ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

25 สิงหาคม 2554

การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์





วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube





วิดีโอ YouTube



วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม 2540 ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันหลังประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ถนนลอดอุโมงค์ปองต์ เลอ ลัลมา ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส นายโดดี ฟาเยด คู่รักคนใหม่ของพระองค์ และนายอองรี ปอล คนขับรถเสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ องครักษ์ของนายฟาเยด เป็นผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว ตอนแรกสื่อมวลชนได้ตั้งข้อสังเกตว่ากลุ่มช่างภาพอิสระที่ไล่ตามหลังรถยนต์เป็นสาเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนี้ แต่การสืบสวนคดีนี้กลับพบว่่า อุบัติเหตุเกิดขึ้นจากความประมาทของคนขับที่เป็นหัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยของโรงแรมริทซ์ ที่ไปยั่วยุอารมณ์ของเหล่าช่างภาพที่ดักรออยู่นอกโรงแรม การสืบสวนของคณะลูกขุนฝรั่งเศสใช้เวลานานกว่า 18 เดือน และสรุปว่าคดีนี้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของนายอองรี ปอล ที่ไม่สามารถควบคุมรถเมอร์เซเดสเบนซ์ที่ขับมาด้วยความเร็วสูง และอยู่ในอาการมึนเมาจากแอลกอฮอล์ และที่น่าตกใจไปกว่านั้นคือ ผลการชันสูตรพลิกศพพบว่ายาระงับประสาทและยานอนหลับในผลการตรวจวิเคราะห์เลือดของนายอองรี

กุมภาพันธ์ 2542 โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด พ่อของนายโดดี กล่าวหาว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นแผนการลอบสังหารที่จัดฉากขึ้น โดยหน่วยราชการลับ MI6 ของอังกฤษตามพระบัญชาของเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินเบอระ. คำกล่าวอ้างของนายโมฮัมหมัดถูกปฏิเสธไปจากการผลการสรุปคดีของทีมสืบสวนฝรั่งเศส และหน่วยโอเปอเรชั่นพาเก็ท ของกรมตำรวจนครบาลลอนดอนในปี 2548

คดีการสิ้นพระชนม์ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาไต่สวนอีกครั้งโดยผู้พิพากษาสก็อต เบกเกอร์ เพื่อพิจารณาการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงแห่งเวลส์และการเสียชีวิตของนายโดดี ฟาเยดที่ผิดธรรมชาติ โดยเริ่มการพิจารณาครั้งที่สอง ณ รอยัลคอร์ทออฟจัสติซในกรุงลอนดอน ในวันที่ 2 ตุลาคม 2550 ต่อจากการพิจารณาครั้งแรกในปี 2547 7 เมษายน 2551 คณะผู้พิพากษาได้อ่านคำตัดสินคดีมรณกรรมน้ีว่า ทั้งไดอานาและโดดี เสียชีวิตอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมายจากการกระทำของนายอองรี ปอล ที่ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อและการขับขี่รถจักรยานยนต์ตามประกบเพื่อถ่ายภาพบุคคลทั้งสองของบรรดาช่างภาพอิสระ แม้ว่าคำพิพากษาจะกล่าวหาคนขับที่มีอาการมึนเมาและได้เร่งความเร็วของรถเพื่อหลบหนีช่างภาพ แต่ยังรวมถึงการตัดสินใจของเหยื่อผู้ประสบเหตุที่ไม่ได้คาดเข็มนิรภัย อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ถึงแก่ความตาย ทั้งนี้รถเมอร์เซเดสเบนซ์คันเกิตเหตุขับมาด้วยความเร็วเกินกว่าความเร็วที่กำหนดไว้ของกฎหมายฝรั่งเศสสำหรับถนนลาดลงสู่อุโมงค์ และรถได้หลบหนีขบวนช่างภาพมาเป็นระยะทางไกลพอก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ



ประสบอุบัติเหตุ



30 สิงหาคม 2540 ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์เสด็จถึงกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสพร้อมด้วยโดดี ฟาเยด ลูกชายของโมฮัมหมัด อัล ฟาเยด มหาเศรษฐีชาวอียิปต์ ทั้งสองได้หยุดแวะกลางทางที่ปารีสก่อนที่จะเดินทางกลับลอนดอน หลังกลับจากพักร้อนบนเรือยอทช์หรูของโมฮัมหมัดที่เฟรนช์และอิตาลีริเวียร่า ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไดอานากับโดดีตั้งใจที่จะพักค้างคืนที่อพาร์ตเมนต์ของครอบครัวฟาเยด ซึ่งตั้งอยู่บนถนนอาร์แซน-อูสเซ กลางกรุงปารีส ที่อยู่ไม่ไกลจากโรงแรมริทซ์กิจการของนายโมฮัมหมัด และอยู่ใกล้กับแหล่งช็อปปิ้งถนนชองส์ เซลีเซ่ อองรี ปอล หัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยของโรงแรมริทซ์ ได้ถูกเรียกตัวให้เป็นคนขับรถเมอร์เซเดสเบนซ์คันสีดำ รุ่น S280 1994 ที่เช่ามาจากร้านเช่าแห่งหนึ่งในปารีสเพื่อเตรียมให้ไดอานาและโดดีหลบหนีช่างภาพ ทางโรงแรมได้เตรียมรถยนต์คันหนึ่งไว้หลอกช่างภาพอิสระที่ยืนรอภายนอกให้ออกไปแต่ว่าแผนไม่สำเร็จ ตังนั้นไดอานาและโดดีจึงเลือกที่จะออกจากโรงแรมทางด้านหลังแทน

ประมาณ 0.20 น. ต้นชั่วโมงของวันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม 2540 ไดอานาและฟาเยดออกจากโรงแรมริทซ์เพื่อกลับอพาร์ทเมนต์บนถนนอาร์แซน-อูสเซ ทั้งสองนั่งบนเบาะหลังของรถเมอร์เซเดสเบนซ์สีดำ S280 ป้ายทะเบียน 688LTV75 โดยมีนายอองรี ปอลเป็นคนขับรถและนายเทรเวอร์ รีส์-โจนส์ องครักษ์ของตระกูลฟาเยด ติดตามไปด้วยและนั่งอยู่ที่เบาะข้างคนขับด้านหนัา

รถเบนซ์ขับออกจากทางด้านหลังของโรงแรมริทซ์ บนถนนกองบง และผ่านไปตามถนน รู เดอ ริวอลี จากนั้นขับผ่านจตุรัสปลาซ เดอ ลา กองกอร์ด แล้วเลี้ยวขวาไปตามกูร์ ลา แรน และกูร์ อัลแบร์ที่ 1 (ถนนคู่ขนานฝั่งแม่น้ำแซน) และตั้งใจที่ข้ามฝั่งแม่น้ำแซน ผ่านอุโมงค์ลอดใต้สะพานปลาซ เดอ ลัลมา

ราว 0.23 น. คนขับไม่สามารถควบคุมรถยนต์ที่หน้าทางลงอุโมงค์ที่ขับมาด้วยความเร็วสูง รถเบี่ยงไปทางเลนซ้ายอย่างกะทันหัน ก่อนพุ่งชนตอม่อที่ 13 ด้วยความเร็ว 105 กม/ชม แล้วหมุนกลับไปชนกำแพงอุโมงค์ฝั่งขวาจนเกิดเสียงระเบิดดังสนั่น และรถ ถูกเหวี่ยงไปรอบๆ ก่อนที่จะหยุดนิ่งจังงัง การพุ่งชนอย่างรุนแรงทำให้รถเมอร์เซเดสเบนซ์คันงามกลายสภาพกลายเป็นซากเศษเหล็กชิ้นใหญ่ และอุโมงค์ยังไม่มีราวป้องกันระหว่างตอม่อทุกต้น

ผู้โดยสารสลบไสลอยู่ภายในซากรถเบนซ์ แต่บรรดาช่างภาพได้หยุดรถลงเพื่อมาถ่ายรูปไดอานาต่อ ทั้งๆ ที่ทรงได้รับบาดเจ็บสาหัส พระองค์พึมพำซ้ำไปซ้ำมาว่า "Oh my God!" เมื่อเหลือบพระเนตรไปเห็นแสงแฟลชจากกล้อง ตามที่เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยคนหนึ่งให้การในเวลาต่อมา

โดดี ฟาเยด ที่โดยสารอยู่ฝั่งซ้ายมือของไดอานา เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ แต่หน่วยกู้ชีพได้พยายามช่วยชีวิตเขาไว้ แต่ต่อมาแพทย์ผู้หนึ่งยืนยันว่าเขาเสียชีวิตแล้วเม่ือ เวลา 1.32 นาที ส่วนนายอองรี ปอล คนขับรถเสียชีวิตในขณะถูกเคลื่อนย้ายออกจากซากรถ ทั้งสองศพถูกนำไปเก็บไว้ที่ห้องเก็บศพของกรุงปารีส แอ็งสตีตืตท์ เมดีโก-เลกาล ผลการชันสูตรพลิกศพผลออกมาว่า ทั้งนายโดดีและนายอองรี เสียชีวิตจากหลอดเลือดเส้นเลือดใหญ่แตกและกระดูกสันหลังแตกร้าว นายอองรีไขสันหลังแตกที่หลัง และนายโดดีเสียชีวิตจากไขสันหลังที่บริเวณต้นคอแตกกระจาย สภาพของทั้งสองศพแหลกเละจนจำเค้าเดิมไม่ได้

นายเทรเวอร์ รีส์-โจนส์ องครักษ์ที่ติดตามด้วย ยังคงมีสติอยู่ แต่ได้รับบาดเจ็บหลายแห่งที่ใบหน้า ถุงลมนิรภัยที่หน้ารถยังคงทำงานได้ตามปกติ แต่ไม่มีผู้โดยสารคนใดในรถคาดเข็มขัดนิรภัย

เจ้าหญิงไดอานาทรงประทับอยู่เบาะหลังด้านขวามือก็ยังคงมีสติอยู่เช่นกัน ทรงหมอบลงพื้นบนรถ และหันหลังออกมาให้ถนน ช่างภาพคนหนึ่งเล่าถึงสภาพของเจ้าหญิง ณ ตอนนั้นว่า เห็นโลหิตแดงสดๆ ไหลออกมาจากพระนาสิกและพระกรรณของพระองค์ ขณะที่กำลังพิงพระเศียรกับเบาะรถ เขาพยายามดึงพระองค์ออกจากซากรถยนต์แต่ว่าพระบาทติดอยู่กับใต้ที่นั่งคนขับ ดังนั้นเขาจึงกล่าวกับพระองค์ว่า ความช่วยเหลือกำลังมาถึง และห้ามหลับ แต่ไม่มีคำตอบใดจากไดอานา นอกจากการกระพริบตาของพระองค์

ในเดือนมิถุนายน 2550 สารคดี Diana: The Witnesses in the Tunnel ที่ออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ Channel 4 ยืนยันว่าบุคคลแรกที่ได้แตะต้องพระวรกายของไดอานา นั้นคือ นายแพทย์มาลแลซ์ ที่ขับรถผ่านมาพบที่เกิดเหตุโดยบังเอิญ หมอมาลแลซ์เล่าว่า เจ้าหญิงทรงได้รับบาดเจ็บภายในร่างกายที่มองไม่เห็นจากด้านนอกและทรงตกอยู่ในอาการช็อก ดังนั้นเขาจึงได้ให้ออกซิเจนแก่พระองค์

เจ้าหน้าที่ตำรวจนครปารีสมาถึงสถานที่เกิดเหตุภายในอุโมงค์ปองต์ เดอ ลัลมา ประมาณ 0.30 น. และช่างภาพทั้งหมด 7 คนที่อยู่ในที่เกิดเหตุถูกจับกุมทันที เจ้าหญิงได้รับการช่วยเหลือให้ออกมาจากรถเบนซ์ในเวลาตีหนึ่ง แต่พระหทัยหยุดเต้น การปั๊มหัวใจช่วยให้หัวใจของพระองค์กลับมาเต้นอีกครั้ง พระองค์ถูกนำตัวขึ้นไปรักษาบนรถพยาบาลซามูในเวลา 1.18 น. และรถพยาบาลได้ขับออกจากสถานที่เกิดเหตุเมื่อ 1.41 น. และถึงโรงพยาบาลปีเต-ซัลแปตริแยร์เวลา 2.06 น. พระองค์ได้รับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล โดยมีนายแพทย์บรูโน ริอู เป็นหัวหน้าทีมแพทย์ผู้ทำการรักษา แม้ว่าแพทย์จะได้ทำการช่วยชีวิตของเจ้าหญิงอย่างสุดความสามารถแต่ว่าอาการบาดเจ็บของพระองค์สาหัสมากกว่าที่คิด พระหทัยย้ายตำแหน่งจากซ้ายไปทางขวาของพระอุระ ทำให้เส้นเลือดดำในปอดและเยื่อหุ้มหัวใจฉีกขาด การยื้อชีวิตของพระองค์ไร้ผล หลังจากทีมแพทย์ได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินหลอดเลือดและกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า แต่ว่าความดันโลหิตของพระองค์กลับลดต่ำลงจนถึงขีดอันตราย และพระหทัยค่อยๆ หยุดทำงานตั้งแต่ 3.57 น. และสิ้นพระชนม์เวลา 4.00 น.

เวลา 5.30 น. นายแพทย์ฌ็อง ปิแอร์ เชอแวเนอมองต์ ได้การแถลงข่าวการสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ที่ห้องประชุมของโรงพยาบาลปีเต-ซัลแปตริแยร์ พร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส และเซอร์ไมเคิล เจย์ เอกอัครราขทูตแห่งสหราชอาณาจักรประจำสาธารณรัฐฝรั่งเศส

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนให้ความเห็นว่า ถ้าในคืนนั้นไดอานาได้คาดเข็มขัดนิรภัย พระองค์อาจได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและไม่สูญเสียพระชนม์ชีพเช่นนี้

รายงานข่าวในตอนแรก อ้างว่า นายเทรเวอร์ รีส์-โจนส์ เป็นผู้โดยสารในรถเพียงคนเดียวที่คาดเข็มนิรภัย แต่ต่อมาข้อมูลนี้ไม่ถูกต้อง จากผลการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสและอังกฤษที่สรุปว่า ไม่มีผู้โดยสารในรถคาดเข็มขัดแม้แต่คนเดียวในขณะที่เกิดอุบัติเหตุ

ในตอนสายของวันที่ 31 สิงหาคม นายแพทย์เชอแวเนอมองต์ พร้อมด้วย นายลีออนาล โฌสแป็ง นายกรัฐมนตรีแห่งฝรั่งเศส, นางเบนาเด็ต ชีรัค (ภริยาของประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศส ฌ้าค ชีรัค ในขณะนั้น) และนายเบนาร์ด กูชเน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของฝรั่งเศส เดินทางถึงโรงพยาบาลปีเต-ซัลแปตริแยร์ เพื่อถวายความไว้อาลัยครั้งสุดท้ายต่อพระศพของไดอานา หลังจากนั้นคุณพ่อมาร์ติน เดรเปอร์ อารค์ดีคอนนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ ได้เข้ามาในห้องที่เก็บพระศพ และได้สวดบทสรรเสริญจากหนังสือสวดมนต์ Book of Common Prayer

14.00 น. ของวันเดียวกัน เจ้าฟ้าชายชาลส์ มกุฏราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร (อดีตพระสวามีของไดอานา) และพี่สาวของไดอานา เลดี้ซาราห์ แมคคอร์ควอเดล และเลดี้เจน เฟลโลวส์ เดินทางถึงนครปารีสเพื่อรับพระศพของไดอานากลับเกาะอังกฤษ




การรนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube





ในตอนแรก สื่อมวลชนระบุว่า รถเบนซ์ได้พุ่งชนเสาตอม่อของอุโมงค์ด้วยความเร็ว 190 กม/ชม. เพราะเข็มไมล์บนแผงหน้าปัดค้างอยู่ที่่ตำแหน่งนี้ แต่ต่อมาได้แก้ข่าวว่าความเร็วของรถอยู่ที่ประมาณ 95-110 กม./ชม. เท่านั้น และเครื่องวัดความเร็วบนแผงหน้าปัดที่ติดตั้งมากับรถเมอร์เซเดสเบนซ์ W140 S-Class เป็นหน้าปัดบอกความเร็วแบบดิจิตอลและไม่สามารถอ่านค่าความเร็วได้จากหน้าจอโดยตรงหลังเกิดอุบัติเหตุ และรถคันดังกล่าวน่าจะขับมาด้วยความเร็วเกินกว่า 50 กม/ชม สำหรับความเร็วที่กำหนดไว้สำหรับถนนลงอุโมงค์ในฝรั่งเศส ในปี 2542 หน่วยสืบสวนฝรั่งเศสตั้งข้อสงสัยว่า รถเมอร์เซเดสเบนซ์ได้เฉี่ยวชนกับรถยนต์อีกคันหนึ่ง (เชื่อว่าเป็นรถเฟียต อูโนสีขาว) ในอุโมงค์ก่อนเกิดการชนครั้งรุนแรง แต่ก็ไม่มีผู้ใดออกมายืนยันว่าเป็นเจ้าของรถเฟียตลึกลับนี้ และไม่สามารถตรวจสอบว่ารถเฟียตอูโนคันนี้มีอยู่จริงหรือไม่ ในที่สุดหน่วยสืบสวนใช้เวลานานกว่า 18 เดือนในการสรุปคดีอุบัติเหตุที่พรากชีวิตเจ้าหญิงนั้นมีสาเหตุมาจากคนขับที่มีอาการมึนเมาและไม่สามารถควบคุมรถยนต์ที่ขับมาด้วยความเร็วสูงได้ และทำให้โศกนาฏกรรมขึ้นในคืนนั้น

ตุลาคม 2546 หนังสือพิมพ์รายวันเดลิมิเรอร์ในอังกฤษ ตีพิมพ์จดหมายส่วนพระองค์ของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ที่เขียนไว้ 10 เดือนก่อนหน้าที่จะสิ้นพระชนม์ ที่ระบุว่า มีแผนการลอบปลงพระชนม์ชีพของพระองค์ โดยทำให้ระบบเบรกรถยนต์ทำงานขัดข้อง ซึ่งส่วนหนึ่งขอจดหมายฉบับนั้นที่เขียนด้วยลายมือของพระองค์คือ "ชีวิตของฉันตอนนี้กำลังตกอยู่ในอันตรายมากที่สุด สามีของฉันกำลังวางแผนที่จะทำให้รถยนต์ของฉันเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ระบบเบรกทำงานผิดผลาดและทำให้ฉันได้รับบาดแผลฉกรรจ์ที่ศีรษะ เพื่อกำจัดฉันให้พ้นทางและชาร์ลส์จะได้เสกสมรสใหม่อีกครั้ง"


6 มกราคม 2547 6 ปีหลังการสิ้นพระชนม์ คดีสิ้นพระชนม์ของไดอานาและการเสียชีวิตของโดดี อัล ฟาเยด ถูกนำมาไต่สวนใหม่อีกครั้งที่กรุงลอนดอน นำโดยไมเคิล เบอร์เจส เจ้าหน้าที่ไต่สวนคดีมรณกรรมของสมเด็จพระราชินี และคณะพิจารณาคดีได้ขอให้เซอร์จอห์น สตีเว่นส์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากหน่วยตำรวจนครบาลลอนดอน เพื่อพิสูจน์ข้อสงสัยว่าไดอานาไม่ได้สิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุ และทีมโอเปอเรชั่นพาเก็ตได้ทำการสรุปผลการสืบสวนลงในผลรายงานในเดือนธันวาคม 2548




ต่อมาในปี 2547 สถานีโทรทัศน์ CBS ในสหรัฐอเมริกาเผยแพร่ภาพถ่ายรถยนต์เมอร์เซเดสเบนซ์ในอุโมงค์ปองต์ เดอ ลัลมา ที่หน้ารถพังยับเยินรวมทั้งภาพของเจ้าหญิงไดอานาที่ไม่มีเลือดไหลและบาดแผลภายนอก ในภาพพระองค์ก้มลงบนพื้นรถยนต์ และประตูรถยนต์ด้านขวาเปิดอ้าอยู่. การนำเสนอภาพนี้สร้างความไม่พอใจไปทั่วเกาะอังกฤษ เพราะเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของพระองค์มากเกินไป และทำให้นายโมฮัมหมัด อัล ฟาเยดฟ้องร้องคดีนี้กับสถานีโทรทัศน์

เดือนมกราคม 2548 ลอร์ดสตีเว่นส์กล่าวในการให้สัมภาษณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ GMTV ว่าพยานหลักฐานในคดีนี้ซับซ้อนกว่าที่คาดไว้ตั้งแต่แรก

หนังสือพิมพ์ซันเดย์ ไทมส์ ฉบับวันที่ 29 มกราคม 2548 ได้นำเสนอข่าวการออกมาปฏิเสธจากเจ้าหน้าที่ของหน่วย MI6 ในประเด็นที่ว่ามีเจ้าหน้่าที่อยู่ในกรุงปารีสในวันที่ไดอานาประสบอุบัติเหตุ และเจ้าหน้าที่จากองค์การลับนี้ได้สลับผลการตรวจเลือดของคนขับรถด้วยตัวอย่างจากผลตรวจอื่น (ซึ่งไม่มีหลักฐานยืนยันว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่)

13 กรกฎาคม 2548 นิตยสารรายสัปดาห์ของอิตาลี Chi ตีพิมพ์ภาพถ่ายของไดอานาในนาทีสุดท้ายของชีวิต แม้ว่าจะได้มีการสั่งห้ามมิให้เผยแพร่ภาพชุดดังกล่าว ภาพชุดนี้ถูกถ่ายหลังจากเกิดอุบัติเหตุได้ไม่นาน และภาพแสดงให้เห็นไดอานาที่ทรุดตัวลงที่เบาะหลัง ขณะที่หน่วยกู้ชีพได้พยายามสวมเครื่องช่วยหายใจให้พระองค์ และภาพนี้ถูกตีพิมพ์ลงนิตยสาร, หนังสือพิมพ์ภาษาอิตาลีและสเปนหลายสำนักพิมพ์

บรรณาธิการนิตยสาร Chi ออกมากล่าวว่า ได้ยินยอมให้เผยแพร่ภาพของเจ้าหญิงเพราะได้มาจากสำนวนคดีของทางการฝรั่งเศส และแก้ตัวง่ายๆ ด้วยเหตุผล ยังไม่เคยมีใครเห็นภาพนี้มาก่อนและไม่ได้คิดว่าภาพพวกนี้จะเป็นการหมิ่นพระเกียรติของเจ้าหญิงผู้ล่วงลับแต่อย่างใด



พิธีพระศพ

การสิ้นพระชนม์อย่างกระทันหันของไดอานาสร้างความตกตะลึงให้กับชาวโลก ประชาชนชาวอังกฤษต่างตกอยู่ในอาการโศกเศร้าและร้องไห้คร่ำครวญต่อเจ้าหญิงในดวงใจ พิธีพระศพถูกจัดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2540 โดยมีประชาชนราว 3 ล้านคนมาร่วมไว้อาลัยและยืนรอบนถนนเพื่อชมขบวนพระศพที่ดำเนินผ่านในกรุงลอนดอน และพิธีนี้ได้มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก กลายเป็นข่าวสำคัญกว่าการเสียชีวิตของแม่ชีเทเรซาในสัปดาห์เดียวกันนั้น

ประชาชนมากมายได้ร่วมลงนามแสดงความไว้อาลัยที่พระราชวังเซนต์เจมส์ ตลอดทั้งวันมีสมาชิกจากหน่วยอาสาสมัครหญิงในสหราชอาณาจักรและกองทหารราบจากแคว้นเวลส์มาผลัดเปลี่ยนหน้าที่ดูแลควบคุมฝูงชนจนถึงกลางคืน และยังมีกองดอกไม้จำนวนมหาศาลหลายล้านช่อที่ประชาชนได้นำมาวางไว้ที่ถนนหน้าพระราชวังเคนซิงตัน พระราชวังที่ไดอานาเคยพำนักอยู่ ส่วนที่คฤหาสน์อัลธอร์พประจำตระกูลของพระองค์ได้ขอร้องห้ามให้ประชาชนนำดอกไม้วางบนถนนหน้าคฤหาสน์ เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัย

กระทั่งวันที่ 10 กันยายน กองดอกไม้ภายนอกพระราชวังเคนซิงตันกองทับกันสูงกว่า 1.5 เมตร ชั้นดอกไม้ชั้นล่างสุดเริ่มเน่าเปื่อยและส่งกลิ่นเหม็น ส่วนที่พระราชวังเซนต์เจมส์ ประชาชนยังคงอดทนรอต่อแถวเพื่อลงนามถวายการไว้อาลัยด้วยอาการสงบ

ทั้งนี้ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นเล็กน้อยเมื่อ ฟาบิโอ ปีราส นักท่องเที่ยวชาวซาร์ดิเนีย ถูกจำคุก 1 สัปดาห์หลังหยิบเอาตุ๊กตาหมีเท็ดดี้แบร์ออกจากกองดอกไม้และถูกปรับเป็นเงิน 100 ปอนด์ นายปีราสถูกประชาชนกลุ่มหนึ่งชกเข้าที่ใบหน้าหลังเดินทางออกจากศาล วันต่อมา มาเรีย ริโกซีโอวา ครูโรงเรียนมัธยมวัย 54 ปี และอิกเนสซา ซิเฮลกา ช่างเทคนิคโทรคมนาคมถูกจับกุมและศาลตัดสินให้จำคุกนาน 28 วัน เพราะได้ขโมยตุ๊กตาหมีเท็ดดี้แบร์ 11 ตัวและช่อตอกไม้จำนวนหนึ่งที่หน้าพระราชวังเซนต์เจมส์ แต่ต่อมาถูกลดโทษเป็นค่าปรับคนละ 200 ปอนด์ หลังถูกขัง 2 วัน

หลายคนวิจารณ์ว่าปฏิกิริยาของประชาชนที่มีต่อการสิ้นพระชนม์ของไดอานาในตอนนั้นว่า "ร้องไห้ตีโพยตีพายเกินไป" และ "น่าหมั่นไส้"

ในปี 2542 แอนโทนี โอเฮียร์ ระบุว่า ความเศร้าสลดเสียใจในครั้งนั้นได้นิยามความหมายของคำ "การแสดงความรู้สึกออกมามากไปของชาวอังกฤษ" เมื่อปรากฎการณ์เกิดขึ้นโดยมีสื่อเป็นต้นเหตุ ทำให้ภาพลักษณ์และความเป็นจริงปะปนสับสนกันจนแยกไม่ออก และนักวิจารณ์ยังคงกล่าวพาดพิงเหตุการณ์นี้ซ้ำอีก ในวันครบรอบปีที่ 10 ของการสิ้นพระชนม์ ซึ่งนักหนังสือพิมพ์โจนาธาน ฟรีดแลนด์ แสดงความเห็นว่า "เป็นความหลังที่น่าอับอาย เหมือนสมุดไดอารี่ของวัยรุ่นที่น่าหมั่นไส้และชวนให้สมเพชตัวเอง เราต้องแสร้งทำเป็นก้มหน้าอายเมื่อหวนรำลึกถึงเรื่องนี้" แต่ว่านักวิเคราะห์บางคนกลับไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ เดบอราห์ สไตนเบิร์ก นักสังคมวิทยา ชี้แจงว่า ชาวอังกฤษมากมายมีความสัมพันธ์กับเจ้าหญิงไดอานาผ่านทางสังคมที่แปรเปลี่ยนไปและโอออ้อมอารีกว่าเดิม โดยไม่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์เลย และกล่าวทิ้งท้ายว่า "ฉันไม่คิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องคร่ำครวญเกินกว่าเหตุ การสูญเสียบุคคลสำคัญจะเป็นสิ่งทดสอบทุกอย่างในสังคม"



เหตุการณ์หลังสิ้นพระชนม์

ปฏิกิริยาจากราชวงศ์




ปฏิกิริยาของราชวงศ์ต่อการสิ้นพระชนม์ของไดอานาสร้างความไม่พอใจและขุ่นเคืองให้กับประชาชน ซึ่งในเวลานั้นสมาชิกราชวงศ์ต่างประทับอยู่ที่ปราสาทบัลมอรัล พระราชวังฤดูร้อน ในสกอตแลนด์และทรงวินิจฉัยแล้วว่าจะไม่เสด็จกลับลอนดอนเพื่อร่วมพิธีพระศพ การตัดสินพระทัยของสมเด็จพระราชินีเช่นนี้ทำให้พระองค์ถูกวิพากย์วิจารณ์จากสื่อมวลชนอย่างหนัก เพราะราชวงศ์ยังยึดติดอยู่กับราชประเพณีโบราณอย่างเข้มงวด และไม่ใส่ใจต่อพระโอรสทั้งสองของไดอานาที่กำลังเศร้าโศกต่อการจากไปของพระมารดา และทำให้สื่อมวลชนให้ความเห็นว่า "เย็นชาเกินไป"

ยิ่งไปกว่านั้น การปฏิเสธลดธงราชวงศ์ลงครึ่งเสาบนพระราชวังบักกิ้งแฮม ได้ทำให้หนังสือพิมพ์ในอังกฤษพาดหัวข่าวด้วยภาษาที่รุนแรง "Where's our Queen Where's her flag?" เนื่องจากสำนักพระราชวังยังคงเคร่งครัดในราชประเพณี การเชิญธงราชวงศ์ขึ้นสู่ยอดเสาบนพระราชวังบักกิ้งแฮมจะกระทำต่อเมื่อสมเด็จพระราชินีประทับอยู่ที่กรุงลอนดอนเท่านั้น แต่ในเวลานั้นพระองค์กำลังประทับอยู่ในสกอตแลนด์ และธงประจำพระองค์จะเชิญลงครึ่งเสาก็ต่อเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรณคตเท่านั้น

ในที่สุด สำนักพระราชวังยินยอมที่จะเชิญธงยูเนี่ยนแจ็กขึ้นสู่ยอดเสาของพระราชวังบักกิ้งแฮมโดยลดธงลงครึ่งเสา และสมเด็จพระราชินีเสด็จกลับสก็อตแลนด์ทันทีในเวลาเที่ยงของวันเดียวกัน หลังจากเสด็จพระราชดำเนินไปร่วมพิธีพระศพของไดอานา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่มีการเชิญธงยูเนี่ยนแจ็กขึ้นสู่ยอดเสาของพระราชวังบักกิ้งแฮม

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธยินยอมให้มีการถ่ายทอดสดพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยต่อเจ้าหญิงแห่งเวลส์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ BBC ในเย็นวันที่ 4 กันยายน


ปฏิกิริยาจากสาธารณชน




ผู้คนหลายล้านคนยืนต่อแถวยาวกว่า 6 กิโลเมตร ตั้งแต่พระราชวังเคนซิงตันจนถึงมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ด้านหน้ามหาวิหารและลานในไฮด์ปาร์กต่่างแน่นขนัดไปด้วยประชาชนที่รับชมพิธีศพบนหน้าจอขนาดใหญ่และการกล่าวคำไว้อาลัยจากบุคคลสำคัญที่เข้าร่วมพิธี รวมทั้งตัวแทนจากองค์กรการกุศลที่ไดอานาได้เป็นผู้อุปถัมภ์ ผู้เข้าร่วมพิธีที่มีชื่อเสียงได้แก่ นางฮิลลารี่ ร็อดแฮม คลินตัน (ภริยาของประธานาธิบดีบิล คลินตัน แห่งสหรัฐอเมริกา), นางเบนาเด็ต ชีรัค (ภริยาของประธานาธิบดีฌ้าค ชีรัค แห่งฝรั่งเศส) และดาราชื่อดังหลายคน เช่น ลูเซียโน พาวาร็อตติ และนักร้องที่เป็นเพื่อนสนิทของเจ้าหญิงอย่าง เอลตัน จอห์น และจอร์จ ไมเคิล ซึ่งเอลตันได้ขับร้องเพลง Candle in the Wind ที่ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่เพื่ออุทิศให้แก่พระองค์ พิธีนี้ได้มีการถ่ายทอดผ่านดาวเทียม มีผู้รับชมกว่า 2.5 พันล้านคนทั่วโลก

แขกในพิธีไม่สนใจต่อราชประเพณีอันเก่าแก่ เนื่องจากได้ปรบมือให้กับคำไว้อาลัยของเอิร์ลสเปนเซอร์ น้องชายของไดอานา ที่วิจารณ์สื่อมวลชนและราชวงศ์ต่อการที่พวกเขาปฏิบัติต่อพี่สาวของเขาอย่างเผ็ดร้อน หลังเสร็จสิ้นพิธีที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ โลงพระศพถูกนำขึ้นรถเดมเลอร์เพื่อเดินทางต่อไปยังคฤหาสน์อัลธอร์พเพื่อทำพิธีฝังพระศพอย่างเป็นส่วนตัว เกือบตลอดเส้นทางที่ขบวนรถพระศพขับผ่าน ประชาชนได้ร่วมกันโยนดอกไม้ใส่ขบวนรถเพื่อแสดงความไว้อาลัยเป็นครั้งสุดท้าย

พระศพถูกฝังภายในอาณาเขตของคฤหาสน์อัลธอร์พ บนเกาะกลางทะเลสาบ ภายในโลงพระศพ ไดอานาฉลองพระองค์ชุดเดรสแขนยาวสีดำของแคทเธอรีน วอล์กเกอร์ พระหัตถ์ทั้งสองกุมสร้อยประคำของขวัญจากแม่เทเรซา ผู้ที่เสียชีวิตสัปดาห์เดียวกับพระองค์

ในปี 2541 คฤหาสน์ได้เปิดให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการที่เกี่ยวพระองค์และเดินเล่นรอบทะเลสาบบริเวณสุสานของไดอานา รายได้จากการเข้าชมผลงานและนิทรรศการที่อัลธอร์พได้บริจาคให้แก่กองทุนอนุสรณ์ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

4 สัปดาห์หลังการสิ้นพระชนม์ อัตราการฆ่าตัวตายทั่วประเทศอังกฤษและเวลส์เพิ่มสูงขึ้น 17 % และการทำร้ายตัวเองพุ่งสูงกว่า 44.3 % เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติเดิมในรอบ 4 ปี นักวิจัยเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราการฆ่าตัวตายมีสาเหตุจากปรากฏการณ์ "แสดงตัวตน" ของผู้คนที่ส่วนใหญ่ที่ความกดดันคล้ายคลึงกับไดอานา คือ ผู้หญิงวัย 25 − 44 ปี ที่กลุ่มนี้ฆ่าตัวตายมากกว่า 45%

แม้ว่าไดอานาจะสิ้นพระขนม์ไปนานหลายปีแล้ว แต่ความสนใจในชีวิตของพระองค์ยิ่งกลับเพิ่มมากขึ้น อนุสรณ์ที่ใช้ใรำลึกช่ัวคราวที่หน้าอุโมงค์ปองต์ เดอ ลัลมา "ฟลามม์ เดอ ลา ลิเบอร์เต้" ที่มีความสัมพันธ์กับรูปปั้นอนุสาวรีย์เทพีสันติภาพในนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ของขวัญจากชาวฝรั่งเศส โดยหลังเกิตอุบัติใหม่ๆ ชาวปารีเซียงและนักท่องเที่ยวได้เขียนถ้อยคำไว้อาลัยท้ิงไว้บนฐานของ "ฟลามม์ เดอ ลา ลิเบอร์เต้" แต่ต่อมาข้อความถูกลบออกและไม่ได้ใช้เป็นอนุสรณ์อย่างเป็นทางการอีกต่อไป แต่ว่านักท่องเที่ยวยังคงลักลอบเขียนข้อความทิ้งไว้อยู่เรื่อยๆ

สำหรับอนุสรณ์ถาวรคือ น้ำพุอนุสรณ์แด่ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ในไฮดปาร์ก ที่ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 กรกฎาคม 2547

ไดอานา ฟรานเซส เจ้าหญิงแห่งเวลส์อยู่ในโพลสำรวจของ BBC ในปี 2545 ในหัวข้อ "ชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่" ลำดับที่ 3 แซงหน้า ชาร์ลส์ ดาร์วิน (อันดับ 4), วิลเลี่ยม เช็กสเปียร์ (อันดับ 5) และไอแซค นิวตัน (อันดับ 6)

ปี 2546 สำนักพิมพ์มาร์เวลคอมิกส์ ประกาศตีพิมพ์การ์ตูน X-Statix ของปีเตอร์ มิลลิแกน นักเขียนการ์ตูนล้อเลียน ในตอน Di Another Day (Di คือ Diana อ้างอิงจากชื่อจากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ตอน Die Another Day) ล้อเลียนการฟื้นคืนชีพของไดอานาด้วยพลังมหัศจรรย์ สร้างความไม่พอใจให้กับผู้คนจำนวนมากและตอน Di Another Day ถูกสั่งระงับหยุดพิมพ์ทันที [40] บริษัทเฮลิโอกราฟ สร้างเกมจำลองบทบาท Diana: Warrior Princess ผลงานของมาร์คัส แอล. โรวแลนด์ ที่ดัดแปลงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 จนกลายเป็นเรื่องเหนือจินตนาการ

เควิน คอสเนอร์ ดาราฮอลลีวู้ดช่ือดังที่เคยเข้าเฝ้าเจ้าหญิงไดอานา ผ่านซาร่าห์ เฟอร์กูสัน ดัชเชสแห่งยอร์ก ได้ออกมาอ้างว่าเคยรบเร้าให้เจ้าหญิงไดอานาร่วมแสดงภาพยนตร์สยองขวัญ "The Bodyguard" ซึ่งนำแสดงโดย คอสเนอร์ และวิทนีย์ ฮูสตัน แต่ต่อมาสำนักพระราชวังบักกิ้งแฮมได้ปฏิเสธว่าคำกล่าวอ้างของคอสเนอร์นั้นไม่มีมูลความจริง


ทฤษฎีสมคบคิดการสิ้นพระชนม์


แม้ว่าหน่วยสืบสวนของเจ้าหน้าที่ฝรั่่งเศสได้สรุปคดีว่า ไดอานาส้ินพระชนม์จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แต่่นายโมฮัมหมัด ฟาเยด กลับเชื่อว่าเจ้าหญิงไดอานาและลูกชายของเขาถูกลอบสังหาร ด้วยแผนการสมคบคิดอันแยบยล และหนังสือพิมพ์เดลี่เอ็กซ์เพรสเชื่อว่า พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ ในปี 2547 ได้มีการตั้งทีมสืบสวนคดีสิ้นพระชนม์โดยหน่วยตำรวจนครบาลลอนดอน "โอเปอเรชั่น พาเก็ต" ซึ่งมีลอร์ดสตีเว่นส์ เป็นหัวหน้าทีมนี้

ผลการสืบสวนคดีถูกเผยแพร่สู่สาธารณะในวันที่ 14 ธันวาคม 2548 และปิดคดีในเดือนเมษายน 2551




การไต่สวนคดีการสิ้นพระชนม์ในปี 2551



ภายใต้กฎหมายอังกฤษ จำเป็นต้องมีการพิจารณาคดีหากมีการตายอย่างกะทันหันหรือตายลงโดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง คดีการสิ้นพระชนม์ของไดอานาและคดีการเสียชีวิตของนายโดดี ฟาเยด ถูกนำมาไต่สวนในวันที่ 8 มกราคม 2550 โดยมีท่านผู้หญิงเอลิซาเบธ บัตเลอร์-สลอส ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดูแลการพิจารณาคดีสิ้นพระชนม์ประจำราชสำนัก โดยบัตเลอร์-สลอสตัดสินใจที่จะไต่สวนคดีเป็นการภายในโดยไม่มีคณะลูกขุนร่วมฟังการพิจารณาคดี แต่ต่อมาศาลสูงได้มีคำสั่งระงับการตัดสินใจของบัตเลอร์-สลอส และได้รับความเห็นชอบจากคณะเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาคดีประจำราชสำนัก และในวันที่ 24 เมษายน 2550 ท่านผู้หญิงบัตเลอร์-สลอส ประกาศถอนตัวจากการทำหน้าที่พิจารณาคดีสิ้นพระชนม์ โดยให้เหตุผลว่า เธอไม่มีประสบการณ์ที่จะร่วมพิจารณาคดีกับคณะลูกขุน ดังนั้นหัวหน้าผู้พิพากษาสกอต เบเกอร์ จึงได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่แทนบัตเลอร์-สลอส อย่างเป็นทางการในวันที่ 11 มิถุนายนปีเดียวกัน ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาคดีมรณกรรมแห่งกรุงลอนดอนตะวันตกชั้นใน 27 กรกฎาคม 2550 เบเกอร์ได้ตั้งประเด็นที่น่าจะนำไปสู่การพิจารณาสำนวนคดีนี้ และหน่วยโอเปอเรชั่นพาเก็ตได้สืบสวนข้อเท็จจริง และได้ข้อมูลเป็นประโยชน์จำนวนมาก




20 ประเด็นที่ได้ทำการสืบสวนมีดังต่อไปนี้




1.ความผิดพลาดของอองรี ปอล ก่อให้เกิด/หรือเป็นสาเหตุหนึ่งของการชนหรือไม่


2.ความสามารถในการขับขี่รถยนต์ของนายอองรี ปอลลดลงเพราะ ได้ดื่มสุราหรือใช้ยาหรือไม่


3.รถเฟียตอูโน หรือยานพาหนะอื่น ก่อให้เกิด/หรือเป็นสาเหตุหนึ่งของการชนหรือไม่


4.การกระทำของช่างภาพอิสระ ก่อให้เกิด/หรือเป็นสาเหตุหนึ่งของการชนหรือไม่


5.ลักษณะของถนน/อุโมงค์ และสิ่งปลูกสร้างต่างมีลักษณะที่เป็นอันตรายอยู่แล้วใช่หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น ถนน/อุโมงค์ และสิ่งปลูกสร้างมีส่วนทำให้เกิดการพุ่งชนหรือไม่


6.มีแสงจ้าหรือแสงแฟลชที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือไม่ ถ้ามี แสงนั้นมาจากที่ใด


7.ใครเป็นผู้ตัดสินใจให้เจ้าหญิงแห่งเวลส์และโดดี ฟาเยดออกจากประตูด้านหลังโรงแรมริทซ์ และให้นายอองรี ปอล เป็นคนขับรถเมอร์เซเดสเบนซ์


8.ความเคลื่อนไหวของนายอองรี ปอล ตั้งแต่เวลา 19.00-22.00 น. ในวันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2540


9.รายละเอียดเงินสด/ทรัพย์สินทั้งหมดที่นายอองรี ปอลเป็นเจ้าของ และบัญชีเงินฝากในธนาคารของเขา


10.แอนแดนสันอยู่ในกรุงปารีสในคืนที่ไดอานาประสบอุบัติเหตุหรือไม่


11.ไดอานาจะไม่สิ้นพระชนม์ หากถูกนำส่งโรงพยาบาลเร็วกว่านี้หรือได้รับการรักษาจากแพทย์ด้วยวิธีที่แตกต่างออกไป


12.ไดอานาทรงพระครรภ์จริงหรือไม่


13.ไดอานาและนายโดดี ฟาเยด กำลังจะประกาศพิธีหมั้นในช่วงเวลานั้นหรือไม่


14.เจ้าหญิงแห่งเวลส์ทรงหวั่นเกรงต่อความปลอดภัยต่อพระชนม์ชีพของพระองค์จริงหรือไม่ และถ้าเป็นเช่นนั้นมีหลักฐานใดที่บ่งบอกความจริงของประเด็นนี้บ้าง


15.หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อแหวนที่พบในซากรถเบนซ์


16.กรณีการอาบยาพระศพของไดอานา


17.มีพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับทอมลินสันที่เชื่อมโยงกับการเกิดอุบัติเหตุในครั้งนั้นหรือไม่


18.หน่วยข่าวกรองของอังกฤษหรือองค์กรอื่นใดมีส่วนพัวพันกับการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้หรือไม่


19.มีความมุ่งร้ายที่แอบแฝงอยู่ในเหตุการณ์ต่อไปนี้หรือไม่ (1) การบุกลักทรัพย์ที่สำนักงานของเชอร์รูออลท์ ช่างภาพราชสำนัก และ (2) การก่อกวนที่สำนักงานบิ๊กพิคเจอร์ส


20.จดหมายของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ (รวมทั้งจดหมายจากเจ้าชายฟิลิป) สูญหายไปจริงหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น มีพยานหลักฐานที่บ่งชี้ถึงเหตุการณ์นี้หรือไม่



การพิจารณาคดีมีขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ตุลาคม 2550 หลังจากคณะลูกขุน 11 คน (เป็นหญิง 6 คนและชาย 5 คน) ได้ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง และผู้พิพากษาสกอต เบเกอร์ ได้กล่าวเบิกความและบอกเล่าความเป็นมาของเหตุการณ์ สำนักข่าว BBC ได้รายงานว่า นายโมฮัมหมัด อัล ฟาเยด ได้เบิกความว่า ลูกชายของเขาและเจ้าหญิงไดอานาถูกลอบสังหารจากคำส่ังของราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งถูกสื่อวิพากย์วิจารณ์ว่า "เป็นการเบิกคดีที่ อคติ"



คณะลูกขุนได้รับฟังคำให้การจากบุคคลที่ได้ติดต่อกับไดอานาจนกระทั่งเหตุการณ์ที่นำไปสู่อุบัติเหตุ พยานปากสำคัญได้แก่ พอล เบอเรล, โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด, เรน แมคคอร์ควอเดล แม่เลื้ยงของไดอานา รวมทั้งเทรเวอร์ รีส-โจนส์ ผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวจากอุบัติเหตุ และอดีตผู้บังคับบัญชาหน่วยงาน MI 5 ของอังกฤษ

ผู้พิพากษาสกอต เบเกอร์ได้สรุปผลการสืบสวนต่อคณะลูกขุนในวันที่ 31 มีนาคม 2551 และกล่าวว่าไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับดยุกแห่งเอดินเบอระ ว่าเป็นผู้สั่งสังหารไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ หรือมีองค์การใดๆ มีส่วนพัวพันกับอุบัติเหตุ และเบเกอร์สรุปคดีเสร็จสิ้นเมื่อ 2 เมษายน 2551 หลังฟังคำสรุปคดีเสร็จสิ้นคณะลูกขุนได้ทำการหารือและพิจารณา 5 คำตัดสินที่ไม่ตายตัว ในวันที่ 7 เมษายน 2551 คณะลูกขุนได้อ่านคำพิพากษาว่า ไดอานาสิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่โดยประมาทของอองรี ปอลและยานพาหนะที่ไล่ตามรถยนต์ที่เกิดเหตุ

ในการพิจารณาคดีสิ้นพระชนม์ครั้งนี้ใช้งบประมาณสูงถึง 12 ล้านปอนด์ โดยเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเจ้าหน้าที่พิจารณาคดี 4.5 ล้านปอนด์ และค่าใช้จ่ายของตำรวจนครบาลลอนดอนอีก 8 ล้านปอนด์ การพิจารณาคดีกินเวลานาน 6 เดือน มีการรับฟังพยานกว่า 250 ปาก ซึ่งการใช้เงินงบประมาณจำนวนมหาศาลนี้ถูกสื่อมวลอังกฤษวิพากย์วิจารณ์อย่างหนัก



การรายงานข่าวบนอินเทอร์เน็ต


วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube





วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube







ไดอานาสิ้นพระชนม์ในช่วงที่การใช้อินเทอร์เน็ตกำลังเฟื่องฟูทั่วโลก และหนังสือพิมพ์ในอังกฤษหลายสำนักเพิ่งเปิดให้บริการเว็บไซต์ข่าวออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต ซึ่ง BBC News ได้นำเสนอข่าวการเลือกตั้งทั่วไปในอังกฤษตั้งแต่ต้นปี 2540 และความสนใจจากสื่อมวลชนและผู้คนมากมายที่มีต่อการสิ้นพระชนม์ของไดอานา ทำให้เว็บไซต์ BBC News ได้นำเสนอข่าวการสิ้นพระชนม์บนหน้าเว็บทันที และรายงานข่าวพิธีพระศพและเหตุการณ์อิ่นๆ ที่เกิดขึ้นตามมา ข่าวการสิ้นพระชนม์ไดอานาทำให้สำนักงาน BBC News ได้ตระหนักว่าบริการข่าวสารออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตที่กำลังจะเปิดตัว มีความสำคัญเพียงใด และวันที่ 4 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน เว็บไซต์ BBC News ได้เปิดบริการข่าวสารออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบ


เชิงอรรถและอ้างอิง




^ "The Coronation of Elizabeth II/The Death of Diana". Director: David Bartlett, Executive Producer: David Upshal. Days That Shook the World. BBC.


^ a b "Diana crash caused by chauffeur, says report". The Daily Telegraph (London). Archived from the original on 13 November 2002.





http://web.archive.org/web/20021113190313/http://www.telegraph.co.uk/htmlContent.jhtml?html=/archive/1999/09/04/ndi04.html.





^ Barbour, Dr. Alan D.. "Synopsis of Autopsy Findings". http://www.public-interest.co.uk/diana/dianasynop.htm. Retrieved 15 August 2010





^ "Diana crash was a conspiracy – Al Fayed". BBC News. 12 February 1998. http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/55800.stm. Retrieved 5 August 2008.





^ "Point-by-point: Al Fayed's claims". BBC News. 19 February 2008. http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/7251568.stm. Retrieved 5 August 2008.





^ "Diana death a 'tragic accident'". BBC News. 14 December 2006. http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/6179275.stm. Retrieved 5 August 2008.





^ a b "Inquests into the deaths of Diana, Princess of Wales and Mr Dodi Al Fayed: FAQs". Coroner's Inquests into the Deaths of Diana, Princess of Wales and Mr Dodi Al Fayed. Judicial Communications Office. 2008. http://webarchive.nationalarchives.gov.uk/20080521144222/http://www.scottbaker-inquests.gov.uk/faq/index.htm. Retrieved 4 June 2010.





^ a b "Hearing transcripts: 7 April 2008 – Verdict of the jury". Judicial Communications Office. http://webarchive.nationalarchives.gov.uk/20080521144222/http://www.scottbaker-inquests.gov.uk/hearing_transcripts/verdict.htm. Retrieved 15 August 2010.





^ "Diana crash inquiry puts paparazzi and Ritz in clear.". Birmingham Post & Mail Ltd. 1999. http://www.thefreelibrary.com/Diana+crash+inquiry+puts+paparazzi+and+Ritz+in+clear.-a060552567. Retrieved 15 August 2010.





^ "Timeline: How Diana died". The Conspiracy Files (BBC Online). 14 December 2006. http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/6217366.stm. Retrieved 13 October 2008.





^ John Stevens, Baron Stevens of Kirkwhelpington p. 41.


^ "Special Report: Princess Diana, 1961–1997". Time.



http://www.time.com/time/daily/special/diana/timeline/augsept97/10.html. Retrieved 1 May 2010.





^ "channel4.com". channel4.com. http://www.channel4.com/culture/microsites/D/diana/. Retrieved 30 April 2011.





^ John Stevens, Baron Stevens of Kirkwhelpington pp. 525–527.


^ "Series of Real-Time Reports involving the tragic death of Diana, Princess of Wales". Emergency.com. 1997. Archived from the original on 7 May 2008.



http://web.archive.org/web/20080507233601/http://www.emergency.com/dianaded.htm. Retrieved 13 October 2008.





^ "Special Report: Remembering Diana". BBC News. 25 February 1998. http://news.bbc.co.uk/1/hi/special_report/1998/diana/59997.stm. Retrieved 2 January 2010.





^ John Stevens, Baron Stevens of Kirkwhelpington, p. 421.


^ Rees-Jones, Trevor; Johnston, Moira (2000). The Bodyguard's Story: Diana, The Crash, And the Sole Survivor. Warner Books. ISBN 0446527750.





^ "Diana crash caused by chauffeur, says report". The Daily Telegraph (London). Archived from the original on 22 May 2008. http://web.archive.org/web/20080522130924/http://www.telegraph.co.uk/htmlContent.jhtml?html=/archive/1999/09/04/ndi04.html. Retrieved 13 October 2008.





^ Conspiracy Planet – Princess Diana: Murder-Coverup – Princess Diana Letter: 'Charles plans to kill me'


^ Jane Kerr (20 October 2003). "Diana letter sensation: "They will try to kill me"". mirror.co.uk. http://www.thedossier.ukonline.co.uk/Web%20Pages/MIRROR_Diana%20Letter%20Sensation%20'They%20Will%20Try%20To%20Kill%20Me'.html.





^ "see also photo no. 5". Coverups.com. http://www.coverups.com/diana/photos-2.htm. Retrieved 30 April 2011.





^ Leppard, David (29 January 2006). "Doubts cast over blood samples in Diana inquiry". The Sunday Times – Britain (London). http://www.timesonline.co.uk/article/0,,2087-2014816,00.html. Retrieved 1 May 2010.





^ "The Diana Investigation: What Lord Stevens Really Said". The Royalist. 30 January 2006. http://www.theroyalist.net/content/view/372/2/.





^ "BBC". BBC News. 14 July 2006. http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/5181226.stm. Retrieved 2 January 2010.





^ "Diana, Princess of Wales: The story so far". LondonNet. http://www.londonnet.co.uk/ln/talk/news/diheadlines_previous1.html.





^ "Public Mourning Continues – Royal Family "Deeply Touched"". BBC. http://www.bbc.co.uk/politics97/diana/mourn.html. Retrieved 11 November 2007.





^ The Independent, 10 September 1997.



^ Dutter, Barbie (11 September 1997). "Punch in face for teddy bear thief". The Daily Telegraph (UK). Archived from the original on 13 September 2004. http://web.archive.org/web/20040913114236/http://www.telegraph.co.uk/htmlContent.jhtml?html=/archive/1997/09/11/ndi411.html. Retrieved 8 June 2010.





^ "Women jailed for Abbey thefts". http://findarticles.com/p/articles/mi_qn4158/is_19970912/ai_n14132484/pg_1. [dead link], The Independent, 12 September 1997.


^ O'Hear, Anthony (1998) 'Diana, Queen of Hearts: Sentimentality personified and canonised" in Anderson and Mullen Faking It: The sentimentalisation of modern society, Social Affairs Unit ISBN 978-0-907-63175-0


^ Dalrymple, Theodore (2010). Spoilt Rotten: The Toxic Cult of Sentimentality. Gibson Square Books Ltd. p. 154. ISBN 1906142610.





^ Sandie Benitah. "Hysteria after Diana's death: A myth or reality?". CTV News. http://www.ctv.ca/servlet/ArticleNews/story/CTVNews/20070830/diana_grieving_070831/20070831/.





^ "Flags at half mast for Diana". BBC News. 23 July 1998. http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/138289.stm. Retrieved 22 October 2007.





^ "On this day 6 September 1997". BBC. 6 September 1997. http://news.bbc.co.uk/onthisday/hi/dates/stories/september/6/newsid_2502000/2502307.stm. Retrieved 30 October 2007.





^ Elton's re-written song "Candle in the Wind". BBC News. http://www.bbc.co.uk/politics97/diana/lyrics.html. Retrieved 22 October 2007.





^ "BBC". BBC News. 21 April 1999. http://news.bbc.co.uk/1/hi/education/325163.stm. Retrieved 2 January 2010.





^ "U.s. Paid Its Respects By Tuning In To Funeral". http://articles.nydailynews.com/1997-09-08/news/18058918_1_princess-diana-fox-news-channel-channel-and-msnbc.





^ Sholto Byrnes, "Pandora", The Independent, 1 May 2003, p. 17.





^ "The Funeral Service of Diana, Princess Wales". BBC. 6 September 1997.





^ Hawton, Keith; Harriss, Louise; Simkin, Sue; Jusczcak, Edmund; Appleby, Louise; McDonnell, Ros; Amos, Tim; Kiernan, Katy et al. (November 2000). "Effect of death of Diana, princess of Wales on suicide and deliberate self-harm.". British Journal of Psychiatry (The Royal College of Psychiatrists) (177): 463–466. doi:10.1192/bjp.177.5.463. PMID 11060002. http://bjp.rcpsych.org/cgi/reprint/177/5/463. Retrieved 4 June 2010.





^ Milligan, Peter (25 June 2003). "Princess Diana, superhero". The Guardian (London: Guardian News and Media). http://www.guardian.co.uk/monarchy/story/0,2763,984675,00.html. Retrieved 22 October 2007.





^ "Costner: Role to Di For". People. 28 April 1998. http://www.people.com/people/article/0,,619348,00.html. Retrieved 22 October 2007.





^ Richard Zoglin (24 June 2001). "Hey, wanna buy some pix?". TIME. http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,1101970915-138281,00.html. Retrieved 22 October 2007.





^ "Coroners, post-mortems and inquests". Directgov. http://www.direct.gov.uk/en/Governmentcitizensandrights/Death/WhatToDoAfterADeath/DG_066713. Retrieved 8 June 2010.





^ Lee Glendinning (15 January 2007). "No jury for Diana inquest". The Times (London: Times Newspapers). http://www.timesonline.co.uk/tol/news/uk/article1293183.ece. Retrieved 4 June 2010.





^ "Diana inquest to be heard by jury". BBC News. 2 March 2007. http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/6411091.stm. Retrieved 4 June 2010.





^ "Inquests into the deaths of Diana, Princess of Wales and Mr Dodi Al Fayed: Pre-inquest Hearing – 27 July 2007 – List of Likely Issues". Coroner's Inquests into the Deaths of Diana, Princess of Wales and Mr Dodi Al Fayed. Judicial Communications Office. 27 July 2007. http://webarchive.nationalarchives.gov.uk/20080521144222/http://www.scottbaker-inquests.gov.uk/directions_decs/issueslist_27072007.htm. Retrieved 4 June 2010.





^ "Inquests into the deaths of Diana, Princess of Wales and Mr Dodi Al Fayed: Hearing transcript – 2 October 2007 Morning". Coroner's Inquests into the Deaths of Diana, Princess of Wales and Mr Dodi Al Fayed. Judicial Communications Office. 2008. http://webarchive.nationalarchives.gov.uk/20080521144222/http://www.scottbaker-inquests.gov.uk/hearing_transcripts/021007am.htm. Retrieved 4 June 2010.





^ "BBC Report of First Day of Inquests, see video report with Nicholas Witchell". BBC News. 2 October 2007. http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/7023227.stm. Retrieved 2 January 2010.





^ McClatchey, Caroline (18 February 2008). "Al Fayed gets his 'moment' in court". BBC News. http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/7250241.stm. Retrieved 2 January 2010.





^ a b "Duke 'did not order death of Diana'". BBC News. 31 March 2008. http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/7322204.stm. Retrieved 2 January 2010.





^ "Hearing transcripts: 2 April 2008 Morning session". Coroner's Inquests into the Deaths of Diana, Princess of Wales and Mr Dodi Al Fayed. Judicial Communications Office. 31 March 2008. http://webarchive.nationalarchives.gov.uk/20080521144222/http://www.scottbaker-inquests.gov.uk/hearing_transcripts/310308am.htm. Retrieved 28 May 2009.





^ "Hearing transcripts: 4 April 2008 Morning session". Coroner's Inquests into the Deaths of Diana, Princess of Wales and Mr Dodi Al Fayed. Judicial Communications Office. 2 April 2008. http://webarchive.nationalarchives.gov.uk/20080521144222/http://www.scottbaker-inquests.gov.uk/hearing_transcripts/020408am.htm. Retrieved 28 May 2009.





^ "Princess Diana unlawfully killed". BBC News. 7 April 2008. http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/7328754.stm. Retrieved 5 August 2008.





^ "Diana inquiry costs exceed £12m". BBC News. 15 April 2008. http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/7349059.stm. Retrieved 5 August 2008.





^ "Major events influenced BBC’s news online , Social media agency London , FreshNetworks blog". Freshnetworks.com. 5 June 2008. http://www.freshnetworks.com/blog/2008/06/major-events-influenced-bbcs-news-online/. Retrieved 30 April 2011.





^ http://www.bbc.co.uk/politics97/diana/







2 ความคิดเห็น:

  1. พระราชพิธีพระศพของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์



    พระราชพิธีพระศพของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ จัดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 กันยายน 2540 เวลา 9.08 นาฬิกา ในกรุงลอนดอน ทันทีที่เสียงระฆังเทเนอร์ดังขึ้น เพื่อเป็นสัญญาณว่าขบวนพระศพได้เคลื่อนออกจากพระราชวังเคนซิงตัน โดยบรรทุกโลงพระศพบนรถปืนใหญ่ หลังเคลื่อนโลงพระศพออกจากพระราชวังเซนต์เจมส์มายังพระราชวังเคนซิงตัน ซึ่งก่อนหน้านี้พระศพถูกตั้งไว้ที่พระราชวังเซนต์เจมส์เป็นเวลา 5 วันก่อนที่จะมีการทำพิธีปลงพระศพ นอกจากนี้ยังได้มีการลดธงชาติยูเนียนแจ๊กลงครึ่งเสาที่พระราชวังบักกิ้งแฮม โดยมีพิธีพระศพอย่างเป็นทางการที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอน และพิธีเสร็จสิ้นที่ทะเลสาบราวนด์โอวัล (สุสานที่ใช้ฝังพระศพ) ในคฤหาสน์อัลธอร์พ เมืองนอร์ธแฮมป์ตัน มณฑลนอร์ธแฮมป์ตันเชียร์

    ประชาชนกว่า 2,000 คน ได้ร่วมพระราชพิธีที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ และมีประชาชนชาวอังกฤษรับชมการถ่ายทอดสดพิธีนี้ทางโทรทัศน์มากถึง 32.78 ล้านคน กลายเป็นการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ในสหราชอาณาจักรที่มีผู้ชมมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีผู้คนทั่วโลกอีกราว 2.5 พันล้านคนได้เฝ้าชมพิธีพระศพของไดอานา และได้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่มีผู้ชมมากที่สุดในประวัติศาสตร์



    การสิ้นพระชนม์




    ไดอานา ฟรานเซส สิ้นพระชนม์เมื่อเช้ามืดของวันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม 2540 หลังประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ภายในถนนลอดอุโมงค์ปองต์ เดด ลัลมา ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เวลา 14.00 น. ของวันเดียวกัน เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ อดีตพระสวามีของไดอานา เสด็จถึงกรุงปารีส พร้อมกับ เลดี้ซาราห์ แมคคอร์ควอเดลและเจน เฟลโลวส์ ซึ่งเป็นพี่สาว 2 คนของไดอานา เพื่อรับพระศพกลับมายังเกาะอังกฤษ



    พระราชพิธีพระศพ


    แม้ว่าจะไม่ได้เป็นรัฐพิธี แต่เป็นพิธีพระศพที่สำคัญระดับชาติ ขบวนพระศพถูกจัดขึ้นตามแบบของพระราชประเพณี และมีพิธีสวดตามแบบนิกายแองกลิคัน โดยมีทหารองครักษ์จากแคว้นเวลส์จำนวน 8 นายได้ร่วมในขบวนพระศพด้วย โลงพระศพถูกคลุมด้วยธงประจำราชสำนักล้อมรอบด้วยขอบสีขาวและสัญลักษณ์ขนเออร์มีน 10 ตัว ขบวนพระศพใช้เวลาเดินทางนาน 1 ชั่วโมงกับ 47 นาทีจากพระราชวังเคนซิงตันมายังมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เมื่อขบวนเดินทางถึงพระราชวังเซนต์เจมส์ เจ้าชายฟิลิป, เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์, เจ้าชายวิลเลียม, เจ้าชายแฮร์รี พร้อมทั้งเอิร์ลสเปนเซอร์ ได้ร่วมเสด็จตามหลังขบวนพระศพของเจ้าหญิงด้วย

    พิธีเริ่มขึ้นภายในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์เวลา 11.00 ตามเวลาท้องถิ่น ใช้เวลาทำพิธีนาน 1 ชั่วโมง 10 นาที โดยเจ้าหญิงไมเคิลแห่งเคนท์ได้เป็นตัวแทนจากราชวงศ์ในการวางพวงหรีดข้างโลงพระศพ เช่นเดียวกับพวงหรีดจากบุคคลสำคัญ เช่น มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ และเอ็ดเวิร์ด ฮีธ อดีตนายกรัฐมนตรีทั้งสอง, วินสตัน เชอร์ชิล อดีตสมาชิกผู้แทนราษฎรพรรคอนุรักษ์นิยม บุตรชายคนแรกของวินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนแขกผู้มีเกียรติอื่นที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมพิธีนี้ได้แก่ ฮิลลารี่ คลินตัน, เฮนรี่ คิสซิงเกอร์, วิลเลียม โครว, เบนาเด็ต ชีรัค, ราชินีนูร์แห่งจอร์แดน, ทอม แฮ็งส์, สตีเว่น สปีลเบิร์ก, เอลตัน จอห์น, จอร์จ ไมเคิล, ทอม ครูซ และนิโคล คิดแมน


    นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากพระราชวงศ์จากประเทศอื่นๆ ที่เข้าร่วมพิธีนี้ ได้แก่ เจ้าชายฮวน คาร์ลอสที่ 1 แห่งสเปน, เจ้าหญิงมากริตแห่งเนเธอร์แลนด์, คอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ, เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฏราชกุมารแห่งญี่ปุ่น พร้อมด้วยเจ้าหญิงมาซาโกะ พระชายา และอดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เนลสัน แมนเดลา


    อัครสังฆราชแห่งแคนเตอร์บรีและดีนแห่งเวสต์มินสเตอร์ เวสลีย์ คาร์ได้เข้าร่วมพิธีที่มหาวิหารด้วยเช่นกัน พิธีทางนิกายแองกลิคันเริ่มต้นขึ้นโดยการขับร้องเพลง God Save the Queen ตามธรรมเนียมดั้งเดิม และท่อนเพลงของโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค, แอนโตนิน ดโวรัก, คามิลล์ แชนท์-ชอส์ และนักประพันธ์อื่นๆ ถูกบรรเลงตลอดงานพิธี

    ครอบครัวสเปนเซอร์มีแผนการที่จะฝังพระศพที่โบสถ์เซนต์แมรี่ เดอะเวอร์จิน ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ในเมืองเกรทบริงตัน เคียงข้างกับบรรพบุรุษของพระองค์ แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนสถานที่เป็นคฤหาสน์อัลธอร์พแทน โดยเหตุผลความเป็นส่วนตัว

    ระหว่างพิธีเอลตัน จอห์นได้ขับร้องเพลง Candle in the Wind 1997 ที่ประพันธ์ขึ้นใหม่เพื่ออุทิศให้กับไดอานา โดยเอลตันได้ขอให้เบอร์นี่ ทอพิน แก้ไขเนื้อร้องที่ประพันธ์ในปี 2516 ที่แสดงความอาลัยต่อการเสียชีวิตของมาริลีน มอนโร ดาราสาวชื่อดังวัย 36 ปีที่อายุเท่ากับไดอานาในขณะที่เสียชีวิต แต่เอลตันต้องการให้เพลงนี้สรรเสริญพระเกียรติคุณของไดอานา ก่อนสิ้นพระชนม์เพียงหนึ่งเดือน ไดอานาถูกถ่ายภาพในขณะที่กำลังปลอบใจเอลตัน จอห์นในงานศพของจิอานนี่ เวอร์ชาเช่





    .

    ตอบลบ
  2. พระราชพิธีฝังพระศพ





    ครอบครัวสเปนเซอร์ทำพิธีฝังพระศพอย่างเป็นส่วนตัวเงียบๆ ในช่วงเย็นของวันเดียวกัน โดยมีเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์, พระโอรสทั้งสองพระองค์ของไดอานา, มารดา, พี่น้องทั้งสามคน และเพื่อนสนิท และบาทหลวงอีกหนึ่งรูป พร้อมกันอยู่ที่สุสาน ร่างของไดอานาในโลงศพสวมชุดเดรสแขนยาวสีดำสนิท ออกแบบโดยแคธรีน วอล์กเกอร์ ที่ไดอานาได้เลือกไว้เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน พระหัตถ์ทั้งสองกุมสร้อยลูกประคำของขวัญจากแม่ชีเทเรชา ซึ่งเสียชีวิตในสัปดาห์เดียวกับพระองค์ สุสานของพระองค์ตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเลสาบในสวนของคฤหาสน์อัลธอร์พของตระกูลสเปนเซอร์มานานหลายศตวรรษ

    แผนการเดิมคือ จะฝังพระศพที่สุสานใต้ดินประจำตระกูลในโบสถ์ใกล้เมืองเกรทบริงตัน แต่เอิร์ลสเปนเซอร์กล่าวว่า ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้คนจำนวนมากที่หลั่งไหลเดินทางไปที่เกรทบริงตัน ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจที่จะฝังศพพี่สาวไว้ในสถานที่ที่สามารถดูแลรักษาได้ง่ายและพระโอรสและญาติสามารถเดินทางมาที่นี่ได้อย่างเป็นส่วนตัว

    เกาะที่ใช้เป็นสุสานสำหรับไดอานาตั้งอยู่ใจกลางทะเลสาบที่มีชื่อว่า เดอะราวน์โอวัล ซึ่งตั้งอยู่ในสวนทางทิศเหนือของคฤหาสน์ มีต้นโอ๊ก 36 ตันริมทางเดินรอบทะเลสาบบ่งถึงจำนวนอายุของไดอานา ในฤดูร้อนจะมีหงส์ดำ 4 ตัวว่ายน้ำอยู่ในทะเลสาบและต้นดอกบัว และมีต้นกุหลาบขาวปลูกเรียงราย ซึ่งเป็นดอกไม้ที่ไดอานาโปรดปราน

    ริมฝั่งทะเลสาบด้านทิศเหนือเป็นที่ตั้งของซัมเมอร์เฮาส์ ที่เคยตั้งอยู่ในสวนแอดไมรอลดี้เฮาส์ในกรุงลอนดอน แต่ตอนนี้ซัมเมอร์เฮาส์ได้ถูกดัดแปลงเป็นอนุสรณ์สถานถึงไดอานา และมีสวนพฤกษชาติโบราณตั้งอยู่ใกล้ๆ กัน มีพรรณไม้ที่ปลูกโดยเจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี, สมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวสเปนเซอร์ รวมทั้งต้นไม้ของไดอานาด้วย







    .

    ตอบลบ