาที่สถานศึกษาจัดขึ้น และให้ทุนการศึกษา

    ตอบลบ
  109. 1.2 ด้านแผนการเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษา ในภาพรวม พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 619 แห่ง มีแผนกลยุทธ์ / แผนพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษา จำนวน 203 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 32.79 และไม่มีแผนกลยุทธ์ / แผนพัฒนาฯ จำนวน 416 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 67.21 เมื่อจำแนกเป็นประเภทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว มีแผนกลยุทธ์ / แผนพัฒนาฯ จำนวน 64 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 42.38 และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังไม่เคยจัดการศึกษา มีแผนกลยุทธ์ /แผนพัฒนา จำนวน 139 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 29.70 สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่มีแผนกลยุทธ์ / แผนพัฒนาฯ ส่วนใหญ่ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 357 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 68.13
    สำหรับระยะเวลาในการมีแผนกลยุทธ์ / แผนพัฒนา เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการจัดการศึกษานั้นพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่มีแผนกลยุทธ์ / แผนพัฒนาฯ ในช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2547 ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังไม่มีแผนกลยุทธ์ / แผนพัฒนาฯ ส่วนใหญ่ คาดว่าจะมีแผนกลยุทธ์ / แผนพัฒนาฯ ในช่วงปี พ.ศ. 2548 - 2551
    1.3 ด้านวิธีการบริหารและการจัดการศึกษา ในภาพรวม พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ยังไม่เคยจัดการศึกษา ส่วนใหญ่ร้อยละ 40.81 ใช้รูปแบบวิธีการบริหารและจัดการศึกษาโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของตนเอง รองลงมาร้อยละ 30.13 ใช้รูปแบบวิธีการบริหารและจัดการศึกษาร่วมกับองค์กรอื่น ๆ 1 – 2 องค์กรร้อยละ 16.88 ใช้รูปแบบจัดการศึกษาร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกัน และร้อยละ 12.18 ใช้รูปแบบจัดการศึกษาร่วมกับองค์กรอื่น 3 องค์กรขึ้นไป สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.83 ใช้รูปแบบวิธีการบริหารและจัดการศึกษาโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของตนเอง รองลงมาร้อยละ 31.79 ใช้รูปแบบวิธีการบริหารและจัดการศึกษาร่วมกับองค์กรอื่น ๆ 1 – 2 องค์กร ร้อยละ 14.57 ใช้รูปแบบจัดการศึกษาร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกัน และร้อยละ 5.96 ใช้รูปแบบจัดการศึกษาร่วมกันองค์กรอื่น 3 องค์กรขึ้นไป
    1.4 ด้านการจัดสรรรายได้เพื่อสนับสนุนการศึกษา ในภาพรวม พบว่า ในช่วงปีงบประมาณ 2544 - 2546 องค์การบริหารส่วนจังหวัดส่วนใหญ่ ร้อยละ 100.00 ให้การสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษามากกว่า 100,000 บาทต่อปี สำหรับเทศบาลที่ยังไม่เคยจัดการศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 45.45 ให้การสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษาตั้งแต่ 25,001 - 50,000 บาทต่อปี ส่วนเทศบาสลที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.67 ให้การสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษา มากหว่า 100,000 บาทต่อปี สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลที่ยังไม่เคยจัดการศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 37.13 ให้การสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษาตั้งแต่ 25,001 - 50,000 บาทต่อปี ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบลที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ร้อยละ 37.50 ให้การสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษา มากกว่า 100,000 บาทต่อปี
    สำหรับความสามารถในการจัดสรรรายได้เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามร้อยละของรายได้เฉลี่ยต่อปี ในภาพรวม พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.43 สามารถจัดสรรรายได้เพื่อการศึกษา น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี เทศบาลที่ยังไม่เคยจัดการศึกษา ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.37 สามารถจัดสรรรายได้เพื่อการศึกษา น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี และองค์การบริหารส่วนตำบลที่ยังไม่เคยจัดการศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 52.97 สามารถจัดสรรรายได้เพื่อการศึกษา ร้อยละ 5 – 10 ต่อปี สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.17 สามารถจัดสรรรายได้เพื่อการศึกษา น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
    นอกจากนั้น พบว่า มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว จำนวน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 5.96 ไม่ได้จัดสรรรายได้เพื่อการศึกษาภายในท้องถิ่นของตนเอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของตนเอง

    ตอบลบ
  110. 1.5 ด้านระดับ และประเภทการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชน ในภาพรวม พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังไม่เคยจัดการศึกษา จำนวน 172 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 36.75 พร้อมจะจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นใหม่ จำแนกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 3 แห่ง เทศบาล 24 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 145 แห่ง ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว จำนวน 94 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 62.25 พร้อมจะจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นใหม่ จำแนกเป็น เทศบาล 23 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 71 แห่ง โดยพร้อมจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน กล่าวคือ ในภาพรวมองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนใหญ่พร้อมจัดตั้งสถานศึกษา เพื่อจัดการศึกษาในระดับปฐม ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลที่ยังไม่เคยจัดการศึกษา และที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นเทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก พร้อมจัดตั้งสถานศึกษาเพื่อจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย
    สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังไม่เคยจัดการศึกษา จำนวน 296 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 63.25 ไม่พร้อมจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นใหม่ จำแนกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 4 แห่ง เทศบาล 33 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 259 แห่ง สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว จำนวน 57 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 37.75 ไม่พร้อมจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นใหม่ จำแนก เทศบาล 8 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 49 แห่ง สาเหตุที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่พร้อม ที่จะจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นใหม่ เพื่อจัดการศึกษาเอง พบว่า เทศบาลนครและเมือง ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า มีสถานศึกษาอยู่แล้ว และมีข้อจำกัดด้านสถานที่ในการจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นใหม่ ส่วนเทศบาลตำบล ส่วนใหญ่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณและขาดบุคลากรที่มีประสบการณ์ทางการศึกษา สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ส่วนใหญ่เหตุผลว่า มีรายได้น้อยไม่สามารถพัฒนาการศึกษาได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งขาดบุคลากร ที่มีประสบการณ์ทางการศึกษาเช่นเดียวกันซึ่งในแต่ละภาคมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
    ด้านความพร้อมในการรับโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการนั้น ในภาพรวม พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังไม่เคยจัดการศึกษา จำนวน 320 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 68.38 พร้อมรับโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ จำแนกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 6 แห่ง เทศบาล 47 แห่ง และ องค์การบริหารส่วนตำบล 265 แห่ง ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว จำนวน 119 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 78.80 พร้อมรับโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ จำแนกเป็น เทศบาล 27 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 92 แห่ง โดยพร้อมรับโอนสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนกว่างคือ ในภาพรวม องค์การบริส่วนจังหวัด พร้อมรับดอนสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ในส่วนเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก พร้อมรับโอนสถานศึกษาที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว ส่วนใหญ่เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก พร้อมรับโอนสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระดับปฐมวัย สำหรับเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่พร้อมรับโอนสถานศึกษาที่จัดการศึกษาทั้ง 3 ระดับการศึกษา
    สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังไม่เคยจัดการศึกษา จนวน 148 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 31.62 ไม่พร้อมรับโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ จำแนกเป็น องค์การบริหารส่วนจังกวัด 1 แห่ง เทศบาล 8 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 139 แห่ง ส่วนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว จำนวน 32 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 21.20 ไม่พร้อมรับโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ จำแนกเป็น เทศบาล 4 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 28 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก โดยให้เหตุผลว่า มีข้อจำกัดงบประมาณ ยังมีรายได้น้อย ไม่สามารถจัดสรรรายได้เพื่อพัฒนาการศึกษาได้อย่างเต็มที่ร่วมทั้งยังขาดอัตรากำลังของบุคลากรที่มีประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการทางการศึกษา
    สำหรับจำนวนประชากรวัยเรียนที่คาดว่าจะเข้าเรียนในปีการศึกษา 2548 ในภาพรวม พบว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งที่ยังไม่เคยจัดการศึกษาและจัดการศึกษาอยู่แล้ว คาดว่ามีประชากรวัยเรียนในระดับปฐมวัย ประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา เข้าเรียนประมาณร้อยละ 50 -80

    ตอบลบ
  111. 1.6 ด้านความเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม พบว่า ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตอบแบบสอบถาม ที่ยังไม่เคยจัดการศึกษา จำนวน 181 คน และที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว จำนวน 68 คน รวมทั้งสิ้น 249 คน คิดเป็น ร้อยละ 40.23 เห็นว่าพร้อมในการจัดการศึกษาขึ้นเองภายใน 1 - 3 ปี และผู้บริหาร จำนวน 200 คน คิดเป็นร้อยละ 32.31 เห็นว่าพร้อมจัดการศึกษาขึ้นเองภายใน 4 - 6 ปี และผู้บริหาร จำนวน 99 คน คิดเป็นร้อยละ 15.99 เห็นว่า พร้อมจัดการศึกษาขึ้นเองภายใน 7 - 9 ปี หรือ ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
    สำหรับความพร้อมในการับโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังไม่เคยจัดการศึกษาจำนวน 236 คน และที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว จำนวน 89 คน รวมทั้งสิ้น 325 คน คิดเป็นร้อยละ 52.50 เห็นว่าพร้อมที่จะรับโอนฯ ภายในระยะเวลา 1 - 3 ปี และผู้บริหาร จำนวน 204 คน คิดเป็นร้อยละ 32.96 เห็นว่าพร้อมที่จะรับโอนภายในระยะเวลา 4 - 6 ปี และผู้บริหารอีกจำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 9.53 เห็นว่าพร้อมที่จะรับโอนภายในระยะเวลา 7 - 9 ปี อย่างไรก็ตาม พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กส่วนหนึ่งมีความพร้อมที่จะจัดการศึกษาเอง หรือรับโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ ในระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ และอัตรากำลังของบุคลากรในหน่วยงานนอกจากนี้ ยังมีองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กอีกส่วนหนึ่งไม่ระบุเวลาที่จะจัดการศึกษาขึ้นเองหรือรับโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้เหตุผลว่า “พร้อมเมื่อไรก็จะดำเนินการ”
    ในส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสบความสำเร็จหรือไม่สำเร็จในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสาระที่น่าสนใจดังนี้
    1. ในเรื่องจุดเด่นด้านความพร้อมที่ส่งผลให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสบผลสำเร็จ ในภาพรวมพบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดส่วนใหญ่มีงบประมาณเพื่อสนับสนุนการศึกษาเพียงพอ ผู้บริหารมีความรู้และให้ความสำคัญต่อการศึกษา ในส่วนของเทศบาลนั้น พบว่า เทศบาลที่จัดการศึกษาอยู่แล้วส่วนใหญ่มีจุดเด่นในเรื่องมีรายได้สูง มีความพร้อมในด้านงบประมาณเพื่อพัฒนาการศึกษา มีความพร้อมด้านบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารท้องถิ่นส่วนใหญ่มีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษา ประชาชน ให้ความร่วมมือและมีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาอยู่แล้ว สำหรับเทศบาลที่ไม่เคยจัดการศึกษา พบว่า มีจุดเด่นในเรื่องมีการประสานงานได้ดี มีความพร้อมงบประมาณ สำหรับเทศบาลที่มีรายได้สูง ผู้บริหารท้องถิ่นมีวิสัยทัศน์ทางการศึกษา ประชาชนให้ความร่วมมือ และมีความสามารถในการพัฒนาศักยภาพการศึกษาได้ในส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว พบว่า ส่วนใหญ่มีจุดเด่นในเรื่องความสามารถในการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อพัฒนาการศึกษาได้ด้วยตนเอง ความร่วมมือของประชาชน และส่วนราชการต่าง ๆ ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นกรรมการสถานศึกษาอยู่แล้ว และความพร้อมของชุมชน
    2. ปัญหา / อุปสรรคในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาพรวมพบว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดส่วนใหญ่มีปัญหา / อุปสรรคในการเตรียมความพร้อมในเรื่อง ไม่มีบุคลากรทางการศึกษาหรือบุคลากรที่มีประสบการณ์ในหน่วยงานโดยตรง ในส่วนของเทศบาล พบว่า เทศบาลตำบลที่จัดการศึกษาอยู่แล้วส่วนใหญ่มีปัญหาด้านงบประมาณ และบุคลากรไม่เพียงพอในการสนับสนุนการพัฒนาการศึกษา บุคลากรยังได้รับการพัฒนาไม่ทั่วถึงและได้รับสวัสดิการไม่เท่าเทียมกับข้าราชการของรัฐ ส่วนเทศบาลที่ยังไม่เคยจัดการศึกษา พบว่า เทศบาลตำบลส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดด้านบุคลากร และงบประมาณในพัฒนาการศึกษา การไม่ยอมรับจากข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการหากโอนมาสังกัดในท้องถิ่น รวมทั้งความก้าวหน้าด้านสวัสดิการของพนักงานท้องถิ่นยังไม่เท่าเทียมกับข้าราชการของรัฐ
    สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลที่จัดการศึกษาและยังไม่เคยจัดการศึกษา พบว่า มีสภาพปัญหาที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ขาดบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษา บุคลากรท้องถิ่นขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษา ประชาชนในท้องถิ่นยังไม่เห็นความสำคัญที่จะให้ท้องถิ่นจัดการศึกษา เห็นว่าควรเป็นหน้าที่ของรัฐ และยังขาดความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาของท้องถิ่น

    ตอบลบ
  112. 3. สำหรับความต้องการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวมพบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องการบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษา มาปฏิบัติงานโดยตรง รวมทั้งให้ความรู้ในการบริหารจัดการศึกษา ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการสำหรับเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่เคยจัดการศึกษาและที่จัดกากรศึกษาอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ต้องการได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้น จัดอัตรากำลังบุคลากรทางการศึกษาเพิ่มขึ้น ให้ความรู้ในการจัดการศึกษาแก่บุคลากร ตลอดจนสวัสดิการ และความก้าวหน้าของพนักงานท้องถิ่น ให้เท่าเทียมกับข้าราชการของรัฐ
    สำหรับกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะดำเนินการขอรับโอนสถานศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ นั้นกระทรวงศึกษาธิการ ควรทำการชี้แจง สร้างความเข้าใจให้กับครุในสังกัด และผู้เกี่ยวข้องในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมรับการถ่ายโอนได้อย่างชัดเจน และเกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย
    2. สาระสำคัญจากกรณีศึกษา
    จากกรณีศึกษาในเทศบาล 3 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล ที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล 3 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก 3 แห่ง โดยการสัมภาษณ์นายกเทศมนตรี และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และจัดสนทนากลุ่ม พนักงานเทศบาล พนักงานครูเทศบาล พนักงานส่วนตำบล และประชาชนหรือผู้นำชุชนในเขตเทศบาลหรือเขตตำบล พบว่า เทศบาลมีประสบการณ์ในการจัดการศึกษามานาน บางแห่งมีประสบการณ์ถึง 40 ปี ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบลมีประสบการณ์จัดการศึกษาระดับปฐมวัยมาประมาณ 3 ปี การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยและประถมศึกษา ของเทศบาลส่วนใหญ่ มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของประชาชน มีโรงเรียนดีเด่นและได้รับรางวัลพระราชทานมากมายสำหรับระดับมัธยมศึกษานั้น มีคุณภาพมาตรฐานอยู่ในระดับปานกลาง การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยขององค์การบริหารส่วนตำบล ไม่มีข้อมูลอื่นยืนยันว่ามีคุณภาพมาตรฐานเพียงใด แต่ถ้าทราบว่าเด็กได้รับการดูแลและมีพัฒนาการตามวัยและยังต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
    แผนกลยุทธ์ / แผนพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษา พบว่า เทศบาลมีแผนดังกล่าวชัดเจนโดยกระบวนการทำแผนเป็นไปตามหลักการทำแผนเป็นอย่างดี บางแห่งเป็นแผนเชิงรุกเพื่อเข้าสู่ความเป็นสากล และมีแผนปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ องค์การบริหารส่วนตำบลบางแห่งที่พร้อมมีแผนเหมือนเทศบาล บางแห่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ได้มีส่วนร่วมในการทำแผนอย่างเต็มที่ และบางแห่งไม่มีแผนด้านการศึกษา
    ส่วนรูปแบบวิธีการบริหารและจัดการศึกษานั้น เทศบาลจัดโครงสร้างบริหารการศึกษาไว้อย่างชัดเจน เป็นรูปแบบการกระจายอำนาจที่แสดงให้เห็นว่า เทศบาลอยู่ใกล้ชิดปัญหา จึงสามารถตัดสอนใจได้รวดเร็ว มีการมอบอำนาจให้โรงเรียนเทศบาลในเรื่องต่างๆ ยกเว้นเรื่องบริหารบุคคลบางเรื่องและการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งมีข้อจำกัดด้านระเบียบของทางราชการ สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่มีโครงสร้างการบริหารการศึกษาเป็นการเฉพาะ ถึงแม้จะมีการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย แต่ทราบว่ากำลังจัดกรอบอัตรากำลังให้มีบุคลากรอยู่ในส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล
    ในส่วนเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล จัดสรรรายได้เพื่อการศึกษา แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรายได้และวิสัยทัศฯหรือนโยบายของคณะผู้บริหาร เทศบาลส่วนใหญ่จัดสรรรายได้เพื่อการศึกษา ประมาณร้อยละ 10 - 30 ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนใหญ่จัดสรรรายได้เพื่อการศึกษาประมาณร้อยละ 3 - 5 แต่มีบางองค์การบริหารส่วนตำบลจัดสรรให้ถึงร้อยละ 10 และบางแห่งจัดสรรรายได้น้อยมาก เพียงร้อยละ 0.2

    ตอบลบ
  113. สำหรับเทศบาล ส่วนใหญ่มีความพร้อมที่จะจัดกากรศึกษาทั้งระดับ ปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ทั้งนี้ ตามความต้องการของประชาชนในเขตเทศบาลนั้น ๆ เพราะเทศบาลมีความพร้อมหลายด้าน เช่น ผู้นำมีวิสัยทัศน์ มีรายได้สูง อยู่ใกล้ชิดปัญหา สามารถตัดสินใจได้รวดเร็วถึงแม้จะมีข้อจำกัดอยู่บ้างเช่น การกระจายอำนาจให้โรงเรียนในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งติดขัดที่ระเบียบของทางราชการสิทธิแลสวัสดิการที่รัฐจัดให้ไม่เท่าเทียมกันระหว่างพนักงานครูเทศบาลและข้าราชการทั่วไป
    ส่วนความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนใหญ่มีความพร้อมที่จะจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยมากที่สุด รองลงมาคือ ระดับประถมศึกษา จุดเด่นขององค์การบริหารส่วนตำบลที่มีความพร้อมคือผู้นำวิสัยทัศน์ ชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อยู่ใกล้ชิดชุมชน และตัดสินใจได้รวดเร็ว แต่องค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่พร้อมจะจัดการศึกษา เพราะมีข้อจำกัดด้านรายได้ บุคลากรยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา ประชาชนในชนบทไม่สนใจ ไม่ค่อยรับรู้และไม่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
    ข้อเสนอแนะ
    จากข้อมูลที่ได้จากการวิจัย และความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะเพื่อให้เกิดความพร้อม และเพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดการศึกษาหรือรับการถ่ายโอนได้สมตามเจตนารมณ์ของกฏหมาย ดังนี้
    1. รัฐควรเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพ ในการส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความสามารถในการจัดเก็บรายได้เข้าองค์กรเพิ่มขึ้น
    2. รัฐควรเพิ่มขีดความสามารถของผู้บริหารและบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องปรัชญา แนวคิด และอุดมการณ์ของการจัดการศึกษาในระดับท้องถิ่น
    3. รัฐควรเร่งรัดพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีความรู้ในวิชาชีพและศิลปะการบริหารการศึกษารวมถึงการพัฒนาประชาคมให้พร้อมที่จะมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนให้มากยิ่งขึ้น
    4. รัฐควรแก้ไขกฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทำให้โรงเรียนมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น และควรมีกลไกการตรวจสอบจากภาคประชาชน ซึ่งอาจมีคณะกรรมการว่าด้วยการศึกษาของท้องถิ่น ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีความเป็นมืออาชีพทางการศึกษา และเป็นกลางทางการเมืองเข้ามาดำเนินกรตรวจสอบ
    5. รัฐควรนำร่องถ่ายโอนโรงเรียนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่ก่อน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และหาคำตอบว่าจะสามารถดำเนินการต่อไปได้จริงหรือไม่
    6. รัฐควรจัดทำประชาพิจารณ์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี ก่อนที่จะทำการถ่ายโอนโรงเรียนไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    7. กระทรวงศึกษาธิการควรประชาสัมพันธ์กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมรายละเอียดการปฏิบัติ ควรสร้างความเข้าใจในเจตนารมณ์การกระจายอำนาจให้กับข้าราชการครุได้มีความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น และควรร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย วัดหลักสูตรเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการศึกษาให้กับผู้นำ และบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    8. องค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล เช่น คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) และคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กค.ศ.) ควรร่วมมือและเร่งรัดหาวิธีการทำให้การบริหารบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สอดคล้องกับการบริหารบุคคลของข้าราชการคุณสังกัดกระทรวงศึกษาธิการรวมถึงปรับปรุงระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ ด้วย
    9. กระทรวงมหาดไทย ควรจัดโครงสร้างและอัตรากำลังบุคลากรด้านการศึกษาให้ชัดเจน และควรมีวิธีการสรรหาผู้มีความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการศึกษา เพื่อรองรับการถ่ายดอนสถานศึกษาไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    10. เมื่อจะดำเนินการถ่ายโอนสถานศึกษาไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรจัดโอนให้ครบทุกอย่าง เช่น อาคารสถานที่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ เป็นต้น มิฉะนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ตอบลบ
  114. ชื่องานวิจัย การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพนัสศึกษาลัย อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ระหว่างการให้ข้อมูลย้อนกลับควบคู่กับการเสริมแรงแบบต่อเนื่องกับการให้ข้อมูลย้อนกลับควบคู่กับการเสริมแรงแบบเว้นระยะ
    ผู้วิจัย นางพิธพร ธนะสมบัติ
    ปี พ.ศ. 2542

    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพนัสศึกษาลัยอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2541 ระหว่างการให้ข้อมูลย้อนกลับควบคู่กับการเสริมแรงแบบต่อเนื่องกับการให้ข้อมูลย้อนกลับควบคู่กับการเสริมแรงแบบเว้นระยะ
    กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านและความสามารถในการอ่านและความสามารถทางการคิดคำนวณขั้นพื้นฐาน แต่มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ต่ำกว่าร้อยละ 60 ตามเกณฑ์ของำรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 20 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากกลุ่มประชากรทั้งหมด แล้วสุ่มอย่างง่ายอีกครั้งหนึ่งเป้นกลุ่มทอลองสองกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการให้ข้อมูลย้อนกลับควบคู่กับการเสริมแรงแบบต่อเนื่อง และกลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการให้ข้อมูลย้อนกลับควบคู่กับการเสริมแรงแบบเว้นระยะ แบบแผนการทดลองของการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบ Randomized Griup Pretest - Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือแผนการสอนการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับควบคู่กับการเสริมแรงทั้งสองแบบ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบค่าที ( T –test)
    ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
    1. นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ดีขึ้นหลังจากได้รับการให้ข้อมูลย้อนกลับควบคู่กับการเสริมแรงแบบต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01
    2. นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ดีขึ้นหลังจากได้รับการให้ข้อมูลย้อนกลับควบคู่กับการเสริมแรงแบบเว้นระยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    3. นักเรียนที่ได้รับการให้ข้อมูลย้อนกลับควบคู่การเสริมแรงแบบต่อเนื่องและแบบเว้นระยะ มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

    ตอบลบ
  115. ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แนวคิดการวิจัยเป็นฐานเพื่อเพิ่มทักษะการวิจัย
    ผู้วิจัย นายสมชาย วรกิจเกษมสกุล
    ปี พ.ศ. 2545

    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แนวคิดการวิจัยเป็นฐาน เพื่อเพิ่มทักษะการวิจัย จากการบูรณาการทฤษฎีทางจิตวิทยาการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้ หลักการเรียนรู้ แนวคิดการใช้การวิจัยเป็นฐาน รวมทั้งเทคนิควิธีการที่หลากหลาย แนวการสอน และสื่อการเรียนการสอนที่เป็นสื่อประสม ได้แก่ เกม ใบงาน ใบความรู้/บทความ และแผ่นโปร่งใส ในการทดลองใช้รูปแบบการสอน ผู้วิจัยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดลองใช้รูปแบบการสอน ผู้วิจัยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวกดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน เป็นอนุกรมเวลา กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ของคณะครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏอุดรธานี ที่มีการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 17 คน ซึ่งการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนนี้ ใช้เกณฑ์ 2 ประการ คือ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์โดยเฉลี่ย (E¹/E²) โดยกำหนดเกณฑ์ที่ระดับ 80/80 2) พัฒนาการของผุ้เรียนที่จำแนกเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อนและหลังได้รับการสอน และ 3) เจตคติต่อการวิจัยโดยการเปรียบเทียบคะแนนเจตคติที่ดีต่อการวิจัยระหว่างก่อนและหลังได้รับการสอน ผลการศึกษา พบว่า
    1. รูปแบบการสอนนี้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์โดยเฉลี่ย เท่ากับ 86.92/79.28
    2. รูปแบบการสอนนี้ เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์พัฒนาการของผู้เรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์พัฒนาการผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
    3. รูปแบบการสอนนี้เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์พัฒนาการของผู้เรียน พบว่าเจตคติต่อการวิจัย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์พัฒนาการ ผู้เรียนเกิดเจตคติต่อการวิจัยเพิ่มขึ้น

    ตอบลบ
  116. ชื่องานวิจัย รายงานผลการกำกับติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2541
    ผู้วิจัย นางปราณี วัฒนกุล
    ปี พ.ศ. 2542

    บทคัดย่อ
    การกำกับติดตามประเมินผลครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบผลการกำกับติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบผลการกำกับติดตามประเมินผลโครงการของกลุ่มโรงเรียนก่อนดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ และเพื่อต้องการทราบปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาเครือข่าย การพัฒนาคุณภาพการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการกำกับติดตามประเมินผลได้แก่ กลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโรงเรียนนวศึกษา ประกอบด้วยโรงเรียน 9 โรง และกลุ่มโรงเรียนบ้านนาสะกอม ประกอบด้วยโรงเรียน 10 โรง โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาเครือข่ายคุณภาพการศึกษา คือ กลุ่มโรงเรียนนวศึกษา อบรมพัฒนาการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน และกลุ่มโรงเรียนบ้านสะกอม ผลิตสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีลักษณะเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้น 2 ชุด คือ แบบกำกับติดตามประเมินผลการพัฒนาเครือข่ายคุณภาพการศึกษา โครงการอบรมพัฒนาการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน และแบบกำกับติดตามประเมินผลการพัฒนาเครือข่ายคุณภาพการศึกษา โดยการผลิตสื่อการเรียนการสอน การกำกับติดตามประเมินผลโครงการก่อนดำเนินโครงการ และหลังดำเนินโครงการด้วยกรรมการชุดเดียวกัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+
    ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
    1. ผลการกำกับติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายคุณภาพการศึกษา โครงการอบรมพัฒนาการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน พบว่า
    1.1 การกำกับติดตามประเมินผลงาน ก่อนดำเนินโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับดี
    1.2 ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ก่อนดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    1.3 ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนา ได้แก่การ พยายามให้นักเรียนได้คัดเลือกผลงานโดยให้เลือกเก็บผลที่ดีเด่น และควรให้นักเรียนได้สะสมผลงานในทุกวิชา ปัญหาอุปสรรค คือ งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอกับรายจ่าย
    2. ผลการกำกับติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายคุณภาพการศึกษาโครงการผลิตสื่อการเรียนการสอน พบว่า
    2.1 การกำกับติดตามประเมินผลงานก่อนดำเนินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับดี
    2.2 ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ก่อนดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ระดับ .05
    2.3 ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนา ได้แก่ ครูควรใช้สื่อการเรียนการสอนประกอบการเรียนการสอนทุกครั้ง พยายามพัฒนาสื่อให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และควรให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการผลิต ปัญหาอุปสรรค คือ งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอกับรายจ่ายและครูมีภารกิจมากทำให้มีเวลาผลิตสื่อน้อย แนวทางการจัดโครงการครั้งต่อไปสำรวจความต้องการสื่อการเรียนการสอน และวิเคราะห์หลักสูตร เนื้อหาวิชาและกิจกรรมเพื่อใช้ประกอบในการผลิตสื่อ

    ตอบลบ
  117. ชื่องานวิจัย การพัฒนาชุดฝึกการเรียนรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาไทย และเจตคติของครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
    ผู้วิจัย นายธีระพจน์ แสงแก้ว
    ปี พ.ศ. -

    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาชุดฝึกการเรียนรู้หลักเกณฑ์ทางภาษไทย และศึกษาผลการใช้ชุดฝึก เจตคติของครูและนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกการเรียนรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 จากโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางที่มีนักเรียน จำนวน 200 - 300คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น คือ 1. ชุดฝึกการเรียนรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5 2 . แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านหลักเกณฑ์ทางภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปี่ 5 3. แบบสอบวัดเจตคติของครูผู้สอนภาษาไทย และ 4. แบบสอบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกการเรียนรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาไทย วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล คือ นำแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านหลักเกณฑ์ทางภาษาไทยไปทดสอบกับนักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 161 คน จาก 6 โรงเรียนและนักเรียนกลุ่มควบคุมจำนวน 154 คน จาก 6 โรงเรียน ก่อนนำชุดฝึกการเรียนรู้ไปทดลองกับนักเรียนกลุ่มทดลองเมื่อการทดลองเสร็จสิ้นลง นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ชุดเดิมไปทดสอบกับนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มคุมอีกครั้งหนึ่งเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านหลักเกณฑ์ทางภาษาไทย และสอบวัดเจตคติขิงครูและนักเรียนที่เป็นกลุ่มทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/C+ คำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบ ที t-test
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. นักเรียนกลุ่มที่ใช้ชุดฝึกการเรียนรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาไทยมีคะแนนผลสัมฤทธิ์สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนหลักภาษาไทยตามปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    2. ครูผู้สอนที่ทดลองใช้ชุดฝึกการเรียนรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาไทย จำนวน 6 คน มีเจตคติต่อการเรียนการสอนหลักเกณฑ์ทางภาษาไทยอยู่ในระดับมาก
    3. นักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกการเรียนรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาไทยมีเจตคติต่อการเรียนการสอนหลักเกณฑ์ทางภาษาไทยอยู่ในระดับมาก หรือเห็นด้วย

    ตอบลบ
  118. ชื่องานวิจัย หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำธูป
    ผู้วิจัย นางเพชรัตน์ รัศมีสว่าง
    ปี พ.ศ. 2544


    บทคัดย่อ


    การวิจัยหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำธูป มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) จัดทำหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำธูป (2) ศึกษาความคิดเห็นของบุคคลในชุนชน วิทยากรท้องถิ่น ผู้บริหารโรงเรียนผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน และนักเรียนที่เกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการคือ สร้างเอกสารประกอบการเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำธูป และนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนวัดจุฬามณี (ชุดหะจันทนประชาสรรค์) อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน และประเมินผลการใช้หลักสูตรโดยพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและความคิดเห็นของบุคคลในชุนชน วิทยากรท้องถิ่น ผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 และนักเรียนที่เรียนหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำธูป ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่น
    เรื่อง การทำธูป

    ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับปานกลางถึงดีมาก โดยแบ่งเป็น ระดับปานกลาง (เกรด 2 ) จำนวน 14 คน ระดับดี (เกรด 3) จำนวน 14 คน และระดับเกรดดีมาก (เกรด 4 ) จำนวน 2 คน (2) ความคิดเห็นของบุคคลในชุนชน วิทยากรท้องถิ่น ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารนักรเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีต่อการจัด การเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำธูป ทุกคนเห็นด้วยที่โรงเรียนจัดการเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องการทำธูป แก่นักเรียน เพราะทำให้นักเรียนมีความรู้มีความเข้าใจ และสนใจอาชีพการทำธูป ซึ่งเป็นอาชีพท้องถิ่นมากขึ้น และเป็นผลดีต่อชุนชนทำให้บุคคลทั่วไปรู้จักชุนชน รู้จักผลิตภัณฑ์ของชุนชน และนักเรียนรู้สึกดีใจและประทับใจที่ได้เรียนหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำธูป เนื่องจากวิชานี้เรียนแล้วได้ความรู้เรียนแล้วสนุกได้ความรู้มาก ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติจริงที่บ้าน ได้ออกไปแล้วศึกษานอกสถานที่ที่สถานประกอบการทำให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น ได้ซักถามและทดลองปฏิบัติงานกับวิทยากร นอกจากนั้นนักเรียนมีความประทับใจในการทำกลุ่ม เพราะ ได้ทำงานร่วมกันทำให้มีสามัคคี มีความรับผิดชอบและยอมรับผิดชอบและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และประทับใจ การรายงานหน้าชั้นเรียน เพราะทำให้มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น

    ตอบลบ
  119. ชื่องานวิจัย การเรียนแบบร่วมมือที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางวิชาคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    ผู้วิจัย จินตนา เล็กล้วน
    ปี พ.ศ. 2545


    บทคัดย่อ
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางาการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือแบบแข่งขันเป็นกลุ่มด้วยเกม และ เรียนแบบปกติ
    2. เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนแบบร่วมมือแบบแข่งขันเป็นกลุ่มด้วยเกม และ เรียนแบบปกติ
    ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยรังสิต จำนวน 2 กลุ่ม คือห้อง 103 เป็นกลุ่มที่เรียนโดยวิธีเรียนแบบปกติ และแบบวัดเจตคติต่อ วิชาคณิตศาสตร์ ใช้เวลาสอน 1 ภาคเรียน
    ผลการวิจัยพบว่า....
    1. นักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือแบบแข่งขันเป็นกลุ่มด้วยเกม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
    2. นักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือแบบแข่งขันเป็นกลุ่มด้วยเกม และนักเรียนที่เรียนแบบปกติมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน

    ตอบลบ
  120. ชื่องานวิจัย รายงานการวิจัยสภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
    ของกโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 10
    ผู้วิจัย นางอัญชลี มัดธนู และคณะ
    ปี พ.ศ. 2542


    บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษาในเขตการศึกษา 10 และเพื่อศึกษาปัญหา ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามตัวแปรต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 10 จำนวน 24 โรง ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา 120 คน และครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ 24 คน รวมทั้งสิ้น 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในกรวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม spss for windows หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x-)และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยวิธีการสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัยพบว่า
    1. สภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนทีเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนระดับปานกลาง อันดับแรก คือด้านการดำเนินการสอน และลำดับสุดท้าย คือ ด้านการเตรียมการสอน
    2. ปัญหาความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนระดับปานกลาง อันดับแรก คือ ด้านการเตรียมการสอน
    3. ปัญหาการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีปัญหาการปฏิบัติการจัดเรียนการสอนระดับมาก อันดับแรก คือ ด้านการการวัดและประเมินผล
    4. ปัญหาความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแต่ละด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
    5. ปัญหาการปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแต่ละด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
    6. ปัญหาความรู้ความเข้าใจและปัญหาการปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

    ตอบลบ
  121. ชื่องานวิจัย การศึกษาผลการทดลองใช้แผนการสอนแบบบูรณาการ กลุ่มสาระศิลปะและกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลานวิทยาคมโดยใช้สื่อพื้นบ้าน
    ผู้วิจัย ประมวลพจน์ สนิทโกศัย และคณะ
    ปี พ.ศ. 2545


    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม ที่เรียนรายวิชา ศ 411 จิตรกรรมพื้นบ้านและ ส 411ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น ก่อนและหลังการเรียน ด้วยแผนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้สื่อพื้นบ้าน (2) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลานวิทยาคมต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้สื่อพื้นบ้าน รายวิชา ศ 411 จิตรกรรมพื้นบ้านและ ส 411 ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
    ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เลือกเรียนรายวิชา ศ 411 จิตรกรรมพื้นบ้าน และ ส 411 ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 24 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนสอบแบบบูรณาการโดยใช้สื่อพื้นบ้าน จำนวน 2 แผน และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบวัดเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้สื่อพื้นบ้าน
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimenal Research) โดยใช้รูปแบบ One group , Pretest-Posttest design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่า t-test
    ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแผนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้สื่อพื้นบ้าน รายวิชา ศ 411 จิตรกรรมพื้นบ้าน และ ส 411 ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.11 (2) เจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้สื่อพื้นบ้าน พบว่า นักเรียนทุกคน (100%) เห็นด้วยมากที่สุดว่า การเรียนรู้แบบบูรณาการช่วยลดภาระของชิ้นงาน หรือการบ้านได้ และการเรียนในลักษณะนี้เน้นการทำกิจกรรมกลุ่มร้อยละ 95.83 ของนักเรียนเห็นด้วยที่สุดว่าสื่อพื้นบ้านทำให้มีความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นมากขึ้น และร้อยละ 83.34 ของนักเรียนเห็นด้วยมากที่สุดว่าการเรียนรู้แบบบูรณาการทำให้ผู้เรียนได้เรียนตามความพร้อม ไม่เครียด และเรียนในการประเมินผลตนเองและผู้อื่น .

    ตอบลบ
  122. ชื่องานวิจัย รายงานการวิจัย การพัฒนาการในการเรียนรู้วิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้
    ผู้วิจัย นางวิไลวรรณ มนูศิลป์
    ปี พ.ศ. 2545


    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบร่วมมือกันเรียนรู้และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาชีววิทยา ว.045 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและวิวัฒนาการ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโคกสีพิทยาสรรพ์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2545 จำนวน 47 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอนวิชาชีววิทยา ว 045 ที่สร้างและพัฒนาขึ้นตามแนวความคิดการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและวัฒนาการ ที่ข้อคำถามทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.8 -1.0
    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละพบว่านักเรียนการในการเรียนร้อยละ 72.10 มีส่วนร่วมในกลุ่มร้อยละ 73.41 แผนการสอนวิชาชีววิทยา ว. 045 ที่สร้างและพัฒนาขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 80.07/81.25 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และจากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ t-test แบบ dependent พบว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการสอนวิชาชีววิทยา ว 045 สอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้รูปแบบ G.I (group investigation) มีพัฒนาการในการเรียนรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

    ตอบลบ
  123. ชื่องานวิจัย การพัฒนาชุดการเรียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน
    อนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
    ผู้วิจัย อรัญญา สุธาสิโนบล
    ปี พ.ศ. 2545


    บทคัดย่อ

    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดการเรียนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
    กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546
    เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ชุดการเรียนภาษาไทย ซึ่งประกอบด้วยบทเรียนโปรแกรม เกม แบบฝึก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนแบบแผนการวิจัยใช้แบบ One Group Pretest-Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพของชุดการเรียน ตามเกณฑ์ 80/80 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าสถิติ t-test
    Dependent Samples
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ชุดการเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ดังนี้
    ชุดที่ 1 บัน-บรร มีประสิทธิภาพ 81.67/82
    ชุดที่ 2 อักษรนำ มีประสิทธิภาพ 81.11/81.33
    ชุดที่ 3 คำควบกล้ำ มีประสิทธิภาพ 80.25/81
    ชุดที่ 4 มาตราตัวสะกด มีประสิทธิภาพ 82.77/80.83
    2. นักเรียนที่เรียนโดยการเรียนภาษาไทยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนกรทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนมีเจคติต่อการเรียนภาษาไทยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

    ตอบลบ
  124. ชื่องานวิจัย รายงานการวิจัย เรื่อง ผลของการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาศาสตร์ เรื่องทศนิยม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ต่อความพึงพอใจ และ ผลสัมฤทธิ์
    ผู้วิจัย นางสาววัชราภรณ์ ยลสุริยัน
    ปี พ.ศ. 2542


    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยม
    กลุ่มทอลองที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบังนังสตาวิทยา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2543 จำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิต-ศาสตร์ เรื่องทศนิยม และสอบถามความพึงพอใจต่อการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ t-test แบบทดสอบกลุ่มเดียว (One sample test) คะแนนเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
    สรุปผลการวิจัย
    1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา สูงกว่าเกณฑ์ 50 % อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
    ระดับ .05
    2. นักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง

    ตอบลบ
  125. ชื่องานวิจัย การพัฒนาชุดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง พลังงานกับชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
    ผู้วิจัย นางเครือวัลย์ เครือเขื่อนเพ็ชร
    ปี พ.ศ. 2542


    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนเรื่องพลังงานกับชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
    ประชากรที่ศึกษาคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเขาทับควาย จ .ลพบุรี ปีการศึกษา 2543 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ชุดการเรียนสอนแบบศูนย์การเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงานกับชีวิต ชุดการสอนประกอบด้วย 3 เรื่อง คือ
    (1) การใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน (2) พลังงานความร้อน (3) ไฟฟ้า
    ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน 3 เรื่อง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ เรียงตามลำดับ เรียงลำดับดังนี้ 86.71/81.30,83.85/80.10,86.00/80.40

    ตอบลบ
  126. ชื่องานวิจัย รายงานการวิจัยเรื่อง ผลการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านโดยมีภาพการ์ตูนประกอบที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน
    ผู้วิจัย นางสาวศรีวิไล ยลสุริยัน
    ปี พ.ศ. 2542


    บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านโดยมีภาพการ์ตูนประกอบที่มีต่อความเข้าใจการอ่านของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน
    กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนบ้านรามัน จำนวน 84 คน ซึ่งได้รับมาจากการสุ่มแบบมีระบบ เข้ารับการทดลองแบบ 4 กลุ่ม โซโลมอน ทุกกลุ่มมีนักเรียน ที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ต่างกันในจำนวนที่เท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกทักษะการอ่านโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านมีภาพการ์ตูนประกอบ และกลุ่มควบคุมได้รับการฝึกทักษะการอ่านโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านโดยไม่มีภาพการ์ตูนประกอบ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านการ์ตูนประกอบ ชุดฝึกทักษะการอ่านโดยไม่มีภาพการ์ตูน แผนการสอนอ่าน ที่ใช้สำหรับกลุ่มทดลอง 30 แผน กลุ่มควบคุม 30 แผน ใช้เวลาทดลองกลุ่มละ 30 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ความเข้าใจนากรอ่านของนักเรียนก่อนและหลังการฝึกทักษะการอ่านโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่าน ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
    2. เมื่อนักเรียนได้รับการฝึกทักษะการอ่านจากการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านโดยมีภาพการ์ตูนประกอบแล้ว นักเรียนมีความเข้าใจในการอ่านจากการอ่านไม่แตกต่างกัน ทั้ง 3 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
    3. เมื่อนักเรียนได้รับการฝึกทักษะการอ่านจากการใช่ชุดฝึกทักษะการอ่านโดยมีภาพการ์ตูนประกอบแล้ว นักเรียนมีความเข้าใจในการอ่านทั้ง 3 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
    ที่ระดับ.001

    ตอบลบ
  127. ชื่องานวิจัย ผลการใช้กิจกรรมการฟังเพื่อการสื่อสารต่อผล การสัมฤทธิ์ ทางด้านทักษะการฟัง
    ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา
    อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
    ชื่อผู้วิจัย นางพิไล ภิบาลกุล
    ประจำปี 2545

    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการใช้กิจกรรมการฟังเพื่อการสื่อสารและกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีปกติ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านทักษะการฟังภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการฟังเพื่อการสื่อสารของกลุ่มทดลอง และการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีปกติของกลุ่มควบคุม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลองต่อกิจกรรมการฟังเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง จำนวน 92 คน โดยวิธีสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก แล้วจับสลากอีกครั้งได้เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 46 คน กลุ่มทดลองเรียนโดยใช้กิจกรรมการฟังเพื่อการสื่อสาร กลุ่มควบคุมเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการฟังเพื่อการสื่อสารจำนวน 18 กิจกรรม แผนการสอนโดยวิธีปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางด้านทักษะการฟังภาษาอังกฤษ จำนวน 40 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจต่อกิจกรรมการฟังเพื่อการสื่อสารสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที่ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of covariance – ANCOVA)
    ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางด้านทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนทั้งสองกลุ่มเพิ่มสูงขึ้นจากก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางด้านทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการฟังเพื่อการสื่อสาร กับกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการฟังเพื่อการสื่อสารอยู่ในระดับมาก

    ตอบลบ
  128. ชื่องานวิจัย การวิจัยเชิงปฏิบัติจัดทำและทดลองใช่คู่มือครูและแบบเสริมทักษะการเรียนรู้แบบมี
    ส่วนร่วม (Particpatory Learning) วิชา ส 071 ท้องถิ่นของเรา 1
    (จังหวัดนราธิวาส) โดยใช้เทคนิคการประเมินผลโดยแฟ้มงาน (Portfolio
    Assessment)

    ชื่อผู้วิจัย นางประไพพรรณ บุญคง
    ปีที่วิจัย 2541

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิบัติจัดทำเอกสารหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องของท้องถิ่น มีกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และใช้เทคนิคการประเมินผลโดยแฟ้มผลงาน ที่สามารถพัฒนาผลสำฤทธิ์ทางเรียนของนักเรียนและพัฒนาทักษะพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคมของนักเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน เพื่อเป็นตัวอย่างเอกสารหลักสูตรที่ผลิตและจัดทำโดยบุคลากรทางการศึกษาในท้องถิ่น เผยแพร่แก่ครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาในท้องถิ่นได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทดลอง คือครูและนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วยครูผู้สอน 4คน จำแนกเป็นกลุ่มทดลอง 3 คน กลุ่มควบคุม 1 คน และนักเรียน 641 คนจำแนกเป็นกลุ่มทดลอง 364 คน กลุ่มควบคุม 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2 ชุด แบบประเมินพัฒนาทักษะพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคมของนักเรียน 1 ชุด และแบบประเมินเจตคติของนักเรียน 1 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงมาตรฐาน และค่าทดสอบ ที(t-test)
    ผลการวิจัยพบว่า
    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของผลการเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของผลการเรียนของนักเรียนในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทักษะพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคมของนักเรียนในกลุ่มทดลองหลังการเรียนการสอน ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แฟ้มผลงานชองนักเรียนในกลุ่มทดลองอยู่ในระดับดี และนักเรียนในกลุ่มทดลองมีเจตคติที่ดีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางที่ระบุไว้ในเอกสารคู่มือครูฯและเอกสารแบบฝึกเสริมทักษะฯ ในระดับมาก

    ตอบลบ
  129. รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E


    บทคัดย่อ รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5Eเรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน4) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองทุ่มวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ .45 - .75 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .22 - .73 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.26 -0 .68 และมีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Dependent Sample ผลการศึกษาพบว่า 1. ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 85.68/89.65 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 2. ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7562 หรือคิดเป็นร้อยละ 75.62 3. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E อยู่ในระดับมาก


    ละมัย วงคำแก้ว





    .

    ตอบลบ
  130. รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตสัตว์ (แบบ 5E)

    ชื่อเรื่องวิจัย รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตสัตว์ โดยการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว23101 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

    ผู้วิจัย นางอุไรรัตน์ พูนเพ็ชร

    ปีที่พิมพ์ 2552

    บทคัดย่อ

    การเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อการพัฒนานักเรียน โดยเฉพาะในระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญที่ต้องจัดการเรียน การสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะกระบวนการขั้นพื้นฐานของการเป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์อย่างฝังแน่น ทั้งนี้เพื่อรองรับการเรียนรู้ที่สอดคล้องในระดับการศึกษาขั้นสูงต่อไป ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนต้องพัฒนากิจกรรมโดยใช้เทคนิควิธีการที่มีความหลากหลายตามแนวคิดที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) เป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบหนึ่ง ที่ผู้เรียนสามารถใช้วิธีการสืบเสาะหาความรู้ ที่ต้องอาศัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการค้นหาคำตอบด้วยตัวผู้เรียนเอง การศึกษาครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมาย (1).เพื่อศึกษาค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตสัตว์ โดยวิธีการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ (2). เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการใช้แผนการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง ชีวิตสัตว์ โดยวิธีการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และ (3). เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตสัตว์ โดยวิธีการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 จำนวน 51 คนโรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เครื่องมือศึกษา คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ชีวิตสัตว์ โดยแบ่งออกเป็นสาระหน่วยย่อยได้ 7 หัวข้อเรื่อง (รวมทั้งสิ้น 20 แผน) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.6 – 0.8 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.3 – 0.4 โดยมีค่าความเชื่อมั่นของชุดข้อสอบเท่ากับ 0.9 แบบสอบถามวัดความพึงพอใจมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.6 ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)
    ผลการวิจัยพบว่า รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตสัตว์ โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีประสิทธิภาพโดยรวมของแผนการเรียนรู้ทุกหน่วยย่อยเรื่อง ชีวิตสัตว์ เท่ากับ 92.23/80.54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ของมาตรฐานโรงเรียนที่ตั้งไว้ และค่าดัชนีประสิทธิผลความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียนจากการใช้แผนการเรียนรู้โดยรวมของหน่วยเรียนรู้ทุกหน่วยย่อยเรื่อง ชีวิตสัตว์ เท่ากับ 0.69 (69%) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีต่อแผนการเรียนรู้โดยรวมของหน่วยเรียนรู้ทุกหน่วยย่อยเรื่อง ชีวิตสัตว์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบนักเรียนมีความพึงพอใจมากต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น(5E) ทุกรายขั้นโดยรวม
    การวิจัยครั้งนี้ ทำให้ได้สร้างและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตสัตว์ โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ที่มีประสิทธิภาพ สมารถนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ดังนั้นครูและผู้เกี่ยวข้องที่สนใจควรมีการพัฒนาการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ที่หลากหลาย ประยุกต์ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา จะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น นำไปสู่การเรียนที่มีความภาคภูมิใจและมีความสุข



    .

    ตอบลบ
  131. เรื่อง : การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์

    เจ้าของผลงาน : นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ โรงเรียนนนทรีวิทยา

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ (Fossils)
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนนนทรีวิทยา แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลากจากจำนวนนักเรียน 8 ห้องเรียน มา 1 ห้องเรียน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 46 คน
    เครื่องมือที่ใช้เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 1 แผน เวลา 6 ชั่วโมง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ ( Fossils) และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
    แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest – Posttest Design
    การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทางสถิติ t – test Dependent Sample
    ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการ เรียนรู้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ (Fossils) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05




    .

    ตอบลบ
  132. การพัฒนาสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ในการสอนแบบสืบเสาะ
    ตามกระบวนการ 5 E
    A Development of Science Teacher Competency
    In Using 5 E Inquiry Approach
    สุนันท์ สังข์อ่อง
    Sunan Sung-ong
    บทคัดย่อ
    การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ
    1. ศึกษาสมรรถภาพด้านความรู้ความเข้าใจในการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E ของครูวิทยาศาสตร์หลังได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ
    2. เพื่อประเมินสมรรถภาพด้านทักษะการเขียนแผนการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E ของครูวิทยาศาสตร์หลังได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ
    3. เพื่อศึกษารูปแบบความต้องการในการพัฒนาสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 30 คน ที่ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าร้อยละจากค่าความถี่ของคะแนนจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า
    1. หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการครูวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าได้รับความรู้ความเข้าใจในระดับมากทุกหัวข้อเนื้อหา
    2. ครูวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีทักษะการจัดทำแผนการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E ในระดับปานกลาง
    3. ครูวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะได้รับการพัฒนาสมรรถภาพในด้านความรู้และทักษะในเรื่องต่างๆเพิ่มเติมเช่น เทคนิคการสอน การผลิตสื่อ
    และการประเมินตามสภาพจริง
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1. เพื่อศึกษาสมรรถภาพด้านความรู้ความเข้าใจในการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E ของครูวิทยาศาสตร์หลังได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ
    2. เพื่อประเมินสมรรถภาพด้านทักษะการเขียนแผนการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E ของครูวิทยาศาสตร์หลังได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ
    3. เพื่อศึกษารูปแบบความต้องการในการพัฒนาสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ในการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E
    อุปกรณ์และวิธีการ
    กลุ่มตัวอย่าง
    กลุ่มตัวอย่างเป็นครูวิทยาศาสตร์ที่สอนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 30 คน ซึ่งมาเข้ารับการอบรมปฏิบัติการในโครงการกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบปัญญาพัฒนา ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เอกมัย ในวันที่ 29-30 กรกฎาคม 2545
    เครื่องมือการวิจัย
    1. โปรแกรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการใช้เวลา 2 วัน มีหัวข้อเนื้อหาดังนี้
    1.1 หลักการและแนวคิดของการสอนแบบสืบเสาะ
    1.2 กระบวนการสืบเสาะตามขั้นตอน 5 E
    1.3 กิจกรรมในแต่ละขั้นตอนของ 5 E
    1.4 บทบาทครูและนักเรียน
    1.5 การจัดทำแผนการสอนแบบสืบเสาะ
    1.6 การประเมินผลการเรียนรู้
    1.7 สื่อแหล่งเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    2. แบบประเมินตนเองด้านความรู้ความเข้าใจในการสอนแบบสืบเสาะ
    3. แบบประเมินทักษะการจัดทำแผนการสอนแบบสืบเสาะ
    การวิเคราะห์ข้อมูล
    หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมผู้วิจัยให้ครูประเมินตนเองด้านความรู้ความเข้าใจในการสอนแบบสืบเสาะและผู้วิจัยประเมินแผนการสอนที่ครูจัดทำขึ้นโดยให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดในแบบประเมิน นอกจากนี้ยังให้ครูแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการได้รับความรู้และหัวข้อเนื้อหาที่ต้องการพัฒนาเพิ่มเติม ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าร้อยละจากค่าความถี่ของคะแนนจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง และนำเสนอในรูปแบบตาราง
    วิจารณ์
    จากผลการวิจัยที่พบว่าการอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยทำให้ครูมีสมรรถภาพด้านความรู้ความเข้าใจในระดับมากในทุกหัวข้อเนื้อหา แต่เมื่อประเมินด้านทักษะพบว่าสามารถเขียนแผนการสอนได้ในระดับปานกลางอาจเป็นเพราะครูยังไม่คุ้นเคยกับกระบวนการทั้ง 5 ขั้น ต้องอาศัยประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงจึงจะสามารถเขียนแผนการสอนได้ในระดับดีขึ้น และเกณฑ์การประเมินประเมินในเรื่องต่าง ๆ ที่ครูยังไม่ได้เขียนครอบคลุมทุกหัวข้อ
    สรุปและข้อเสนอแนะ
    ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าการฝึกอบรมปฏิบัติการสามารถพัฒนาสมรรถภาพด้านความรู้ความเข้าใจในการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E ได้และในการให้ความรู้ควรครอบคลุมเนื้อหาย่อย ๆ ดังตารางที่ 1และในการประเมินการเขียนแผนการสอนแบบสืบเสาะตามกระบวนการ 5 E อาจนำเกณฑ์ตามตารางที่ 2 ไปใช้เป็นแนวในการจัดทำแผนการสอนได้

    ตอบลบ
  133. ประภารัตน์ สิงหเสนา:

    ผลของการใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้งที มีต่อผลสัมฤทธิ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการประยุกต์ความรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น.

    (EFFECTS OF USING 5E LEARNING CYCLE WITH ARGUMENT
    MAPPING ON SCIENCE LEARNING ACHIEVEMENT AND ABILITY IN APPLYING
    KNOWLEDGE OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS)

    อ. ที ปรึกษา
    วิทยานิพนธ์หลัก: อาจารย์ ดร. วัชราภรณ์ แก้วดี, 123 หน้า.


    การวิจัยครั้งนี มีวัตถุประสงค์เพื อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อน
    เรียนและหลังเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้ง 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ
    ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนระหว่างกลุ่มที เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิง
    โต้แย้งกับกลุ่มทีเรียนวิทยาศาสตรโดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการประยุกต์
    ความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้ง 4) เปรียบเทียบ
    ความสามารถในการประยุกต์ความรู้หลังเรียนระหว่างกลุ่มที เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับ
    แผนผังเชิงโต้แย้งกับกลุ่มที เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ
    นักเรียนมัธยมศึกษาปีที 2โรงเรียนจิตรลดา ปีการศึกษา 2552 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ งได้รับการจัดการเรียนการสอน
    วิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้ง และกลุ่มเปรียบเทียบซึ งได้รับการจัดการเรียนการ
    สอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ เครืองมือทีใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบผลสัมฤทธิ ทางการ
    เรียนวิทยาศาสตร์และแบบสอบความสามารถในการประยุกต์ความรู้ สถิติท ใี ช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลีย
    ค่าเฉล ยี ร้อยละ ส่วนเบ ยี งเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)
    ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี
    1. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉล ยี ผลสัมฤทธิ ทางการเรียนวิทยาศาสตรห์ ลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง
    มนี ัยสำคัญทางสถิติท รี ะดับ .05
    2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลียผลสัมฤทธิ ทางการเรียนวิทยาศาสตรห์ ลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่ม
    เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท รี ะดับ .05
    3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉล ยี ความสามารถในการประยุกต์ความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง
    มนี ัยสำคัญทางสถิติท รี ะดับ .05
    4. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉล ยี ความสามารถในการประยุกต์ความรู้หลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่ม
    เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท รี ะดับ .05



    .

    ตอบลบ
  134. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)

    บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 48 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ระยะเวลาที่ใช้ 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมุติฐานแบบ t – test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 81.85 / 81.93 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สูงขึ้น 4. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ในภาพรวมเห็นด้วยระดับมากที่สุด ( x= 4.61) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 2.28 )

    สร้างโดย: อ.จรูญศักดิ์ รินสาธร


    .

    ตอบลบ
  135. ชื่อเรื่อง (ไทย) : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
    โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
    (อังกฤษ) : MATHAYOMSUKSA IV STUDENTS’ LEARNING
    ACHIEVEMENT THROUGH PHYSICS TEACHING BY USING
    INQUIRY CYCLE
    2. คำสำคัญ :
    - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์
    - วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
    3. ปีที่ทำการวิจัยเสร็จ : 2551
    4. ชื่อผู้วิจัย : นายวิสาคร เศษรักษา
    Mr.Wisakorn Setraksa
    5. อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.สันติ วิจักขณาลัญฉ์
    Assoc.Prof. Dr. Santi Wijakkanalan
    6. ที่อยู่ของผู้วิจัย : บ้านเลขที่ 74 หมู่ 4 ตำบลบ้านฝาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น 40170
    7. ประเภทของงานวิจัย : การศึกษาอิสระ
    8. ที่เก็บผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ : ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์ และสำนักวิทยบริการ
    มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    ส่วนที่ 2 สรุปผลงานวิจัย
    1. บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ของ
    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (2) เพื่อพัฒนา
    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่
    น้อยกว่าร้อยละ 70 ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้น
    มัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ในภาคเรียนที่ 2
    ปีการศึกษา 2550 จำนวน 38 คน
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ใน
    การวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมงแบบสังเกตการสอน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล
    ใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการศึกษาพบว่า (1) กิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นสร้างความสนใจ ครูจัดกิจกรรม
    ที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ โดยการสาธิตหน้าชั้นเรียนทำให้นักเรียนกำหนดประเด็นที่จะ
    ศึกษา แสดงความสนใจ ขั้นสำรวจและค้นหา ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ลงมือ
    ปฏิบัติการทดลองจริง นักเรียนมีความสนใจในการเรียน มีความสนุกสนาน กระฉับกระเฉงและ
    กระตือรือร้นในการทำกิจกรรม ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้อธิบายผล
    การสำรวจตรวจสอบโดยผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ นักเรียนช่วยกันอภิปรายจนได้ข้อสรุป และนักเรียน
    กล้าแสดงออก ขั้นขยายความรู้ ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้จากการสำรวจตรวจสอบ
    กับความรู้อื่นๆ นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ขั้นประเมิน ครูจัดกิจกรรมให้
    นักเรียนวิเคราะห์หรืออภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกันโดยการเขียน Concept
    mapping ทำให้นักเรียนได้วิเคราะห์กระบวนการสร้างความรู้ของตนเอง ประเมินความก้าวหน้า
    และความรู้ของตนเอง (2) นักเรียนร้อยละ 73.68 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
    ของคะแนนเต็ม

    ตอบลบ